Sunday, May 5, 2024
สัมภาษณ์ บทความแนะนำ

รีโนเวตวันวาน “บูรณะสถาน” ความงามบนความทรงจำ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 16
เรื่อง: อุราณี ทับทอง
ภาพ: สตูดิโอ บูรณะสถาน, พีรเชษฐ์ นิ่วบุตร


รีโนเวตวันวาน “บูรณะสถาน”

ความงามบนความทรงจำ


เพราะไม่อาจกล่าวโทษกาลเวลาที่แกร่งกล้าจนไม่มีสิ่งใดชนะได้ในช่วงชีวิตคนเราจึงวนเวียนอยู่กับการจากลา เลือนหาย รวมถึงสิ่งของรอบกาย ที่ค่อยๆ ทรุดโทรม ร่วงโรยตามอายุขัย กลายเป็นสิ่งตกค้างของยุคสมัย ที่ไม่มีใครบอกอนาคตได้ว่าจะมีใครต้องการ หากแต่เป็นความทรงจําที่งดงาม แม้กาลเวลาก็ไม่อาจผูกเงื่อนไข สาววัยแสวงหากลุ่มหนึ่งเชื่อว่า เรื่องราวในอดีตมีความหมายเกินจะละทิ้ง และทุกตารางเมตรของสถานที่นั้นๆ ล้วนมีความทรงจําซ่อนอยู่ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานออกแบบ และปรับปรุงอาคารเก่าในนามของสตูดิโอ “บูรณะสถาน”

แพร – แพรไพลิน จันทนโชติวงศ์
อัง – อังสนา บุญเกษม
เฟรนด์ – ชิดชนก พลีสุดใจ
เสมือนการรื้อถอนความเชื่อแบบเก่า ปรับปรุงตึกแถวที่ถูกทิ้งร้างไว้ เป็น “โครงการวันอุดมสุข” (One udomsuk)คอมมูนิตี้มอลล์ที่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งผู้ใช้งาน และเจ้าของโครงการได้เป็นอย่างดี

แพร – แพรไพลิน จันทนโชติวงศ์ และ อัง – อังสนา บุญเกษม คือสถาปนิก รุ่นใหม่วัย ๒๖ ปี จบการศึกษาต่าง รั้วสถาบันแต่มีมุมมองบนเส้นทางเดียวกัน เช่นเดียวกับ เฟรนด์ – ชิดชนก พลีสุดใจ วิศวกรไฟแรงวัย ๒๓ ปี ทั้งสามเลือกงานรีโนเวต เป็นจุดยืน ด้วยเห็นเสน่ห์ที่แตกต่างระหว่างอาคารเก่ากับอาคารที่สร้างขึ้นใหม่

“ตึกเก่าเต็มไปด้วยประวัติความเป็นมา มีเรื่องราวและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในนั้นทําให้เรารู้สึกว่าของใหม่ ตึกใหม่ยังไม่มีเรื่อง เหล่านี้ ต้องใช้เวลาในการสั่งสมขึ้นมา เพราะ ต่อให้มีเงินเราก็ซื้อเวลาไม่ได้” ยังเล่าความคิด

ก่อนค้นพบตัวเองหลายปีก่อน พวกเธอมี ประสบการณ์ออกแบบและก่อสร้างอาคารใหม่หลากหลาย กระทั่งได้เริ่มงานรีโนเวตครั้งใหญ่ ในซอยอุดมสุข ๑ แปลงโฉมตึกแถวเก่าที่ถูก ทิ้งร้างไว้จํานวน 5 อาคาร ๔๔ คูหา กลายเป็น คอมมิวนิตี้มอลล์ โครงการ “วันอุดมสุข” เรียก ชีวิตชีวาให้ซอยเปลี่ยวมืดเปลี่ยนเป็นย่านการค้าที่คึกคักเหมือนครั้งที่อาคารพาณิชย์ยังรุ่งเรืองเมื่อ ๓๕ ปีก่อนในบรรยากาศที่ต่างกันตามยุคสมัย

สิ่งที่ประทับใจที่สุดคือความรู้สึกขณะที่ฟังเขาเล่า มันคงดีถ้าวันหนึ่ง เขายังเล่าให้คนอื่นฟังต่อๆ ไปได้ว่า กระเบื้องนี้ฉันเหยียบมาตั้งแต่เด็กๆและผนังนี้มาพร้อมกับตึกนี้เลยนะอยากให้คนอื่นได้มาฟังเรื่องราวตรงนี้ด้วยกัน

โครงสร้างแข็งแกร่ง เสาและคานอันซับซ้อนของอาคารในยุคเดิมถูกเปลือยเปล่าหลายส่วน แต่สวมใส่วัสดุเก่าที่เคยติดตั้งในอาคารโดยจัดวางในตําแหน่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเศษไม้ สังกะสี กรอบบานหน้าต่าง เป็นงานรีโนเวตที่ ยึดโยงความคิดของพวกเธอได้เด่นชัดที่สุด “บูรณะสถาน” จึงถือกําเนิดและโฟกัสงาน รีโนเวตโดยเฉพาะ พร้อมตกแต่งพื้นที่มุมหนึ่ง ชั้นบนสุดของอาคาร A ในโครงการเป็น สํานักงานสร้างไอเดีย

35 ปี ผ่านไป สถานที่ราวกับหนุ่มสาววัยกลางกลางคน เต็มไปด้วยชีวิตชีวาไม่เปลี่ยวเหงาเหมือนเคย

“ในเชิงวิศวกรรม แน่นอนว่าตึกใหม่ ย่อมมีนวัตกรรมที่ดีกว่า บางทีการสร้างใหม่ ง่ายกว่ามาก เพราะการก่อสร้างทําตามแบบไล่จากฐานขึ้นมาชั้นบน แต่ถ้ารีโนเวตอาจติดขัดหลายอย่างด้วยสภาพที่เสื่อมไป อย่างเช่นปูนก็มีสภาพตามอายุของมัน หรือมี ฐานรากที่ถูกออกแบบมาให้รับน้ําหนักได้ แค่นี้ ไม่สามารถต่อเติมอะไรได้อีก ถ้าเปลี่ยน ก็ต้องมีเทคโนโลยีเข้ามารองรับซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า แต่หลายคนก็เลือกที่จะ รีโนเวต ซึ่งถ้ามองเห็นความเป็นไปได้ เราจะ พยายามทําให้ได้ แต่ส่วนไหนที่ไม่สามารถ ใช้งานได้แล้วจริงๆ ก็ต้องยอมปล่อยไปและ หาจุดที่ลงตัวที่สุด” เฟรนด์เล่าในมุมวิศวกร เธอไม่ปฏิเสธความยาก แต่สามารถเปิดใจรับ มุมความงามของสถาปนิกได้โดยง่าย

ผนังไม้จากวัสดุเก่าที่เคยติดตั้งอยู่กับอาคาร สถาปนิกออกแบบให้นำมาปรับใช้โดยจัดวางใหม่เช่นเดียวกับราวบันไดและแผ่นตะแกรงเหล็กที่สร้างจุดเด่นอย่างลงตัว
นิวาส อยุธยา (Niwas Ayutthaya) หนึ่งในผลงานของบูรณะสถานผสมผสานความเรียบง่ายและฟังก์ชั่นการใช้งานตามสไตล์เจ้าของสถานที่
เก็บรักษาเรื่องราวในอดีตผ่านบานหน้าต่างและราวระเบียง
ที่อยู่คู่บ้านมานาน ๕๐ ปี

เมื่องานออกแบบคือศิลปะ การสะท้อน ความหมายผ่านผลงานสถาปนิกอย่างจังและแพรจึงต้อง “อิน” รู้สึกร่วมไปกับเรื่องราวของ สถานที่เสียก่อน แม้ส่วนใหญ่ผลงานที่ผ่านมา ของ “บูรณะสถาน” จะมีปลายทางเพื่อการ ใช้งานเชิงพาณิชย์ แต่หลายแห่งผู้เป็นเจ้าของ ก็ขอเก็บรักษาความทรงจําให้ติดตามไปพร้อม ยุคสมัยที่กําลังเปลี่ยนแปลง

บ้านไม้หลังเก่‹าที่ตัวเรือนยังคงความสมบูรณ์ ถูกปรับปรุงให้Œเป็šนห้Œองพักรองรับนักท่‹องเที่ยว

“มีบ้านหลังหนึ่งที่อยุธยา เดิมทีเป็นบ้าน พักอาศัยแบบเรือนไทยทรงจั่ว เจ้าของเรียกบ้านนี้ว่าบ้านสวน พอลูกหลานเริ่มขยับขยายแยกย้ายกันไปเรียนไปอยู่กรุงเทพฯ บ้านหลังนี้เลยกลายเป็นเกสต์เฮาส์หลายปีจนน้ําท่วมใหญ่เลยต้องหยุดไป คราวนี้เจ้าของคือรุ่น หลานกลับมาปรับปรุงใหม่ โดยมีโจทย์ว่าจะ ปรับยังไงให้ตรงเป็นไลฟ์สไตล์และธุรกิจของ เขา ขณะที่ยังมีเรื่องราวสมัยก่อนที่เขาเคยอยู่ ห้องนี้ แม่อยู่ห้องนี้ เราแชร์ความคิดซึ่งกันและกันเพื่อปรับเปลี่ยนให้ลงตัวระหว่างเรากับเจ้าของ”

โถงใหญ่‹ของบ้Œาน ปรับเป็นมุมพักผ่‹อนสำหรับสมาชิกของครอบครัวซึ่งหมายความถึงนักท่‹องเที่ยวที่มาเยี่ยมเยือนใช้Œบริการในปั˜จจุบัน
คงสภาพก่อนอิฐก่อผนังแบบเดิมยํ้าเตือนความทรงจำที่เก่าแก่พอๆ กับอาคารหลังนี้
อาคารแถวท่าเตียน หนึ่งในชุมชนเก่าแก่ที่มีความสำคัญของเขตพระนครสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุราว ๗๐ – ๑๐๐ ปี บูรณะสถานออกแบบและปรังปรุงอาคารหัวมุมเป็น ท่าเตียน ลอร์ด (tatien lodge) ทีพักสำหรับนักท่องเที่ยว

แพรเล่าถึงการทํางานครั้งหนึ่งที่เธอประทับใจ ลงเอยด้วยงานปรับปรุงบ้านไม้เก่า อายุกว่า ๕๐ ปี จากสภาพเดิมที่ทรุดโทรม กลายเป็นที่พักยอดนิยมของนักเดินทาง ด้วย บรรยากาศของระเบียงหน้าบ้านและสนามหน้าบ้านขนาดใหญ่ มีพื้นที่โปร่งโล่งพร้อมจัด วางมุมผ่อนคลาย ให้อารมณ์เหมือนบ้านที่ สมาชิกสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของบ้านแชร์ ประสบการณ์ร่วมกัน

“ตอนปรับปรุงโฮสเทลที่ท่าเตียน เจอ บันไดไม้ เจ้าของก็จะเล่าให้ฟังว่าไม้ประดู่ตรง นี้ได้ช่างไม้ฝีมือดีมากนะ มีกระเบื้องรอยหยัก สมัยก่อนซึ่งไม่สามารถหาได้ในตอนนี้แล้ว ได้ คุยกับเขาแล้วเราก็รู้สึกอิน เลยอยากเก็บเรื่อง เหล่านี้ไว้ เราเก็บกระเบื้องและคงผนังเดิมที่ เป็นอิฐแดงเก่าเพื่อโชว์ให้เห็นว่าสิ่งที่สร้างมาพร้อมกับตึกเป็นแบบนี้ เราได้เห็นเรื่องราว เดิมๆ ถึงแม้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนไปข้างหน้า แต่บางอย่างที่เขาเห็นคุณค่าเราก็อยากให้เขา รักษาไว้ สิ่งที่ประทับใจที่สุดคือความรู้สึกขณะ ที่ฟังเขาเล่า มันคงดีถ้าวันหนึ่งเขายังเล่าให้คน อื่นฟังต่อๆ ไปได้ว่า กระเบื้องนี้ฉันเหยียบมา ตั้งแต่เด็กๆ และผนังนี้มาพร้อมกับตึกนี้ เลยนะ อยากให้คนอื่นได้มาฟังเรื่องราวตรงนี้ ด้วยกัน” ยังเล่าถึงความประทับใจ

ผลลัพธ์ของการรักษาความทรงจําคือวิธีเติมเสน่ห์ให้กับสถานที่ในมุมที่ต่างออกไป“บูรณะสถาน” มีส่วนช่วยให้ตึกเก่าที่ถูกทิ้งร้างเกิดประโยชน์และมีคุณค่าหลายโครงการขณะที่สามารถตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลง ไม่แตกต่างจากการรักษาวัฒนธรรมที่มีการปรับเปลี่ยนให้ลื่นไหลไปได้ตามกาลเวลา

“เราปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันต้องเปลี่ยนไป แต่เราสามารถเก็บบางอย่างไว้ให้สอดคล้องกับเวลาในปัจจุบันได้ ถ้าเราไม่อยากให้เรื่องเหล่านี้จบลงไปแค่นี้หรือตายไปพร้อมเรา แต่ อยากให้มันยังอยู่ได้ บางทีได้ยินคําว่า “อนุรักษ์” ก็จะรู้สึกว่าต้องคงเดิม ต้องเหมือน เดิม แต่จริงๆ แล้วเราสามารถทําให้สิ่งนั้นเติบโตต่อไปพร้อมเราได้อีกโดยผ่านงานออกแบบต่างๆ เรารู้สึกโชคดีที่สามารถทํา เรื่องเหล่านี้ให้เข้าไปอยู่ในสิ่งที่เราถนัด และ ทําประโยชน์ให้คนอื่นด้วย” แพรเล่า

“บูรณะสถาน” มีส่วนช่วยให้ตึกเก่าที่ถูกทิ้งร้างเกิดประโยชน์และมีคุณค่าหลายโครงการขณะที่สามารถตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลง ไม่แตกต่างจากการรักษาวัฒนธรรมที่มีการปรับเปลี่ยน

บันไดไม้เก่ากับพื้นกระเบื้องที่เคยเหยียบยํ่าเติมให้กับเสน่ห์ให้กับท่าเตียน ลอร์ดแบบเฉพาะที่หาซื้อไม่ได้จากลิฟวิ่งมอลล์

บางทีได้ยินคําว่า “อนุรักษ์’ ก็จะ รู้สึกว่าต้องคงเดิม ต้องเหมือนเดิม แต่จริงๆ แล้วเราสามารถทําให้ สิ่งนั้นเติบโตต่อไปพร้อมเราได้อีก โดยผ่านงานออกแบบต่างๆ

นอกเหนือจากภารกิจของ “บูรณะสถานรูปแบบการใช้ชีวิตของพวกเธออาจไม่แตกต่างจากคนรุ่นหลังที่เปิดรับวัฒนธรรมและ เทคโนโลยีที่ผันแปรตามยุคสมัย แต่เมื่อถึงเวลาที่แพรก้าวเท้าเข้าห้องนอนของตัวเองที่บ้านแล้วมองไปยังเตียงไม้แกะสลักสีขาวแซมฟ้านวลของแม่ที่เธอยังคงเก็บไว้ แพรจะมองเห็นความรักของพ่อแม่เมื่อครั้งหนุ่มสาว เห็น ภาพตัวเองในวัยเด็กเมื่อมองไปยังโต๊ะเครื่องแป้งและตู้เสื้อผ้าเก่าที่ไม่สามารถหาชิ้นใหม่ มาแทนได้อีก ขณะที่เฟรนด์มองโทรทัศน์รุ่นเก่าของคุณย่าก็ชวนคิดถึงวัยเด็กของตัวเองนั่งเฝ้าหน้าจอรอดูภาพขาวดํา มองของสะสม ของคุณพ่อก็เห็นความสนุกที่ได้เดินตลาดมือ สองด้วยกัน ส่วนอังก็กลับบ้านไม้ริมน้ําเรือน เดิมที่ครอบครัวอยู่ด้วยกันตั้งแต่รุ่นปู่ย่า แม้ว่าหลายคนจะลาจากไปแล้ว แต่ยังยังคงมองเห็นเรื่องราวภายในบ้านและรู้สึกสุขสงบอบอุ่นทุกครั้งที่ได้กลับไป

ล้วนเป็นความทรงจําที่ต้องสร้างจากเวลา หรือนี่คือสิ่งที่หล่อหลอมให้พวกเธอเป็น “บูรณะสถาน” อย่างเช่นทุกวันนี้

About the Author

Share:
Tags: interior design / Renovating / house / architecture / interior / ฉบับที่ 16 / home / บูรณะ / บูรณะสถาน / สตูดิโอ บูรณะสถาน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ