Tuesday, May 7, 2024
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

พระนางพญา พิมพ์เทวดา

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 23
เรื่อง: คนชอบ(พระ)สวย, ปรีชา เอี่ยมธรรม

พระนางพญา

พิมพ์เทวดา

พระพิมพ์องค์ขนาดเล็กตรงกลางประธานจักเป็นรูปจําลองในองค์สัมมาสัมพุทธเจ้านิยมทําเอามาบูชาสักการะน้อยด้วยสร้อยอาราธนาเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ได้ และเป็นเครื่องแสดงทาง
สัญลักษณ์ว่า เราคือพุทธศาสนิกชน คนนับถือพระ นอกจากนั้นแล้ว องค์พุทธปฏิมากรนั้น เป็นของบริสุทธิ์อันดีงาม เมื่อเรานําท่านติดตัว ไปเพื่อเป็นพุทธานุสติเครื่องเตือนใจมิให้เรา ทําบาปอกุศล จงกระทําแต่สิ่งที่ดีงาม

พระพุทธปฏิมากรที่ว่านั้นเราเรียกรวมๆว่า พระเครื่องรางของขลังที่ได้ผ่านการลง อักขระ เลขยันต์ จากท่านอาจารย์ผู้ซึ่งทรง คุณวิเศษทางพุทธาคมอันเข้มแข็งและ แกร่งกล้าทางพุทธาคมมาก่อนแล้ว

อักขระหัวใจพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากบทสวดมนต์ ๗ ตํานาน บทสรรเสริญพระรัตนตรัย พระปริตรต่างๆเป็นต้น

บริเวณหน้าทางเข้าวัดนางพญา ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก

เลข ส่วนมากได้มาจากหัวใจพุทธมนต์ที่บทสวดมีความยาวมาก อย่างเช่น บทสวดถึง พระเจ้า ๕ พระองค์ที่ยาวมากก็เหลือเพียง นะ โม พุท ธา ยะ ท่านก็ใช้เลข ๕ มาลงแทน และอย่างเช่นบทสวดสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ที่เรียกว่า พระอิติปิโสทั้ง ๓ บท ก็ย่อลงเพียง อิ สวา สุ ๓ อักขระ ท่านใช้เลข ๓ ลงแทน ทํานองนี้เป็นต้น

ยันต์ เป็นรูปตารางเส้นในหลายรูปแบบ เช่น ยันต์สาม ยันต์สี่เหลี่ยม ตีตารางไขว้ไปมานั้น ท่านก็ลงในบทพระพุทธมนต์ที่เห็นควร

รวมเรียกสั้นๆ ว่า อักขระ เลขยันต์

การสร้างพระเครื่องรางของขลังที่มีมาแต่ ครั้งบรมกาลในหลากหลายรูปแบบ สร้างแล้วสร้างกันอีกอย่างไม่รู้จักจบสิ้น จนอาจจะพูดได้ว่าพระเครื่องเมืองไทยมีมากที่สุดทั้งรูปแบบและเนื้อหา จดจํากันไม่หวาดไม่ไหว สุดท้ายโดยท่านนักนิยมสะสมผู้อาวุโส มีปรมาจารย์ แห่งวงการพระเครื่องและเป็นนักนิยมสะสมพระเครื่อง ผู้เขียนหนังสือพระเครื่องเป็น ท่านแรกๆ คือผู้ที่ใช้นามปากกาว่า ตรียัมปวาย หรือมีชั้นยศทหารบกเป็น พันเอกพิเศษ ผจญนัย ว่าท่านเกิดตรงกับเทศกาลตรียัมปวาย ในศาสน พิธีของพราหมณ์ หรือพิธีโล้ชิงช้า กับนักนิยมสะสมพระเครื่องในรุ่นราวคราวเดียวกัน ได้ รวบรวมคัดสรรพระเครื่องที่นับด้วยความเยี่ยมยอดทางรูปแบบและความขลังเป็นประสิทธิได้ ๕ องค์ คือ พระสมเด็จวัดระฆัง กรุงเทพฯ พระนางพญา พิษณุโลก พระเม็ดขนุน กําแพงเพชร พระผงสุพรรณ สุพรรณบุรี และ พระรอดจากกรุวัดมหาวัน เมืองลําพูน

พระพิมพ์รวม ๕ องค์นี้รวมเรียกว่าพระชุดเบญจภาคี โดยยกย่องให้พระสมเด็จ วัดระฆัง เป็นราชาแห่งพระเครื่อง สําหรับราชินีแห่งพระเครื่อง ท่านกําหนดให้เป็นพระนางพญา พิษณุโลก

ปฐมเหตุที่เรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระนางพญา สืบเนื่องมาจากชื่อกรุที่ขุดพบที่วัดพระนางพญาพิษณุโลก เป็นแห่งแรก

ในตํานานกล่าวกันว่า ท่านผู้สร้างก็คือ สมเด็จพระวิสุทธิกษัตรีย์ ราชธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เกิดแต่สมเด็จพระสุริโยทัย วีรกษัตริย์ผู้กล้าแห่งกรุงศรี อยุธยา ได้พระราชทานเป็นพระมเหสีของ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศเหนือ

พระวิสุทธิกษัตริย์พระองค์นี้คือพระราชมารดาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ วีรกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้กู้ชาตินั่นเอง

พระนางพญา พิษณุโลก เป็นพระเนื้อ ดินเผา รูปทรงหน้าจั่ว มีทั้งเนื้อดินละเอียด มีเม็ดแร่กรวดทรายปะปนอยู่ด้วย ประเภท เม็ดแร่ลอยที่เรียกกันว่าพระนางพญากรุน้ํา คือพบพระอยู่ในที่ลุ่มมีน้ําขัง จึงเรียกว่า พระนางพญากรุน้ํา

พระนางพญา พิษณุโลก แบ่งออกเป็น ๒ ขนาดโดยประมาณ คือพระนางพญาพิมพ์ใหญ่ ได้แก่ พระนางพญาเข่าโค้ง พระนางพญา เข่าตรง พระนางพญาอกนูนใหญ่ ส่วนพระนางพญาพิมพ์เล็ก ได้แก่ พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญา อกนูนเล็ก และที่นําเอาเสนอก็คือ พระนาง พญาพิมพ์ทรงเทวดา หรือพิมพ์อกแฟบ ที่นํา ภาพมาเสนอ ณ ที่นี้เป็นพระนางพญาที่งดงาม สวย และสมบูรณ์ครับ


ขอบคุณภาพประกอบจาก www.sookjai.com

About the Author

Share:
Tags: พระสวย / พระนางพญา / พระเครื่อง / พระนางพญา พิมพ์เทวดา / ฉบับที่ 23 /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ