Sunday, May 5, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

หนังสือรวมภาพฝีพระหัตถ์ออกแบบ ของนายช่างใหญ่แห่งสยาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 22
เรื่อง: อรรยา

หนังสือรวมภาพฝีพระหัตถ์ออกแบบ
ของนายช่างใหญ่แห่งสยาม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ครั้งแรกของการตีพิมพ์และเผยแพร่ต้นฉบับที่ภาพฝีพระหัตถ์ออกแบบของนายช่างใหญ่แห่งสยาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผ่านหนังสืออันทรงคุณค่าซึ่งจัดทำโดยทายาทรุ่นที่ ๓ ม.ล. จิตตวดี จิตรพงศ์ที่มีชื่อว่า “Prince Naris: A Siamese Designer

บรรยากาศงานเปิดตัวหนังสือซึ่งจัดขึ้น ณ บ้านปลายเนิน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖- ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐) ต้นตระกูลของราชสกุลจิตรพงศ์ เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นที่รู้จักแพร่หลายภายใต้พระนาม “กรมพระยานริศ” ในฐานะช่างหลวง ระหว่างสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

นอกเหนือจากการรับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งต่างๆเช่น เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการเสนาบดีกระทรวงพระคลัง เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการกรม

ยุทธนาธิการ ผู้บัญชาการทหารเรือพระองค์ยังทรงให้ความสนใจศึกษาศิลปะแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจิตรศิลป์ งานสถาปัตยกรรม ดุริยางคศิลป์ตลอดจนวรรณศิลป์ จนมีความเชี่ยวชาญ และสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะอันเปรียบได้กับมรดกทางศิลปกรรมไทยไว้มากมาย เช่น การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ภาพเขียนสีน้ำามันประกอบพระราชพงศาวดารแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชกำลังแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนพระอาทิตย์ชักรถที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ ภายในพระที่นั่งบรมพิมาน ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม ออกแบบตรา

ภาพแบบร่างตัวอักษรไทยจากสมุดสเก็ตช์ส่วนพระองค์

กระทรวงต่างๆ อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ ๑ องค์พระธรณีบีบมวยผมที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลาพระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า นอกจากนี้ยังทรงออกแบบตาลปัตร รวมถึงพระเมรุมาศและพระเมรุของพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์

พระปรีชาสามารถในด้านงานศิลป์ของกรมพระยานริศนั้นนับเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไปเสมอมาอย่างไรก็ตาม ผลงานของพระองค์ที่เราได้ชื่นชมกันในปัจจุบันล้วนแล้วแต่เป็นผลงานฝีพระหัตถ์ออกแบบซึ่งทรงมอบหมายให้ช่างฝีมือในสมัยนั้นเป็นผู้ลงมือทำตามแบบของพระองค์ ในขณะที่แบบร่างฝีพระหัตถ์และภาพเขียนต้นฉบับที่นั้นกลับไม่เคยได้รับการ

ม.ร.ว. จักรรถ จิตรพงศ์ และธิดา ม.ล. จิตตวดี
หอนั่ง ซึ่งยกพื้นสูงตรงกลาง เป็นส่วนหนึ่งของบ้านปลายเนิน

เผยแพร่อีกเลยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ที่กรมพระยานริศสิ้นพระชนม์ โดยทั้งหมดได้รับการเก็บรักษาไว้ที่บ้านปลายเนิน พระตำหนักส่วนพระองค์มายาวนานกว่า ๖ ทศวรรษ

จวบจนเมื่อราว ๕ ปีก่อน หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์ พระธิดา ในฐานะประธานมูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์ ทรงอนุญาตให้ทายาทตระกูลจิตรพงศ์ถ่ายภาพชิ้นงานต่างๆ เพื่อนำไปเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นหนังสือรวบรวมผลงานภาพร่างฝีพระหัตถ์ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ศิลปะไทย และมอบหมายให้ ผศ. ดร. ม.ล. จิตตวดี จิตรพงศ์ผู้มีศักดิ์เป็นเหลน ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ประพันธ์

ภาพร่างดินสอรูปม้าเจ็ดตัวซึ่งเป็นส่วนประกอบของพระอาทิตย์ชักรถ

ม.ร.ว. จักรรถ จิตรพงศ์ ทายาทผู้มีศักดิ์เป็นหลานปู่ของกรมพระยานริศกล่าวในวันงานเปิดตัวหนังสือ Prince Naris: A Siamese Designer ณ บ้านปลายเนิน ไว้ว่า

“กล่าวได้ว่า สมเด็จท่านเป็นช่างที่ไม่เคยไปเรียนวิชากับใคร เป็นช่างที่ไม่เคยมีครู แต่ท่านใช้วิธีเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือที่เราเรียกในภาษาสมัยใหม่ว่าครูพักลักจำในทกุ สาขาที่ท่านอยากรู้ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ในสมัยโบราณหากคุณอยากเป็นศิลปิน คุณต้องเอาขันกำนล (ในนั้นมีผ้า ๑ ผืน ดอกไม้ และเงิน ๖ บาท) ไปกราบช่างที่อยากสมัครเป็นลูกศิษย์ ถ้าครูรับขันกำนลไว้ แสดงว่ารับเป็นลูกศิษย์ คุณก็ต้องย้ายไปอยู่บ้านครูเพื่อรับใช้ครูท่านนั้น ทำงานบ้านให้ท่านแลกเปลี่ยนกับการเรียนรู้วิชาต่างๆ ซึ่งสิ่งที่เล่ามานี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยสำหรับสมเด็จกรมพระยานริศฯ หรือพระองค์เจ้าจิตรเจริญในขณะนั้น ทรงเกิดในวังและเป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔ จึงไม่สามารถจะย้ายตัวเองออกจากพระราชวัง ฝ่ายในเพื่อไปอยู่บ้านครู อีกทั้งยังไม่มีศิลปินคนไหนกล้ารับท่านเป็นศิษย์ด้วย”

ภาพฝีพระหัตถ์ออกแบบภายในพระที่นั่งบรมพิมาน
ภาพแบบร่างรายละเอียด
ของสิงห์ หน้าวิหาร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

แม้วิธีการเรียนรู้ในงานช่างจะแตกต่างจากศิลปินในยุคสมัยเดียวกันแต่การหมั่นเพียรฝึกฝนด้วยพระองค์เองนั้นก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้อันลึกซึ้ง ที่ต่อมาได้นำมาใช้ในผลงานศิลปะหลายแขนงและทำให้มีภาพร่างต้นแบบเก็บไว้มากมายในรูปแบบของสมุดสเก็ตช์ กระดาษไข เศษกระดาษจากหนังสือพิมพ์ หรือแม้แต่ด้านหลังซองจดหมายที่ใช้แล้ว

“วิธีการทำงานของท่านนั้น หากเกิดความคิดแวบขึ้นมาเมื่อใด ท่านจะฉวยกระดาษที่อยู่ใกล้มือที่สุดมาเขียนร่างความคิดเก็บไว้ ซึ่งอาจเป็นช่องว่างในกระดาษหนังสือพิมพ์ที่กำลังอ่านหรือพื้นที่ด้านในซองจดหมายใช้แล้ว” ม.ร.ว. จักรรถกล่าว เมื่อถึงคราวต้องรวบรวมเพื่อจัดทำ หนังสอื ม.ล. จิตตวดีจึงต้องเริ่มต้นคัดแยกและจัดหมวดหมู่เพื่อนำมาจัดทำต้นฉบับที่และเรื่องราวโดยเลือกเขียนขึ้นเป็นภาษาอังกฤษเพื่อสามารถเผยแพร่ไประดับโลกได้

จิตรกรรมฝาผนังประดับเพดานภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม หนึ่งในภาพฝีพระหัตถ์ออกแบบ โดยมีจิตรกรชาวอิตาลี นายซี ริโกลี เป็นผู้เขียน

ภาพแบบร่างและภาพเขียนฝีพระหัตถ์ที่นำเสนอในหนังสือแบ่งออกเป็น ๔ หมวดหมู่ คือ อาคาร มนุษย์ สัตว์(ในจินตนาการและในความเป็นจริง) และตัวอักษร ผู้เขียนตั้งใจแสดงขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลป์ ตั้งแต่การสร้างจินตนาการ สังเคราะห์และวางโครงร่างตัวงาน การถ่ายทอดจากรูปแบบสองมิติถึงรูปแบบสามมิติ ซึ่งเป็นสภาวะที่อยู่ระหว่างกลางก่อนการสร้างเป็นชิ้นงานสุดท้าย ภาพร่างเหล่านี้ถือเป็นแก่นกลางกระบวนการออกแบบของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม

About the Author

Share:
Tags: หนังสือ / สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ / ฉบับที่ 22 /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ