Sunday, May 19, 2024
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

พระซุ้มกอ ในตำนาน ของประโยค “มีกูไว้ ไม่จน”

พระซุ้มกอ

ในตำนาน ของประโยค “มีกูไว้ ไม่จน”

พระเครื่องศิลปะสมัยสุโขทัยปนลังกา องค์พระนั่งสมาธิขัดราบประทับบนบัวเล็บช้าง 5 กลีบ มีลายกนก อยู่ด้านข้างขององค์พระ ขอบของพิมพ์พระโค้งมนคล้ายตัว ก.ไก่ โบราณจึงนิยมเรียกว่า พระซุ้มกอ

ตำนานนครชุม
ในอดีต ดินแดนของกำแพงเพชร หรือชากังราว เคยอยู่ในอิทธิพลของขอม จนถึง พ.ศ.1890 ราชวงศ์พระร่วง ได้เข้ามาขับไล่ขอม และบูรณะเมืองใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็นนครชุม มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง จนถึงรัชกาล สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้กลับมาเรียกว่า กำแพงเพชร นับจากนั้นมา นครแห่งนี้ก็กลายเป็นเมืองสำคัญ ชั้นเมืองหลวงหน้าด่านที่ต้องเผชิญศึกสงครามเรื่อยมาจนถึงยุคกรุงธนบุรี

แต่ก็ยังมีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่นครชุม เป็นเมืองที่สงบสุข อิ่มเอิบไปด้วยบรรยากาศแห่งพระพุทธศาสนาอย่างมาก เพราะ มีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 3 ระบุว่า พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงสถาปนาพระบรมธาตุ และปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตลอดจนบำเพ็ญพระราชกุศลด้านพระศาสนาอย่างมากมาย ณ นครชุมในช่วง พ.ศ. 1900 จึงสันนิษฐานว่า ในช่วงนี้เองพระเครื่อง อันเป็นสุดยอดของพุทธคุณด้านโชคลาภ ได้อุบัติขึ้น มีนามว่า พระกำแพงซุ้มกอพระเครื่องชิ้นเอกของเมืองกำแพงเพชร ที่มีพุทธศิลป์และพุทธคุณอเนกอนันต์ จนถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคี

ในช่วง พ.ศ. 1900 จึงสันนิษฐานว่า ในช่วงนี้เอง พระเครื่อง อันเป็นสุดยอดของพุทธคุณด้านโชคลาภ ได้อุบัติขึ้นมีนามว่า พระกำแพงซุ้มกอ พระเครื่องชิ้นเอกของเมืองกำแพงเพชร ที่มีพุทธศิลป์และพุทธคุณอเนกอนันต์จนถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคี

ภาพถ่ายทางอากาศโดยใช้พารามอเตอร์ถ่าย คือบริเวณตลาดนครชุม
บ้านเก่า ครั้งในอดีตพระพุทธเจ้าหลวงสมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาส บ้านพะโป้กระเหรี่ยงผู้ค้าไม้
วัดพระบรมธาตุในอดีต
ครูมาลัย ชูพินิจ เกิดที่ตำบลคลองสวนหมาก (นครชุมในปัจจุบัน) ผู้แต่งหนังสือเรื่องชั่วฟ้าดินสลายและทุ่งมหาราช (หนังสือทุ่งมหาราชเป็นเสมือนภาพแสดงปรากฏการณ์เสมือนจริงที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น)

กรุพระกำแพงซุ้มกอ
มีประวัติตำนานปรากฏชัดเจน จากจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ที่พบขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมและเมื่อ พ.ศ. 2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ทราบว่า ยังมีโบราณสถานและพระบรมธาตุทางตะวันตกที่สร้างไว้เมื่อ พ.ศ.1900 พระยากำแพง (น้อย) เจ้าเมือง จึงสั่งการให้กรมเมืองไปสำรวจตามแผ่นศิลาจารึก ก็พบ พระเจดีย์ 3 องค์ ซึ่งพญาตะก่า (อ่อง) ปฏิสังขรณ์ ในเจดีย์พบพระเครื่องพระพุทธรูปมากมาย และมีพระบรมธาตุในองค์ใหญ่ และพบหลักฐานว่า ผู้สร้างเจดีย์และบรรจุพระบรมธาตุไว้คือ พระมหาธรรมราชาลิไท

ในบรรดานั้น พบกับพระเครื่องศิลปะสมัยสุโขทัยปนลังกา องค์พระนั่งสมาธิขัดราบประทับบนบัวเล็บช้าง 5 กลีบ มีลายกนก อยู่ด้านข้างขององค์พระ ขอบของพิมพ์พระโค้งมนคล้ายตัว ก.ไก่ โบราณจึงนิยมเรียกว่า พระซุ้มกอต่อมา มีการพบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรอีกหลายครั้งบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวักำแพงเพชร ซึ่งเป็นบริเวณทุ่งกว้างชื่อ “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” ซึ่งหลงเหลือซากโบราณสถาน และซากวัดร้าง ที่บ้างเหลือแต่เนินดินอยู่มากมาย

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี บริเวณที่พบพระเครื่องอันเลื่องลือของจังหวัดกำแพงเพชรขอขอบคุณภาพเมืองนครชุม จากเทศบาลตำบนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร

พระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึง จารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ซึ่งจากหลักฐาน เทียบเคียง ข้อสันนิษฐาน สรุปได้ว่า พระซุ้มกอ สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท

และได้ขุดพบ พระเครื่อง อายุ 600 กว่าปี อาทิพระซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระกลีบบัว พระซุ้มยอ พระกำแพงขาว พระนาคปรก พระนางกำแพง พระกำแพงเปิดโลก พระงบน้ำอ้อย และอื่นๆ อีกกว่าร้อยพิมพ์ ค้นพบอยู่ตามกรุบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง

นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึง จารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม จากหลักฐาน เทียบเคียง ข้อสันนิษฐาน สรุปได้ว่า พระซุ้มกอ สร้างโดย พระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อไปครองเมืองชากังราว เมืองหน้าด่านของสุโขทัยดังนั้นอายุการสร้าง พระซุ้มกอ จนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี

ตำนานฤาษี
จากการพบศิลาจารึกหลักที่ 3 ที่วัดเสด็จทำให้พบกรุพระเครื่องและแผ่นลานเงิน จารึกอักษรขอม กล่าวถึงตำนาน พระฤาษี กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การบูชา และพุทธานุภาพของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

…ณ ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชรเมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ มีฤาษี 11 ตน ฤาษีเปนใหญ่ 3 ตน ฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่ง ฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราทั้งหลายนี้ จะเอาอันใดให้พระยาศรีธรรมาโศกราชฤาษีทั้ง 3 จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์เงินทองฉะนี้ ฉลองพระองค์จึงทำเปนเมฆพัตร อุทุมพร เปนมฤตย์พิศย์ อายุวัฒนะพระฤาษี ประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เปนอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายสมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วน 5,000 พรรษาพระฤาษีองค์หนึ่ง จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลาย อันมีฤทธิ์ เอามาให้ได้ 1,000 เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเปนอาทิ จึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวง ให้มาช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเปนเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง 3 องค์นั้น จึงบังคับฤาษีทั้งปวง ให้เอาว่านทำเปนผง เปนก้อน ถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด…มีกูไว้ไม่จน

พิมพ์พระกำแพงซุ้มกอ

  1. พิมพ์ใหญ่ แบ่งเป็น แบบมีลายกนก และไม่มีลายกนก พระที่ ไม่มีลายกนก ส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ จึงเรียกกันว่า พระซุ้มกอดำ และเห็นอิทธิพลของศิลปะศรีลังกาชัดเจน และยังมีแบบเนื้อสีน้ำตาลแก่ แต่หาได้ยากมาก
  2. พิมพ์กลาง
  3. พิมพ์เล็ก หรือที่เรียกว่า พิมพ์ขนมเปี๊ยะ

เนื้อพระซุ้มกอ ส่วนใหญ่ ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และมี เนื้อชินบ้างเนื้อดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อนุ่มละเอียดเป็นมัน ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดงๆ ซึ่งเรียกว่าว่านดอกมะขาม และมีจุดดำๆ ซึ่งเรียกว่า ราดำ จับอยู่ตามซอกส่วนขององค์พระนอกจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุด ยังพบ เนื้อชินเงิน และชนิดที่เป็น เนื้อว่าน มีทั้ง เนื้อว่านล้วน เนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน แต่ เนื้อชินเงินเนื้อว่าน ปัจจุบันหาพบยาก

พุทธคุณ พระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องทั้ง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด โชคลาภจนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณว่า “มีกูแล้วไม่จน” จึงจัดอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่า

อนึ่ง ในกาลนั้น กล่าวกันว่า สมเด็จโต ได้นำ พระซุ้มกอ ส่วนหนึ่งกลับเข้ากรุงเทพฯ พร้อมเศษอิฐหิน และบันทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จ โบราณจึงถือว่า พระซุ้มกอ คือต้นแบบ ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างพระ
ของสมเด็จโต

About the Author

Share:
Tags: พระสวย / พระ / พระเครื่อง / พระซุ้มกอ /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ