Monday, May 6, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

มหาสถูปรูปรอยสัมพันธ์ อนุราธปุระ นครศรีธรรมราช

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 6
เรื่อง / ภาพ : จิระนันท์ พิตรปรีชา

คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจว่า “ลังกาวงศ์” มาได้อย่างไร ตั้งแต่สมัยไหน แต่คนศรีลังกาไม่น้อยรู้จัก “พระอุบาลีเถระ” ในฐานะ “ฮีโร่” สมณทูตจากอยุธยาที่เดินทางไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกา หลังจากถูกฝรั่งชาติตะวันตกเข้ามายึดครองข่มขู่ทำาลายวัดวาอารามคณะสงฆ์จนแทบสูญสิ้น

แม้สายสัมพันธ์ข้ามมหาสมุทรอินเดียในช่วงหลังๆ ช่างเหินห่างเสียจนเราแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับประเทศศรีลังกา ได้แต่จิบชารสดียี่ห้อดังของฝรั่งที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลผลิตจาก “ซีลอน” ใครจะไปทัวร์ธรรมะต่างแดนก็มุ่งเจาะจงสังเวชนียสถานในอินเดียและเนปาลตามรอยพุทธประวัติ แต่ไม่เคยนึกสงสัยว่าเรารับศาสนาพุทธมาจากไหนและอย่างไร

มหาสถูปรูปรอยสัมพันธ์

อนุราธปุระ นครศรีธรรมราช

พระพุทธศาสนาในไทย “นำเข้า” จากศรีลังกาโดยตรง จึงเรียกว่า “ลังกาวงศ์”
แต่คนศรีลังกาเรียกนิกายหลักของศาสนาพุทธในประเทศตัวเองว่า “สยามนิกายะ”

หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไม่นานศาสนาพุทธในอินเดียรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช (พุทธศตวรรษที่ 2-3) ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนาตามเส้นทางสายไหมเข้าสู่จีน และอีกสายหนึ่งมาสู่สุวรรณภูมิ… แต่นั่นก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับรากเหง้าประเพณีความเชื่อของชาวไทยพุทธนักเพราะในยุคนั้นกลุ่มบรรพชนไท-ลาวยังไม่ “แจ้งเกิด” ด้วยซ้ำ

เราได้แต่มโนนึกกันไปว่ากษัตริย์อ้ายลาวผู้สร้างพระปฐมเจดีย์ในดินแดนทวารวดียุคแรกรับพุทธศาสนาในสุวรรณภูมินั้น คือบรรพบุรุษไทย (หลัง “อ้ายลาว” ล่มสลาย เมืองพุทธโดดเด่นขึ้นแทนที่ก็ยังไม่ใช่ชุมชนไท-ลาว ดังเช่น ทวารวดี ละโว้พุกาม อีกหลายร้อยปีกว่าจะมีอาณาจักรน่านเจ้า เรื่อยมาถึงเชียงแสน ล้านช้าง ล้านนา และสุโขทัย)

เรื่องราวที่มีหลักฐานแน่ชัดก็คือ หลังสิ้นราชวงศ์พระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศรัทธาในอินเดียค่อยๆ เสื่อมสิ้น ไปรุ่งเรืองที่สิงหลนครลังกาแทน ช่วงนั้นเองที่พุทธลังกาวงศ์ได้เผยแผ่มาสู่กรุงสุโขทัย โดยผ่านมาทางเครือข่ายการค้าทางทะเลของจักรวรรดิ “ศรีวิชัย” ซึ่งมีเมืองตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) และไชยา(สุราษฏร์ธานี)เป็นศูนย์กลางในคาบสมุทรมลายูตอนบน

ตำนำนกล่ำวว่ำ ตำมพรลิงค์มีภิกษุสงฆ์ถึงหมื่นรูป และเมื่อสุโขทัยติดต่อขอพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์งดงามยิ่งจากลังกาโดยผ่านช่องทำงนี้ ชาวตามพรลิงค์ได้หล่อพระจำลองไว้เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปสกุลช่างเมืองนครฯ สืบมานอกจากนั้นยังเกิดสงครามช่วงชิงพระองค์นี้ไปไว้ที่พิษณุโลก อยุธยา กำแพงเพชร เชียงแสน เชียงใหม่ ก่อนถูกอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ในที่สุด ทำให้เกิดข้อถกเถียงวุ่นวายภายหลังว่า องค์ไหนจริง องค์ไหนปลอม

ใครเคยไปไหว้พระบรมธาตุเจดีย์ที่เมืองนครฯ คงได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า สถูปรูประฆังคว่ำองค์มหึมาอันเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชาวใต้นี้ ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณเจ็ดแปดร้อยปีก่อนเพื่อครอบเจดีย์ยุคศรีวิชัยองค์เดิม (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕) แต่สำหรับรายละเอียดเรื่องอิทธิพลสถาปัตยศิลป์จากต่างแดน คงมีแต่พวกนักวิชาการ นักเขียนปัญญาชน ที่ดั้นด้นไปแสวงหาแหล่งต้นเค้าแล้วกลับมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “สมัยโบราณเราลอกเลียนลังกามาเยอะมาก น่าแปลกใจที่คนไทยรุ่นหลังรู้จักประเทศนี้น้อยเหลือเกิน”

ตำนำนกล่ำวว่ำ ตำมพรลิงค์มีภิกษุสงฆ์ถึงหมื่นรูป และเมื่อสุโขทัยติดต่อขอพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์งดงามยิ่งจากลังกาโดยผ่านช่องทำงนี้ ชาวตามพรลิงค์ได้หล่อพระจำลองไว้เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปสกุลช่างเมืองนครฯ สืบมานอกจากนั้นยังเกิดสงครามช่วงชิงพระองค์นี้ไปไว้ที่พิษณุโลก อยุธยา กำแพงเพชร เชียงแสน เชียงใหม่ ก่อนถูกอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ในที่สุด ทำให้เกิดข้อถกเถียงวุ่นวายภายหลังว่า องค์ไหนจริง องค์ไหนปลอม

ใครเคยไปไหว้พระบรมธาตุเจดีย์ที่เมืองนครฯ คงได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า สถูปรูประฆังคว่ำองค์มหึมาอันเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชาวใต้นี้ ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณเจ็ดแปดร้อยปีก่อนเพื่อครอบเจดีย์ยุคศรีวิชัยองค์เดิม(พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕) แต่สำหรับรายละเอียดเรื่องอิทธิพลสถาปัตยศิลป์จากต่างแดน คงมีแต่พวกนักวิชาการ นักเขียนปัญญาชน ที่ดั้นด้นไปแสวงหาแหล่งต้นเค้าแล้วกลับมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “สมัยโบราณเราลอกเลียนลังกามาเยอะมาก น่าแปลกใจที่คนไทยรุ่นหลังรู้จักประเทศนี้น้อยเหลือเกิน”

เราบังเอิญไปถูกที่ถูกเวลาในคืนเดือนเพ็ญ จึงได้เห็นชาวบ้านหลายกลุ่มกำลังตั้งแถว “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” แต่ละหมู่บ้านจะมีแถบผ้าสีต่างๆกัน แดงบ้าง เหลืองบ้างและบางกลุ่มเป็นธงพุทธโลกผืนยาวเหยียดนี่ทำให้ต้องคิดถึงงานวันมาฆบูชาที่เมืองนครฯ

เห็นภาพขบวนชาวสิงหลแห่ผ้าเดินวนทักษิณาวรรตรอบองค์เจดีย์แล้ว บังเกิดจิตประหวัดถึงพระธาตุเมืองนคร ต้องกลับมาค้นคว้าทบทวนร่องรอย แล้วขอยืมภาพถ่ายจากเพื่อนๆ ช่างภาพมาแบ่งปันให้ดูกันว่าเราได้สืบทอดสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสองฝั่งฟ้ามหาสมุทรอินเดียมายาวนานเพียงใด

สลักลึกเข้าไปในหน้าผาหิน ยังมิพักต้องเอ่ยถึงกลุ่มโบราณสถานเมืองโปลนนารุวะ ซึ่งอยู่ห่างจากอนุราธปุระออกไป ๘๐ กว่ากิโลเมตร

สถูปสำคัญในอนุราธปุระล้วนเป็นทรงระฆังควํ่า ได้แก่ เจดีย์เชตวัน (เจดีย์ใหญ่ที่สุดในโลก สูง ๑๒๒ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๑๓ เมตร สร้างด้วยอิฐแดงทั้งองค์) เจดีย์อภัยคิรี (ใหญ่อันดับสอง อายุร่วม ๒,๐๐๐ ปี เป็นต้นแหล่งนิกายมหายานในลังกา) เจดีย์ถูปาราม (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๓ เก่าแก่ที่สุดในลังกาเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญหรือกระดูกไหปลาร้า)

และเจดีย์รุวันเวลิเสยะ (แรกสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๔-๕ ผ่านการบูรณะแต่งเติมหลายครั้ง) เป็นสถูปสีขาวทั้งองค์ ฐานมีกำแพงช้างล้อมที่เรียกว่า “หัตถีปราการ” (ต้นแบบของประติมากรรมรูปช้างรอบฐานพระธาตุเมืองนคร เจดีย์ช้างล้อมเมืองศรีสัชนาลัย วัดสวนดอกและวัดโบราณอื่นๆ ในล้านนา) ซึ่งถ้าใครสนใจเรื่องสถาปัตยศิลป์ต้นแบบของพระธาตุเมืองนครฯ ควรไปชมเจดีย์คีรีวิหารที่โปลนนารุวะด้วย จะสามารถเทียบเคียงกันได้แทบทุกรายละเอียดเลยทีเดียว

ความพิเศษของเจดีย์รุวันเวลิเสยะ คือไม่ได้เป็นแค่ซากโบราณสถาน หากเป็น “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต” ด้วย ตลอดทั้งวันเราจะเห็นขบวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินปะปนกับผู้คนชาวสิงหลที่มากราบไหว้บูชาถ่ายรูปชื่นชมเจดีย์องค์นี้ ตรงทางเข้ามีคณะระบำปี่กลองตะโพน ซึ่งมักจะเป็นผู้ชายสามคนคอยรับจ้างแสดงเป็นพุทธบูชา ชวนให้นึกถึงคณะลิเกแก้บนตามศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ในเมืองไทย และที่สุดยอดก็คือเราบังเอิญไปถูกที่ถูกเวลาในคืนเดือนเพ็ญ จึงได้เห็นชาวบ้านหลายกลุ่มกำลังตั้งแถว “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” แต่ละหมู่บ้านจะมีแถบผ้าสีต่างๆกัน แดงบ้างเหลืองบ้าง และบางกลุ่มเป็นธงพุทธโลกผืนยาวเหยียด นี่ทำให้ต้องคิดถึงงานวันมาฆบูชาที่เมืองนครฯ แต่ที่ต่างกันก็คือ… เมื่อเราสอบถามว่าคํ่าคืนนี้เป็นวันสำคัญอะไรในศาสนาพุทธ ไม่มีใครตอบได้ชัดๆ ราวกับว่าการนัดกันมาแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเรื่องของพลังศรัทธาล้วนๆ ไม่เห็นจะต้องรอให้ถึงวันสำคัญยิ่งใหญ่อันใดเลย

เห็นภาพขบวนชาวสิงหลแห่ผ้าเดินวนทักษิณาวรรตรอบองค์เจดีย์แล้ว บังเกิดจิตประหวัดถึงพระธาตุเมืองนคร ต้องกลับมาค้นคว้าทบทวนร่องรอย แล้วขอยืมภาพถ่ายจากเพื่อนๆช่างภาพมาแบ่งปันให้ดูกันว่า เราได้สืบทอดสายสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสองฝั่งฟ้ามหาสมุทรอินเดียมายาวนานเพียงใด

ภาพเหล่านี้ไม่ลงคำบรรยาย เพราะต้องการสร้างความสับสนให้ท่านผู้อ่านค่อยๆพิจารณาจำแนกแยกเองว่า ภาพไหนคือที่ใดกันแน่ !

อายุบวร… อนุราธปุระ-นครศรีธรรมราช

About the Author

Share:
Tags: วัด / อินเดีย / นครศรีธรรมราช / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / มหาสถูป / อนุราธปุระ / ศรีลังกา / ศาสนาพุทธ /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ