Sunday, May 19, 2024
ภูมิปัญญาไทย ส.พลายน้อย ชื่นชมอดีต

กระโถน (ส.พลายน้อย)

      คุตบองหรือทุตตะบอง ซึ่งมีบุญญาธิการมากนั้น ครั้งหนึ่งพระองค์ได้บ้วนน้ำหมากลงบนพื้นดิน และด้วยฤทธานุภาพบันดาลให้ร้อนลงไปจนถึงบาดาล พญานาคทนไม่ไหวเห็นว่าถ้าปล่อยให้พระยาคุตบองบ้วนนน้ำหมากลงบนพื้นดินต่อไปอีก ตนเองก็จะหาความสุขไม่ได้ พญานาคจึงเอากระโถนสำหรับบ้วนน้ำหมากมาถวาย

      กล่าวกันว่าด้วยเหตุนั้น เมื่อพระเจ้าแผ่นดินพม่าจพระราชทานเครื่องยศให้แก่ข้าราชการ ก็ประทานแต่พานหมาก คนโท และของอื่นๆ ตามแต่จะโปรด ส่วนกระโถนยังไม่ประทานให้ ถือว่าเป็นของมีศักดิ์สูง จะประทานให้ต่อภายหลัง

      ตามประเพณีไทยโบราณก็ถือว่ากระโถนเป็นของสำคัญเช่นกัน ผู้มีบรรดาศักดิ์สูงเมื่อได้รับพระราชทานเครื่องยศพานทองก็ย่อมได้กระโถนทองด้วย (กระโถนลูกเล็กเพื่อเป็นเกียรติ) กระโถนทองนั้นก็ต่างกันอีกถ้าเป็นราชตระกูลเป็นกระโถนทองคำสลักลาย ถ้าไม่ใช่ราชตระกูลก็เป็นกระโถนทองคำพื้นเกลี้ยง ดูเหมือนจะมีระเบียบทางราชการกำหนดไว้จำได้แต่ว่ากระโถนก็เป็นเครื่องยศอย่างหนึ่ง

      นอกจากขุนนางชั้นผู้ใหญ่แล้ว พระภิกษุที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ก็มีเครื่องประกอบสมณศักดิ์หลายอย่างรวมทั้งกระโถนด้วย แต่ต่างไปจากกระโถนขุนนางคือ เป็นกระโถนเครื่องถมปัด ทำด้วยทองแดงเคลือบน้ำยาสี มีลวดลายต่างๆ ดูเหมือนสมณศักดิ์สูงจะมีกระโถนหลายชนิดเช่น กระโถนปากแตรอย่างใหญ่ กระโถนกลมอย่างกลาง กระโถนเล็กทรงกระทาย ถ้าเป็นตำแหน่งรองลงไปก็ลดจำนวนน้อยลงไปตามลำดับจนถึงตำแหน่งพระครูเหลือกระโถนเพียงลูกเดียว แม้กระนั้นถ้าเป็นพระครูต่างจังหวัดก็ยังเปลี่ยนจากกระโถนถมปัดเป็นกระโถนกระเบื้อง

      ด้วยเหตุที่กระโถนมีความสำคัญดังกล่าวนี้เอง ในสมัยก่อนรูปถ่ายพระเถรานุเถระทั้งหลายจึงมีกระโถนวางประดับอยู่ข้างหน้า บางรูปก็มีขันน้ำพานรองด้วย

      ในตอนต้นกล่าวไว้ว่า บ้านคนไทยจะมีกระโถนเพราะคนไทยกินหมากสิ่งที่เชิดหน้าชูตาก็คือเชี่ยนหมากกับกระโถน เพราะใช้รับแขกทุกวัน ตอนเป็นเด็กจำได้ว่ายังใช้กระโถนกระเบื้องลายประตูเมืองอยู่ แต่ภายหลังมีกระโถนสังกะสีเคลือบสีเข้ามาขาย ราคาถูก น้ำหนักเบา ผู้ใหญ่เห็นว่า

About the Author

Share:
Tags: นิตยสารอนุรักษ์ / อนุรักษ์ / anurakmagazine / ส.พลายน้อย / ภูมิปัญญาไทย / สมบัติ พลายน้อย / กระโถน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ