Thursday, May 9, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

ซูเปอร์มาร์เก็ตชุมชนเพื่อความยั่งยืน

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 16
เรื่อง: ธาดา ราชกิจ

โมเดลธุรกิจโดยชุมชนเพื่อชุมชนที่กําลังได้รับความสนใจไปทั่วโลกนี้ก็คือ The People’s Supermarket ซูเปอร์มาร์เก็ตของปวงชนที่ถือกําเนิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๐ ในกรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษ โดยไอเดียนี้เริ่มจากกลุ่มคนทํางานเพื่อสังคมอย่าง “David Barrie” David Barrie, Kate Wick- es-Bull, Andrew Thornton ซึ่งพวกเขาได้แรงบันดาลใจมาจาก Park Slope Food ln Park Slope ที่บรูกลีน (Brooklyn) ในนิวยอร์ก สําหรับโครงการ The People’s Supermarket นี้เป็นแหล่งตลาดอาหารโดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง มีนโยบายธุรกิจที่สวนทางกับบริษัทยักษ์ใหญ่ซึ่งดําเนินธุรกิจเพื่อผลกําไรและเข้าสู่กระเป๋าของนายทุนผู้ประกอบการเพียงอย่างเดียว

ปรัชญาของ The People’s Supermarket นั้นคือ ต้องการสร้างสรรค์ธุรกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน (Commercially Sustainable) โดยนําหลักการผู้ประกอบการทางสังคม (Social Enterprise) เข้ามาเป็นแก่นในการดําเนินการธุรกิจซึ่งจะนําผลกําไรมาตอบแทนสังคมในรูปแบบต่างๆ สําหรับโครงสร้างธุรกิจนั้นก็คล้ายกับระบบสหกรณ์ แต่มีการบูรณาการรายละเอียดหลายๆ อย่างผสมผสานเข้าไปจนเกิดเป็นรูปแบบธุรกิจชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

นั่นคือ The People’s Supermarket จะรับสมัครสมาชิกที่เป็นคนในชุมชนมาร่วมบริหารซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้โดยสมาชิกจะเสียค่าสมัครปีละ ๒๕ ปอนด์ และต้องอาสามาทํางานในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้เดือนละ ๔ ชั่วโมง ทุกคนที่เป็นสมาชิกจะถือเป็นผู้บริหารร่วมกันมีสิทธิ์เสนอแนะสิ่งต่างๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจของชุมชน สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับก็คือ ส่วนลดที่พิเศษขึ้นไปอีกสําหรับการซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตของตนรวมถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมในหลากหลายด้านผ่าน The People’s Supermarket อีกด้วย

สินค้าที่นํามาขายใน The People’s Supermarket จะเน้นจากสินค้าภายในประเทศอังกฤษเท่านั้น และพยายามจะมุ่งเน้นสินค้าที่ผลิตในพื้นที่ชุมชนแถบนี้เป็นหลักโดยเฉพาะอาหารสดต่างๆ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมอาชีพในชุมชนแล้ว ยังเป็นการเกื้อกูลกัน โดยตรงด้วยติดต่อผู้ผลิตโดยตรง ให้ราคาที่ยุติธรรม ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็ยังเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกได้ด้วยแล้ว The People’s Supermarket เองก็ส่งเสริมให้สมาชิกนําสินค้าของตัวเองมาเสนอขายเช่นกัน ระบบธุรกิจเช่นนี้นอกจากจะช่วยส่งเสริมธุรกิจชุมชนอย่างเป็นระบบแล้วยังช่วยในเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วยโดยลดการขนส่งจากแหล่งไกลๆ ที่ไม่จําเป็น (โดยเฉพาะจากภายนอกประเทศ) ซึ่งลดมลพิษที่จะตามมาในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย นอกจากนี้ The People’s Supermarket ก็ยังสนับสนุนเกษตรกรรมที่ปลอดภัยและไม่ทําลาย สิ่งแวดล้อมด้วยรวมไปถึงนโยบายนําสินค้าพืชผักผลไม้ที่หน้าตาอาจไม่สวยงามถูกคัดทิ้ง ทว่าคุณประโยชน์ต่างๆไม่แตกต่างจากพืชผักที่หน้าตาสวยงามเลย เป็นการลดขยะอาหารไปอีกทาง

The People’s Supermarket เป็นความร่วมมือของชุมชนที่เกิดจากหลายภาคส่วน ตั้งแต่เรื่องธุรกิจไปจนกระทั่งดีไซน์หลายคน เป็นคนงานในบริษัทใหญ่ๆ ที่มีประสบการณ์ รวมถึงมีคนเก่งๆ ด้านการออกแบบมาร่วมเป็นสมาชิกด้วย The People’s Supermarket จึงมีการสร้าง Branding ที่ดีไปในตัวและนั่นก็เป็น ส่วนสําคัญที่ทําให้หลายคนสนใจโปรเจ็กต์นี้ในวงกว้างด้วย

หลายคนคงสงสัยว่า The People’s Supermarket แข่งกับยักษ์ใหญ่ด้านค้าปลีกของอังกฤษซึ่งมีแบรนด์ดังอยู่ในตลาดนี้มากมายได้ อย่างไร หัวใจสําคัญของการทําธุรกิจชุมชนนี้ คือการตั้งราคาขายสินค้าที่มีราคาต่ําที่สุดในท้องตลาดอย่างสมเหตุสมผลตลอดจนลดรายจ่ายที่ไม่จําเป็นซึ่งมีผลต่อต้นทุนสินค้า ไปจนถึงดีลกับแหล่งผลิตโดยตรงที่ไม่ต้องผ่านคนกลางซึ่งทําให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้นโดยไม่จําเป็น ที่สําคัญสมาชิกทุกคนจะพยายามทําให้ The People’s Supermarket มีกําไรให้ ได้มากที่สุด เพราะทางองค์กรจะนําผลกําไรนี้แหละไปช่วยลดราคาสินค้าให้ต่ําลง นอกจากจะดึงผู้บริโภคอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกมาใช้บริการแล้ว สมาชิกเองก็ยังได้รับสิทธิพิเศษในเรื่องราคาสินค้ามากกว่าผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่ได้ เป็นสมาชิกอีกด้วยกําไรคืนสู่ผู้ใช้ในรูปแบบผลประโยชน์ที่ต่อยอดให้กับองค์กรได้ในอีกหลากหลายด้าน ซึ่งนับเป็นการทําธุรกิจเพื่อความยั่งยืนที่ประสบผลสําเร็จทีเดียว

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : thepeoplessupermarket.org

About the Author

Share:
Tags: The People's Supermarket / Environment / food / green / Sustainability / ฉบับที่ 16 / ซูเปอร์มาร์เก็ต / supermarket / Social Enterprise /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ