Thursday, May 9, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

นกเงือก นกผู้เป็นที่รัก

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 5
เรื่อง: สริตา อุรุพงศา
ภาพ: โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก

นกเงือก

นกผู้เป็นที่รัก

พื้นที่ทุรกันดารและเสี่ยงอันตรายเป็นที่ที่คนทั่วไปต่างเลี่ยง ไม่อยากเจอะเจอแต่กับ ผศ. ดร. วิจักขณ์ ฉิมโฉม นักอนุรักษ์คนสำคัญที่สุดอีกคนหนึ่งของประเทศไทย ที่ใจกลางป่าลึกคือห้องทำงานที่เขารัก

ผศ.ดร.วิจักขณ์ ฉิมโฉม
หัวหน้าภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเลขาธิการ
มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก

โครงการวิจัยและอนุรักษ์นกเงือก รวมทั้งทำกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์นกเงือกและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน นั่นคือจุดเริ่มต้น

ปีนซ่อมแซมโพรงรัง
ถ่ายโดย ณรงค์ สุวรรณรงค์

ด้วยรักและผูกพันกับสัตว์มาตั้งแต่เด็ก ครั้นเมื่อพลาดจากการสอบเข้าคณะสัตวแพทย์ ดร.วิจักขณ์จึงเบนเข็มไปเลือกคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพียงเพราะจะได้ทํางานกับสัตว์ป่า “ช่วงเรียนวนศาสตร์ คือช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ตอนนั้นผมไม่มีความรู้เรื่องป่าไม้เลย รู้แค่ว่า อยากทํางานเกี่ยวกับสัตว์ รุ่นผมเป็นรุ่นที่ ๓ เรียนกันแค่ 5 คน พอเรียนจบ จึงได้โอกาสมาทํางานเป็นผู้ช่วยนักวิจัยของดร.พิไล พูลสวัสดิ์ (นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์นกเงือกรุ่นบุกเบิก)โดยทํางานโครงการวิจัยและอนุรักษ์นกเงือก รวมทั้งทํากิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการอนุรักษ์นกเงือกและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน นั่นคือจุดเริ่มต้น” ปัจจุบันคณะวนศาสตร์เปิดรับนักศึกษาปีละกว่า ๓๐๐ คน และผลิตบุคลากร ทรงคุณค่าเข้าสู่กรมอุทยานแห่งชาติเป็นจํานวนมาก

หลังจากได้ทํางานด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า ดร.วิจักขณ์รู้ตัวว่ามาถูกทาง จึงศึกษาต่อปริญญาโททางด้านสัตว์ป่า แล้วกลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยก็ได้รับทุนเรียนต่อด้านสิ่งแวดล้อมที่เกษตรศาสตร์ ซึ่งในระหว่างนั้น The University of Aberdeen ประเทศสกอตแลนด์ โดยใช้การวิจัยนกเงือกได้รับปริญญาเอกทางด้านสัตว์ป่าและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จากเป็นวิทยานิพนธ์ชิ้นเอก และหลังจาก University of Tennessee ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.วิจักขณ์จึงกลับเมือง ไทย เพื่อรับการสานต่อหน้าที่ผู้ดูแล มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกเป็นรุ่นที่สองต่อจาก ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ พร้อมๆ กับดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาคชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นกเงือกหัวหงอกตัวผู้

การสืบพันธุ์เพื่อขยายประชากรนกเงือกนั้นต้องอาศัยรังในโพรงธรรมชาติ ไม่ได้เจาะโพรงเองเหมือนนกรุ่นใหม่ๆ

นกเงือกสีน้ำตาลคอขาวตัวผู้

ก้าวสู่โลกของนกเงือก นกโบราณที่น่าชื่นชม
นกเงือก เป็นนกรูปร่างใหญ่เทอะทะ ด้วยความสูงราวๆ ๑ เมตร และมี ลักษณะแบบนกโบราณ ที่ไม่ได้ โบราณเพียงแค่หน้าตา แต่นกเงือกถือกําเนิดอยู่บนโลกนี้กว่า ๔๕ ล้านปี มาแล้ว ด้วยอายุขัยเฉลี่ยเพียง ๑๐-๒๐ ปี (หากเป็นนกเงือกที่เลี้ยง ในสวนสัตว์ จะสามารถอยู่ได้ถึง 6 ปี) โดยหนึ่งปีจะมีลูกสูงสุดหนึ่งตัว

การสืบพันธุ์เพื่อขยายประชากร นกเงือกนั้นต้องอาศัยรังในโพรงธรรมชาติ ไม่ได้เจาะโพรงเองเหมือนนกรุ่นใหม่ๆ โดยเมื่อย่างเข้าปลายฤดู หนาว คู่นกก็จะมาที่โพรงรัง เมื่อผสม พันธุ์แล้ว ตัวผู้จะส่งตัวเมียเข้าไปอาศัย ในโพรงแล้วปิดขังตัวเองอยู่ในนั้น ๓-๔ เดือน เพื่อกกไข่ ฟักไข่ และดูแลลูก อ่อน รวมทั้งเพื่อปกป้องตัวแม่และลูก จากศัตรูทางธรรมชาติอื่นๆ ระหว่าง นั้นตัวผู้มีหน้าที่หาอาหารมาส่ง โดยจะเปลี่ยนอาหารไปตามความต้องการของลูกนก ทั้งผลไม้และแมลง หลังจาก ลูกนกโตเต็มที่แล้ว จะกะเทาะเปลือก ออกมา แล้วแม่ก็จะเจาะโพรงรังเพื่อพาลูกนกออกมาในที่สุด ต่อมาในช่วงเดือนแรก พ่อและแม่จะสอนบิน พาไปแหล่งอาหาร และสอนวิธีเอาตัว รอดในโลกกว้าง ครั้นเมื่อถึงเวลานอก ฤดูผสมพันธุ์ นกเงือกจะรวมกลุ่มกัน เพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรูทาง ธรรมชาติ และบางปีอาจพากันเคลื่อนย้ายไปยังแหล่งอาหารแหล่งใหม่

นกแก๊กป้อนอาหาร

หากว่ากันในแง่ความสัมพันธ์กับ ป่า นกเงือกคือสัตว์ป่าที่จะเป็นตัวชี้วัดได้ดีถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ซึ่งดร.วิจักขณ์มองว่า นกเงือกมอบความสุขในการทํางาน ชนิดที่ไม่เคยได้จากสัตว์ชนิดไหน “การได้ทํางานอนุรักษ์นกเงือกทําให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริง ได้รับรู้ว่าธรรมชาติ นั้นยิ่งใหญ่ นกเงือกมี Ecological Service หรือการบริการทางด้านนิเวศ เป็นนกที่สามารถแพร่กระจายเมล็ดไม้โดยเมื่อนกเงือกกินผลไม้เข้าไปแล้วคายออกมา เมล็ดพันธุ์จะมีเอนไซม์ช่วยย่อยเปลือกหุ้ม ทําให้จากเมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตกลายเป็นต้นไม้ได้รวดเร็วขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมตาม ธรรมชาติของนกเงือก นั่นคือเรื่องที่น่า ชื่นชม สัตว์ที่พวกเราเรียกกันว่า เดรัจฉาน มีสมองเล็กเพียงนิดเดียว แต่ สามารถประพฤติตน และมีความรับ ผิดชอบมากกว่ามนุษย์บางคนด้วยซ้ำ”

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เกือบ ๓๐ ปีแล้วที่ ดร.วิจักขณ์และทีมงาน มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ทํางานและ ศึกษาวิจัยนกเงือกเพื่อต่อยอด เริ่มจาก คําถามหนึ่ง ขยับไปสู่คําถามที่สอง เริ่ม ากพื้นที่ ๑ ไปพื้นที่ ๒ โดยผืนดินผืนแรกที่เริ่มต้นวิจัย คือพื้นที่ ๒,๑๖๘ ตารางกิโลเมตรของมรดกโลกอย่าง

นกเงือกมอบความสุขในการทํางาน ชนิดที่ไม่เคยได้จากสัตว์ชนิดไหน การได้ทํางานอนุรักษ์นกเงือก ทําให้ได้ สัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริง

นกเงือกปากย่นตัวผู้

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่แม้ขอบ นอกของพื้นที่ยังมีปัญหาเรื่องการรุกล้ำการตัดไม้ โดยเฉพาะไม้กฤษณาหรือ ไม้หอม แต่โชคดีที่นกเงือกไม่ใช่เป้า หมายของคนนอกกฎหมายกลุ่มนี้ ป่าผืนนี้ จึงเป็นดั่งโมเดลการจัดการนกเงือกชั้นดี

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คือถิ่น ที่อยู่ของประชากรนกเงือกมากที่สุดในไทย กล่าวคือราวๆ ๒,๐๐๐ ตัว กว่า ๔ สายพันธุ์ โดยทุกปีทีมงานนักวิจัย จะมีหน้าที่ปืนเช็กโพรงรังทุกต้นแล้วจัดการซ่อมแซมบ้านให้นกเงือกใช้งานได้ เพราะโพรงรังคือที่อยู่ ซึ่งเป็น ปัจจัยสําคัญในการเพิ่มหรือลดประชากร และจากการซุ่มตรวจพื้นที่ในแต่ละปีก็พบว่า กว่า ๔๐% ของ นกเงือกจะแย่งโพรงรังกันเอง

About the Author

Share:
Tags: ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม / ป่า / นกเงือก / โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ