Monday, May 6, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

จากยาอุทัย ถึงยาตํารับหลวง หมอมี

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 16
เรื่อง: สุภาวดี ใหม‹สุวรรณ
ภาพ: บริษัท หมอมี จำกัด, ปิยนันท์ เกียรตินฤยุทธ

จากยาอุทัย
ถึงยาตํารับหลวง

หมอมี

อากาศร้อนระอุในยามนี้ทําให้อดไม่ได้ที่จะคิดถึงภูมิปัญญาไทยในวันวานที่นิยมนํายาอุทัยสีแดงมาเหยาะหยดผสมลงใน น้ําดื่ม นอกจากน้ํานั้นจะกลายเป็นสีชมพูระเรื่อ เมื่อดื่มแล้ว ยังช่วยดับกระหาย คลายร้อน แถมหอมเย็นชื่นใจดีนัก

เนื่องจากในอดีตน้ําฝนที่รองไว้เพื่อใช้ ดื่มกินมีรสชาติกระด้าง คนโบราณจึงคิด – หาวิธีแก้ปัญหา นํา “ยาอุทัย” หรือ “น้ํายา อุทัย” ที่มีส่วนผสมของดอกไม้และสมุนไพร ไทยมาผสมเข้ากับน้ํา ทําให้น้ําดื่มมีรสชาติ และกลิ่นหอมชื่นใจขึ้นมา ทั้งยังได้คุณค่า จากสรรพคุณสมุนไพร โดยยาอุทัยที่เรา คุ้นเคยกันดี เพราะมีชื่อเสียงนับแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน คือ “ยาอุทัยหมอมี

เอ่ยถึงผู้ปรุงยาอุทัยที่มีชื่อว่า “หมอมี ท่านมีชีวิตและมีตัวตนอยู่จริงในสมัยรัชกาล ที่ ๕ หมอมีมีชื่อเต็มๆ ว่า นายมี เกษม สุวรรณ ซึ่งเป็นคุณปู่ของคุณพูนพิพัฒน์ เกษมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หมอมี จํากัด เขาเล่าว่าแท้จริงแล้วปู่ของเขามิได้เป็นหมอ แต่มีโอกาสเข้ารับราชการเป็นผู้ปรุงยาในกองโอสถศาลา ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาใน สมัยรัชกาลที่ ๕ ในฐานะคลังยาของหลวง รวมทั้งแหล่งผลิตยาฝรั่งและยาไทยจําหน่าย แก่ราษฎรเพื่อรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วย

โดยยาอุทัยถือเป็น ๑ ใน ๑๐ ขนานยา โบราณของไทยที่โอสถศาลาผลิตขึ้นในระยะ แรกๆ สูตรของยาอุทัยจึงปรากฏอยู่ในตํารา แพทย์หลายเล่ม รวมทั้งเสาระเบียงของ วัดโพธิ์ที่กล่าวถึงยาชื่อว่า “ทิพย์สําราญ” ที่มี สรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ํา คล้ายกับ ยาอุทัย หลังออกจากราชการ นายมีที่มี

นายมี เกษมสุวรรณ มีตัวตนอยู่จริง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้สร้าง ตํานานคุณค่าสมุนไพรตํารับหลวง ให้เป็นที่รู้จักตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ หรือ ๑๑๘ ปีล่วงมาแล้ว
ยา ๓ ขนานที่สร้างชื่อให้กับ ‘หมอมี’ ตั้งแต่เริ่มต้น จวบจนถึงทุกวันนี้

สมัยก่อนถ้าใครขายยาหรือ มีความรู้ทางด้านนี้ ชาวบ้าน จะเรียกว่าหมอ คุณปู่เลยถูก เรียกว่าหมอมีตั้งแต่นั้นมาแต่แท้จริงท่านเป็นเภสัชกรท่านมีสูตรยามากมาย ต่อมาห้างขายยาย้ายไปตั้งที่ สามแยกต้นประดู่ แต่คน ส่วนใหญ่ที่ไปหาซื้อยาย่านนั้นมักจะเรียกว่า ‘สามแยกหมอมี’

ความชํานาญในการปรุงยาสมุนไพรไทยและ รอบรู้ในเวชภัณฑ์ยาต่างประเทศ จึงออกมา เปิด “ห้างขายยาบุญมี ดิสเปนซารี” เป็นของ ตนเองในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ บนถนนกรุงเกษมและได้นําสูตรยาตํารับหลวงมาผลิตและ จําหน่ายทั่วไป ซึ่งยาอุทัยก็คือหนึ่งในยา ที่ได้รับความนิยมของทางร้าน

“สมัยก่อนถ้าใครขายยาหรือมีความรู้ ทางด้านนี้ ชาวบ้านจะเรียกว่าหมอ คุณปู่เลย ถูกเรียกว่าหมอมีตั้งแต่นั้นมา แต่แท้จริงท่าน เป็นเภสัชกร ท่านมีสูตรยามากมาย ต่อมา ห้างขายยาได้ย้ายไปตั้งที่สามแยกต้นประดู่ แต่คนส่วนใหญ่ที่ไปหาซื้อยาย่านนั้นมักจะเรียกว่า “สามแยกหมอมี’ จนติดปาก แม้ปัจจุบันห้างขายยาหมอมีจะย้ายมาอยู่แถว พระราม ๑ โดยเปลี่ยนเป็น บริษัท หมอมี จํากัด แล้วก็ตาม”

คุณพูนพิพัฒน์บอกว่า กว่าจะผลิตยา อุทัยออกมาได้ต้องใช้เวลาคัดสรรสมุนไพร และเข้าสู่ขั้นตอนผลิตอย่างน้อย ๒ เดือน ยาอุทัยนั้นมีสรรพคุณบํารุงหัวใจ แก้อาการ ร้อนในและอ่อนเพลีย ปรุงด้วยสมุนไพรดอกไม้และไม้หอมกว่า ๑๐ ชนิด อาทิ ดอกกระดังงา ดอกจันทน์เทศ ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ คําฝอย จันทน์แดง ชะมด พิมเสนเป็นต้น แต่สมุนไพรตัวหลักที่ทําให้น้ํายา อุทัยมีสีแดงเป็นเอกลักษณ์คือ ฝาง

คนไทยในอดีตใช้แก่นและเนื้อไม้ฝาง ย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมให้เป็นสีแดง สําหรับส่วนที่ใช้ทําเป็นยาอุทัยคือ แก่นฝาง ซึ่งมี รสขื่น ขม และฝาด มีสรรพคุณบํารุงโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ํา ที่สําคัญยังปลอดภัยต่อการบริโภค เพราะละลายน้ําง่ายและ ไม่สะสมตกค้างในร่างกาย จึงนิยมนํามาทํา ยาอุทัยและผสมสีในอาหาร

“เวลาจะดื่ม ก็เพียงนํายาอุทัยผสมใน น้ําดื่มครั้งละ ๒-๓ หยด ตามความชอบต่อ น้ํา ๑ แก้ว ยาอุทัยมีสีแดงจากไม้ฝาง ซึ่งเป็น สีธรรมชาติ จึงไม่เป็นอันตราย สมัยนี้ คนรุ่นใหม่นิยมนําไปเติมสีบนปาก บนแก้ม เป็นเครื่องสําอาง….ก็ใช้ได้ เพราะส่วนใหญ่ จะไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้”

ขวดยาอุทัยหมอมีได้ รับการปรับพัฒนาให้ มีความทันสมัย และ ใช้งานสะดวกมากขึ้น
พ.ศ.๒๔๓๔ – ๒๕๓๕
พ.ศ.๒๕๓๖ – ๒๕๕๕
พ.ศ.๒๕๕๕ – ปัจจุบัน

ปล้องยานัตถุ์ถูกใช้ น้อยลงจนอาจหายไป ในที่สุด แต่ตัวยานัตถุ์ยังคงความอมตะ

นอกจากยาอุทัย ยาอีกขนานที่สร้างชื่อ ให้กับหมอมีและขายดีเป็นอันดับหนึ่ง คือ “ยานัตถุ์” คนรุ่นใหม่อาจไม่รู้จัก แต่หากเคย เห็นภาพคนสูงอายุสอดท่อเหล็กรูปตัวยู เข้าไปในรูจมูกด้านหนึ่ง ส่วนปลายท่ออีก ด้านก็ใช้ปากเป่า เป็นอันรู้ว่าท่านกําลังนัตถุ ยา ยานัตถุ์จะเป็นตัวยาที่อยู่ในรูปของผง ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ ยาฉุน พิมเสน โกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐเชียง ปูนแดง เป็นต้น ฉะนั้นการเป่าจะทําให้ ตัวยาที่บรรจุอยู่ในท่อเหล็กฟุ้งกระจายเข้าไป ในโพรงจมูก ส่งผลให้ผู้ที่นัตถุ์ยารู้สึก ปลอดโปร่ง โล่งสบายจมูก

“เหตุที่ยานัตถุ์มีการใช้สืบต่อกันมาร้อย กว่าปี เพราะสรรพคุณของยาที่เห็นผลและ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่วิธีการนัตถุ์ ยาแบบเก่ากลายเป็นสิ่งแปลกในยุคสมัยใหม่ คนยุคปัจจุบันไม่กล้าใช้ เห็นแล้วเขินอาย ทั้งที่ตัวยายังดีอยู่แท้ แต่ว่าวิธีใช้ไม่เหมาะ กับคนสมัยนี้ แทนที่จะเป่าตัวยาเข้าจมูก เราก็แนะนําให้เขาลองนําผงยานัตถุ์มาป้าย จมูกในปริมาณที่พอเหมาะ ช่วยบรรเทา อาการหวัด คัดจมูก ทั้งยังช่วยให้รู้สึกสดชื่น โดยไม่ต้องพึ่งพากาเฟอีน”

สมุนไพรไทยที่นํามาปรุง ให้ออกฤทธิ์ ทําให้ยาแผนโบราณ มีสรรพคุณตามที่ต้องการ

คุณพูนพิพัฒน์เสริมว่า ยานัตถุ์มี สรรพคุณคล้ายกับการดีท็อกซ์จมูก ช่วยให้หายใจโล่งขึ้น ใครที่ทํางานจําพวกโรงงาน ทอผ้า โรงเหมืองแร่ถ่านหิน มักจะสูด ฝุ่นฝ้าย ผงถ่านเข้าไปอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เมื่อนัตถุ์ยาเข้าจมูก ตัวผงยาจะเข้าไปเกาะภายในและทําให้เกิดอาการจามเพื่อขับ น้ํามูกออกมา พวกเศษใยเล็กๆ ที่ติดอยู่ ในจมูกก็จะออกมาด้วย บางคนนัตถุ์ยาเพื่อ ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ก็มี

“ยาตรีนิสิงเห เป็นยาแผนโบราณ อีกขนานที่หลายคนรู้จัก แต่มักเรียกผิดว่า ยาสตรีนิสิงเห เพราะเข้าใจว่าสรรพคุณของยาทําออกมาเพื่อสตรีโดยเฉพาะ คุณพูนพิพัฒน์แก้ไขว่าชื่อที่ถูกต้องนั้นต้อง เป็น “ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นชื่อของยันต์ชนิด หนึ่งที่คนสมัยโบราณใช้แขวนเรือนเวลา คลอดบุตรหรือเรือนผู้มีบุตรอ่อน เพื่อ ป้องกันภูตผีปีศาจและโรคภัยไข้เจ็บ

“คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่ายาตรีนิสิงเหเป็นยาสําหรับสตรีเท่านั้น เพราะสรรพคุณที่บอกต่อกันมาคือ ช่วยให้ประจําเดือนมาปกติกระชับมดลูกให้เข้าอู่ แท้จริงแล้วยาตัวนี้ เหมาะสําหรับผู้ที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพ ทุกเพศ ทุกวัย ผู้ชายก็รับประทานยา ตรีนิสิงเหได้หากรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย สมุนไพรในยาตรีนิสิงเหจะช่วยบํารุงร่างกาย ให้กลับมาสดชื่น กระปรี้กระเปร่า บํารุงธาตุ ในร่างกายให้กลับสู่ภาวะสมดุล”

พ.ศ.๒๕๕๕ – ปัจจุบัน

ยาไทยแผนโบราณ ยังคงได้รับความนิยมจากคนไทย เพราะ ผู้ผลิตมีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ยาให้มีคุณภาพและมาตรฐานขณะที่ผู้บริโภคก็บอก ต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

ของเก่าแก่อะไรที่ดีอยู่เราควรเก็บรักษาเอาไว้และช่วยปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมตามยุคสมัย เพราะดียุคนี้กับดียุคนั้นก็แตกต่างกันแล้ว ผมเชื่อว่าผู้คนจะเห็นคุณค่า ถ้าคุณ อนุรักษ์สิ่งที่ดีๆ เอาไว้

ยังมียาปัถวีที่บริษัท หมอมี ผลิตอีก ซึ่งเป็นยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยส่วนยาที่เคยผลิตในสมัยก่อนก็มี เช่น ยาธาตุน้ําแดงหมอมี ยาไส้เดือนที่มีสรรพคุณในการถ่ายพยาธิ ยากวาดแสงหมึกสําหรับกวาดคอเด็กแก้ร้อนใน นอกจากนี้ ยังมียาที่สั่งนําเข้ามาจากต่างประเทศ เช่นยาซิเน็ท (ยาดมแก้หวัดคัดจมูก) ยารีเบล (ยาหนองใน) แมกทริซ (ยาช่วยย่อย) และ บุ๊กแล็กซ์ (ยาถ่ายที่ทํารูปร่างและรสชาติ เหมือนช็อกโกแลต)

“ยาแผนโบราณหลายขนานล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา เพราะความนิยม ในการใช้ลดลง หรือมียาแผนปัจจุบันเข้ามา แทนที่ ซึ่งใช้สะดวกกว่า ให้ผลในการรักษา ที่รวดเร็วกว่า แต่ยาสี่ขนานนี้ของหมอมี คือ ยาอุทัย ยานัตถุ์ ยาตรีนิสิงเห ยาปัถวี อยู่มาได้ กว่าร้อยปี เพราะฝรั่งเขาไม่ทํายาเหล่านี้”

แม้ผู้ที่สืบทอดกิจการห้างขายยาต่อจาก หมอมี ไม่ว่าจะเป็นทายาทรุ่น ๒ และรุ่น อย่างคุณพูนพิพัฒน์จะไม่มีใครจบแพทย์หรือเภสัชกรโดยมาตรง แต่ก็สามารถดําเนินกิจการมาได้อย่างต่อเนื่องกว่า ๑๐๐ ปี ขณะที่ยาแผนโบราณของหมอมีก็ยังคงได้รับการยอมรับมาจนถึงทุกวันนี้

“ยาหมอมีเป็นที่รู้จักและได้รับความ ไว้วางใจ นั่นเพราะสรรพคุณของยาสมุนไพร และความซื่อตรงที่เรามีต่อผู้บริโภค เราคํานึงถึงผู้บริโภคเป็นสําคัญ ปัจจุบันผู้คน หันมาหาสมุนไพรมากขึ้น สมุนไพรจึงไม่เคย ตาย เพียงแต่ต้องทําให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้สรรพคุณของสมุนไพรมีฤทธิ์ออกมาตาม ที่ต้องการ ถ้าทําแบบสุกเอาเผากิน แค่ให้มี ยามาขาย แต่ไม่สนใจความปลอดภัยของ ผู้บริโภค นั่นไม่ใช่วิถีทางของหมอมี”

คุณพูนพิพัฒน์ เกษมสุวรรณ ทายาท รุ่นที่ ๓ ของหมอมี เขาพยายามอนุรักษ์ เรื่องราวต่างๆ ของหมอมีมิให้สูญหาย ก่อนส่งต่อคุณค่าให้กับรุ่นต่อๆ ไป

๓๐ ปีที่คุณพูนพิพัฒน์ดูแลกิจการ ร่วมกันกับพี่น้องด้วยความภาคภูมิใจ เราได้พยายามปรับปรุง “หมอมี” ให้เข้ากับ โลกการค้าสมัยใหม่ อย่างการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ยาแต่ละขนานของหมอมีให้ทันสมัย การขยายช่องทางการจําหน่ายเพื่อให้ผู้คนซื้อหายาหมอมีมาดูแลสุขภาพได้โดยสะดวก ตลอดจนการพัฒนาโรงงานผลิต ยาแผนโบราณ ซึ่งตั้งอยู่ในนิคอุตสาหกรรม บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้มีมาตรฐานถูกต้องตามหลัก GMP ของกระทรวงสาธารณสุข ทําให้ผู้บริโภค มั่นใจในสรรพคุณของยาสมุนไพรมากขึ้นและมองไกลไปถึงการขยายตลาดยาไทยไปทั่วทั้งอาเซียนในอนาคต

“ถึงแม้โรงงานผลิตยาของเราจะเป็นโรงงานสมัยใหม่ มีการนํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ แต่ขั้นตอนการผลิตบางอย่างเรายังคงอนุรักษ์ไว้ เช่น การอบน้ําดอกไม้ คือของเดิม ของเก่าแก่อะไรที่ดีอยู่เราควรเก็บรักษาเอาไว้ และช่วยปรับปรุง ให้ดีขึ้นกว่าเดิมตามยุคสมัย เพราะดียุคนี้ กับดียุคนั้นก็แตกต่างกันแล้ว ผมเชื่อว่าผู้คน จะเห็นคุณค่า ถ้าคุณอนุรักษ์สิ่งที่ดีๆ เอาไว้ ปัจจุบันทายาทรุ่นที่ ๔ ก็กําลังเข้ามาช่วย สืบสานกิจการของหมอมี เพราะผมคง ไม่อยู่ยงคงกระพัน หวังเพียงว่ายาของ หมอมีจะอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน”

นอกจากนี้เขายังมีแผนทําไร่สมุนไพร ของหมอมีเพื่อสร้างความมั่นใจตั้งแต่ต้นทางว่าสมุนไพรที่นํามาใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงยาจะปราศจากสารเคมีอย่างแท้จริง ควบคู่ ไปกับการคัดเลือกสมุนไพรจากแหล่งปลูก ที่เชื่อถือได้ รวมทั้งการอนุรักษ์บ้านพักของ หมอมีที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี ด้วยการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และร้าน อาหารระดับพรีเมียมที่สามารถบอกเรื่อง ราวความเป็นมาตลอด ๑๐๐ ปีของหมอมีได้เป็นอย่างดี

และนี่คือความตั้งใจของคุณพูนพิพัฒน์ทายาทหมอมีคนปัจจุบัน

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 16 / หมอมี /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ