Monday, May 6, 2024
ภูมิปัญญาไทย บทความแนะนำ

เอ็กซเรย์เจดีย์อยุธยา


นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 71
เรื่อง: เอกชัย เอื้อธารพิสิ
ภาพ: ดร.สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์

ปกติแล้ว การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์และสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนโบราณสถาน เรา ๆ ท่าน ๆ มักคุ้นเคยกับการพิจารณาภาพลักษณ์ที่เห็น ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบศิลป์ รูปทรงอาคาร รูปแบบศิลปะเพื่อกำหนดอายุสมัย เทคนิคและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง ก่อนจะขยายความสู่ลัทธิความเชื่อและเนื้อหาที่นำเสนอ (ประติมานวิทยา) รวมทั้งลวดลายประดับและฝีมือช่างในงานประณีตศิลป์หมวดต่าง ๆ ที่ปรากฏ ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปในการศึกษาด้านนี้ ขณะที่ระบบโครงสร้างภายในอาคารสถาปัตยกรรมกลับได้รับความสนใจไม่มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะผังโครงค้ำยันผนังห้องเรือนธาตุตั้งแต่แรกสร้าง เช่น สถาปัตยกรรมกลุ่มเจดีย์ทรงปรางค์และทรงระฆัง ศิลปะสมัยอยุธยา

         ดร.สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม คือผู้ที่หลงใหลในเรื่องที่หลายคนมองข้ามและวิจัยด้านนี้อย่างจริงจัง จนกระทั่งเป็นนักวิชาการเพียงไม่กี่คนในประเทศไทยที่ศึกษาความรู้โบราณด้านการออกแบบและก่อสร้างด้วยระบบการใช้ไม้แบบเพื่ออ้างอิงการก่อผนังภายในองค์เจดีย์เหล่านี้

ที่มา: http://www.earth-auroville.com/avd_construction_en.php
ที่มา: https://blog.stephens.edu/arh101glossary/?glossary=corbel-arch
ภาพที่ 1 การก่ออิฐแบบสันเหลื่อมตรง (Corbel) (ซ้าย) และแบบสันเหลื่อมโค้ง (Corbel-Arch) (ขวา)
ภาพที่ 2 ตัวอย่างหลักฐานด้านเทคนิคการก่อสร้าง เจดีย์ประธาน วัดโลกยสุทธา

ข้อมูลจากเอกสารประวัติศาสตร์ที่บันทึกความรู้เกี่ยวกับงานช่างโบราณ ทั้งจดหมายเหตุบันทึกการเดินทางของบาทหลวงจากต่างแดนที่เข้ามายังพระนครศรีอยุธยาในสมัยนั้น บันทึกคำให้การและพระราชพงศาวดารบางฉบับ รวมถึงข้อมูลจากภาพถ่ายเก่าและรายงานการขุดค้นทางโบราณคดี ดร.สุวิทย์ บอกว่าพบข้อมูลการก่อสร้างเจดีย์ค่อนข้างน้อย ข้อจำกัดนี้ส่งผลให้เขาต้องพึ่งหลักฐานจากข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก เช่น การสำรวจรังวัด การวิเคราะห์ร่องรอยของ “ไม้แบบ” (Falsework) ดั้งเดิม ทั้งภายในและภายนอกขององค์เจดีย์ วัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง การเก็บข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีประมวลผลรังวัดด้วยภาพถ่าย (Photogrammetry) และข้อมูลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ที่ทำให้เราเห็นร่องรอยของ “รูเต้า” หรือแนววางขื่อไม้ภายในผนังอิฐ มาร่วมประกอบการพิจารณา

ภาพที่ 3 ตัวอย่างหลักฐานด้านเทคนิคการก่อสร้าง เจดีย์รายองค์ทิศเหนือ ข้างอุโบสถ วัดมหาธาตุ
ภาพที่ 4 ตัวอย่างหลักฐานด้านเทคนิคการก่อสร้าง เจดีย์ประธานวัดลังกา

“แน่นอน ไม่มีใครเคยเห็นวิธีการก่อสร้าง หลักฐานเอกสารที่มีก็เพียงบันทึกและภาพถ่ายเก่าที่เราพอจะสืบค้นกลับไปได้ เราจึงศึกษาหลักฐานดั้งเดิมที่หลงเหลือมาจนปัจจุบันโดยดูเฉพาะเจดีย์ทรงปรางค์ ทรงระฆัง และทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม ชนิดมีผังห้องเรือนธาตุสองกลุ่มคือกลุ่มผังรูปสี่เหลี่ยมและวงกลม ที่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา เฉพาะในเขตเกาะพระนครศรีอยุธยาและปริมณฑล” ดร.สุวิทย์ กล่าวถึงขอบเขตการศึกษา

ผู้วิจัยพบว่าช่างอยุธยาใช้ไม้แบบในกระบวนการขึ้นรูปองค์เจดีย์โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้องค์เจดีย์ “ตั้งตรง ได้ดิ่ง และสมมาตร” ไม้แบบเหล่านี้มีทั้งไม้เนื้อแข็งและไม้ไผ่ซึ่งคุณสมบัติของไม้แต่ละชนิดมีความเหมาะสมกับการขึ้นรูปทรงองค์เจดีย์แตกต่างกัน นั่นคือ ไม้แบบที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ตะเคียน ฯลฯ ช่างอยุธยาเลือกใช้เป็นเสาไม้แบบของผนังภายในเรือนธาตุและบริเวณผนังที่เป็นผังรูปสี่เหลี่ยมก่ออิฐแบบสันเหลื่อมตรง (Corbel) รวมถึงฝ้าเพดาน ขณะที่ไม้ไผ่ที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง ดัดโค้งได้ง่ายกว่าไม้เนื้อแข็ง จึงเหมาะสำหรับทำไม้แบบของห้องเรือนธาตุและผนังที่เป็นผังรูปวงกลมก่อเรียงอิฐแบบสันเหลื่อมโค้ง (Corbel Arch)

“หากจำแนกกลุ่มเจดีย์ตามความนิยมสร้างเป็นเจดีย์ประธานของแผนผังวัด จากเจดีย์ทรงปรางค์ที่นิยมสร้างเป็นประธานของผังวัดสมัยอยุธยาตอนต้น สู่เจดีย์ทรงระฆังที่นิยมสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง และเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมที่เกิดขึ้นในครึ่งหลังของสมัยอยุธยา เราพบความสืบเนื่องของเทคนิคการก่อสร้างโดยใช้ไม้แบบตลอดสมัย คือภายในห้องเรือนธาตุเจดีย์ทุกองค์ หากก่อผนังอิฐแบบสันเหลื่อมตรง (Corbel) ช่างจะใช้ไม้เนื้อแข็งขึ้นโครง ต่างจากไม้ไผ่ที่เหมาะกับการก่อผนังแบบสันเหลื่อมโค้ง (Corbel Arch)

“ถ้าดูภาพประกอบจะเห็นชัดเจนถึงเทคนิคก่อสร้างดังกล่าว เจดีย์บางองค์มีการขึ้นโครงไม้แบบในลักษณะผสม ทั้งแบบสันเหลื่อมตรงและแบบสันเหลื่อมโค้ง โดยพิจารณาได้จากรูปแบบผังโครงสร้างที่แตกต่างกันในแต่ละชั้นความสูง แต่โดยทั่วไป ผังของห้องเรือนธาตุเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมสมัยอยุธยานิยมออกแบบเป็นผังรูปวงกลมหรือไม่ก็แปดเหลี่ยม ส่วนเจดีย์ทรงปรางค์จะนิยมออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมย่อมุมเกือบทั้งหมด ผังแบบอื่นพบว่าสร้างในครึ่งหลังของสมัยอยุธยา เช่น ผังเรือนธาตุรูปแปดเหลี่ยมที่ปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนาราม และผังรูปวงกลมที่ปรางค์ประธานวัดวรเชตุเทพบำรุง” ดร.สุวิทย์ กล่าว

ภาพที่ 5 ตัวอย่างหลักฐานด้านเทคนิคการก่อสร้าง เจดีย์ประธานวัดลังกา (บน) และเจดีย์ประธานวัดนก (ล่าง)
เจดีย์ประธาน วัดลังกา (ซ้าย)
เจดีย์ประธาน วัดนก (กลาง)
เจดีย์รายองค์ด้านทิศเหนือ ข้างอุโบสถ วัดมหาธาตุ (ขวา)
ภาพที่ 6 ตัวอย่างหลักฐานการตั้งเสาไม้ที่ มุมห้องเรือนธาตุสูงจรดแนวขอรับฝ้าเพดาน

ตัวอย่างเทคนิคการก่อสร้างโดยใช้ไม้แบบที่เจดีย์ประธานก่อด้วยอิฐทรงปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นที่วัดลังกานับว่าเป็นยอดตัวอย่างของระเบียบการก่อโครงสร้างภายในที่มีความซับซ้อนและมีผังห้องเรือนธาตุขนาดใหญ่ที่สุดในเกาะพระนครศรีอยุธยา สืบเนื่องสู่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามนอกเกาะเมืองในสมัยอยุธยาตอนปลายก็มีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน ซึ่งครูช่างอยุธยายังได้ฝากมรดกภูมิปัญญาแบบแผนการก่อผนังโครงสร้างภายในเช่นนี้ใน

เจดีย์ประธาน วัดลังกา (ซ้าย)
เจดีย์ประธาน วัดส้ม (ขวา)
ภาพที่ 7 ตัวอย่างผนังกําแพงรับน้ําหนักแบบก่อสันเหลื่อมตรง

เจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์ประธานวัดใหญ่ชัยมงคล วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดจงกลม วัดหลังคาขาว วัดใหม่ประชุมพล และเจดีย์รายอีกมากมาย

ภาพที่ 8 ตัวอย่างเค้าโครงการขึ้นโครงไม้แบบที่ทําจากไม้เนื้อแข็ง จากหลักฐานที่พบภายในองค์เจดีย์สมัยอยุธยา
เจดีย์ประธาน วัดนก
ภาพที่ 9 ตัวอย่างผนังกําแพงรับน้ําหนักแบบก่อสันเหลื่อมโค้ง (ซ้าย) และแบบสันนิษฐานเค้าโครงไม้แบบชั่วคราวที่สานจากไม้ไผ่ (ขวา)
ภาพที่ 10 รูปแบบผนังกําแพงรับน้ําหนักแบบก่อสันเหลื่อมไม่เป็นระเบียบ

ด้วยเหตุนี้ ดร.สุวิทย์ จึงได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าในสมัยอยุธยาน่าจะมีประเพณีการส่งต่อทักษะความรู้ในวิชาการช่างโบราณอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

เจดีย์ประธาน วัดลังกา (ซ้าย)
เจดีย์รายองค์ทิศเหนือ ข้างอุโบสถวัดมหาธาตุ (ขวา)
ภาพที่ 11 ไม้แบบแนวนอนที่ฝังในผนังอิฐของเจดีย์ตัวแบบสมัยอยุธยา

เช่นเดียวกับความรู้เชิงช่างในหมวดหมู่อื่น ๆ เช่น ช่างทอง ช่างตีเหล็ก และงานจักสาน ซึ่งดำรงอยู่ควบคู่มาพร้อมกับความรู้นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น งานก่อสร้างอาคารทรงตึก และการตัดถนน

ที่มา: พิพัฒน์ พงศ์รพีพร, ภาพมุมกว้างของ กรุงเทพพระมหานครในสมัยรัชกาลที่ 4: การ
ค้นพบใหม่(กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2544), 92. (ซ้าย)
ที่มา: Karl Dohring, Buddhist Temples of Thailand
(Bangkok: White Lotus, 2000), 263. (ขวา)
ภาพที่ 12 ข้อสันนิษฐานเปรียบเทียบเทคนิคการวางไม้แบบระนาบแนวนอน ขณะก่อสร้างพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ (ซ้าย) และเจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี (ขวา)

“คุณูปการการค้นพบเทคนิคการก่อสร้างเจดีย์ชนิดมีห้องเรือนธาตุสมัยอยุธยานี้ อย่างน้อยก็ได้เห็นถึงภูมิปัญญาด้านเทคนิคการก่อสร้างของช่างสมัยอยุธยา ทั้งยังอาจช่วยคลี่คลายข้อถกเถียงทางวิชาการ

ที่มา: Lucien Fournereau (ซ้าย)
ที่มา: สุรยุทธ วิริยะดํารง (ขวา)
ภาพที่ 13 ข้อสันนิษฐานเปรียบเทียบเทคนิคการวางไม้แบบระนาบแนวนอน ขณะก่อสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม (ซ้าย) และไม้แบบที่คงอยู่ถึงปัจจุบัน (ขวา)

บางเรื่อง เช่น การกำหนดอายุสมัยของสถาปัตยกรรม และยังเป็นประโยชน์ต่อความรู้ ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ซึ่งช่วยสนับสนุนข้อสรุปบางอย่างได้” ดร.สุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

1 = ผนังกําแพงรับน้ําหนักก่อตั้งฉากกับพื้นเรือนธาตุ
2 = ผนังก่อแบบสันเหลื่อมตรงระนาบผนังเรียงเป็นระเบียบ
3 = ผนังก่อแบบสันเหลื่อมตรงระนาบผนังเรียงไม่เป็นระเบียบ
4 = ผนังก่อแบบสันเหลื่อมโค้ง ระนาบผนังเรียงเป็นระเบียบ
5 = ผนังก่อแบบสันเหลื่อมโค้ง ระนาบผนังเรียงไม่เป็นระเบียบ

ภาพที่ 14 ลําดับขั้นตอนการก่อสร้าง “แบบก่อสันเหลื่อมตรงชั้นเดียว” เจดีย์รายทรงปรางค์ องค์ด้านทิศเหนือข้างอุโบสถ วัดมหาธาตุ

About the Author

Share:
Tags: อยุธยา / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / architecture / interior / ฉบับที่ 71 / เจดีย์อยุธยา / เจดีย์ /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ