Tuesday, May 7, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

หอไตรฯ กลางน้ํา หอเก็บดวงใจพระพุทธศาสนา

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 14
เรื่อง/ ภาพ : ธีรภาพ โลหิตกุล

หอไตรฯ วัดใหญ่สุวรรณาราม จ. เพชรบุรี

หอไตรฯ กลางน้ํา

หอเก็บดวงใจพระพุทธศาสนา

“ไตรปิฎก” เป็นคําที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ทว่าน้อยคนจะเข้าใจความหมายที่แท้ เฉกเช่นที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อรรถาธิบายไว้ในหนังสือ “พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์” ว่า หากแปลแบบพื้นๆ หรือแปลตรงตัว คําว่า “ไตรปิฎก” หมายถึง ตะกร้าหรือกระจาดทั้งสาม

ตามธรรมเนียมปฏิบัติของพระอารามในพระพุทธศาสนา จะต้องมี หอพระไตรปิฎกประจําวัดหรือพระอาราม เปรียบเทียบได้กับ “ห้องสมุด” ประจําโรงเรียนหรือชุมชน คือเป็นทั้งที่เก็บรักษาหนังสือและเป็นแหล่ง เรียนรู้ สําหรับบุคคลมาอ่านหนังสือ หรือค้นคว้าวิจัยเรื่องต่างๆ

แต่ในทางพุทธศาสนา ตะกร้าหรือกระจาดนํามาใช้ในความหมายว่าเป็นที่รวบรวมคําสอนซึ่งเป็นหมวดหมู่แล้วดังนั้น “ไตรปิฎก” จึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุ พุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธ ศาสนา) ๓ ชุด หรือ ๓ หมวด คือ

๑. พระวินัยปิฎก คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับ พระวินัยด้านความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดําเนินกิจการต่างๆ ของพระภิกษุสงฆ์

๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระสูตร คือพระธรรมเทศนา คํา บรรยายธรรมต่างๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสกับ บุคคล หรือตรัสในโอกาสต่างๆ

๓. พระอภิธรรมปิฎก คือหลักธรรมและ คําอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วย บุคคลหรือเหตุการณ์

ดังนั้น พระไตรปิฎกจึงถือเป็นหัวใจของ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หากไม่มีพระไตรปิฎก หลักธรรมคําสอนแห่งองค์พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าก็อาจผิดเพี้ยนไปได้ตามกาลเวลา หรือตามการวินิจฉัยส่วนบุคคล และ ด้วยเหตุนี้ หอพระไตรปิฎก หรือหอไตรฯ จึง มีบทบาทสําคัญยิ่งในฐานะเป็นสถานที่เก็บ รักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก อุปมาดั่ง “กล่อง ดวงใจ” ของพระพุทธศาสนานั่นเอง

ตามธรรมเนียมปฏิบัติของพระอารามใน พระพุทธศาสนา จะต้องมีหอพระไตรปิฎก ประจําวัดหรือพระอาราม เปรียบเทียบได้กับ “ห้องสมุด” ประจําโรงเรียนหรือชุมชน คือเป็นทั้งที่เก็บรักษาหนังสือและเป็นแหล่ง เรียนรู้ สําหรับบุคคลมาอ่านหนังสือ หรือ ค้นคว้าวิจัยเรื่องต่างๆ

หอไตรฯ วัดทุ่งศรีเมือง จ. อุบลราชธานี
พุทธศิลป์ผสมผสานพม่า-อยุธยา-ล้านช้าง

แต่ด้วยเหตุที่ในสมัยโบราณ การผลิต กระดาษยังไม่แพร่หลาย คนโบราณจึงบันทึกคัมภีร์พระไตรปิฎกโดยเขียนหรือจารลงใน ใบลาน ซึ่งเป็นใบของต้นไม้ที่มด ปลวก และ แมลงต่างๆ โปรดปราน ทําให้พระไตรปิฎกเสียหายจากการถูกกัดกินหรือเจาะเป็นรู จึงเกิดภูมิปัญญาคิดค้นวิธีรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎกให้ยั่งยืนยาวนานด้วยการสร้างหอพระไตรปิฎกไว้กลางสระน้ําภายในวัดตัดโอกาสที่มด ปลวก และแมลงจะไปรบกวน

หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ลายฉลุไม้เชิงชายงดงามล้ำค่า

อีกทั้งยังทําให้เกิดบรรยากาศเงียบสงบเหมาะแก่การที่ภิกษุสงฆ์สามเณรจะแสวงหา ความรู้ได้อย่างมีสมาธิ วัดบางแห่งมีสระน้ํากว้างใหญ่ จึงสร้างหอไตรฯไว้ไกลจากฝั่ง ภิกษุสงฆ์สามเณรที่จะศึกษาคัมภีร์พระไตร ปิฎกต้องให้เด็กวัดพายเรือไปส่ง แล้ว นัดหมายเวลาไปรับกลับ คล้ายตัดขาดจาก โลกภายนอกชั่วขณะ อันเป็นที่มาของคําว่า “ปลีกวิเวก”

และด้วยเหตุที่หอพระไตรปิฎกเก็บรักษา สิ่งสําคัญล้ําเลอค่าของพระพุทธศาสนา จึง นิยมออกแบบปลูกสร้างด้วยพุทธศิลป์อันประณีต วิจิตรตระการตา ด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างชั้นครู หอไตรฯ จึงกลายเป็นสถานที่ แสดงงานศิลปะชั้นเยี่ยมของแต่ละยุคสมัยอีกด้วย

หอไตรกลางน้ําที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ กันว่ามีความงดงามอลังการเป็นที่เชิดหน้าชูตาด้วยมีการทะนุบํารุง ดูแลรักษาไว้อย่างดี อาทิ หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อายุเก่าแก่ร่วม ๑๘๐ ปี สร้างในสมัยรัชกาล ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมผสมผสาน ๓ แผ่นดิน คือ หลังคาทรงปราสาท ๓ ชั้น พุทธศิลป์แบบ มอญ-พม่า ส่วนตัวอาคารเป็นเรือนฝาปะกน สี่ห้อง พุทธศิลป์แบบอยุธยา และหน้าบันทั้งสองด้านสลักเสลาอย่างวิจิตรบรรจงด้วยศิลปะล้านช้าง โดยฝีมือช่างชั้นสูงจากเวียงจันทน์

ลวดลายบ้านๆ แต่งดงาม ประดับบานหน้าต่างหอไตรฯ หนองขุหลุ
หอไตรฯ กลางน้ํา ที่หนองขุหลุ
อ. ตระการพืชผล จ. อุบลราชธานี อายุ ๙๙ ปี

วัดบางแห่งมีสระน้ํากว้างใหญ่ จึงสร้างหอไตรฯ ไว้ไกลจากฝั่ง ภิกษุสงฆ์สามเณรที่จะศึกษา คัมภีร์พระไตรปิฎกต้องให้เด็กวัดพายเรือ ไปส่ง แล้วนัดหมายเวลาไปรับกลับ คล้าย ตัดขาดจากโลกภายนอกชั่วขณะ อันเป็นที่มา ของคําว่า “ปลีกวิเวก”

หอไตรฯ วัดพระหลวง จ. แพร่ มีร่องรอยบ่งบอกว่าในอดีตเป็นหอไตรฯ กลางนํ้า

อีกแห่งหนึ่งคือ หอไตรที่หนองขุหลุ อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีเช่น กัน สร้างโดยหลวงปู่สิงห์ ท่านเจ้าอาวาสวัด โพธิ์ชัย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงมีอายุเก่าแก่ถึง ๙๙ ปีในปีนี้ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็น พุทธศิลป์แบบอีสาน ด้วยฝีมือช่างพื้นถิ่นใน ยุคนั้น

ศาลาพักร้อนที่ดัดแปลงจากอดีตหอไตรฯ กลางน้ํา วัดท้องลับแล จ. อุตรดิตถ์

ส่วนหอไตรฯ กลางน้ําในภาคกลางของ ไทยที่ได้รับการยกย่องว่าทรงคุณค่า อาทิหอไตรฯ วัดกลางบางแก้ว อําเภอนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นเรือนไม้สักทรงไทย สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ อายุกว่า ๑๒๐ ปี มี ผนังทําเป็นฝากระดานลูกฟัก หน้าบันเป็นไม้ แกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณวิจิตรตายิ่งนัก

ปัจจุบัน มีหอไตรฯ กลางน้ําจํานวนมากที่ ถูกปล่อยทิ้งร้าง ขาดการดูแลรักษา ด้วยชน รุ่นหลังไม่ตระหนักในคุณค่า ปล่อยให้ผุพัง ทรุดโทรมไปตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดาย

About the Author

Share:
Tags: วัดใหญ่สุวรรณาราม / วัดพระหลวง / พระ / แพร่ / อุบลราชธานี / วัดท้องลับแล / อุตรดิตถ์ / architecture / พุทธศาสนา / ฉบับที่ 14 / หอไตร / วัดทุ่งศรีเมือง / เพชรบุรี /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ