Thursday, May 16, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

วิทยุ บรรจุรัก

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 14
เรื่อง: ฬียากร เจตนานุศาสน์
ภาพ: วิชาญ ชัยรัตน์

วิทยุ

บรรจุรัก

ถ้าพูดถึงวิทยุ เชื่อได้ว่าคนในสมัยนี้ ต้องมีคําว่าออนไลน์ต่อท้ายการเปิดวิทยุออนไลน์ ฟังวิทยุออนไลน์ ดูเป็น สิ่งที่คนยุคใหม่จับต้องได้ง่าย ได้จริงมากกว่า บรรยากาศการซื้อ วิทยุสักเครื่องไว้ฟังเพลง ฟังข่าว ฟัง ละคร คงเป็นสิ่งที่ค่อยๆ จางหายเข้าใจกลายเป็นอดีตไปแล้ว ชีวิตเร่งรีบในปัจจุบันมีเสียงจากสื่อต่างๆ มากขึ้นแน่นอนรายการวิทยุดีๆ และดังๆ ก็ยังมีอยู่ให้เราฟังอย่างเพลิดเพลินระหว่างเดินทางหรือขณะขับรถอย่างไรก็ตาม พอคิดขึ้นมาได้ว่า ในอนาคตถ้าหากวิทยุหายไป ใครบางคนที่สร้างวิทยุเครื่องแรกขึ้นมาจะรู้สึกอย่างไร

ย้อนไปในอดีต แทบทุกเช้าเสียงที่ปลุก ให้เราตื่นตอนนั้นไม่ใช่เสียงจากนาฬิกา ปลุกหรือเสียงไก่ขัน แต่เป็นเสียงเพลง ปลุกใจจากวิทยุที่คุณปู่เปิดเสียเสียงดังชนิดที่ ได้ยินกันทั้งบ้านหากยังไม่มีใครยอมลุกจากที่นอน ส่วนป้าทองใบข้างบ้าน เราจะได้ยิน เสียงละครวิทยุลอยมาจากบ้านแกทุกช่วงสาย ช่วงบ่าย แถมด้วยช่วงเย็นย่ําและหัวค่ําอีกเล็ก น้อย และระหว่างนั้นเบรกด้วยเสียงข่าวประจํา วันเป็นระยะๆ เรียกว่าบ้านแกไม่เคยเงียบเสียง จากวิทยุ ตกค่ําน้องชายตัวดีประคองวิทยุขึ้นมาฟังเพลงที่มีดีเจจัดรายการพูดคุยคั่นระหว่างเพลงอย่างสนุกสนาน ถูกใจวัยรุ่นสมัยนั้น ก่อนที่ตกดึกก็ยกวิทยุไปวางที่เดิมเพื่อตอนเช้าจะได้ไม่ถูกคุณปู่ดุว่าวิทยุถูกย้ายที่หายไปไหน

การฟังวิทยุน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวันของทุกคนในครอบครัวในสมัยย้อนหลังจากนี้ไปหลายสิบปีก่อน นอกจากโทรทัศน์ที่จะมีไว้ดูแค่ช่วงค่ําๆ พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งบ้านแล้ว ก็มีวิทยุนี่แหละที่เป็นความบันเทิงครบรสสําหรับทุกคนในครอบครัว จนกระทั่ง ถึงวันที่หลายสิ่งหลายอย่างพัฒนาไปตามกาล เวลา เมื่อความบันเทิงมีให้เลือกเสพได้หลาก หลายช่องทางมากขึ้น วิทยุก็ค่อยๆ กระเถิบ ถอยห่างออกไปจากชีวิตเราทีละน้อยๆ

กําเนิดวิทยุ

พ.ศ. ๒๔๑๖ เจมส์เคลิร์ก แม็กซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุเขาคิดว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้เร็วเท่าคลื่นแสงและสามารถส่งสัญญาณในอากาศได้โดยไม่ต้องใช้สาย เขาเขียนหนังสือ เกี่ยวกับทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไว้

พ.ศ. ๒๔๓๐ ไฮน์ริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz) นักฟิสิกส์ชาว เยอรมัน ได้พิสูจน์ทฤษฎีของแม็กซ์เวลล์ และ ทดลองการส่งและรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคนแรกของโลก ด้วยเครื่องออสซิเลเตอร์ เฮิรตซ์ ทดลองส่งกระแสไฟฟ้าผ่านลูกกลมโลหะลูกหนึ่งไปยังอีกลูกหนึ่งในห้องเดียวกันมีอีเธอร์ซึ่งสามารถเป็นสื่อให้คลื่นแม่เหล็กโดยใช้อากาศเป็นตัวกลาง เพราะในอากาศไฟฟ้าผ่านได้ สามารถนําคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารได้ ดังนั้น เราจึง เรียกคลื่นวิทยุว่า เฮิร์ตเซียน (Hertzian Wave เรียกง่ายๆ ว่า คลื่น Hertz หรือย่อ ว่า Hz)

พ.ศ. ๒๔๔๔ กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ชาวอิตาลี สามารถ ส่งคลื่นวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกระยะทางกว่า ๒,๐๐๐ ไมล์ การส่งวิทยุระยะแรกเป็นการส่งวิทยุโทรเลข ยังไม่สามารถส่งสัญญาณที่เป็นเสียงพูดได้จนกระทั่ง

พ.ศ. ๒๔๔๙ จึงสามารถส่ง สัญญาณเสียงพูดได้โดยการพัฒนาของ ศาสตราจารย์เรจินัลด์ เอ. เฟสเซนเดน (Riginald A. Fessenden) และลี เดอ ฟอเรสต์ (Lee de Forest) ชาวอเมริกัน ที่สามารถทําได้สําเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ซึ่งเป็นการส่งเสียงพูดจากเครื่องส่งไปยัง เครื่องรับเครื่องหนึ่งในระยะไกลเรียกว่าวิทยุโทรศัพท์ (Radio Telephony)

สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศ ครั้งแรกของโลกคือสถานี KCBS ในเมือง ซานฟรานซิโก สหรัฐอเมริกา เริ่มออกอากาศ รายการประจําให้คนทั่วไปรับฟังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓

วิทยุและวิทยุโทรเลขถูกนําเข้ามา ทดลองใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับปลายรัชกาลที่ ๕ โดย ห้างบีกริม ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทวิทยุ โทรเลขเทเลฟุงเกน ประเทศเยอรมนี ทําการ ทดลองส่งระหว่างกรุงเทพมหานครกับเกาะสีชัง

พ.ศ. ๒๔๕๖ สมัยรัชกาลที่ ๖ กระทรวงทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลข ขึ้นที่ตําบลศาลาแดงในพระนครแห่งหนึ่ง และ ที่จังหวัดสงขลาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้โอนกิจการสถานีวิทยุทั้งสองแห่ง ให้กรมไปรษณีย์โทรเลข และต่อมางานวิทยุ โทรเลขได้ขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

วิทยุกระจายเสียงเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยการเริ่มทดลอง ส่งของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระยากําแพงเพชร อัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และ การคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ ๗ ตั้งสถานี ๔ พีเจ (4PJ) ขึ้น อยู่ในความดูแลของ กองช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข แต่การ กระจายเสียงจํากัดอยู่ในหมู่เจ้านายข้าราชการ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงตั้งสถานีวิทยุ แห่งใหม่ขึ้นที่วังพญาไท กระจายเสียงพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง ซึ่งถือว่า เป็นการส่งวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกของประเทศไทย

พ.ศ. ๒๔๗๕ เกิดการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย คณะราษฎร์ใช้วิทยุกระจายเสียงเผยแพร่ ข่าวให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลตั้งสํานักงาน โฆษณาการขึ้นและโอนสถานีวิทยุต่างๆ ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของสํานักงาน โฆษณาการ (ภายหลังเปลี่ยนกรมโฆษณาการเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เรียกสถานีวิทยุใหม่ว่า “สถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย”

เสาส‹งสัญญาณวิทยุ

จากคลื่นเสียงสู่เครื่องส่ง

วิทยุกระจายเสียงเป็นเทคโนโลยีสื่อสาร มวลชนประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (elec tronic media) อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electro-magnetic wave) หรือคลื่นวิทยุ (radio wave) ในการส่งสัญญาณเสียง (ผ่าน การเป็นคลื่นความถี่แม่เหล็กไฟฟ้า) ออกไป สู่เครื่องรับวิทยุกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ภาย หลังจากที่เจมส์ เคลิร์ก แม็กซ์เวลล์ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากนั้นก็ทําให้นักวิทยาศาสตร์จํานวนมากพยายามค้นคว้าหา วิธีที่จะนําเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้งาน จนในที่สุด ไฮน์ริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ นัก วิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ผลิตเครื่องมือที่สามารถนําคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารได้ กระทั่ง ผลงานชิ้นนี้ของเขาได้รับการยกย่องเรียกเป็น คลื่นวิทยุว่า Hertz มาจนกระทั่งปัจจุบัน

และจากความสําเร็จของเฮิรตซ์ ส่งผลให้ กูกลิเอลโม มาร์โคนี นักคิดค้นชาวอิตาลี ได้ คิดค้นวิธีถ่ายทอดกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งสัญญาณ จากห้องทดลองที่สร้างขึ้นภายในบ้าน และจาก เครื่องมือทดลองที่ประกอบไปด้วยแบตเตอรี่ ลวดทองแดง แผ่นทองแดง และว่าว โดยเริ่ม จากการทดลองส่งสัญญาณในระยะใกล้ๆ จน ไปถึงระยะทางไกลระหว่างเกาะนิวฟาวด์แลนด์กับเกาะอังกฤษ หลังจากการค้นพบได้เพียง สามปี ในต้นปี พ.ศ. ๒๔๔๑ มาร์โคนีก็สร้าง สถานีวิทยุกระจายเสียงออกอากาศ แม้การส่งกระจายเสียงออกอากาศในครั้งนั้น ระยะทางของคลื่นวิทยุจะไปได้ไม่ไกลนัก แต่ก็ทําให้สํานักงานหนังสือพิมพ์เดลี เอ็กซ์เพรสในกรุง ลอนดอนเกิดความสนใจในเครื่องรับส่งวิทยุ ของเขา จึงติดต่อขอซื้อไปใช้ในการส่งข่าวสาร หลังจากนั้น มาร์โคนีได้ปรับปรุงและพัฒนา เครื่องส่งวิทยุของเขา จนในที่สุดก็ผลิตเครื่อง ส่งวิทยุที่สามารถกระจายเสียงข้ามช่องแคบ อังกฤษได้เป็นผลสําเร็จในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ และมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ขึ้นในทันที

กูกลิเอลโม มาร์โคนี ในวัย ๒๒ ปี กับเครื่องส่‹งวิทยุโทรเลขไร้สายเครื่องแรกของเขา
ซึ่งได้Œรับการจดสิทธิบัตรที่ประเทศอังกฤษในปี‚ ค.ศ. ๑๘๙๖

กูกลิเอลโม มาร์โคนี ชาวอิตาลี

พ.ศ. ๒๔๔๑ สร้างสถานีวิทยุ กระจายเสียงออกอากาศ

พ.ศ. ๒๔๔๒ สามารถกระจายเสียงข้ามช่องแคบอังกฤษได้เป็นผลสําเร็จ

พ.ศ. ๒๔๔๔ ทําการทดลอง การสื่อสารแบบไม่มีสาย (wireless)

พ.ศ. ๒๔๕๒ มาร์โคนีก็ได้รับ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากการประดิษฐ์วิทยุ

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เป็นปีที่มาร์โคนีทําการ ทดลองการสื่อสารแบบไม่มีสาย (wireless) ที่ถือได้ว่าเป็นการทดลองครั้งประวัติศาสตร์ คือการทดลองส่งสัญญาณข้ามมหาสมุทร แอตแลนติก การทดลองครั้งนี้ มาร์โคนีเดินทางไปตั้งเครื่องรับสัญญาณวิทยุที่แหลมคอด (Cod Cape) ในสหรัฐอเมริกา เพื่อรับสัญญาณที่จะส่งมาจากอังกฤษ แต่การทดลองครั้งแรกไม่ประสบผลสําเร็จเนื่องจากอากาศหนาวจัดเขาจึงตัดสินใจย้ายไปทําการทดลองที่เกาะนิวฟาวด์แลนด์ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาร์โคนีพร้อมกับผู้ช่วยของเขาติดตั้งเครื่อง รับวิทยุบนยอดเขา เรียกว่า “ซิกแนล ฮิลล์” (Signal Hill) ได้สําเร็จ และเริ่มรับสัญญาณ ที่ส่งมาจากประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ การทดลองครั้งนี้นับเป็นความสําเร็จยิ่งใหญ่ของ มาร์โคนี ชื่อเสียง ของเขาได้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกหนังสือพิมพ์ ยักษ์ใหญ่อย่างนิวยอร์กไทม์กับลอนดอนไทม์ ลงข่าวยกย่องมาร์โคนีว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

ความสําเร็จที่มาจากความไม่เชื่อ

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ที่มาร์โคนีประสบความ สําเร็จในการส่งคลื่นวิทยุข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก นับเป็นเรื่องอัศจรรย์สําหรับคนใน สมัยนั้นมาก เพราะใครๆ ก็คิดว่าการที่โลก กลมและคลื่นเดินทางเป็นเส้นตรง ดังนั้น ความ พยายามที่จะส่งคลื่นจากตําแหน่งหนึ่งที่ผิวโลกให้ถึงอีกสถานที่หนึ่งซึ่งอยู่ซีกโลกตรงกันข้ามจะถูกความโค้งของโลกบดบัง แต่มาร์โคนีเป็นคนที่ไม่สนใจความกังวลของคนอื่น เขาไม่เชื่อว่าอุปสรรคจากขอบโค้งของโลกจะทําให้ไม่สามารถเอาชนะได้ ดังนั้น เขาจึงสร้างเสาอากาศสูง ๖๐ เมตร ที่เมืองคอร์นวอลล์ใน อังกฤษ แล้วรีบเดินทางไปที่นิวฟาวด์แลนด์

วิทยุวินเทจแบบพกพาได้Œ BUSH TR82 ปี‚ ค.ศ. ๑๙๕๙

เครื่องรับวิทยุในขณะนั้นให้เสียงที่เบามาก และการแยกคลื่น ของสถานีก็ยังไม่ได้ผลที่ดีนัก ประกอบกับเสียงที่ยังไม่ดังพอ ทําให้ไม่สามารถฟังได้หลายคน จึงมีการคิดค้นให้เครื่องรับสามารถเพิ่มเสียงได้เพื่อจะได้เพิ่มจํานวนของผู้ฟังให้มากขึ้น

วิทยุสมัยใหม่ในปัจจุบัน ที่นอกจากเป็šนวิทยุแล้Œว ยังเป็นนาฬิกาบอกเวลาและตั้งเวลาปลุกได้Œด้Œวย

วิทยุเครื่องแรกของโลก

สําหรับเครื่องรับวิทยุในสมัยแรกนั้น ผู้ฟังจะต้องใช้เครื่องฟังเสียงครอบลงที่ใบหู เพราะเครื่องรับวิทยุในขณะนั้น ให้เสียงที่เบามากและการแยกคลื่นของ สถานีก็ยังไม่ได้ผลที่ดีนัก ประกอบกับ เสียงที่ยังไม่ดังพอ ทําให้ไม่สามารถ ฟังได้หลายคน จึงมีการคิดค้นให้เครื่องรับสามารถเพิ่มเสียงได้เพื่อจะได้เพิ่มจํานวนของผู้ฟังให้มากขึ้น ในที่สุด จอห์น แอมโบรส เฟลมมิง (John Ambrose Fleming) ชาวอังกฤษ ได้นําหลอดไฟฟ้าที่คิดค้นขึ้นโดยโทมัสเอดิสัน (Thomas Edison) ชาวอเมริกัน มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงจน สามารถส่งคลื่นออกอากาศได้ในรัศมี ที่ไกลขึ้น และสามารถทําให้วิทยุกระจาย เสียงมีเสียงดังฟังชัดขึ้นสําเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ นั่นเองซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อสร้างสถานีรับสัญญาณที่นั่น และในวันที่ ๑๒ ธันวาคมปีนั้นเอง คลื่นวิทยุจากคอร์นวอลล์ก็เดินทางถึงนิวฟาวด์แลนด์สําเร็จเป็นครั้งแรก ซึ่งความสําเร็จนี้เกิดขึ้นได้เพราะโลกมีชั้นบรรยากาศที่มีประจุไฟฟ้าห่อหุ้ม (ionosphere) และบรรยากาศชั้นนี้สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ความสําเร็จครั้งนี้ของมาร์โคนีทําให้เขามีโอกาสหวนคืนสู่ประเทศอิตาลีอันเป็นบ้านเกิดอีกครั้ง โดยการเชื้อเชิญจากรัฐบาลอิตาลีที่สนใจระบบการส่งสัญญาณวิทยุของมาร์โคนีได้สําเร็จนั่นเอง

บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์วิทยุ

นับจากการกําเนิดและมีการพัฒนาขยับขยายเพื่อให้การกระจายเสียงของวิทยุสามารถแผ่ขยายกว้างไกลในช่องความถี่ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ วิทยุได้พิสูจน์ให้โลกเห็นถึงความเป็น ประโยชน์ที่มากกว่าการใช้งานในเวลาปกติ ของมัน เมื่อครั้งที่เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ ไททานิกอับปางลงในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลานั้น สัญญาณวิทยจากเรือไททานิกทําให้เรือคาร์ เพเทียที่อยู่ในรัศมีใกล้ๆ สามารถรับข่าวสาร และเดินทางมาช่วยผู้โดยสารอีกกว่า ๗๐๐ ชีวิตได้ทัน จาก ๒,๒๐๐ ชีวิตที่อยู่บนเรือ

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ มาร์โคนีก็ได้รับ รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากการประดิษฐ์ วิทยุ เขาได้รับรางวัลนี้ร่วมกับคาร์ล เบราน์ (Karl Braun) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้ประดิษฐ์หลอดแคโทด (cathode ray Oscilloscope) เพราะโลกตระหนักว่าวิทยุ ช่วยให้การเดินทาง ในทะเลปลอดภัย วิทยุยังทําให้การส่งข่าวสาร ข่าว บันเทิง ข่าวทหาร ข่าววิทยาศาสตร์ไปสู่ผู้ฟังได้อย่าง รวดเร็ว และในงบ ประมาณที่ไม่สูงจนเกินไป

และปัจจุบันหากมองย้อนกลับไป แม้วิทยุของมาร์โคนีจะดูยิ่งใหญ่สักเพียงใด แต่ เราก็ต้องยอมรับว่าครั้งหนึ่งมันเป็นเพียงผลิตผลที่เกิดจากการรู้ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแม็กซ์เวลล์ และการทดลองเรื่อง แม่เหล็กไฟฟ้าของไมเคิล ฟาราเดย์กับไฮน์ริชเฮิรตซ์ กระนั้นในที่สุด แม้กาลเวลาที่ผ่านมา สิ่งประดิษฐ์ล้ําค่าชิ้นนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ ชิ้นสําคัญที่นําโลกเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างแท้จริง

โลกตระหนักว่าวิทยุช่วยให้การเดินทางในทะเลปลอดภัย วิทยุยังทําให้ การส่งข่าวสาร ข่าวบันเทิง ข่าวทหาร ข่าววิทยาศาสตร์ไปสู่ผู้ฟัง ได้อย่างรวดเร็ว และในงบประมาณที่ไม่สูงจนเกินไป

วิทยุหลอดแบบตั้งพื้น TRUETONE D-1845 (ค.ศ. ๑๙๔๗)
พลเอกพระเจŒ้าบรม วงศ์เธอพระองค์เจ้Œาบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน “บิดาแห่‹งวงการวิทยุกระจายเสียงไทย”

เจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งมีความ สนพระทัยในการส่งกระจาย เสียงวิทยุเป็นอย่างมาก นั่นคือ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกําแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งภายหลังได้มีการยกย่องให้ท่านทรงเป็น “บิดาแห่ง วงการวิทยุกระจายเสียงไทย”

คลื่นเสียงสุดท้ายของผู้สร้างวิทยุ


มาร์โคนีเสียชีวิตที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ และเมื่อ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มูลนิธิมาร์โคนี ร่วมกับสมาคมวิทยุของอิตาลี และสถาบัน ดาราศาสตร์วิทยุ (radio astronomy) จัดงาน เฉลิมฉลองการครบหนึ่งศตวรรษของวิทยุ โดย ได้ส่งคําปราศรัยของมาร์โคนีที่ความถี่ ๑๒,๙๖๑ เมกะเฮิรตซ์ไปกระทบผิวดวงจันทร์ แล้วรับคลื่นสะท้อนด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่เมืองปอนเตชิโอ อันเป็นบ้านเกิดของมาร์โคนี

และนี่ก็คือเรื่องราวแสนโรแมนติกของ บุคคลที่เปี่ยมไปด้วยความรักในการทดลอง และค้นคว้าศึกษาหาคลื่นความถี่ที่สามารถรับ-ส่ง กระจายเสียง จนทําให้พวกเรามีวิทยุ ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่ารูปร่างหน้าตาของ วิทยุนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน สไตล์ใด หรือแม้แต่เป็นเพียงเสียงที่แทรกผ่านขึ้นมาจากระบบออนไลน์ หากแต่สิ่งสําคัญหาใช่รูป ลักษณ์ภายนอกของวัตถุที่เรียกว่าวิทยุอีกต่อไป เพราะเพียงหัวใจหลักในการส่งผ่านรายการโปรดที่ใครบางคนชอบฟังตอนขับรถกลับบ้านหลังเลิกงานตอนค่ํา หรือเพียงเสียงทุ้มๆ นุ่มๆ จากดีเจบางคลื่นที่โอบล้อมบรรยากาศแห่ง บางค่ําคืน ไม่ให้ใครบางคนรู้สึกเปลี่ยวเหงาจนเกินไปนัก เสียงบอกเหตุการณ์ต่างๆ บนเส้นทางจราจร รวมทั้งการแจ้งเหตุฉุกเฉิน เสียง ที่ส่งผ่านคลื่นความที่เหล่านั้น ไม่ว่าจะแทรกตัวของมันผ่านออกมาทางช่องทางใด เราว่าทุกเส้นเสียงความถี่ที่ผ่านคลื่นวิทยุ ล้วนถูก บรรจุไปด้วยความรักของผู้ชายเหล่านี้ที่ชื่อมาร์โคนี แม็กซ์เวล และเฮิรตซ์ด้วยอย่างแน่นอน

สําหรับในประเทศไทย เมื่อมีกิจการโทรเลขแล้ว ประกอบกับความก้าวหน้าของ วิทยุในต่างประเทศ ทําให้มีเจ้าฟ้าพระองค์หนึ่ง มีความสนพระทัยในการส่งกระจายเสียงวิทยุ เป็นอย่างมาก นั่นคือ พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระ กําแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งภายหลังได้มีการ ยกย่องให้ท่านทรงเป็น “บิดาแห่งวงการวิทยุ กระจายเสียงไทย”

About the Author

Share:
Tags: วิทยุ / ฉบับที่ 14 / radio /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ