Sunday, May 19, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

พิพิธภัณฑ์ออมสิน แหล่งเรียนรู้ศิลปะคู่คนออม

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 2
เรื่อง: สริตา อุรุพงศา
ภาพ: สายลม นัยยะกุล

แหล่งเรียนรู้ศิลปะคู่คนออม

ภาพคุณแม่จูงมือลูกยื่นกระปุกหมูออมสินที่หน้าเคาน์เตอร์ รอพนักงานเอาอุปกรณ์มางัดฝากระปุกเทเหรียญนานาชนิดออกมานับเพื่อนำเงินฝากเข้าบัญชี เด็กน้อยตาโตยืนคอยขณะจ้องกองเหรียญที่ทยอยหายไปจากที่เคยเต็มโต๊ะ ภาพอดีตเหล่านี้ล้วนคุ้นตา ประทับอยู่ในความทรงจำ ของใครหลายๆคนเกี่ยวกับธนาคารออมสิน ธนาคารที่เปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลากว่าศตวรรษ

ก่อนจะมาเป็นคลังออมสิน รัชกาลที่ 6 ทรงริเริ่มจัดตั้งธนาคารทดลองที่ชื่อ “แบงค์ลีฟอเทีย” ขึ้นมาเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงนิสัยการออมเงินของคนไทยในยุคนั้นนับได้ว่า ลีฟอเทีย เป็นปฐมบทแห่งการออมของชาวไทย

กระปุกออมสินทองคำที่ผลิตด้วยมืออย่ำงประณีตทุกขั้นตอน เพื่อฉลองสิริรำชสมบัติครบ 60 ปีทูลเกล้ำฯ ถวำยพระบำทสมเด็จพระเจ้ำอยู่หัวทำจากทองคำบริสุทธิ์ 96.5 % น้ำหนักรวม 60.9 บาท ประดับเพชร 37 เม็ด

จากวันนั้น ถึงวันนี้

ดั่งห้องไทม์แคปซูลเล็กๆ ที่เก็บเกี่ยวเอาความทรงจำมากมายจากหลายชั่วอายุคนพิพิธภัณฑ์ออมสินคือแหล่งเรียนรู้ที่สะท้อนได้ถึงวิวัฒนาการการออมเงินของคนไทยในยุคก่อนจวบถึงปัจจุบัน ภายใต้การเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งของธนาคารออมสิน พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมแห่งนี้ จึงเป็นห้องสมบัติที่เก็บสิ่งทรงคุณค่าซึ่งสะท้อนประวตั คิ วามเป็นมาของธนาคาร ทั้งในเรื่องของการประกอบธุรกิจ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงาน ตลอดทั้งเอกสารสำคัญ โดยเริ่มต้นเก็บข้อมูลเพื่อจัดตั้งกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จนกระทั่งเปิดให้เข้าชมเมื่อ

วันที่ 1 เมษายน 2535 หรือ เมื่อ 21 ปีที่แล้ว โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อน้อมระลึกถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้มีพระกรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงแก่ปวงชนชาวไทยในเรื่องการออม คุณอมรรัตน์ วงศ์บษุยมาส ผู้ช่วยผผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ผู้นำชมประจำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้กล่าวว่า ธนาคารออมสินเคยถูกมองเป็นสถานที่กึ่งราชการทั้งพนักงานชายในเครื่องแบบสีกากี และพนักงานหญิงที่ใส่เครื่องแบบสีกรมท่าเสื้อขาวมีเครื่องหมายบนบ่าชวนเกรงขาม ภาพลูกค้านั่งรอคิวยาวเหยียดนับเป็นเรื่องปกติ ถึงขนาดมีสโลแกนล้อเลียนขึ้นมา “จะฝากจะถอนเอาหมอนมาด้วย” เพราะขาดเครื่องมือทันสมัยมารองรับการบริการ ปัจจุบันธนาคารออมสินปรับปรุงทั้งรูปลักษณ์ ทั้งรูปแบบการให้บริการ ภายใต้เครื่องมือที่เพียบพร้อมผู้ให้บริการล้วนมืออาชีพเข้าถึงลูกค้าได้ทุกระดับ พิพิธภัณฑ์เล็กๆ ห้องนี้จึงเก็บรวบรวมสิ่งทรงคุณค่าสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาของธนาคารนับจากอดีตถึงปัจจุบัน

ธนบัตรแบบ 3 รุ่น 2 สมัยรัชกาลที่ 8 ราคา 1 บาท
สมุดคู่บัญชี (สมุดเงินฝาก) ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

นอกจากจะเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์การออมเงินที่เกี่ยวพันกับประชาชนชาวไทย ยังมีตู้จัดแสดงสิ่งของเลอค่าที่หาชมที่ไหนไม่ได้อย่างสมุดบัญชีเงินฝากของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงทั้งสมุดบัญชีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่าฝากไว้เป็นเงินเก็บสำหรับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและยังมีสิ่งที่หาดูได้ยากยิ่งอย่างเงินไทย ทั้งธนบัตรและเหรียญที่ใช้ในอดีตเรียงลำดับจนถึงปัจจุบัน

กระดานนับเหรียญ มีประโยชน์ในการแยกเหรียญให้ถูกประเภทโดยไม่ต้องนับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ช่วยให้นับเงินได้แม้ในยามไฟดับก็ตาม

“การออมสินของคนไทยในสมัยก่อนที่มักออมเงินไว้กับธนาคารเพื่อความมั่นคงทางการเงิน ในขณะที่ปัจจุบัน วิถีการดำรงชีวิตและมุมมองทางการออมเงินได้เปลี่ยนรูปแบบไป โดยเน้นที่ผลตอบแทนเป็นหลัก ทั้งยังมีการลงทุนในธุรกรรมที่มีความเสี่ยงและออมผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์อย่างกองทุน หุ้น พันธบัตรมากขึ้นเรื่อยๆ”

ตู้สะสมทุนสำหรับผู้มีรายได้น้อยจัดทำขึ้นเมื่อพ.ศ. 2484 เป็นตู้สำหรับการฝากเงินตั้งแต่ 1 สตางค์ขึ้นไป (ขณะที่กำรฝากเงินประเภทเผื่อเรียกและฝากประจำวันนั้น รับฝากอย่างต่ำครั้งละ 1 บาท)

ตระกูลกระปุกครองราชย์ธนาคารออมสิน

นับเป็นไฮไลต์สำคัญของพิพิธภัณฑ์ออมสินที่จัดทำกันมายาวนานตั้งแต่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จวบปัจจุบัน มีกระปุกออมสินเนื่องในโอกาสแห่งการครองราชย์ทั้งหมด 4 รุ่น รุ่นที่ 1 กระปุกออมสินที่ระลึกรัชดาภิเษก จัดทำเมื่อครั้งครองราชย์ครบรอบ 25 ปี รุ่นที่ 2 กระปุกออมสินที่ระลึกรัชมังคลาภิเษก จัดทำเมื่อทรงครองราชย์ยืนนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์ไทยรุ่นที่ 3 กระปุกออมสินที่ระลึกกาญจนาภิเษก จัดทำเมื่อครั้งครองราชย์ครบรอบ 50 ปี รุ่นที่ 4 กระปุกออมสินที่ระลึกฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ดร. นนทวัฒน์ สุขผล รองผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ธนาคารออมสิน เล่าเปรียบเทียบถึงการออมสินของคนไทยในสมัยก่อนที่มักออมเงินไว้กับธนาคารเพื่อความมั่นคงทางการเงิน ในขณะที่ปัจจุบัน วิถีการดำรงชีวิตและมุมมองทางการออมเงินได้เปลี่ยนรูปแบบไป โดยเน้นที่ผลตอบแทนเป็นหลัก ทั้งยังมีการลงทุนในธุรกรรมที่มีความเสี่ยง และออมผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์อย่างกองทุน หุ้น พันธบัตรมากขึ้นเรื่อยๆ “นอกจากจะเน้นเรื่องการลงทุนแล้ว คนรุ่นใหม่ควรจะวางแผนและจัดสรรปันส่วนรายได้ตัวเองโดยแบ่งเงินเป็นส่วนๆ 4 ส่วนด้วยกันคือ 1 ส่วนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน 1 ส่วนเพื่อการลงทุนในสถาบันการเงิน 1 ส่วนเพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพของตน และอีก 1 ส่วนเพื่อเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน” ดร. นนทวัฒน์แนะนำ

สมุดคู่บัญชี (สมุดเงินฝาก) ของสมเด็จย่าฝากให้กับในหลวง เมื่อในหลวงครองราชย์แล้ว ทรงถ่ายทอดการออมเงินให้แก่คนรุ่นต่อๆ ไป
อุปกรณ์ตรวจลายมือชื่อดูน้ำหนักของน้ำหมึกกับลายมือต้นฉบับที่ไหม และตรวจการปลอมแปลงลายน้ำที่ธนบัตร
กระปุกใบแรกของธนำคำรออมสินทำจำกสังกะสี ลักษณะจำลองมาจากตู้ทิ้งจดหมายของกรมไปรษณีย์โทรเลข ในยุคก่อนเคยถูกเรียกว่ากล่องใส่สตางค์หรือกระป๋องออมสิน
อังเกอร์ เครื่องจักรลงบัญชี ที่เลิกใช้ไปเมื่อปี 2524 เพราะการมาขอคอมพิวเตอร์เครื่อง 16 บิต
ภาพแจกเด็ก อีกหนึ่งกลยุทธ์จากแนวคิดของนายกรัฐมนตรีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มอบรูปภาพสวยงามเป็นแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนรักในการออมเงิน ทางธนาคารจะมอบให้เด็กที่มาเปิดบัญชี หรือฝากเงิน เมื่อสะสมภาพได้ครบทุกหนึ่งชุด ก็จะได้รับกระเป๋าหนังสือ กระเป๋าใส่ของ และเครื่องมือเรขาคณิตเป็นรางวัล จนกระทั่งเลิกแจกไปเมื่อพ.ศ. 2548

About the Author

Share:
Tags: พิพิธภัณฑ์ / ธนาคาร / ฉบับที่ 2 / พิพิธภัณฑ์ออมสิน / เงิน / bank / แบงค์ /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ