Monday, May 6, 2024
ภูมิปัญญาไทย บทความแนะนำ

บทเพลงแห่ง กี่ทอ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 6
เรื่อง : ศรไม้
ภาพ : กฤตภาส ชุติวัตโภคิน

บทเพลงแห่ง

กี่ทอ

            เสียงกี่กระตุกยังคงดังก้องอยู่ในห้วงสำนึกในวันที่จากมาซ้อนทับกับเสียงของรถไฟ รถเหล็กคันใหญ่ที่บดทับบนรางเป็นจังหวะ สองเสียงประสานสอดคล้องกันอย่างพอดีเป็นจังหวะซ้ำๆ ที่หนักแน่น เนิ่นนาน ราวกับเป็นบทเพลงที่เล่าขานเรื่องราวของวิถีการทอผ้าพื้นถิ่นอันไกลโพ้น

            บ้านนาเดา ชุมชนโบราณที่มีอายุเกือบ ๒ ศตวรรษแห่งนี้ เดิมทีมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ทำนา ปลูกพืชไร่เลี้ยงสัตว์ และทอผ้าไว้ใช้เอง บ้านเรือนไม้แบบโปร่งทุกบ้านจึงมีกี่ทอผ้าตั้งไว้ใต้ถุนบ้านที่ออกแบบให้สูงท่วมหัวคนเพื่อการใช้สอยประโยชน์ของพื้นที่ มีเรื่องเล่าเป็นตำนานของหมู่บ้านแห่งนี้ว่า เมื่อกว่า ๑๖๐ ปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้เป็นป่ารกที่มีต้นเครือเดา พันธุ์ไม้หายากประเภทเถาวัลย์ สามารถใช้เป็นพืชสมุนไพรใช้รักษาโรคต่างๆ ได้ มีลำต้นขนาดใหญ่มากวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของเถาได้ราว ๓ เมตร แต่ต่อมาเมื่อมีผู้คนมาถางป่าเป็นที่อยู่อาศัยมากขึ้น ต้นเครือเดาจึงค่อยๆ สูญพันธุ์ลง จนถึงต้นสุดท้ายที่มีขนาดใหญ่โตตายลงและผุกร่อนตามกาลเวลา ทำให้พื้นดิน โดยรอบยบุ ตวั กลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า หนองเครือเดา และนานเข้าหนองเครือเดาก็เหลือแต่หนองเดา ตอ่ มามีชาวบ้านมาทำไร่ทำานาบริเวณรอบๆ หนองน้ำแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่านาเดานั่นเอง

          บ้านนาเดา อยู่ในตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง วันนี้แม้ใต้ถุนของทุกบ้านจะไม่มีเสียงกี่ทอผ้าดังก้องแต่ผ้าทอของหมู่บ้านแห่งนี้กลับมีชื่อเสียงดังไกลไปยังหลายประเทศ ในนามของ ‘ตูบแก้วมา’ กลุ่มผ้าฝ้ายปั่นมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนาเดา และศูนย์เรียนรู้ผ้าฝ้ายปั่นมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนาเดา

          ‘ตูบแก้วมา’ รวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยมีคุณป้าจันทร์คำ แก้วมา เป็นผู้นำกลุ่ม คุณป้าเล่าว่าช่วงแรกเป็นการรวมกลุ่มเพื่อหารายได้เสริมในการเลี้ยงชีพเพราะการทำไร่ทำนาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างรายได้อย่างพอเพียง จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ อุตสาหกรรมจังหวัดลำปางเข้ามาสนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์และลวดลายให้ตรงกับความต้องการของตลาด และลายผ้าสร้อยดอกหมากกับลายดอกพริกไทยก็ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม หลังจากนั้นก็เริ่มมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุนมากขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนาเดาได้เข้าร่วมในโครงการฝ้ายแกมไหม พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตเส้นใยครบวงจรใช้ชื่อแบรนด์ว่า ‘ตูบแก้วมา’

          “สมัยเมื่อ ๒๐-๓๐ ปีที่แล้ว ที่นี่น้ำประปาก็ไม่มี ถนนก็ไม่มี มีแต่ทางเดินทางรถที่เป็นฝุ่นเป็นโคลน เวลาป้าจะไปในเมืองค่ารถ ๕ บาท ดีไม่ดีก็ไม่ถึงในเมือง เพราะระหว่างทางต้องดูซิว่าน้ำในห้วยมีไหม ถ้าไม่เยอะก็ได้ไป เพราะมันไม่มีสะพานถ้าน้ำเต็มห้วยก็เป็นอันว่าไปได้แค่ครึ่งทางต้องกลับบ้าน น้ำแห้งห้วยค่อยไปใหม่ ครอบครัวของเราก็ธรรมดา เหมือนกับชาวบ้านทั่วๆ ไป ป้าเป็นคนโต เลี้ยงน้อง ๖ คน พ่อแม่ทำไร่เลื่อนลอยนั่นแหละ ปีนี้ทำที่นี่ อีกปีหนึ่งก็ย้ายไปอีกที่หนึ่ง ปลูกข้าว ปลูกถั่วลิสง ที่นาของครอบครัวก็มีแต่ไม่เยอะ ปลูกข้าวไม่พอกิน

About the Author

Share:
Tags: ลำปาง / ฉบับที่ 6 / กี่ทอ / ทอผ้า / บ้านนาเดา /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ