Sunday, May 19, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

หนังสือรวมภาพฝีพระหัตถ์ออกแบบ ของนายช่างใหญ่แห่งสยาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ภาพแบบร่างดินสอของตาลปัตร ดำรงธรรม

“คําถามหลักที่สื่ออยู่ในหนังสือเล่ม นี่คือกรมพระยานริศคือใครและเป็นอะไร ซึ่งการตีความของดิฉันอาจต่างจากคุณพ่อหรือท่านอื่นๆ ไปบ้างสําหรับดิฉัน กรมพระยานริศเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงซึ่งท่านมีความสามารถ วาดรูปได้และความสามารถนี้ทําให้ท่าน ไม่เหมือนกับเชื้อพระวงศ์ที่อื่น เช่น ถ้าเป็นในยุโรป เจ้าชายอัลเบิร์ตเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ารักในศิลปะมากและทรงสนับสนุนให้เกิด The Great Exhibition ที่คริสตัล พาเลซ แต่พระองค์ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ อาคารเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม กรมพระยานริศทรงวาดภาพและร่างแบบได้ตั้งแต่ที่กรุงสยามยังไม่ได้มีการเรียนการสอนทฤษฎีศิลปะ ไม่มีพิพิธภัณฑ์ไม่มีคณะศิลปกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัย แต่ท่านเป็นนายช่างที่ซึมซับการทํางานและงานฝีมือจากช่างชั้นครูต่างๆ จนสร้างสรรค์ศิลปะยุคใหม่จากความร่วมมือของช่างไทยและศิลปินจากยุโรป ซึ่งในการตีความของดิฉัน การทํางานร่วมกันระหว่างพระองค์กับทีมงานตามภาษาในสมัยนี้ช่วยเปิด ที่ว่างให้กับศิลปะในกรุงสยามสมัยนั้น เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นในแง่ของการเขียน เรื่องราวประกอบดิฉันจึงไม่ได้อยากทําหนังสือให้ออกมาเป็นเพียงแค่หนังสือรวมรูปภาพ แต่อยากเขียนออกมาเป็นเชิงถึงประวัติศาสตร์และเชิงการตีความทางประวัติศาสตร์ที่มีการนําทฤษฎีประวัติศาสตร์ของโปรเฟสเซอร์หลายท่านในต่างประเทศที่ดิฉันประทับใจมา

ภายในอุโบสถของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ภาพร่างปฐมสมโพธิกถา สำหรับใช้เป็นต้นแบบของภาพสเตนกลาส

สร้างความสัมพันธ์กันในเชิงแง่ ซึ่งจะทําให้เรื่องราวไม่ได้จํากัดอยู่แค่ในบริบทของสังคมไทย แต่พยายามมองในมุมมองของนักวิชาการที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์โลกไว้ด้วยกัน” ม.ล.จิตตวดีกล่าว

เพื่อให้ง่ายต่อการทําความเข้าใจภาพร่างต้นแบบบางส่วนจะถูกวางจับคู่กับภาพผลงานที่สําเร็จเรียบร้อยแล้วซึ่งได้มาจากภาพของหอจดหมายเหตุแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศนอกจากนั้นยังมีภาพต้นแบบของผลงาน
อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังภาพเขียนเฟรสโก้ในพระที่นั่งต่างๆ เช่นจิตรกรรมฝาผนังประดับเพดานพระที่นั่งอนันตสมาคม จิตรกรรมฝาผนังประดับเพดานพระที่นั่งบรมพิมานจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดราชาธิวาสวรวิหาร ภาพวาดต้นแบบของสิงห์หน้าวิหารวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามภาพเขียนที่ออกแบบสําหรับกระจกสเตนกลาสภายในพระอุโบสถหินอ่อนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามฯ รวมถึง ตาลปัตร “ดํารงธรรม” ที่ทรงออกแบบ สําหรับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยา ดํารงราชานุภาพ ในวันครบรอบวันประสูติ ๖๐ พรรษา แม้บางชิ้นจะเป็นแบบร่างที่ไม่ได้นําไปใช้ในการสร้างผลงานจริงแต่ก็ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี

“ดิฉันชื่นชอบและประทับใจในงานของท่านตรงที่เป็นงานที่มีความทันสมัยทั้งในยุคของท่านเองจนถึงปัจจุบันภาพร่างต้นแบบของสมเด็จบางชิ้นจะทรงใส่พระนามเต็มกํากับ บางชิ้นใช้ลายเซ็นให้กลมกลืนไปกับผลงาน มีบ้างที่สังเกตเห็นได้ง่าย แต่ก็มีบางชิ้นที่ทรงซ่อนไว้ในงานดีไซน์อย่างแนบเนียนและชาญฉลาด ในช่วงที่ต้องรวบรวมผลงานฝีพระหัตถ์จึงทําให้ต้องไล่ดูทุกชิ้นและจัดแยกประเภทผลงาน พร้อมกันยังต้องแยกงานต้นแบบของสมเด็จออกจากส่วนที่เป็นภาพก๊อปปี้ของทีมงานช่างของท่าน และส่วนที่ยากที่สุดคือการระบุผลงานที่ไม่มีชื่อและไม่มีวันที่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในสมุดสเก็ตช์ภาพเศษกระดาษ หรือซองจดหมายใช้แล้ว

“เมื่อทําเสร็จ หนังสือเล่มนี้จึงเป็น เหมือน Labor of Love เป็นหนังสือที่ เกิดมาจากความรักและมุ่งหวังให้คนใน ยุคต่อไปได้เห็นหลักฐานชั้นต้นในการออกแบบของสมเด็จ ว่าจะสามารถนําพาจินตนาการของพวกเขาไปที่ใดและจะเป็นประโยชน์ต่อไปอย่างไรบ้าง” ม.ล. จิตตวดีกล่าวทิ้งท้าย

  • มูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์ บ้านปลายเนิน จัดจําหน่ายหนังสือ Prince Naris: A Siamese Designer ราคา ๒,๙๕๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง)
  • สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐๙ ๗๐๔๐ ๒๔๗๐

หน้าปก “น ในดวงใจ”

ความพิถีพิถันในการจัดทําหนังสือ Prince Naris: A Siamese Designer เริ่มตั้งแต่หน้าปกซึ่งใช้สีชมพูโทนเดียวกับสีในภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของกรมพระยานริศนอกจากนี้ยังเลือกใช้ภาพอักษรพระนาม “น ในดวงใจ” ซึ่งเป็นภาพฝีพระหัตถ์ โดย อักษร “u” ย่อมาจากพระนาม “นริศ” ส่วน รูปหัวใจหมายถึงพระนามเดิม “พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ” ซึ่งได้รับพระราชทาน จากพระราชบิดา (รัชกาลที่ ๔)

“โจทย์ของหน้าปกที่ให้กับดีไซเนอร์ไปก็คือ ดิฉันต้องการ Portray ท่านเป็นโมเดิร์น ดีไซเนอร์ เนื่องจากผลงานของท่านมีความโมเดิร์นมากในยุคสมัยนั้น ซึ่งภาพอักษร น ในดวงใจ นี้ เป็นสัญลักษณ์ชื่อของพระองค์ ที่อยู่บนหน้าปกของภาพทศชาดก ซึ่งท่านจะ เขียนและพิมพ์ขึ้นเพื่อมอบให้แขกที่มารดน้ําสงกรานต์ทุกปี ปีละ ๑ ภาพ โดยแต่ละปีท่าน จะรีดีไซน์สัญลักษณ์ น ในดวงใจ ให้ไม่เหมือน กันสักปี” ม.ล. จิตตวดีกล่าว

About the Author

Share:
Tags: หนังสือ / สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ / ฉบับที่ 22 /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ