Monday, May 6, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

มรดกโลกทางธรรมชาติแห่งใหม่บนโลก

เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ออกมา ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางธรรมชาติ (World Heritage List as a natural site) แหล่งใหม่ ๒ แห่ง ให้กับเขตสงวนพันธุ์นก อพยพเลียบชายฝั่งทะเลเหลืองและอ่าวนิ้วไห่ประเทศจีน (Migratory Bird Sanctuaries along the Coast of the Yellow Sea- Bohai Gulf (Phase 1) และป่าไฮร์คาเนียน (Hyrcanian Forests) ประเทศอิหร่าน

สําหรับเขตสงวนพันธุ์นกอพยพเลียบ ชายฝั่งทะเลเหลืองและอ่าวนิ้วไห่ ประเทศจีน (Migratory Bird Sanctuaries along the Coast of the Yellow Sea-Bohai Gulf (Phase 1)) นั้น เป็นพื้นที่ระบบหาดโคลนชายทะเล ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีระบบนิเวศที่ดีเยี่ยม เหมาะแก่การเจริญเติบโตของปลาและสัตว์น้ํา หลายชนิด พื้นที่อุดมสมบูรณ์นี้จึงเป็นแหล่งของนกอพยพบนเส้นทางเอเชียตะวันออก- ออสเตรเลีย (East Asian-Australasian Flyway (EAAF)) ที่สําคัญ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเส้นทางอพยพหลักอันสําคัญของโลกด้วยและแหล่งนี้ยังพบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากมายผสมผสานกันอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้ทั้งยังพบสัตว์โลกสปีชีส์หายากและใกล้สูญพันธุ์อีกหลายสายพันธุ์ด้วยเช่นกัน

อีกแหล่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางธรรมชาติในปีนี้ก็ได้แก่ ป่าไฮร์คาเนียน (Hyrcanian Forests) ประเทศอิหร่าน มีลักษณะเป็นเทือกเขาเลียบชายฝั่งทะเล แคสเปียนที่เป็นระยะทางกว่า ๘๕๐ กิโลเมตรพื้นที่แห่งนี้มีการสํารวจพบว่าเป็นป่าดึกดําบรรพ์ที่มีอายุกว่า ๒๐-๒๕ ล้านปี เลยทีเดียว ปัจจุบันมีความหลากหลายของสายพันธุ์พืชและสัตว์มากมาย โดยเฉพาะนกที่มีการพบมากกว่า ๑๘๐ สายพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมอีกกว่า ๕๘ สายพันธุ์ ซึ่งก็รวมไปถึงสัตว์หายากอย่างเสือดาวอนาโทเลียนด้วย

๒๑๓ แหล่ง คือจํานวนของแหล่ง
ธรรมชาติทั่วโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็น มรดกโลกทางธรรมชาติ (World Heritage List as a natural site) โดยที่ประเทศจีนครองแชมป์ ประเทศที่มีมรดกโลกทางธรรมชาติมากที่สุดถึง ๑๔ แห่ง ตามมาด้วย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีเท่ากันอยู่ที่ ๑๒ แห่งแหล่งที่มาของข้อมูล : UNESCO World Heritage Centre (whc.unesco.org)

ในส่วนของประเทศไทยเองก็ได้มีการส่งป่าแก่งกระจานขึ้นพิจารณาในครั้งนี้ด้วย แต่ที่ประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกมีมติไม่รับรองการขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ และขอให้ไทยกลับไปทําเอกสารเพิ่มเติมเพื่อส่งเรื่องกลับมาพิจารณาใหม่ในปี ๒๕๖๓ (ค.ศ.๒๐๒๐) อีกครั้ง ซึ่งทางคณะกรรมการฯ มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าแก่งกระจานที่คาบเกี่ยวกับเขตแดนไทย-เมียนมาด้วยนั่นเอง ก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่าผืนป่าแก่งกระจานของไทยนี้จะได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ ๓ ของไทยในปีถัดไปได้หรือไม่ โดยผืนป่าแห่งนี้ครอบคลุมเขตพื้นที่ ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ และมีอุทยานแห่งชาติอยู่ใน บริเวณนี้ด้วยกัน ๓ แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่ง ชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ําภาชี กินพื้นที่ ทั้งหมดกว่า ๒.๙ ล้านไร่ ซึ่งไทยได้ผลักดัน ผืนป่าแห่งนี้ให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทาง ธรรมชาติมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ แล้ว


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ whc.unesco.org
UNESCO World Heritage Centre (whc.unesco.org)

About the Author

Share:
Tags: สัตว์น้ำ / สัตว์ทะเล / อนุรักษ์สัตว์ป่า / ฉบับที่ 36 / ธรรมชาติ / ทะเล / สัตว์ / สัตว์ป่า / ป่า / อุทยานแห่งชาติ / UNESCO /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ