Sunday, May 5, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ผ้าขาวม้า มหัศจรรย์

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 24
เรื่อง: ส. พลายน้อย

ผ้าขาวม้า

มหัศจรรย์

บางคนอาจสงสัยว่าเมื่อรู้ว่ามีปลาปักเป้าทําไมไม่อาบใน ห้องน้ํา ตรงนี้ต้องขยายความสักนิด คือเมื่อ ๘๐-๙๐ ปีมานี้ ชาวบ้านยังต้องอาบน้ําในคลองกันอยู่ ยังไม่มีห้องน้ําประจํา บ้าน ห้องส้วมก็ยังต้องไปทําไว้ห่างจากตัวบ้าน ฉะนั้นคนที่อยู่ ไกลจากแม่น้ํา เวลามาอาบน้ําก็จะมีปีบหรือถังใส่น้ําติดมาด้วย อาบน้ําเสร็จแล้วก็ตักน้ําหาบคอนกลับไปเป็นน้ําดื่มน้ําใช้ ทําอย่างนี้เป็นประจํา นี่คือวิถีชีวิตของชาวชนบทสมัยก่อน

ผ้าที่ผมนั่งอาบน้ํา (เฉพาะตัวผม) เป็นผ้าผืนเล็กไม่ เหมือนผ้าขาวม้าของผู้ใหญ่ และในสมัยนั้นผ้าขาวม้าสําหรับ เด็กเข้าใจว่าจะไม่มีใครทําขาย เพราะเด็กส่วนมากแก้ผ้าอาบน้ํากันทั้งนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมดา มีแต่เด็กผู้หญิงเท่านั้นที่นั่ง ผ้าถุง ผ้าที่นั่งอาบน้ําเท่าที่จําได้สีค่อนไปทางเหลืองๆ แดงๆ ขนาดพอนุ่งหยักรั้ง หรือถกเขมรได้ แต่จะเขียนว่าอะไรนึกไม่ ออก ที่จําได้คือมีผ้ายี่โป้อยู่ผืนหนึ่ง ครั้งเป็นเด็กมีกางเกงแพร สีดําอยู่ตัวหนึ่ง ไปการงานที่ไหนก็นุ่งกางเกงแพรไป มีรูปถ่าย ในงานศพย่า นุ่งกางเกงแพรแต่ไม่ใส่เสื้อ นุ่งกางเกงแพรนอกจากมีเข็มขัดคาดพุงแล้ว ผู้ใหญ่ก็ให้คาดผ้ายี่โป้ไปด้วย บางทีก็ใช้ผ้ายี่โป้นั้นนุ่งต่างผ้าขาวม้า (เมื่อ ๘๐ ปีมาแล้วผู้ใหญ่ บางคนก็เรียกผ้าขาวม้าว่า ผ้ายี่โป้ คํานี้ว่าเป็นภาษาจีน) ผ้ายี่โป้ที่ผมใช้ยังจําได้ว่าคาดพุงไปเที่ยวงานฉลองรัฐธรรมนูญคือมีผู้ใหญ่คนหนึ่งมาชวนไปเที่ยว แล้วพาไปนั่งกินข้าวต้มปลา ที่มาขายในงานนั้น ส่วนผู้ใหญ่ไม่ได้นั่งกินด้วย แอบไปหาเหล้า กิน เมื่อผมกินข้าวต้มหมดแล้วแกก็ยังไม่มา คนขายข้าวต้ม มาเก็บค่าข้าวต้ม ผมไม่มีให้คนขายก็ยึดผ้ายี่โป้ไปแทน ตั้งแต่ นั้นผมก็ไม่มีผ้ายี่โป้ใช้อีก เปลี่ยนมานุ่งกางเกงขาสั้นอาบน้ํา

ส่วนผู้ใหญ่นั้นเฉพาะที่บ้านของผมใช้ผ้าขาวม้าบ้านไร่ซึ่ง ถือกันว่าเป็นผ้าขาวม้าเนื้อดี มีขนาดใหญ่ นอกจากนั่งอาบน้ํา แล้วยังใช้ห่มกันหนาวได้อีกด้วย เวลาไปทําบุญที่วัดเคยเห็น คนมีอายุไม่ใส่เสื้อ แต่ใช้ผ้าขาวม้าพาดที่บ่าซ้าย เวลากราบ พระก็ปลดชายผ้าขาวม้าข้างหนึ่งปูกับพื้นศาลา กราบลงบน ผ้าขาวม้า แต่ถ้าใส่เสื้อกุยเฮงก็จะมีผ้าขาวม้าคาดพุง ถ้าเห็นที่ จะนั่งจะนอนมีฝุ่นละออง ก็เอาผ้าคาดพุงนั่นแหละมาปัดฝุ่น

ผ้าขาวม้าสมัยก่อนจะทําเป็นตาสี่เหลี่ยม สีน้ําเงินสลับขาว หรือสีแดงสลับขาว ไม่ใช้สีฉูดฉาด แต่ก็มีบางคนใช้ผ้าสีแดง แต่มีน้อยมากเพราะคนโบราณเขาถือว่าสีแดงเป็นสีที่เจ้านายใช้ ชาวบ้านไม่ควรทัดเทียมเจ้า คนนุ่งผ้าขาวม้าสีแดงที่มี ชื่อเสียงสมัย ๕๐-๖๐ ปีมานี้ก็คือ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งมีฉายาเรียกกันว่า จอมพลผ้าขาวม้าแดง

ผมเคยถามเด็กรุ่นใหม่ว่ารู้จักผ้าโป้ไหม เขาตอบว่า ไม่เคยได้ยินใครเรียก ผมเองถึงจะเคยใช้แต่ก็นานร่วม ๘๐ ปีมาแล้ว อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน ที่มีใช้นั้นได้ความจากผู้ใหญ่ ว่า มีคนไปเที่ยวงานพระบาทที่จังหวัดสระบุรี เขาเห็นผ้าโป้ ที่คนพื้นเมืองทอมาขายมีสีสันสวยงามดี เหมาะสําหรับเด็ก เขา ก็ซื้อมาฝาก ตามคําเล่าเขาว่าซื้อแล้วก็คาดเอวมา พอถึงบ้าน ก็แก้ออกจากเอวส่งให้ว่าเป็นของฝาก เรียกว่าให้ด้วยน้ําใจจริงๆ ผ้าอีกอย่างหนึ่งที่คนชอบซื้อมาฝากคุณย่าคุณยายก็คือ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ แบบผ้าเช็ดหน้า มีเฉพาะสีเหลืองกับ สีแดงทอเป็นลายผสมกัน บางคนเรียกว่าผ้าประเจียด แต่ที่ ชาวบ้านเรียกกันโดยมากว่าผ้าเช็ดน้ําหมาก เพราะในครั้ง กระโน้นคนเฒ่าคนแก่ยังกินหมากกันอยู่ น้ําหมากไหลเลอะปากก็เอาผ้านี้เช็ด บางคนก็ใช้ผ้าสีแดงทําขนาดผ้าเช็ดหน้า เพราะสีแดงกลมกลืนกับสีน้ําหมาก

เรื่องผ้าขาวม้าไม่มีกล่าวถึงในหนังสือวรรณคดี เห็นจะถือว่าเป็นของไม่สวยไม่งาม ผิดกับผ้าคาดเอวที่เรียกกันว่า ผ้าเจียระนาด อย่างเจ้าเงาะในเรื่องสังข์ทอง เวลาแต่งตัวก็ “คลี่ผ้ากุศราชออกมาคาดพุง” เพราะผ้ากุศราชเป็นของ สวยงาม ไม่มีกล่าวถึงเอาผ้าขาวม้ามาคาดพุงเลย และถ้าจะ ถามว่าผ้าขาวม้ามีใช้แต่ครั้งใดก็คงตอบได้ยาก เพราะไม่มีกล่าวไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่ชื่อที่เรียกก็ยังไม่ทราบ ว่ามาจากภาษาอะไร และทําไมจึงเป็น “ผ้าขาวม้า” ทั้งๆ ที่ ไม่ใช่ผ้าขาวและไม่ได้เกี่ยวกับม้า

นานมาแล้วเคยค้นชื่อที่เกี่ยวกับผ้าต่างๆ ได้พบชื่อผ้าชนิด หนึ่งในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย มีคําว่า “ผ้ากามา” (เขียนจาก ความจําไม่ทราบว่าคลาดเคลื่อนหรือเปล่า) เสียงของคําใกล้ เคียงกับคําว่า “ผ้าขาวม้า” มาก และในภาษามลายูมีคําว่า กามาร (Kamar) แปลว่า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคาดพุง และว่ามา จากภาษาเปอร์เซียหรืออิหร่าน ก็ดูจะเข้าเค้ากับผ้ากามาใน จารึกสุโขทัย คนเปอร์เซียเข้ามาค้าขายสมัยสุโขทัยได้ทิ้งชื่อไว้ในศิลาจารึกหลายคํา เช่นตลาดปสาน การแต่งกายของคน เปอร์เซียก็มีผ้าคาดพุง คือ “กามา” คนไทยเห็นเข้าคงชอบใจ ก็เอามาแต่งบ้าง ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “ผ้าขาวม้า” เคยได้ยินชาวชนบทสมัย ๗๐-๘๐ ปีมาแล้ว เรียกผ้าขาวม้าว่า “ผ้าอะม้า” ก็มี “ผ้าขะม้า” ก็มี การเรียกเพี้ยนๆ ไปอย่างนี้ใน ภาษาไทยมีอยู่มาก อย่างเรือขุดชนิดหนึ่งที่เราเรียกว่า “เรือพายม้า” นั้น ก็มาจาก “เรือพม่า” นั่นเอง

คนเปอร์เซียจะใช้ผ้ากามานั่งอาบน้ําด้วยหรือเปล่าไม่ทราบ แต่คนไทยคงได้เห็นแบบอย่างจากพระสงฆ์ที่ใช้ “ผ้าอาบน้ําฝน” นุ่งในเวลาสรงน้ํามาแล้ว เพราะพระสงฆ์ที่เข้า มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาน่าจะเป็นแบบอย่างให้ชาวบ้านนุ่งผ้าอาบน้ําโดยนําผ้ากามามาดัดแปลง แล้วเรียกผ้านั้นว่า ผ้ากามา ภายหลังสําเนียงค่อยเพี้ยนเป็นผ้าขะม้า ผ้าคะม้า และผ้าขาวม้าในที่สุด คือเรียกให้สะดวกปากคนไทย นี่เป็นการเดาเล่น

ชาวบ้านนุ่งผ้าอาบน้ําโดยนําผ้าทามามาดัดแปลง แล้วเรียก ผ้านั้นว่าผ้ากามา ภายหลัง สําเนียงค่อยเพี้ยนเป็นผ้าขะม้า ผ้าคะม้า และผ้าขาวม้าในที่สุด

กล่าวโดยสรุป การใช้ผ้าขาวม้านั่งอาบน้ําน่าจะมีมาแต่ ครั้งสุโขทัยโน้นแล้ว แต่เรียกชื่อตามต้นแบบคือผ้ากามา เพื่อ ให้ต่างกับผ้าอาบน้ําฝนของพระสงฆ์ ซึ่งกล่าวกันว่าแต่ครั้ง พุทธกาลพระสงฆ์มีแต่สบงกับจีวร (สังฆาฏิ หรือผ้าพาดบ่า ซ้ายมาเพิ่มขึ้นภายหลังเพื่อใช้ห่มกันหนาว) ตามพุทธประวัติ เล่าว่า เมื่อพระสิทธัตถะออกบรรพชาใหม่ๆ ได้เสด็จไป บิณฑบาตที่กรุงราชคฤห์ ระหว่างทางทรงพบแม่น้ําสายหนึ่ง ใกล้กรุงราชคฤห์ จึงเสด็จลงสรงในแม่น้ํานั้น พระองค์ลงสรง อย่างไรคงต้องใช้จินตนาการเอาเอง เพราะพระองค์มีสองกับ จีวรเท่านั้น ครั้นต่อมามีสาวกเพิ่มขึ้น การสรงน้ําก็คงเป็นแบบ เดิมๆ กล่าวกันว่า นางวิสาขาได้ทราบเรื่องเห็นว่าไม่เหมาะสม จึงกราบทูลขอถวายผ้าอาบแก่พระสงฆ์ ในภาษาบาลีเรียกว่าผ้าอุทกสาฎก ในปัจจุบันยังมีประเพณีถวายผ้าอาบน้ําฝนแก่ พระสงฆ์ (เรียกชื่อเต็มๆ ว่า ผ้าชุบสรง หรือผ้าชุบอาบ เจ้านายก็เรียกอย่างนี้)

เล่าเรื่องการนุ่งผ้าอาบน้ําแบบเลาพลาดพาดมาข้างต้น ก็เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมว่าคลี่คลายมา อย่างไร การใช้ผ้าขาวม้านั่งอาบน้ําก็เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ของคนโบราณ ผู้ใหญ่เคยเล่าว่า ผู้ชายสมัยก่อนที่นิยมสัก ตั้งแต่เอวถึงเหนือเข่านั้นก็เพราะไม่ใช้ผ้าขาวม้านั่งอาบน้ํา รอยสักดําไปหมดมองไม่เห็นอะไร ฟังดูก็ชอบกล อีกเรื่องหนึ่ง ท่านมีความเห็นว่า การนุ่งโสร่งกับผ้าขาวม้านั้นเป็นของคู่กัน คนนุ่งโสร่งจะมีผ้าขาวม้าคาดพุง คนนุ่งผ้าโจงกระเบน (ผู้ชาย) จะมีผ้าขาวม้าพาดไหล่ ที่ท่านพูดก็ดูจะจริง เพราะในชนบท บ้านนอกนิยมกันอย่างนั้น ตัวเองก็เคยเห็นมาแต่ครั้งเป็นเด็ก

ผู้อ่านที่มีอายุ ๘๐ คงจะระลึกได้ว่า ทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาเมืองไทยสมัยสงครามโลกล้วนแต่แก้ผ้าอาบน้ําทั้งนั้น เพราะ บ้านเมืองเขาปฏิบัติกันมาอย่างนั้น ต่อมาจะมีใครไปบอกหรือ คิดได้เองก็ไม่ทราบ จึงมีผ้าขาวผืนเล็กๆ ผูกเอวบังสิ่งลี้ลับไว้ ถามเพื่อนที่เป็นทหารว่าเวลาอาบน้ําทําอย่างไร ถ้าอาบใน โรงทหาร มีแต่ทหารด้วยกันก็อาบแบบญี่ปุ่น แต่ถ้าอาบนอก สถานที่ก็นุ่งผ้าขาวม้า ก็โล่งใจไปหน่อย

นึกถึงหนุมานหลังจากเผากรุงลงกาแล้วกลับมาเฝ้าพระรามซึ่งเพิ่งขึ้นจากสรงน้ําพอดี พระรามดีใจที่ได้ข่าว นางสีดา คิดจะให้รางวัลแต่ไม่มีอะไรอยู่ใกล้มือ จึงผลัดผ้า ชุบสรงให้เป็นรางวัล ดูเหมือนจะมีอยู่ครั้งเดียวในเรื่อง รามเกียรติ ที่บอกว่าพระราชาทรงผ้าชุบสรงอาบน้ํา ถือเป็น หลักฐานได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 9 คนไทยนั่งอาบน้ํากันแล้ว (อาจจะมีเฉพาะผู้มีบรรดาศักดิ์ ส่วนชาวบ้านคงเป็นไปตาม ฐานะและอัธยาศัย หรือสถานที่ เพราะไม่หลักฐานชัดเจน)

กล่าวตามความเป็นจริง ชาวชนบทใช้ผ้าขาวม้ามากกว่าในเมือง ยิ่งเป็นชาวนาก็ยิ่งใช้ทําประโยชน์มาก นอกจากใช้นุ่ง อาบน้ําแล้วก็ใช้โพกศีรษะกันแดด ใช้เช็ดเหงื่อ ใช้ห่ออาหารไป กินตอนกลางวันเมื่อไปทํานา ใช้ผูกเป็นเปลให้ลูกหลานนอนม้วนเป็นหมอนหนุนเมื่อตอนพักที่เถียงนาตอนกลางวัน เมื่อ ครั้งเป็นเด็กเห็นพวกเวลาไปเที่ยวงานสงกรานต์จะเอาผ้าขาวม้ามาคาดพุงไปด้วย พอถึงเวลาเล่นลูกช่วงก็เอาผ้า ขาวม้ามาม้วนเป็นลูกช่วง ไม่ต้องไปหาอุปกรณ์ที่อื่น คนเฒ่า คนแก่เล่าว่าสมัยที่ตํารวจยังไม่มีกุญแจมือใช้นั้น เมื่อจับคนร้าย ได้ก็ใช้ผ้าขาวม้าของคนร้ายนั้นเองมัดมือมาโรงพัก และคงทํา ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกแต่นึกไม่ออก

ปัจจุบันคนในเมืองไม่นิยมใช้ผ้าขาวม้าเพราะอาบน้ําใน ห้องน้ํา นุ่งผ้าขนหนูผืนใหญ่ซึ่งใช้เช็ดตัวได้ด้วย ส่วนผมยัง เป็นคนโบราณใช้ทั้งผ้าขาวม้าและผ้าขนหนู เป็นภาระมากกว่า แต่จะทําอย่างไรได้เพราะเคยทํามาอย่างนั้น และด้วยเหตุดังกล่าว ผ้าขาวม้าอาจขายได้น้อยลงจึงได้นําผ้าขาวม้ามาตัด เป็นเสื้อ เป็นกางเกง ไม่ต้องไปง้อผ้าลายสก็อตจากต่างประเทศ ทั้งยังเป็นผ้าฝ้ายสวมใส่สบาย ซึ่งวงการแพทย์แผนไทยแนะนํา ให้คนเป็นโรคร้อนในใช้ผ้าฝ้ายดีกว่าผ้าใยสังเคราะห์ เพราะจะ ทําให้ร่างกายสบายดีขึ้น เสียแต่ว่าผ้าฝ้ายแท้ๆ เริ่มจะหายาก เพราะไม่มีขายทั่วไป

เมื่อครั้งเป็นเด็ก คือเมื่อ ๗๐-๘๐ ปีมาแล้ว คนที่มาช่วยงานการกุศล เช่น บวชนาค งานศพ ไม่มีเงินช่วยก็ช่วยด้วย แรงตักน้ํา หาฟืน หุงข้าวกระทะ เมื่อเสร็จงานเจ้าภาพก็จะแจก ผ้าขาวม้าให้คนละผืนเป็นการตอบแทนน้ําใจ และที่ถือเป็นประเพณีอีกอย่างหนึ่ง คือพวกฝีพายเรือแข่งทุกลําที่มาแข่งในงานวัดจะได้รับแจกผ้าขาวม้าทุกคนไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ

ปัจจุบันพวกที่เป็นใหญ่เป็นโตในกรุงออกไปดูไปเยี่ยม ราษฎรในชนบท ชาวบ้านก็จะนําผ้าขาวม้ามาคาดพุงให้ เป็นการรับขวัญหรือต้อนรับ ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวแล้ว เห็นว่าดีกว่าการให้พวงมาลัยดอกดาวเรืองเสียอีก และที่ควร บันทึกไว้ก็คือ สงกรานต์ปีนี้ (๒๕๖๐) ได้เกิด “ถนนผ้าขาวม้า” ขึ้นแห่งหนึ่งที่จังหวัดมหาสารคาม

นับเป็นถนนที่เชิดชูผ้าขาวม้าแห่งแรกของเมืองไทย และจะเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสืบไป

About the Author

Share:
Tags: ผ้าขาวม้า / ฉบับที่ 24 /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ