Sunday, May 19, 2024
ภูมิปัญญาไทย บทความแนะนำ

บทเพลงแห่ง กี่ทอ

ศิลปะการทอผ้าพื้นบ้านน้อยคนนักที่จะสืบทอด
จันทร์คำ แก้วมา ผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ผ้าฝ้ายปั่นมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนาเดา

การออกแบบลายและการย้อมผ้าแบบใช้สีธรรมชาติ ป้าเป็นคนคิดลายใหม่ๆ อย่างสร้อยดอกหมากกับลายดอกพริกไทย ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มและมีชื่อเสียงขึ้นมา

          ป้ามีหน้าที่หาอาหารให้หมู แล้วก็เลี้ยงน้อง ไปโรงเรียนก็อุ้มน้องไปด้วย เป็นคนสนใจอยากเรียนหนังสือ เอาน้องไว้นอกห้อง แวบไปเรียนไปฟังครูสอน แล้วแวบมาดูน้องสลับกันไปจบแค่ ป.๔ แต่น้องๆ ก็ได้เรียนสูงกว่า เพราะเป็นคนรักเรียนต่อมาเลยมาเรียน กศน. เพิ่ม ส่วนเรื่องทอผ้า สมัยก่อนที่นี่ทอผ้าใช้เองทุกบ้าน ใต้ถุนบ้านจะมีกี่เล็ก กี่ใหญ่ แล้วแต่ มีทุกบ้านฝ้ายก็ปลูกเอง ปลูกแทรกไปกับพืชสวน เดือนมกรา มีนา เมษาฝ้ายออกดอกก็ไปเก็บมาเข็นมาปั่นกัน ทอเป็นเสื้อผ้า ผ้าห่มแล้วก็อื่นๆ ทำเองใช้เองกันทุกบ้าน ไม่ได้ขายหรอก มันไม่พอ

          วิชาทอผ้าก็ติดตัวมาตั้งแต่เด็กๆ เห็นแม่ทอเราก็สนใจป้าคิดเล่นๆ ว่า เรื่องทอผ้านี่บางทีเราอาจจะเก่งกว่าคนจบปริญญาก็ได้นะ ปริญญาเขาเรียนกันกี่ปีล่ะ แต่ป้านี่เริ่มทอผ้ามาตั้งแต่อายุสิบกว่าขวบ เวลาแม่ทอไว้แล้วหยุดเราก็แอบทอ ตอนอยู่ ป.๑ อยากมีผ้าผืนจอ้ ย แม่ก็สอนให้ทอ คนร่นุ ใหม่เรียนทอผ้าได้ ๔-๕ ปี เขาก็ว่าเขาเก่งแล้ว แต่ป้าถึงตอนนี้ก็ยังเรียนไม่จบ เรียนทั้งชีวิต เพราะเราพัฒนาเรื่องสีเรื่องลายไปเรื่อยๆ ไม่อยู่นิ่งก็เหมือนการทอที่ไม่จบสิ้น แต่ผ้าทอแบบชาวบ้านนี่ ก่อนหน้านี้ขายยาก ไม่มีตลาด คนรุ่นใหม่ไม่ชอบ เขาว่าซักยาก สีไม่สวย

          ต่อมามีโครงการพัฒนาชุมชนมาถามว่า แม่บ้านอยากทำอะไรอีกบ้างนอกจากทำไร่ทำนา ป้าเสนอว่าอยากมีอาชีพทอผ้า โครงการเขาก็ซื้อกี่ซื้ตะกอมาให้ ตอนนั้นมีแม่บ้านมาอบรมเป็นร้อยคนนะ เพราะใครๆ ก็อยากมีอาชีพเสริม ต่อมาก็บ่นเพราะทำนานกว่าจะได้ผ้า ตลาดก็ไม่มี จนเหลือ ๓ คนก็ทำกันมาจนเหลือป้าคนเดียว ทำมาตลอด พัฒนามันไปตามที่เราจะคิดได้ ใครชวนไปทำงานที่ไหนก็ไม่ไปคิดว่าจะอยู่ที่นี่แหละลูกเรียนที่นี่ ครอบครัว พ่อแม่ก็อยู่ที่นี่ ก็ทำมาเรื่อยๆ”

การทอลวดลายอย่างมีเอกลักษณ์ของตูบแก้วมา

          กลุ่มผ้าฝ้ายปั่นมือย้อมสีธรรมชาติบ้านนาเดาเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประเภทการผลิตสิ่งทอขนาดเล็ก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบันและให้ความสำคัญตามเกณฑ์การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทุกกระบวนการ ตั้งแต่การบันทึกจัดเก็บข้อมูล การคัดเลือกวัตถุดิบสำหรับการผลิตการเตรียมเส้นฝ้าย การใช้สีย้อมจากธรรมชาติ การจัดการน้ำเสีย การใช้พลังงาน และการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัด และเข้าร่วมกิจกรรมกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ ที่นี่จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ในกระบวนการ
ผลิตเส้นใยธรรมชาติแบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูกฝ้ายพื้นเมือง

          “ตอนแรกผ้าของทางกลุ่มขายไม่ดีเท่าไหร่ เพราะเป็นผ้าพื้นๆ ลายประจำท้องถิ่นสมัยปู่ย่าตายายก็ไม่ค่อยมี เป็นแบบง่ายๆ เหลี่ยมๆ หรือไม่ก็พื้นๆ เมื่อตอนที่กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนาเดาได้เข้าร่วมในโครงการฝ้ายแกมไหม ก็ค่อยๆ ดีขึ้นมีการพัฒนาเรื่องของการทอ เรื่องของการออกแบบลายและการย้อมผ้าแบบใช้สีธรรมชาติ ป้าเป็นคนคิดลายใหม่ๆ อย่างสร้อยดอกหมากกับลายดอกพริกไทย ทำให้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มและมีชื่อเสียงขึ้นมา ลายสร้อยดอกหมากเคยไปประกวดที่ลำปางได้ชนะเลิศ ๕ ดาว ปีแรกของ OTOP ลายนี้ป้าคิดตั้ง ๓ เดือน แก้แล้วแก้อีก มีอีกหลายลายนะ ดอกมะลิ ดอกปีบอยู่ที่ว่าเรามองอะไรที่มันคล้ายๆ เราก็มาตั้งชื่อ”

About the Author

Share:
Tags: ลำปาง / ฉบับที่ 6 / กี่ทอ / ทอผ้า / บ้านนาเดา /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ