Sunday, May 19, 2024
ภูมิปัญญาไทย ส.พลายน้อย ชื่นชมอดีต

กระโถน (ส.พลายน้อย)

      ถ้าจะว่ากันไปแล้ว คนไทยนิยมใช้กระโถนมากกว่าคนชาติอื่นๆ ที่กล่าวเชน นี้เพราะเคยเห็น กระโถนชนิดต่างๆ มีทั้งที่ทำด้วยทอง เงิน ทองเหลือง สังกะสีเคลือบเขียนลายดอกไม้ คนนิยมซื้อถวายวัด ดินเผาธรรมดาจะวางไว้ตามศาลาให้อุบาสก อุบาสิกาที่มาทำบุญถือศีลบ้วนน้ำหมาก ถ้าเป็นของนอกก็มีพวกกระเบื้องกังไสทำมาจากเมืองจีน บางทีจะเป็นของสั่งทำ เพราะมีตั้งแต่ขนาดปากกว้างหนึ่งนิ้วขึ้นไปจนถึงปากกว้างเก้านิ้ว สิบนิ้ว ขนาดปากกว้างหนึ่งนิ้วใช้ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ เข้าใจว่าจะสั่งมาเป็นของเล่นขนาดจิ๋ว

      กระโถนดังกล่าวลายเดียวกันทั้งลูกใหญ่ลูกเล็ก เคยถามคนจีนว่าเขาเรียกลายอะไร แต่นานมาแล้วจำไม่ถนัดดูเหมือนจะเป็น ‘เซี่ยะมึ้ง’ จำได้ถนัดแต่ว่าเป็นลายประตูเมือง ครั้งหนึ่งมีการประกวดกระโถนขนาดเล็กที่สุด มีเซียนพระรู้จักกันมาขอเอาไปประกวด เพราะเขาเห็นว่าคงไม่มี

ถ้าจะว่ากันไปแล้ว คนไทยนิยมใช้กระโถนมากกว่าคนชาติอื่นๆ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเคยเห็นกระโถนชนิดต่างๆ มีทั้งที่ทำด้วยทอง เงิน ทองเหลือง สังกะสีเคลือบเขียนลายดอกไม้ คนนิยมซื้อถวายวัด

      กระโถนอะไรจะเล็กไปกว่านี้ แต่เมื่อประกาศผลออกมาปรากฏว่ากระโถนที่ลูกใหญ่กว่าได้รับรางวัลที่ 1 กระโถนปากกว้าง 1 นิ้วเล็กที่สุดได้รางวัลที่ 2

      ของที่คู่กับกระโถนอีกอย่างหนึ่งซึ่งหายไปก็คือขันน้ำในการตั้งสำรับสมัยก่อนนอกจากต้องมีกระโถนแล้วก็ต้องมีขันน้ำด้วย เป็นขันใส่น้ำปากกว้างประมาณ 6 – 8 นิ้ว มีจอกเล็กๆ ลอยอยู่เพื่อตักน้ำในขันล้างมือเพราะคนแต่ก่อนใช้มือเปิบข้าว เช่น “ขุนช้างหยิบจอกน้ำมาล้างมือ” เป็นตัวอย่าง แต่เพิ่งเข้าใจว่าไม่ได้ล้างมือในจอก เอาจอกตักน้ำในขันมาล้างมือให้น้ำไหลลงกระโถน

      ในราชการงานหลวง จะพบในหมายรับสั่งถึงเรื่องกระโถนกับขันน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะงานที่มีพระสงฆ์เช่น “ให้สนมพลเรือนจัดพานหมากกระโถน ขันน้ำ มาตั้งถวายกรมหมื่นบวรรังษีเสมอทุกเพลา” หรือ “ให้พระคลังมหาสมบัติจัดกระโถน ขันน้ำ ไปตั้งถวายพระราชาคณะ” ที่ต้องกำชับเรื่องกระโถนก็เพราะพระสงฆ์ฉันหมาก เมื่อฉันหมากก็ต้องมีที่บ้วนน้ำหมากคือกระโถน ถ้าไม่มีกระโถนหรือมีไม่พอแก่ความต้องการก็คงจะต้องแอบบ้วนกันไม่เป็นที่

      ในสมัยกรุงเทพฯ นี่เอง มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อรื้อศาลาลูกขุนใน มีผู้พบกองน้ำหมากและชานหมากบ้วนทิ้งไว้บนพื้นศาลากองใหญ่เท่ากระด้งถึงสองกอง สันนิษฐานกันว่าแต่ก่อนนี้พวกลูกขุนในจะไม่มีกระโถนใช้ ซ้ำที่พื้นศาลายังปูเสื่อผืนใหญ่เต็มไปหมด เมื่อไม่มีกระโถนก็เลยบ้วนน้ำหมากลงใกล้ๆ ตัวตามความเคยชิน ชานหมากจึงมากถึงขนาดนั้น

      ตามประเพณีโบราณของไทย เมื่อเจ้านายหรือขุนนางเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ก็จะมีบ้วนพระโอษฐ์และกระโถนประจำตำแหน่ง เรื่องนี้มีกล่าวไว้ในตำราหน้าที่ชาวที่ตอนหนึ่งว่า “ถ้าขุนนางเฝ้าบนที่ให้คลานด้วยศอก และให้ตั้งบ้วนพระโอษฐ์เงินสำหรับเจ้าต่างกรมกระโถนดีบุกสำหรับขุนนาง” ดังนี้จะเห็นว่ากระโถนเป็นเครื่องบอกฐานะตำแหน่งของผู้ใช้ด้วย นอกจากนี้ภาษาที่ใช้เรียกก็ต้องใช้ตามราชาศัพท์ เช่น เรียกกระโถนเล็กว่า ‘พระสุพรรณศรี’ เรียกกระโถนใหญ่ว่า ‘พระสุพรรณราช’ เป็นชื่อที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ แต่ถ้าเป็นพระราชวงศ์ใช้ว่า ‘บ้วนพระโอษฐ์’

      ประเทศที่ยกย่องกระโถนมากเป็นพิเศษเห็นจะเป็นพม่า เพราะตามประเพณีพม่าถือว่ากระโถนเป็นของมีศักดิ์สูง มีเรื่องเล่ากันว่า ครั้งพระยา

About the Author

Share:
Tags: นิตยสารอนุรักษ์ / อนุรักษ์ / anurakmagazine / ส.พลายน้อย / ภูมิปัญญาไทย / สมบัติ พลายน้อย / กระโถน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ