Sunday, May 19, 2024
ภูมิปัญญาไทย ส.พลายน้อย ชื่นชมอดีต

กระโถน (ส.พลายน้อย)

ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยบอกว่า ในท้องพระโรงสมัยก่อนก็ใช้กระโถนปากแตร แต่ปากหนักไม่ได้ถามท่านว่าเป็นกระโถนขนาดไหน เข้าใจเอาเองว่าคงจะมีขนาดใหญ่ เพราะมีสำนวนพูดกันว่า “เป็นกระโถนท้องพระโรง” หมายความว่า เป็นที่รองรับความผิดของผู้อื่น คือ ใครมีอะไรก็เอามาใส่ในกระโถน จึงน่าจะมีขนาดใหญ่สักหน่อย

      กระโถนกระเบื้องหนักระวังยากจึงเก็บเข้าตู้ ซื้อกระโถนสังกะสีมาใช้แทนต่อมาคนนิยมซื้อถวายวัดกันมาก บางวัดที่ทำพิพิธภัณฑ์สำหรับวัดได้เก็บรักษาไว้พอหาดูได้

      เขียนมาถึงตรงนี้ได้หยุดไปหลายวัน เพื่อสอบถามคนเล่นของเก่าว่าเห็นกระโถนวังหน้าที่ไหนบ้างเพื่อจะได้ขอถ่ายรูปก็ไม่ได้ความ ไม่มีใครเคยเห็น แต่เขารับรองว่ามีกระโถนสมัยสุโขทัย เป็นกระเบื้องเคลือบลาย พอจะหาดูได้ตามร้านขายของเก่าหรอื พิพิธภัณฑสถาน เพื่อนคนหนึ่งอ่านอักษรธรรมทางล้านนาได้พบคำ ‘สะโถน’ ว่ามีทั้ง ‘สะโถนคำ’ และ ‘สะโถนเงิน’ เขียนในใบลาน ก็เป็นภาษาเก่าอีกคำหนึ่ง จึงบันทึกไว้กันลืม

      ในตอนต้นกล่าวถึงกระโถนปากแตรที่ขุนช้างเอามาครอบหัว เคยถามบางคนว่ารู้จักไหม เขาบอกว่าไม่เคยเห็น เผอิญมีกระโถนปากแตรทองเหลืองขนาดจิ๋วอยู่ลูกหนึ่ง จึงหยิบให้เขาดูว่าปากเหมือนปากแตร คือบานผายออกมากกว่ากระโถนชนิดอื่น นอกจากเป็นเครื่องยศของพระแล้วตามบ้านขุนนางก็มี ครั้งหนึ่งตามอาจารย์เปลื้อง ณ นคร ไปในงานสวดศพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (แย้ม ณ นคร) ที่บ้านถนนวิทยุ ก็เห็นกระโถนปากแตรขนาดใหญ่สูงประมาณ 2 ศอก ตั้งเด่นอยู่ข้างเสา เข้าใจว่าจะไม่ได้ใช้ทำอะไร เป็นเครื่องประดับหรือจะอย่างไรไม่ได้ถาม แต่เห็นแล้วสะดุดตาเพราะไม่เคยเห็นกระโถนที่ไหนใหญ่เท่าลูกนี้

      ผู้ใหญ่ท่านหนึง่ เคยบอกว่า ในท้องพระโรงสมัยก่อนก็ใช้กระโถนปากแตร แต่ปากหนักไม่ได้ถามท่านว่าเป็นกระโถนขนาดไหน เข้าใจเอาเองว่าคงจะมีขนาดใหญ่ เพราะมีสำนวนพูดกันว่า “เป็นกระโถนท้องพระโรง” หมายความว่า เป็นที่รองรับความผิดของผู้อื่น คือใครมีอะไรก็เอามาใส่ในกระโถนจึงน่าจะมีขนาดใหญ่สักหน่อยเนื่องจากกระโถนเป็นที่ทิ้งสิ่งสกปรก จึงเอามาเปรียบกับคนที่ชอบพูดเรื่องไม่ดี เรื่องหยาบคายหรือให้ร้ายผู้อื่นว่าเป็นพวกปากกระโถน หรือปากเป็นกระโถน ในปัจจุบันไม่มีคนพูดกันแล้ว เห็นจะเป็นเพราะไม่มีกระโถนใช้เหมือนอย่างแต่ก่อนนั่นเองกระโถนกถาเท่าที่นึกได้ก็มีเพียงเท่านี้แลฯ

About the Author

Share:
Tags: นิตยสารอนุรักษ์ / อนุรักษ์ / anurakmagazine / ส.พลายน้อย / ภูมิปัญญาไทย / สมบัติ พลายน้อย / กระโถน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ