Thursday, May 9, 2024
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 22
เรื่อง: คนชอบ(พระ)สวย, ปรีชา เอี่ยมธรรม

พระผงสุพรรณ
พิมพ์หน้าหนุ่ม

เหนือแดนดินถิ่นสุวรรณภูมิในอดีตชนชาติขอมได้ปกครองดูแลตลอดลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง และเลยขึ้นไปถึงลำพูนสุโขทัย ในสมัยเจ้าแม่จามเทวี สุโขทัย โดยมีเมืองละโว้เป็นเมืองลูกหลานต่างพระเนตรพระกรรณ

เป็นคตินิยมของชาติขอม เมื่อได้ครอบครองแดนดินถิ่นใดแล้วก็จะสร้างศาสนวัตถุโบราณไว้เป็นเชิงสัญลักษณ์ ที่ลำพูนได้สร้างวัดมหาวัน ที่เมืองศรีสัชนาลัย ยังมีศาสนวัตถุขอมปรากฏอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เช่นพระปรางค์องค์ใหญ่ พระพุทธรูปนาคปรกและศาสนวัตถุอีกมาก ที่เมืองกำแพงเพชรมีปราสาทเทวาลัย ที่เมืองพิษณุโลกมีปรางค์ปราสาทขอม แต่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงทำนุบำรุงดัดแปลงเป็นอย่างพุทธศาสนาที่วัดจุฬามณีไปหมดแล้ว เมื่อคราวที่ท่านเสด็จไปทรงผนวช ณ วัดแห่งนี้

การยอมรับนับถือศาสนาของชนชาติขอมได้แปรเปลี่ยนไปตามความเห็นชอบของเจ้าพระยามหากษัตริย์ของเจ้าผู้ครองนครว่าจะยอมรับนับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาพราหมณ์ก็ให้เป็นไปตามนั้น จึงปรากฏมีศาสนวัตถุสองประเภทรวมกันอยู่ ถ้าเป็นไปตามพุทธศาสนาก็จะสร้างพระพุทธรูป ถ้าเป็นไปตามศาสนาพราหมณ์ก็จะสร้างแต่เทวรูป อย่างนี้เป็นต้น

การสร้างพระพุทธรูปของขอมหรือเขมรนั้นไม่นิยมสร้างตามคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะที่ชาวพุทธฝ่ายหินยานนิยมสร้างกัน แต่จะสร้างโดยเอารูปแบบอย่างพุทธปุถุชนคนธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพักตร์จะเน้นให้เหมือนใบหน้าของเจ้าพระยามหากษัตริย์พระองค์นั้นๆ ให้มากที่สุด โดยให้ความสำคัญว่าพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นสมมติเทพพระองค์หนึ่ง เสมอด้วยเทพเจ้าพระองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์

ด้วยเหตุฉะนี้ เทวรูปหรือพระพุทธรูปเขมรจึงมีลักษณะเหมือนปุถุชนคนธรรมดามากที่สุด นักนิยมสะสมรุ่นคุณปู่เรียกเทวรูปหรือพระพุทธรูปของขอมว่าพระเขมรแข้งสันคางคน หรือพระเขมรคางคน

นับแต่พระพุทธรูปสมัยทวารวดีศรีวิชัย ลากยาวมาถึงสมัยลพบุรีตอนต้นได้พบพระพุทธรูปปางประทับนั่ง เค้าพระพักตร์เหมือนคนมากที่สุด ความโดดเด่นของพระพุทธรูปที่กล่าวนี้จะมีลักษณะพิเศษอยู่ที่พระเกศ จะเป็นเกศฝาละมี ส่วนเม็ดพระศกจะมีลักษณะเป็นชนิดผมหวี ผมเวียน ผมตาตาราง อย่างนี้เป็นต้น เรียกพระพุทธรูปนี้ว่าพระพุทธรูปอู่ทองสุวรรณภูมิ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามมาก มีรายละเอียดครบสมบูรณ์อย่างกับปุถุชนคนธรรมดา ในฝ่ามือจะปรากฏให้เห็นแม้แต่เส้นสายที่ปรากฏในฝ่ามือและนิ้วมืออีกด้วย แสดงถึงการเอาใจใส่แม้แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของนายช่างผู้สร้างสรรค์

พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง-ลพบุรี

ราวปี พ.ศ. ๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทอง ผู้ครอง เมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี อพยพอาณา ประชาราษฎร์หนีโรคห่าระบาด ผู้คนล้มตายเป็นจํานวนมาก มาสร้างเมืองใหม่ที่กรุง ศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. ๑๘๙๕ เมื่อพระเจ้าอู่ทองสร้างแปลงเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ทรงดําเนินการทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ โดยส่งพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์ ลงเรือเพื่อไปทําการคัดลอกพระไตรปิฎกยังประเทศลังกา

ในด้านศาสนวัตถุ ได้สร้างวัดพุทไธ ศวรรย์และสร้างพระพุทธรูปโดยการประยุกต์ เอาพุทธศิลปะส่วนหนึ่งมาจากพุทธศิลปะสุโขทัย ได้แก่ พระวรกายที่งามชะลูด พระเกศทําอย่างเปลวเพลิง แต่ดุแข็งกว่าพระเกศเปลวเพลิงในพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เม็ดพระศกทําอย่างหนามขนุน และเพิ่มเส้นขอบไรพระศกเป็นเส้นลวดกลม และเส้นลวดแบนมีเป็นครั้งแรกในพระพุทธสมัยอยุธยา อีกทั้งยังเน้นรายละเอียดที่พระพักตร์ โดยนายช่างปั้นให้พระพักตร์มีลักษณะให้แก้มตอบ คางแหลมยื่นออกมาทางด้านหน้าแบบหนึ่ง แข้งเป็นสันคมที่ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปแบบนี้ว่า พระเขมรคางคน หรือพระเขมรหน้าแก่ อีก ลักษณะหนึ่ง นายช่างได้ปั้นรายละเอียดของ พระพักตร์ให้ดูเข้มขลัง เคร่งขรึมอย่างคน มีอายุขึ้นมาหน่อย เลยเรียกพระเขมรอย่างนั้นว่า พระเขมรหน้ากลาง และพระเขมรหน้าหนุ่ม นายช่างได้ปั้นให้ส่วนของพระพักตร์ตรง ส่วนที่เป็นแก้มให้มีลักษณะกลมป้อมดูเต่งตึง ขึ้นมาหน่อย ท่านเรียกว่าพระเขมรหน้าหนุ่ม และโดยที่พระพุทธรูปที่ปั้นและมีพุทธลักษณะเช่นว่านี้เพิ่งมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเกียรติยศ แก่ท่านผู้สร้าง พระพุทธศิลปะในลักษณะนี้จึง เรียกว่า พระพุทธสมัยอู่ทอง หรือสมัยอยุธยา

ในสมัยอยุธยานอกจากประดิษฐ์คิดสร้าง พระพุทธรูปแล้ว ท่านยังเอาแบบการสร้างพระปรางค์อย่างของขอมมาดัดแปลงเป็นพระปรางค์สมัยอยุธยาอีกด้วย โดยมีข้อแตกต่างดังนี้ พระปรางค์ขอมจะสร้างให้ตรงกลางองค์ พระปรางค์มีลานประทักษิณรอบๆ สามารถ เดินรอบๆ ได้ และหน้าบันทําเป็นซุ้มปราสาท ทั้ง ๔ ทิศ หรือที่เรียกว่าจตุรมุข หรือซุ้ม ปราสาท ไว้ประดิษฐานพระพรหมซึ่งมีอยู่ ๔ หน้า ที่เรียกกันจตุรพักตร์ โตจะมหาพรหมาณี

ในส่วนสูงของพระปรางค์สมัยอยุธยา ประดับด้วยกลีบขนุน รวมเรียกพระปรางค์ สมัยอยุธยานี้ว่า พระปรางค์ทรงฝักข้าวโพด มีสร้างอยู่ทั่วไปตามหัวเมืองใหญ่ๆ เช่น พระ ปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเชลียง พระปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมือง พิษณุโลกพระปรางค์ที่วัดราชบูรณะ อยุธยา

ซึ่งสร้างในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชรัชกาลที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) พระมหากษัตริย์ องค์ที่ ๖ (พ.ศ. ๑๙๖๗ – ๑๗๙๑)

ในสถานที่ที่ปลงพระศพพระเจ้าอ้าย พระเจ้าพระยา และพระปรางค์ที่วัดราช บูรณะ อยุธยา องค์นี้ละม้ายเหมือนพระปรางค์ ทรงฝักข้าวโพด วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ท่านผู้รู้ได้ตรวจสอบหลักฐาน แน่ชัดแล้วว่า พระปรางค์ที่วัดพระศรีรัตน มหาธาตุสุพรรณบุรี องค์นี้ สร้างโดยพระเจ้า สามพระยา รวมทั้งพระเครื่องมีเป็นจํานวนมากและหลากหลายด้วยพิมพ์ทรง และด้วยความโด่งดังของพระกรุนี้ อย่างเช่น พระผง สุพรรณ ซึ่งเป็นอีกองค์หนึ่งในพระยอดนิยม ชุดเบญจภาคี สร้างตามพุทธศิลปะสมัยอู่ทอง มีพระผงสุพรรณหน้าแก่ พระผงสุพรรณหน้า กลาง และพระผงสุพรรณหน้าหนุ่ม ที่อัญเชิญ มาลงประกอบเรื่องนี่เป็นองค์ที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด

พระพุทธรูปอู่ทองสุวรรณภูมิ

การสร้างพระพุทธรูปของ ขอมหรือเขมรนั้นไม่นิยมสร้างตามคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะที่ชาวพุทธฝ่ายหินยานนิยมสร้างกัน แต่จะสร้างโดยเอารูปแบบอย่างพุทธปุถุชนคนธรรมดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพักตร์จะเน้นให้เหมือนใบหน้าของเจ้าพระยามหากษัตริย์พระองค์นั้นๆ


พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง-ลพบุรี
(ภาพจากนิตยสาร SPIRIT Art & Antique Vol. 4
No. 39 January 2008)
พระพุทธรูปอู่ทองสุวรรณภูมิ
(ภาพจากนิตยสาร PRECIOUS SPECIAL Vol.1 1996)


เรื่องเล่าคนรักพระสวย

พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่มใน อนุรักษ์ฉบับนี้ ก็นับว่าเป็นพระพิมพ์ หน้าหนุ่มที่มีความสวยสมบูรณ์มาก ที่สุดองค์หนึ่งเท่าที่ได้พบเห็นในวงการพระเครื่อง นอกจากจะมีความลึก คมชัด ตลอดทั้งองค์แล้ว ความโดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นผิวพรรณของพระ ซึ่ง ถือว่าเป็นพระที่ไม่เคยถูกใช้หรือถูกสัมผัสเลย ความเหี่ยวย่นตั้งแต่ในซอกที่ต่ําสุดจนถึงส่วนสูงของพระยังมีความเหี่ยวย่นอย่างต่อเนื่อง พระเป็นสีก้านมะลิที่มีความสม่ําเสมอของโทนสีตลอดทุกส่วนขององค์พระ

ตามประวัติเดิม พระองค์นี้เป็นพระของคนนอกวงการจริงๆ โดยเจ้าของเดิมได้รับตกทอดกันมาโดยทางมรดกชนิดที่เจ้าของพระไม่รู้ด้วยซ้ําว่าพระของตนเป็นพระพิมพ์อะไร มีมูลค่าเท่าไหร่พระสวยสมบูรณ์ระดับไหน พระจากบุคคลนอกวงการเช่นนี้จะมีหลุดเข้ามาในวงการพระโดยสถิติที่ผ่านมาทุกๆ สิบปีจะมีให้พบเห็นไม่เกิน ๕ องค์ และพระผงสุพรรณองค์นี้ก็ไม่เคยปรากฏอยู่ในหนังสือพระฉบับไหนๆ เลย และก็ไม่เคยส่งลงประกวดในงานใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อหลุดมาจากเจ้าของวงนอกจากจังหวัดสมุทรสงครามก็ถูกนําไปให้กับนักสะสมเมืองสุพรรณบุรีทันที และเมื่อมีพระผงสุพรรณระดับสวยๆ หลุดเข้าเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ก็จะไม่เคยมีองค์ไหนคลาดสายตาของคุณอมร “ยู้กิม” แห่งร้านถ่ายรูปบางลี่ อาร์ต อย่างแน่นอน และเมื่อคุณกู้กิมได้มีโอกาสพบกับผมก็ได้ให้ความเห็นกับผมว่า เท่าที่คุณอมรได้พบเห็นพระผงสุพรรรณพิมพ์หน้าหนุ่มมาหลายๆ สิบปี พระองค์นี้ความสวยไม่น่าจะเป็นรองใคร หากไม่เป็นหนึ่งก็จะต้องเป็นสองอย่างแน่นอน และเมื่อคนที่มีความรู้และมากด้วยประสบการณ์เรื่องพระผงสุพรรณระดับ คุณอมรให้ความเห็นเช่นนี้ ทําให้ผมใน ขณะนั้นซึ่งมีอาการ “เมาพระ” อยู่แล้ว อย่างแรง ต้องบุกจังหวัดสุพรรณบุรีในวันรุ่งขึ้นทันที

และเมื่อมีโอกาสได้เห็นพระองค์จริง เป็นครั้งแรกก็รู้สึกประทับใจถึงกับเก็บอาการไม่อยู่ ทําให้เจ้าของพระที่เดิม ตั้งใจจะตีราคาพระองค์นี้ที่ราคาล้าน ต้นๆ ก็เลยขยับราคาที่ตีเป็น ๑.๗ ล้าน อันเป็นราคาพระผงสุพรรณพิมพ์ หน้าหนุ่มที่สูงที่สุดในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ (ประมาณ ๒๓ ปีที่แล้ว) ในตลาดขณะ นั้น เงิน ๑.๗ ล้านสามารถเช่าพระผง สุพรรณพิมพ์หน้าแก่สภาพสวยๆ ได้ เลยทีเดียว ราคาที่สูงทําให้ผมตกใจและ ตั้งสติได้ ถอยมาตั้งหลักใน กทม. ก่อน ดีกว่า เพราะหากเจรจาต่อไปอาจจะต้อง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “นายสุกร” การพยายามหักห้ามจิตใจเพื่อมิให้ตัวเอง กลายเป็นคุณสุกรนั้นผืนทําอยู่ได้ไม่นานก็ถูกกดดันโดยกลไกการแข่งขันในตลาดของวงการพระเครื่อง

กล่าวคือบุคคลที่ไปยั่วและต่อรองให้เจ้าของพระตีราคาเป็นคนแรก เป็นเหตุให้บ่อยครั้งจบลงที่นอกจากจะไม่ได้พระแล้ว ยังตกเป็นบันไดและผู้รับประกันให้คลื่นลูกต่อไปเผด็จศึกทุกทีดังนั้นไม่ถึงสองสัปดาห์ต่อมาจากการพบกันครั้งแรกผมก็หาทางให้บุคคลที่เจ้าของพระเกรงใจช่วยเชิญให้ได้พบกับผมอีกครั้งใน กทม. และเมื่อได้ส่องพระและตรวจครั้งหนึ่งแล้วก็ยอมรับในใจว่าพระองค์นี้นับเป็นพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่มซึ่งสวยสมบูรณ์ระดับแชมป์ มีพบเห็นในวงการได้ไม่เกินสี่องค์เท่านั้น และหากพ้นจากวันนั้นไปผมก็อาจจะไม่มีโอกาสบูชาท่านได้อีกแล้ว

จึงตัดสินใจว่าหากพูดมากก็จะยิ่งทําให้เจ้าของพระตั้งตัวได้และต่อรองยากขึ้นไปอีก จึงตัดสินใจนําเช็คที่เขียนอยู่ล่วงหน้าแล้วในลิ้นชักโต๊ะทํางาน ซึ่งมีมูลค่าน้อยกว่าที่เจ้าของพระตีเพียง ๕๐,๐๐๐ บาท โดยอ้างดื้อๆ ว่าผมจํา ราคาผิด เจ้าของพระเมื่อเห็นเช็คจริงๆ วางอยู่ข้างหน้าก็คงเกิดความเกรงใจที่ จะยื้อให้ผมขีดฆ่าเช็คใบแรกเพื่อให้เขียน เช็คใบใหม่ เพราะราคาแตกต่างจากที่ตนตีเพียงไม่ถึงสามเปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ํา กว่าราคาค่านายหน้ามาตรฐานเสียอีก ดีลในคราวนั้นก็ลงเอยแบบผมตกเป็นสุกรในวงการพระเครื่องอีกครั้ง

วันนี้ผมอายุ ๖๕ ปีแล้ว และเมื่อมองย้อนหลังกลับไปในอดีตก็มิได้เสียใจหรืออายใครๆ ที่อยู่ในวงการพระ กว่า ๔๐ ปี ได้เช่าพระผิดราคาและกลาย เป็นหมูสนามมาโดยตลอด เพราะโดย ประสบการณ์จริงๆ แล้ว การเช่าพระผิด ราคาที่สูงกว่าราคาตลาดเป็นเท่าตัวความเสียดายเงินมักจะจบลงทันทีที่เช็คหลุดจากมือแล้วได้พระมาอยู่ในมือแทนและมาถึงปัจจุบันก็ยังไม่พบว่าคนเช่าพระสวยแชมป์ในราคาหลุดโลกแล้วประสบกับการขาดทุน วงการพระมักจะมีสุกรรุ่นใหม่มาแบกรับภาระต่อไปเป็นวัฏจักรเช่นนี้อยู่ร่ําไปครับ

ในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณคุณอมร (ยู้กิม) อีกครั้งที่ได้ให้ความรู้และแนะนํา ผมในหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับพระผง สุพรรณ และขอขอบคุณ “อนุรักษ์” ที่ ได้ให้โอกาสผมเล่าเรื่องเดิมๆ อีกครั้ง ขอขอบคุณครับ

About the Author

Share:
Tags: พระผงสุพรรณ / พระ / พระเครื่อง / ฉบับที่ 22 /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ