Tuesday, May 21, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

ตามหา “รักษ์แท้” ที่ “ประแสร์”

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 5
เรื่อง: นิภาพร ทับหุ่น
ภาพ: จักรพันธ์ สังขาว, ทัศพล ว่องกิตติพงษ์

ตามหา “รักษ์แท้”

ที่ “ประแสร์”

เชื่อเถอะว่า ร้อยทั้งร้อยของนักเดินทาง ที่เคยใช้ถนนสุขุมวิท หรือทางหลวงหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอแกลง จังหวัดระยอง มุ่งหน้าสู่จังหวัดจันทบุรี ย่อมสะดุดตากับป้ายท่องเที่ยวสีฟ้า ที่ระบุคำว่า “ประแสร์” อย่างแน่นอน

ทว่า เพราะไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวในตำานาน ทุกคนจึงเพียงแค่ “ผ่าน” ไปพร้อมกับความฉงนฉงายของชื่อที่ปรากฏบนป้าย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า ชุมชน “นอกสายตา” แห่งนี้ มีอะไรดีมากกว่าที่คิด“ประแสร์” หรือบ้างก็เขียนว่า “ประแส” ส่วน “กระแส” ก็มีไม่น้อย ที่มาของคำาเขียนที่แตกต่างนั้น ล้วนเกิดจากการสันนิษฐานทั้งสิ้น แม้จะเขียนต่าง แต่ทั้ง ๓ คำานี้ ก็หมายถึงชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณปากนำ้าประแสร์ ในอำาเภอแกลง จังหวัดระยอง เหมือนกันจะว่าไป ชุมชนประแสร์ค่อนข้างโด่งดังมานานแล้ว เพราะในอดีตที่นี่คือ “เมืองท่า(เรือ)” ที่มีความสำาคัญมาก ใครจะเข้ากรุงเทพฯ ต้องมานั่งเรือเมล์ที่ท่าเรือประแสร์กันทั้งนั้น ต่อมาเมื่อระบบคมนาคมเปลี่ยนเส้นทางจากนำ้าไปสู่บก เกิดถนนหนทางมากมาย “เมืองท่า(เรือ)” ที่เคยรุ่งโรจน์ ถึงขนาดมีโรงเตี๊ยมหรือโรงนำ้าชา ก็ค่อยๆ เงียบเหงาไปตามระเบียบที่สุดแล้วชื่อ “ประแสร์” ก็กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในฐานะชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่สามารถดูแลทรัพยากรชายฝั่งได้ดีที่สุดชุมชนหนึ่งในจังหวัดระยอง

ต้นโกงกางที่ถูกปลูกซ่อมแซมไว้ ค่อยๆ เติบโตขึ้นช้าๆ

ประแสร์ เพิ่งกลับมาเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทางชุมชนจึงรวมกลุ่มกันจัดทำ โฮมสเตย์ ให้บริการที่พัก พร้อมอาหาร รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้วิถีชีวิต และน่เที่ยวในจุดสำคัญต่างๆ ของชุมชน

บรรยายกาศอันสวยงามของทุ่งโปรงทอง

WHERE TO STAY
มาถึงประแสร์แล้ว ไม่อยากให้พลาดการพักผ่อนกับชุมชนในลักษณะที่เรียกว่าโฮมสเตย์ เพราะที่นี่มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มโฮมสเตย์ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑และปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพและความสะดวกสบาย

สอบถามรายละเอียดที่
เทศบาลตำบลปากน้ำประแส
โทร. ๐ ๓๘๖๖ ๑๗๒๐ – ๑ ต่อ ๑๗
หรือที่พักโฮมสเตย์ ติดต่อ
นรา ชาญวัตถาภรณ์
โทร. ๐๘ ๑๓๙๙ ๘๗๕๖

สะพานไม้ทอดยาวไปยังปลายทางคืออ่าวไทย

ชโลม วงศ์ทิม ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตชาใบขลู่ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตประแสร์ได้ชื่อว่าเป็นชุมชนที่รุ่มรวยทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมาก กุ้ง หอย ปู ปลา มีให้เสาะหาไม่ได้ขาด กระทั่งมีนายทุนเข้ามาทำกิจการบ่อกุ้งและเริ่มมีการบุกรุกป่ามากๆ ทำให้อะไรๆ ที่เคยมีก็หมดไป

“ผมก็ทำด้วยนะตอนนั้น เพราะไม่ได้คิดว่ามันจะเป็นอะไรคิดแต่เพียงว่า เราจะเอา จนสุดท้ายป่าหมด กุ้ง หอย ปู ปลาไม่มีทีนี้เราถึงเริ่มรู้ และเริ่มมีความคิดที่จะต้องดูแล เขาเรียกว่าอะไรล่ะ โจรกลับใจใช่ไหม นั่นแหละ ผมคือโจรกลับใจ ที่เคยทำลายแล้วต้องกลับมาอนุรักษ์”

ลุงชโลม เริ่มทำงานในบทบาทของการเป็นนักอนุรักษ์ด้วยการพูดคุยกับชาวบ้านถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จนทุกคนร่วมใจและพยายามปลูกป่าชายเลนคืนให้แก่ธรรมชาติ แรกๆ ก็ปลูกไปตายไป ตายแล้วก็ปลูกใหม่ ทำซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น จนได้ป่าชายเลนผืนใหม่ที่มีอาณาบริเวณกว้างขึ้น

About the Author

Share:
Tags: ต้นโกงกาง / โฮมสเตย์ / ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม / เที่ยว / ต้นไม้ / ป่า / ท่องเที่ยว / สัตว์น้ำ / เที่ยวไทย /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ