Monday, May 20, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

นกเงือก นกผู้เป็นที่รัก

ผัวเดียวเมียเดียว

นกเงือก ถูกมองเป็นสัญลักษณ์ของรักแท้ ความผูกพันและความรับผิดชอบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมาคุณนิวัติ กองเพียร ผู้จัดการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกจึงจัดตั้งให้วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ของทุกปี ก่อนวันวาเลนไทน์หนึ่งวัน เป็น “วันรักนกเงือก”

“การจัดการสัตว์ป่าที่มีประสิทธิภาพไม่ใช่เพียงแต่เก็บป่า สงวนป่าให้สัตว์ อย่างเดียว เราจําเป็นจะต้องช่วยในสิ่ง ที่เขาขาดด้วย คือช่วยให้สืบพันธุ์และ เพิ่มประชากรได้ต่อไป ทางมูลนิธิมี บันทึกโพรงรังไว้ ๓๐๐ กว่าโพรง โดยแต่ละปี เราจะค่อยๆ มาอัพเดตว่าแต่ละโพรงยังใช้งานได้ไหม ซึ่งโพรงธรรมชาติจะมีอายุเฉลี่ยที่ ๙ ปี หากพบ โพรงไหนที่นกเงือก รวมทั้งนกชนิดอื่น ไม่ใช้งาน ทางทีมงานจะปีนขึ้นไปเพื่อตรวจเช็กสภาพโพรง ซึ่งส่วนใหญ่ จะมีปัญหาในเรื่องทางเข้าปากโพรงแคบ พื้นโพรงทรุด หรือน้ําขังในโพรง ดร.วิจักขณ์กล่าวว่า หากจะว่ากันตามสถิติ นกเงือกและช้างป่าใช้พื้นที่กว่า ๘๐๐ กิโลเมตรที่อุทยานแห่งชาติเขา ใหญ่เป็นถิ่นที่อยู่ การสงวนไว้ซึ่งพื้นที่ ป่าอันอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นอีกเรื่องที่ สําคัญอย่างยิ่งยวด

ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นมรดกโลกทางตะวันตกเป็นอีกพื้นที่ที่ประชากรนกเงือกอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย เพราะกรมอุทยานและเจ้าหน้าที่ให้ความสําคัญ และนับเป็นพื้นที่สําคัญที่ทําให้ปัจจุบัน จํานวนนกเงือกในประเทศไทยมีอัตราส่วน ประชากรมากถึง ๓๐% จากประชากรนกเงือกในทุกพื้นที่ทั่วโลก

อีกทั้งประเทศไทยนั้นมีเขตแดน เชื่อมกับประเทศที่มีประชากรนกเงือกมากอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีนทําให้เกิดการอพยพประชากรนกเงือกไปมา จนไทยกลายเป็นศูนย์กลางของเอเชียทางด้านนกเงือก “ผมเคยไปเดิน ป่าที่ซาราวัก ประเทศมาเลเซีย Land of hornbill หรือดินแดนแห่งนกเงือก เดินอยู่หลายวัน ก็ยังหานกเงือกไม่เจอ เพราะชาวมาเลเซีย เขาทั้งล่านกเงือก และรุกล้ําพื้นที่ป่าเพื่อการค้าไม้ยาง ส่วนป่าในประเทศลาว หากเดินเข้าไปก็จะได้ยินแต่เสียงปืน เมื่อเทียบกับในไทย จึงเป็นนิเวศที่ดีกว่า หากพูดในเชิง นิเวศวิทยาอนุรักษ์ เขาบอกว่า จะต้อง มีสัตว์พันธุ์นั้นๆ ๕๐๐ ตัวในพื้นที่ ถึงจะ สามารถสืบเผ่าพันธุ์อยู่รอดไปได้ในอีก๕๐ ปีข้างหน้า”

ใจรัก กับงาน (อนุ) รักษ์ที่รัก
งานวิจัยของมูลนิธิศึกษาวิจัยนก เงือกนั้น อาศัยทีมงานวิจัยกว่า ๒๐ คน แบ่งกระจายออกไปทั้งหมดสามพื้นที่ เพื่อครอบคลุมและอนุรักษ์นกเงือกใน ประเทศไทยไว้ทั้งหมด ๑๓ พันธุ์ ด้วยความที่มีงานประจําคือสอนหนังสือและดูแลภาควิชา ดร.วิจักขณ์จึงยก เครดิตงานด้านวิจัยหลักให้น้องๆ ในทีม “การเข้าป่าแต่ละครั้งมันก็เสี่ยงเราเข้าไปในบ้านเขา เราต้องเข้าใจ ธรรมชาติของสัตว์ป่าก่อนว่า เวลาเขาเจอเรา จะมีการตอบโต้เพียงแค่สอง แบบ คือไม่รู้ก็หนี เขาไม่รู้เราเป็นใครจะมาทําร้ายหรือเปล่า อุบัติเหตุจึงเกิดได้เสมอเมื่อไรที่ประมาท เพราะฉะนั้นคนที่ทํางานวิจัยด้านอนุรักษ์สัตว์ป่านอกจากจะต้องมีสติอยู่ตลอดแล้ว ยังต้องอาศัยใจรักให้มาก” โดยตลอดช่วง หกปีที่ผ่านมา มูลนิธิศึกษาวิจัยนก เงือกได้รับเงินสนับสนุนหลักจากปตท. สผ.

การวิจัยในอุทยานแห่งชาติเขา ใหญ่นับเป็นพื้นที่แรก ที่เริ่มต้นในปีพ.ศ. ๒๕๒๑ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงได้ขยับโครงการไปที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และตามมาด้วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา และ อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดีนราธิวาส-ยะลา

และ ณ อุทยานแห่งชาติบูโด- สุไหงปาดีนี่เอง ที่เป็นที่อยู่ของศูนย์ อนุรักษ์นกเงือก และต่อยอดเกิดเป็น โครงการดีๆ อย่างโครงการอุปการะ นกเงือก ที่ทํางานร่วมกับชาวบ้าน “เพราะเรารับรู้ว่า ในอดีตมีชาวบ้านที่ ล่าลูกนกเงือกไปขายในตลาดมืด ตัวละกว่า ๓๐,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ บาท ทางมูลนิธิจึงพยายามคิดโครงการเพื่อกระตุ้นและปลูกฝังจิตสํานึกชาวบ้าน” ดร.วิจักขณ์และทีมงานจึงเริ่มต้น “โครงการอุปการะนกเงือก” ขึ้น โดยอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มีนกเงือกอยู่ ๖ ชนิด และมีโพรงรังอยู่กว่า ๒๐๐ รัง คนไทยหรือชาวต่างชาติที่อยากจะอุปการะนกเงือก ก็ทําได้โดยมอบเงินทุน ซึ่งส่งตรงไปสู่ชาวบ้านที่ เป็นผู้ดูแลนกในอุปการะ และเมื่อไรที่ลูกนกสามารถออกจากโพรงรังได้สําเร็จ จะมีเอกสารรายงาน และส่งภาพลูกนกที่ออกมาสู่ธรรมชาติกลับไปให้ผู้ อุปการะ นับเป็นโครงการที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย เพราะทุกโพรงรังก็จะมีผู้ดูแล ทั้งยังเป็นการมอบรายได้อีกทางให้แก่ชาวบ้านไปพร้อมๆ กับการดูแลป่าและสัตว์ป่าแบบยั่งยืน ซึ่งต่างจากที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าห้วยขาแข้ง ที่จะทํางานในเชิงวิทยาศาสตร์เป็นหลัก

นกกกบิน
นกเงือกกรามช้างติด GPS ถ่ายโดย ณรงค์ สุวรรณรงค์

การจัดการสัตว์ป่าที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพียงแต่เก็บป่า สงวนป่าให้สัตว์อย่างเดียว เราจำเป็นจะต้องช่วยในสิ่งที่เขาขาดด้วย คือช่วยให้สืบพันธุ์และเพิ่มประชากรได้ต่อไป

จับลูกนกกกติด GPS
ลูกนกกกกำลังออกจากโพรง

สถานการณ์จริงของนกเงือกในไทย
ตามที่รัฐบาลให้ข้อมูลพื้นที่ป่าใน ประเทศไทย ซึ่งมีถึง ๓๓% ของพื้นที่ ทั้งหมด แต่ความเป็นจริงแล้ว มีพื้นที่ ป่าอนุรักษ์เพียง ๑๘% เท่านั้น ซึ่ง ดร.วิจักขณ์อธิบายเพิ่มเติมว่า “จาก พื้นที่ป่า ๑๘% นั้น ก็แบ่งระดับความ อุดมสมบูรณ์ของป่าไปตามระดับชั้น ชั้น ๒ ชั้น ๓ ทําให้ภาพรวมของ นกเงือกจึงดีและสมบูรณ์เพียงจุดๆ ไปไม่ได้หมายความว่าประชากรนกเงือกทั้งประเทศจะดีทั้งหมด อุทยานแห่ง ชาติในประเทศไทยทั้งหมดกว่า ๔๐ แห่ง กลับมีอุทยานฯ เพียงไม่กี่แห่งที่มีนกเงือกอาศัยอยู่ โดยพันธุ์นกเงือกที่ ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างยิ่งคือ นกเงือกดําและนกเงือกปากย่น ซึ่งพบที่ป่าพรุ สิรินธร และฮาลา-บาลา”

ดร.วิจักขณ์กล่าวปิดท้ายถึง สถานการณ์ของนกเงือกไทยในอนาคตว่า หากเรายังสงวนและดูแลรักษาพื้นที่ ป่าเขาใหญ่ ป่าตะวันตก ห้วยขาแข้ง ดงพญาเย็น ป่าตะวันตก แก่งกระจาน คลองแสน ฮาลา-บาลา และดูโบ รวม ทั้งพื้นที่ทางภาคเหนือและอีสาน อย่างน้ําหนาว ภูเรือ และภูกระดึง ไว้ได้อย่างนี้เรื่อยๆ

หากอ้างอิงจากโมเดลทํานายตามสถิติ ตามที่ทีมมูลนิธิทําไว้ เพื่อดูแนวโน้มประชากร นกเงือกในไทยนั้น นกเงือกจะมีชีวิตอย่างสงบและอยู่รอดในเขตแดนประเทศไทยไปได้ อีกอย่างน้อย ๕๐ ปีทีเดียว

นกเงือกหัวแรดตัวผู้
ถ่ายโดย Thailand Hornbill Project

นกเงือกมีอยู่กว่า ๕๗ ชนิดทั่วโลก

แบ่งเป็นนกเงือกที่กระจายอยู่ตามแถบเขตร้อน อย่างทวีปเอเชีย และทวีป แอฟริกา โดยนกเงือกที่อาศัยอยู่ใน เอเชียส่วนใหญ่ เป็นนกเงือกต้นไม้ (Arboreal hornbill) ขณะที่นกเงือก ทางฝั่งแอฟริกา จะเป็นนกเงือกดิน (Ground hornbill) เนื่องจากมีอุ้งเท้า ที่สั้นและขู่ จึงทําให้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ บนพื้นดิน แต่เมื่อผสมพันธุ์ ก็จะทําริงบนต้นไม้เหมือนกับนกเงือกในแถบ เอเชีย เพียงแต่เป็นโพรงแบบเปิด

หากอ้างอิงจากโมเดลทํานายตามสถิติตามที่ทีมมูลนิธิทําไว้ เพื่อดูแนวโน้มประชากรนกเงือกในไทยนั้น นกเงือกจะมีชีวิตอย่างสงบ และอยู่รอด ในเขตแดนประเทศไทยไปได้อีกอย่าง น้อย ๕๐ ปีทีเดียว


มูลนิธิศึกษานกเงือก
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ ๖ กรุงเทพฯ
โทร. ๐ ๒๒๐๑ ๕๕๓๒
www.thaihormbill.org

About the Author

Share:
Tags: ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม / ป่า / นกเงือก / โครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ