Monday, May 6, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

อดีตและวันนี้กับพิพิธภัณฑ์ศิริราช

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 17
เรื่อง: อรรยา
ภาพ: พิพิธภัณฑ์ศิริราช, ปิยนันท์ เกียรตินฤยุทธ

“อนุรักษ์เทเวศร์กิตติประกาศ” ภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณีซึ่งบอกเล่าพระราชประวัติของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ผลงานของ ปัญญา วิจินธนสาร จัดแสดงอยู่ภายในห้องสถานพิมุขมงคลเขต

อดีตและวันนี้กับ

พิพิธภัณฑ์ศิริราช

เคยมีคำกล่าวว่า ทุกตารางนิ้วบนโลกล้วนเป็นรอยจารึกเรื่องราวที่ผันผ่านไปตามกาลเวลา ไม่ต่างจากพื้นที่บริเวณด้านใต้ของปากคลองบางกอกน้อยเรื่อยไปจนถึงวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลศิริราช ตลอดจนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่ให้การศึกษาและช่วยเหลือดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนนับล้านชีวิตมาตลอด ๑๒๘ ปี ล้วนเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สามารถย้อนกลับไปได้ถึงสมัยอยุธยา

นับตั้งแต่การเป็นเมืองหน้าด่าน ที่ตั้งของด่านขนอนสำหรับเก็บภาษีเรือสำเภา ซึ่งจะล่องแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นไปค้าขายกับพระนครศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ตั้งของพระราชวังหลัง ที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เป็นพื้นที่สำหรับใช้เป็นอู่ต่อเรือและโรงหล่อของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่ตั้งของโรงศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของสยามที่รักษาโดยการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ ์ ตลอดจนเปน็ ที่อยอู่ าศัยของชาวบ้านชุมชนบางกอกน้อย และเคยเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟธนบุรี พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นมากกว่าสถานที่บันทึกเรื่องราวซึ่งควรค่าแก่การศึกษาหากแต่ยังทรงคุณค่าในแง่ของการอนุรักษ์ ด้วยเหตุนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงก่อตั้ง

สถานีรถไฟธนบุรีในอดีต ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งของโรงพยาบาลศิริราช

พิพิธภัณฑ์ศิริราชขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะสานต่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และความรู้ทางการแพทย์ด้านต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียน นักศึกษาแพทย์ และบุคคลทั่วไป

อาคารทรงนีโอคลาสสิกก่อด้วยอิฐสีแดงเดิมเคยใช้เป็นสถานีรถไฟธนบุรีปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ ๑

พิพิธภัณฑ์ศิริราชเปิดให้บริการแก่สาธารณชนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗ ภายในประกอบด้วยพิพิธภณั ฑห์ ลัก ๒ แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์การแพทย์ของภาควิชาต่างๆ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และคลังวัตถุอันทรงคุณค่าอันประเมินค่ามิได้ และพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ที่จัดแสดงงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของบริเวณอันเป็นที่ตั้งของสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช

บรรยากาศภายในห้องศิริสารประพาสซึ่งจัดเป็นเหมือนห้องสมุดขนาดย่อมส่วนเก้าอี้สำหรับนั่งชมวิดีทัศน์เป็นเก้าอี้ในห้องบรรยายสำหรับนักศึกษาแพทย์ในอดีต

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน…ณ ที่แห่งนี้มีความเดิม

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่และเริ่มเปิดให้เข้าชมได้เมื่อ ๓ ปีก่อน ภายใต้โครงการ “สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช” คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเดิมพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่ด้วยพื้นที่เดิมของโรงพยาบาลศิริราชและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลค่อนข้างจำกัด ทั้งยังไม่สามารถขยายออกไปด้านอื่นได้ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินติดกันบริเวณ

ปากคลองบางกอกน้อยจำนวน ๓๓ ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ของสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ให้ทางศิริราชได้นำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ส่วนอาคารอนุรักษ์อายุนับศตวรรษซึ่งสร้างขึ้นในสมัยที่พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นสถานีรถไฟธนบุรีจำนวน ๔ หลังประกอบด้วย อาคารสถานีรถไฟ อาคารที่ทำการรับส่งสินค้าธนบุรี และอาคารโกดัง ๒ หลังนั้น ทางศิริราชได้ดัดแปลงและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมเรื่องราวประวัติความเป็นมาอันทรงคุณค่า รวมทั้งรวบรวมหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ที่พบโดยบังเอิญจากการปรับปรุงพื้นที่ เช่น ฐานป้อมบางส่วน ซากเรือไม้ และภาชนะดินเผามาจัดแสดง โดยผสานกับการนำเทคโนโลยีและสื่อมัลติมีเดียให้ประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้พิการได้เข้าชม โดยยังคงบรรยากาศและกลิ่นอายของสถานีรถไฟโบราณไว้ได้เป็นอย่างดี

ศิริราชขัตติยพิมาน ส่วนจัดแสดงพระบรมสาทิสลักษณ์พระสาทิสลักษณ์ พระราชดำรัส พระราชเสาวนีย์และพระดำรัส ในพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและพระกรุณาธิคุณต่อโรงพยาบาลศิริราช

การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานจะเริ่มต้นที่อาคารพิพิธภัณฑ์ ๑ อาคารทรงนีโอคลาสสิก ก่อด้วยอิฐสีแดงซึ่งเดิมเคยเป็นสถานีรถไฟช่องขายตั๋วรถไฟในอดีตจึงถูกดัดแปลงให้กลายเป็นช่องจำหน่ายบัตรเข้าชม มีเก้าอี้พักคอยแบบที่ใช้เฉพาะในสถานี ส่วนชานชาลารถไฟในอดีตจัดเป็นห้องแสดงนิทรรศการถาวร ซึ่งชื่อเรียกอันไพเราะของแต่ละห้อง รวมทั้งชื่อของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ล้วนเป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทั้งสิ้น ลำดับการเข้าชมจะไล่เรียงจากห้องแรก

ศิริสารประพาส

ห้องบรรยายบอกเล่าเรื่องราวโดยรวมของพิพิธภัณฑ์ เพื่อปูความรู้ความเข้าใจผ่านวีดิทัศน์ ภายในห้องตกแต่งบรรยากาศเหมือนห้องสมุด เก้าอี้นั่งทั้งหมดล้วนเป็นเก้าอี้ที่นักศึกษาแพทย์ในอดีตเคยใช้นั่งเรียนในห้องบรรยาย

ห้องโบราณราชศัสตราจัดแสดงศาสตราวุธ ในกรมพระราชวังบวร สถานพิมุข ซึ่งได้รับ ตกทอดกันมาในสายราชสกุลเสนีวงศ์

ศิริราชขัตติยพิมาน

ส่วนจัดแสดงพระบรมสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ พระราชดำรัสพระราชเสาวนีย์ และพระดำรัส ในพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและพระกรุณาธิคุณต่อโรงพยาบาลศิริราช

สถานพิมุขมงคลเขต

ความสำคัญของห้องนี้คือ พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขที่นำเสนอผ่านภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณีชื่อ “อนุรักษ์เทเวศร์กิตติประกาศ” ผลงานของปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อเข้ามาในห้องนี้ ผู้ชมจะได้ชื่นชมกับภาพวาดพร้อมเสียงบรรยายด้วยทำนองเสนาะ ส่วนพื้นที่ด้านข้างของภาพเขียนจัดแสดงหุ่นจำลองฉากละครจากพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง “พระศรีเมือง” และฉากปักผ้าไหมรูปตัวละครหลักจากวรรณคดีเรื่อง “ไซ่ฮั่น” พระราชนิพนธ์อีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ห้องคมนาคมบรรหารจัดแสดงประวัติของสถานีรถไฟธนบุรีในรูปแบบ 4 มิติ รางรถไฟที่เห็นนี้เป็นของดั้งเดิม

ภายในห้องสถานพิมุขมงคลเขตนี้ หนึ่งในไฮไลต์สำคัญ ได้แก่ ผนังกระจกด้านข้างที่ทอดยาวขนานไปกับทางเดินสู่ห้องจัดแสดงถัดไป เปิดให้เห็นฐานป้อมที่อยู่ลึกลงไปจากหน้าดินกว่า ๓ เมตร ซึ่งค้นพบจากการดำเนินงานทางโบราณคดี

บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี สันนิษฐานว่าเป็นฐาน ป้อมพระราชวังหลัง นอกจากนี้ ก่อนจะเข้าสู่ห้องจัดแสดงโบราณราชศัสตรา ระหว่างทางเดินยังจัดแสดงภาพพิมพ์แผนที่เมืองธนบุรีและปริมณฑลเขียนโดยสายลับชาวพม่าที่เข้ามายังแผ่นดินไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสมัยธนบุรีถึงต้นรัตนโกสินทร์ความพิเศษของแผนที่นี้อยู่ที่ความละเอียดในการจดบันทึก ส่วนด้านข้างมีการจัดแสดงภาพถ่ายในปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ในอดีตอีกด้วย

ส่วนหนึ่งของห้อง ศิริราชบุราณปวัตติ์ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับการกำเนิดโรงพยาบาลศิริราชและการตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในประเทศไทย

โบราณราชศัสตรา

จัดแสดงศัสตราวุธที่ คณะแพทยศาสตร์ฯ ได้รับมอบจากราชสกุล “เสนี วงศ์” เป็นราชสกุลสืบเชื้อสายจากกรมพระราชวัง บวรสถานพิมุข มีการนําเสนอวีดิทัศน์ขั้นตอนการ บูรณะศัสตราวุธและวีดิทัศน์การพระราชสงคราม ของศึกท่าดินแดง พ.ศ. ๒๓๒๙ ซึ่งเป็นสงครามที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลคุมทัพหน้าเข้าตีค่ายพม่าที่สามสบ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชคุมทัพหลวง และกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขตามเสด็จ กองทัพหลวงเข้าตีค่ายที่ท่าดินแดงรบกับพม่าอยู่ ๓ วัน พม่าก็ทิ้งค่ายแตกไป หลังจากนั้นก็ไม่มีสงครามใหญ่กับ พม่าอีก

การจัดแสดงสมุนไพรนับร้อยชนิดที่เป็นส่วนหนึ่งในศาสตร์ของแพทย์แผนไทย ภายในห้องสยามรัฐเวชศาสตร์

คมนาคมบรรหาร

ความพิเศษของห้องนี้ อยู่ที่การฉายภาพยนตร์แบบ 4 มิติ นําเสนอ ประวัติสถานีรถไฟธนบุรีซึ่งถือเป็นพื้นที่แห่ง ประวัติศาสตร์ ผ่านการใช้เทคนิคพิเศษเพื่อให้ผู้ ชมรู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางโดยรถไฟย้อนไปสู่ การเริ่มต้นเดินทางโดยรถไฟอย่างไรอย่างนั้น

ศิริราชบุราณปวัตติ์

บนชั้น ๒ ของอาคาร เป็นส่วนจัดแสดงที่เกี่ยวกับกําเนิดโรงพยาบาล ศิริราชและการตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรกใน ประเทศไทย จากพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จ พระบรมราชชนกที่ทรงพัฒนาการแพทย์และ

เรือไม้โบราณขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 24 เมตรซึ่งถูกกลบฝังอยู่ใต้รางรถไฟภายในห้องนิวาสศิรินาเวศ

สาธารณสุขของไทย ทั้งยังเป็นผู้เจรจากับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ให้เข้ามาช่วยเหลือพัฒนาด้านการ แพทย์ไทย ในส่วนถัดไปคือการจําลองบรรยากาศของการสอนทางปรีคลินิก และแสดงอุปกรณ์การ สอนที่ใช้ในยุคก่อน ไฮไลต์ของห้องนี้อยู่ที่การ จําลองกระโจมแพทย์ หรือห้องผ่าตัดในยุคนั้นที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมร่วมแสดงจริงผ่านการ Audio Guide ที่ติดไว้ภายในหมวกแพทย์ เพื่อ สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนและผู้เข้าชม ที่สนใจอยากเป็น “หมอ”

สยามรัฐเวชศาสตร์

ส่วนสุดท้ายของการ จัดแสดงบนชั้น ๒ จะแสดงให้เห็นถึงความ มหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์ สาเหตุแห่งโรค วิธี การเยียวยาความเจ็บป่วย และบทสรุปของการมี สุขภาพดีด้วยแนวคิด “ธรรมานามัย” นําเสนอใน รูปแบบด้วยเทคนิคทันสมัยที่ผู้ชมสามารถ ประยุกต์ใช้ได้ เช่น วีดิทัศน์สาธิตการบริหารกาย ด้วยวิธีก้าวเต้น-ก้าวตา และท่าฤาษีดัดตน การ รับประทานอาหารที่อุดมด้วยสมุนไพร และการ พัฒนาจิตให้มีสุขภาพดี สิ่งแสดงในห้องนี้ส่วนหนึ่งนํามาจากพิพิธภัณฑ์ประวัติการแพทย์ไทยอวย เกตุสิงห์

เครื่องถ้วย ลายครามจีนที่ขุดค้นได้ในบริเวณที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน

ภายในส่วนจัดแสดง นิวาสศิรินาเวศ ซึ่ง เป็นอาคารโกดังเก่าตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย คือการจัดแสดงเรือไม้โบราณขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ซึ่งถูกกลบฝังอยู่ใต้รางรถไฟ ลึก ลงไปจากผิวหน้าดินปัจจุบันราว ๕-๗ เมตร ลํา เรือเชื่อมต่อส่วนต่างๆ ด้วยตะปู เขี้ยวโลหะ และ หุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองตลอดทั้งลํา นอกจากนี้ยัง พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยหลากหลายประเภทในชั้น ดินภายในลําเรือ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องถ้วยลายคราม จีน เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยญี่ปุ่น เครื่องถ้วย ยุโรป พร้อมกันนี้ยังได้เพลิดเพลินกับบรรยากาศ วิถีชีวิตและทิวทัศน์ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แถบ ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย จากภาพ วาดที่แขวนอยู่บนผนังโดยรอบอีกด้วย อีกด้านสองฝั่งคลของส่วนจัดแสดงคือการจําลองบรรยากาศวิถีชีวิต งคลองบางกอกน้อยในอดีต มีศาลาโรง ธรรม และการแสดงหุ่นกระบอกเรื่อง พระอภัย มณี หน้าบ้านสุนทรภู่

รายละเอียดที่จัดทําขึ้นอย่างประณีตภายใน พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานนี้ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่สําคัญแห่งหนึ่ง ทั้งยังไม่ลืม ที่จะเติมสุนทรียรสด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมได้ เพลิดเพลินกับการชมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น เสียงดนตรีทั้งหมดจากการประพันธ์ของ รศ. ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้อํานวยการและคณบดีวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เสียงบรรยาย โครงสี่สุภาพอันไพเราะโดยอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นอกจากนี้สื่อในการจัดแสดงทั้งหมด ยังเอื้อต่อการรับชมของผู้พิการ หากมีโอกาสได้ไปเยือน แนะนําให้เผื่อเวลาไว้อย่างต่ําประมาณ ๒ ชั่วโมงเพื่อให้ได้ความรู้อย่างเต็มเปี่ยม

พิพิธภัณฑ์การแพทย์…เรื่องราวแห่งชีวิต


ใช่เพียงแต่พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราชที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กันก็ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ควรแวะไปเยือน แต่เดิมนั้นการจัดทําพิพิธภัณฑ์การแพทย์มีจุดประสงค์เพียงเพื่อ เก็บรวบรวมตัวอย่างอวัยวะของผู้ป่วยไว้เพื่อการ สอนให้กับนักศึกษาเท่านั้น ริเริ่มมาตั้งแต่สมัย ศ. นพ. เอลเลอร์ จี. เอลลิส พยาธิแพทย์คนแรกของไทย ที่สร้างคุณูปการกับวงการแพทย์แผน ปัจจุบันไว้อย่างมาก แม้ตัวพิพิธภัณฑ์จะได้รับ

ความเสียหายอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ต่อมาก็เริ่มมีการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้ง และ เมื่อศิริราชจัดงานฉลองครบ ๖๐ ปี พร้อมเปิด โอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมนิทรรศการ ทางการแพทย์ของภาควิชาต่างๆ กลับสร้างความ ตื่นตาและดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาขอเยี่ยมชมกัน อย่างต่อเนื่อง จนสุดท้ายจึงต้องเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์

ปัจจุบันภายในพิพิธภัณฑ์แยกการจัดแสดง ออกเป็นหลายตึก ในจํานวนนั้น ได้แก่ ตึกอดุลย เดชวิกรม และตึกกายวิภาค

บนชั้น ๒ ของตึกอดุลยเดชวิกรม ห้องแรกที่เปิดให้ชมคือ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิสภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติพยาธิวิทยาในประเทศไทย ห้องจําลองการปฏิบัติงาน ทางพยาธิวิทยาที่ตึกเสาวภาคย์ แสดงระบบการทํางานของหัวใจปกติและโรคหัวใจ พัฒนาการ และความพิการแต่กําเนิดของทารก และโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ที่พบได้บ่อยในชายและหญิงพร้อมแนวทางการรักษาและป้องกัน จัดแสดงด้วยสิ่งแสดงจริงพร้อมหุ่นจําลองประกอบ

ต่อด้วย พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน ที่มักได้รับการกล่าวถึงในวงกว้างว่าเป็นที่เก็บศพของซีอุย และเสื้อผ้าในวันเกิดเหตุของ คดีนวลฉวี พิพิธภัณฑ์นี้ก่อตั้งในสมัยของ ศ. นพ. สงกรานต์ นิยมเสน ผู้ริเริ่มงานด้านนิติเวชศาสตร์ของศิริราช ในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับนิติพยาธิวิทยา แสดงชิ้นส่วน อวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ที่ตายด้วยโรคตาม ธรรมชาติ และตายโดยผิดธรรมชาติ เหตุการณ์ มหันตภัยสึนามิ เป็นต้น

ส่วนสุดท้ายคือ พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา ที่ รวบรวมตัวอย่างพยาธิจากผู้ป่วย ฯลฯ ไว้ใช้ใน การเรียนการสอนนักศึกษาหลักสูตรต่างๆ โดย เฉพาะนักศึกษาแพทย์ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ที่ต้องการให้คนดูตระหนักถึงอันตรายและโทษของ การบริโภคอย่างไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีสิ่งจัด แสดงหลากหลาย เช่น อวัยวะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ปรสิต โดยเฉพาะอัณฑะของผู้ป่วยโรคพยาธิเท้า ช้างซึ่งหนักถึง ๓๕กิโลกรัม ตัวพยาธิของจริง และ หุ่นจําลองแบบต่างๆ ฯลฯ จัดแสดงการติดเชื้อ หนอนพยาธิชนิดต่างๆ

ในส่วนของตึกกายวิภาคประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน ที่จัดแสดงทั้งเรื่องของกายวิภาคทั่วไป เช่น กายวิภาคของอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ เช่น หู ตา จมูก ลินการจัดแสดงระบบประสาท ระบบหลอดเลือด การจัดแสดงอวัยวะตามระบบต่างๆ คือ ระบบ ปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ระบบทางเดินอาหารระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงที่สําคัญคือ เส้นประสาททั้งร่างกาย หลอดเลือด แดงทั้งร่างกาย ซึ่งเป็นผลงานระดับโลกที่หาดูได้ยาก ก่อนปิดท้ายด้วย พิพิธภัณฑ์ก่อน ประวัติศาสตร์และห้องปฏิบัติการสุด แสงวิเชียร ที่จัดแสดงเรื่องราววิวัฒนาการของมนุษย์ มีแผนภูมิวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มไปรเมทตั้งแต่ ๗๐ ล้านปีจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ ของพื้นโลก เริ่มจากแผนภูมิแสดงระยะเวลาสิ่งมี ชีวิตเมื่อราว ๕๕๐ ล้านปีมาแล้ว จนถึงกลุ่มสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมเมื่อประมาณ ๗๐ ล้านปี

บรรยากาศของพิพิธภัณฑ์การแพทย์ในวันนี้แตกต่างจากสมัยเริ่มแรกที่มักได้รับการกล่าวขวัญถึงบรรยากาศอันเคร่งขรึมโดยสิ้นเชิงเนื่องจากการจัดแสดงในปัจจุบันนั้นล้วนเต็มไป ด้วยสื่อมัลติมีเดียอันทันสมัย เน้นที่การเล่าเรื่องราวและการจัดแสดงที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา หาความรู้ หากมีเวลาว่างแนะนําให้หาโอกาสไปเยือนสักครั้ง เผื่อเวลาในการชมให้มากสักเล็ก น้อย เพื่อที่จะได้ซึมซับบรรยากาศและไม่พลาด ไฮไลต์สําคัญที่ทางพิพิธภัณฑ์ตั้งใจจัดแสดงให้รับชม


ขอขอบคุณ คุณนภันต์ เสวิกุล ที่ปรึกษาหน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช สําหรับการนําาชมและข้อมูลเพิ่มเติม


พิพิธภัณฑ์ศิริราช
เปิดทําการทุกวันจันทร์, พุธ – อาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร หยุดวันอังคาร, เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์


โทร. ๐ ๒๔๑๙ ๓๖๐๑, ๐ ๒๔๑๙ ๒๖๑๘-๙
www.si.mahidol.ac.th/museums
www.facebook.com/siriraj.museum

About the Author

Share:
Tags: พิพิธภัณฑ์ศิริราช / โรงพยาบาลศิริราช /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ