Thursday, May 9, 2024
ภูมิปัญญาไทย บทความแนะนำ

มีวนา ความรักษ์ • ผืนป่า • และกาแฟ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 18
เรื่อง: ฬีคารา
ภาพ: มีวนา

มีวนา

ความรักษ์ • ผืนป่า • และกาแฟ

กาแฟในถ้วยหนึ่งถ้วย อาจหมายถึงความสูญเสียหรือยั่งยืนของผืนป่าก็ได้ โดยเฉพาะหากเราไม่รู้ที่มาที่ไป เราก็แค่ดื่มกาแฟ…แต่สําหรับกาแฟบางด้วย การที่กว่าจะกลั่นกรองต้องผ่านกระบวนการมากมาย และกระบวนการแรก ที่สําคัญและมีความหมายมากกว่าการปลูกกาแฟเพื่อขาย ก็คือการคํานึงถึง ผืนป่า การคํานึงถึงชาวบ้านที่เป็นคนปลูกและดูแล รวมถึงการคํานึงถึงรสชาติ ที่หลอมรวมไว้ด้วยความสมบูรณ์ของป่า ความสวยงามของท้องฟ้า ความสดชื่นของฝน ดิน และน้ํา สิ่งต่างๆ ทั้งหมดทั้งมวลที่ล้วนอัดแน่น อยู่ในเมล็ดกาแฟก่อเกิดเป็นรสชาติที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพของกาแฟและการถนอมน้ําใจ…ธรรมชาติ

ช่วงต้นๆ ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่ากระแสภาพเขาหัวโล้นในประเทศไทยได้รับการเผยแพร่ ออกไปมาทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ว่าที่น่าน แพร่ เชียงใหม่ เชียงราย หรือบริเวณเขาใหญ่ ภาพ ภูเขาสีน้ําตาลเพราะถูกตัดไม้ทําลายป่าเป็นจํานวนมากมาย เห็นแล้วไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทําไม ปีนี้จึงมีภัยแล้งมาเยือน ทําไมปีก่อนนี้อากาศจึงร้อนหนักมาก และก็ค่อนข้างจะต้องทําใจกัน ต่อไปว่า ปีต่อๆ ไป อากาศก็ยังจะร้อนหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปอีก เพราะวิกฤตจากสภาพป่า ส่งผลสู่สภาพอากาศ และภัยต่างๆ จะยิ่งหนักมากขึ้นเรื่อยๆ หากวันนี้ยังไม่มีใครคิดจะลงมือ ทําอะไรเพื่อกู้สถานการณ์ให้สภาพป่าฟื้นคืนกลับมา

ถ้าเพียงแต่จะรู้สึกว่า มีต้นไม้…หายไปจากป่า

ต้นไม้สามารถให้ออกซิเจนเราได้ ให้เรามีอากาศหายใจ ให้ความสดชื่น ช่วยซับน้ํา ให้ความปลอดภัยจากน้ําป่า ให้อากาศบริสุทธิ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ให้ร่มเงา ให้ความร่มเย็น ให้ความสบายตา และให้ความสบายใจ

จากข้อมูลสถิติการสํารวจพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย นับจากปี ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการ จัดทําสถิติป่าไม้พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ ๑๗๑.๐๒ ล้านไร่ หรือร้อยละ ๕๓.๓๓ ของ พื้นที่ประเทศ แต่ในปี ๒๕๕๗ จากการสํารวจกลับพบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าเหลือเพียง ๑๐๒.๒๘ ล้านไร่ หรือร้อยละ ๓๑.๖๒ ซึ่งจํานวนตัวเลขของพื้นที่ป่าที่หายไปนั้น แม้คนไม่เก่ง เลขอย่างเราก็ต้องบอกว่าไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว เพราะสําหรับคนรักป่า รักต้นไม้ ไม่ต้องพูดถึงคําว่าเป็นล้านล้านไร่ แค่ต้นไม้สักต้นเดียวหายไป…ใจก็หายแล้ว

ซึ่งการหายไปของพื้นที่ป่าจํานวนหลายล้านนั้น บัดนี้ก็ได้ส่งผลนานัปการ ดังที่หลายคนคง สัมผัสได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน แห้งแล้ง รวมทั้งยังส่งผลกระทบอย่างถาวร ต่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ อันนํามาสู่ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่ส่งผลมายัง มนุษย์โดยตรงในที่สุด ตรงจุดนี้เมื่อมีกลุ่มผู้หวังดีคิดจะรักษ์พิทักษ์ป่า จึงทําให้เกิดโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่ามีวนาขึ้นมา เพื่อทําการริเริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกกาแฟ ใต้ร่มไม้ในผืนป่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ําในจังหวัดเชียงราย ควบคู่ไปกับการ ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรและส่งเสริมการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ตรงจุดนี้เรียก ได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่จะทําให้เกษตรกรและชาวบ้านในชุมชนเกิดความหวงแหน มีความรักป่าและร่วมกันฟื้นฟูป่าให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์ แม้จะเป็นในจํานวนเพียงส่วนหนึ่งในล้านของพื้นที่ป่าทั้งหมดก็ยังดี

ต้นกาแฟที่ปลูกใต้ไม้ใหญ่ปกคลุมอีกทีจะมีความสมบูรณ์ที่สุด
การเก็บกาแฟด้วยความประณีตคือเก็บทีละเมล็ด คัดเลือกเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์

ป่าไม้อยู่ที่ไหน มีลมหายใจอยู่ที่นั่น

มีใครบ้างที่รู้สึกว่าการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ความรู้สึกดีกว่านั่งอ่านหนังสือใต้ร่มไม้ ถ้าเช่นนั้น บางทีคุณอาจต้องเริ่มออกไปเดินป่าดูบ้างแล้วล่ะ เพราะน่าจะเป็นวิธีเดียวที่ทําให้เรา ใกล้ชิดธรรมชาติ เห็นความสําคัญ และหลงรักต้นไม้ได้มากยิ่งขึ้น…และไม่ใช่เพียงแต่มนุษย์ ที่จะรู้สึกดีกับต้นไม้ใหญ่ ต้นกาแฟก็เช่นกัน

กาแฟอินทรีย์รักษาป่ามีวนา เป็นกาแฟออร์แกนิกพันธุ์อาราบิก้าที่ปลูกภายใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ (Shade Grow) ในพื้นที่ป่าบนภูเขาที่มีความสูงเหนือระดับน้ําทะเลตั้งแต่ ขึ้นไป และควบคุมการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ด้วยวิธีการที่ปราศจากสารพิษทุกขั้นตอน ซึ่งการปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ใหญ่นั้นไม่จําเป็นต้องตัดไม้ทําลายป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ในทางตรงกันข้าม กลับต้องพยายามปลูกต้นไม้ใหญ่ขึ้นมาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความร่มเงาและความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศแก่พื้นที่เพาะปลูกทําให้ผลผลิตที่ได้คือเมล็ดกาแฟคุณภาพสูงรสชาติเข้มข้น และมีกลิ่นหอมกว่ากาแฟที่ปลูกกลางแจ้งโดยไม่มีร่มเงาปกคลุม

ทั้งนี้เนื่องจากการเติบโตที่เป็นไปตามธรรมชาติทําให้เมล็ดกาแฟดูดซึมสารอาหารในดินได้ดีนอกจากนั้นยังมีความพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก กระบวนการเก็บที่ใช้วิธีเก็บด้วยมือ ทีละเมล็ดเลยทีเดียว ไปจนถึงการนําเมล็ดกาแฟที่เก็บได้มาคั่วภายใน ๒๔ ชั่วโมงเพื่อคงคุณค่า สารอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในเมล็ดกาแฟไว้ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ทําให้ผู้บริโภคจะได้ดื่มกาแฟ ออร์แกนิกที่มีความหอมเฉพาะตัว โดยนักคั่วกาแฟที่ผ่านการอบรมการคั่วกาแฟจาก SCAE แห่งสหภาพยุโรป เพื่อให้ได้กาแฟที่มีกลิ่นหอม รสชาติกลมกล่อมลงตัว อันเป็นเอกลักษณ์ของ กาแฟมีวนา ที่ยังคงรสชาติเข้มเต็มรสจากธรรมชาติไว้ได้อย่างหอมหวนอวลกลิ่นในทุกอณู และที่สําคัญ ผู้ดื่มยังจะได้สัมผัสความสุนทรีจากป่า ด้วยการได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์ ธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกด้วย

เมื่อป่าสมบูรณ์ น้ําสมบูรณ์ ย่อมมีผลผลิตที่ดี

จุดเริ่มต้นดี ผลลัพธ์ย่อมดีตามมา

ย้อนไปดูต้นกําเนิดของโครงการมีวนา กาแฟอินทรีย์รักษาป่า เนื่องมาจากกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากพันธกิจของโครงการนี้จึงเข้ามาให้การสนับสนุน ด้วยความตั้งใจที่จะร่วมเป็นอีกหนึ่งกลไกในการสร้างความยั่งยืนของป่าต้นน้ําและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเชื่อในพลังของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนว่าจะสามารถขยายผลการอนุรักษ์ป่าต้นน้ําในประเทศไทยได้มากยิ่งขึ้น และยังเสริมสร้างชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ ที่เหมาะสม สามารถอยู่ร่วมกับป่าไม้และธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน และยังเป็นการสร้างต้นแบบ ในการประกอบธุรกิจที่จะสร้างความสําเร็จได้ทั้งภาคธุรกิจและสังคม รวมทั้งสร้างแรงบันดาล ใจและความร่วมมือทั้งจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ผืนป่าของประเทศไทยเราไว้ได้….ด้วยกาแฟหนึ่งแก้ว

ถ้าพูดถึงเรื่องธุรกิจ ตรงจุดนี้ คุณวิเชียร พงศธร กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ กล่าวว่า “ผมอยากเห็นภาคธุรกิจและสังคมโดยรวมมีความเชื่อร่วมกันว่า การประกอบธุรกิจที่สร้างคุณค่าคืนสู่สังคมเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้จริง รวมทั้งผู้บริโภคยังสามารถมีส่วนร่วมในการนําส่งคุณค่านั้นผ่านการสนับสนุนสินค้าหรือบริการ ดังตัวอย่างของโครงการกาแฟอินทรีย์รักษา ป่ามีวนา โครงการนี้ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แม้รายได้ของโครงการได้จากการจําหน่ายกาแฟ แต่ขณะเดียวกัน กระบวนการทั้งหมดของ มีวนาได้คํานึงถึงประโยชน์โดยรวมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นตัวธุรกิจเอง เกษตรกร รวมถึงผู้บริโภคและสังคมโดยรวม ทําให้กระบวนการทั้งหมดสร้างรูปแบบการอนุรักษ์ขึ้นมาโดยปริยาย

“ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการอนุรักษ์ป่าต้นน้ําอันเปรียบเสมือนโรงงานผลิตน้ําของเราทุกคนอย่างยั่ง นอกจากนี้ยังทําให้เกษตรกรในโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการที่เรารับซื้อเมล็ดกาแฟ ในราคาที่เป็นธรรม และการให้ความรู้และเริ่มการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเองก็จะได้รับประโยชน์ เพราะได้บริโภคกาแฟออร์แกนิกแท้ๆ คุณภาพดี และมี ส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ําและในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่อย่าง ยั่งยืน ทําให้ทุกคนในห่วงโซ่ธุรกิจนี้ได้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าสู่สังคม ไปพร้อมๆ กัน”

นี่คือหนึ่งเรื่องราวของการร่วมอนุรักษ์พื้นที่ป่า พื้นที่ซึ่งเหลืออยู่น้อยลงทุกทีๆ ในประเทศไทย เรา ที่แม้จะเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กๆ จากสภาพป่าที่หายไปในบ้านเรา แต่ด้วยแนวคิดดีๆ ที่อาจจะทําให้มีหลายคนได้ฉุกคิด ได้ตระหนักถึง และได้มีโอกาสสัมผัสสิ่งที่พวกเราได้ประโยชน์ จากป่า แม้เพียงลมหายใจที่ทําให้ใครบางคนรู้สึกดีกับธรรมชาติ และรู้สึกดีกับชีวิตที่ธรรมชาติ

ผลผลิตที่ดี นํามาซึ่งรอยยิ้มและความสุขของเกษตรกรยิ้ม
คุณธีรสิทธิ์ และชาวบ้านในพื้นที่ จ. เชียงราย

ก่อนจะมี มีวนา

คุณธีรสิทธิ์ อมรแสนสุข กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท กรีนเนท เอสอี จํากัด ผู้ริเริ่ม โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า “มีวนา”กล่าวว่า “เริ่มจากเรามีโอกาสได้ไปสัมผัส ความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่บ้านขุนลาว จังหวัดเชียงรายแล้วรู้สึกประทับใจ จึงมี แนวคิดที่ต้องการรักษาป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยไม่ต้องการให้เกิดการเผาหรือแผ้วถางรุกล้า เราจึงมาคิดว่าจะทําอย่างไรให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างพึ่งพาอาศัยกันซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นมีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะแก่การปลูกกาแฟ ทั้งเรื่องความสูงจากระดับนํ้าทะเล เรื่องของดินที่เป็นดินภูเขาไฟในอดีต รวมทั้งผู้นําชุมชนที่มีแนวคิดตรงกับเราที่ต้องการรักษาป่าผืนนี้ไว้”

จากเดิมที่เกษตรกรในพื้นที่จะปลูกต้น เสาวรสที่ต้องเปิดพื้นที่ป่าให้โล่งเพื่อรับแสงแดดเต็มที่ แต่ “เราเข้าไปส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องการปลูกกาแฟในป่าให้เกษตรกรแทนการปลูกเสาวรส เราบอกพวกเขาว่ากาแฟเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาสูงถึงร้อยละ ๕๐ ดังนั้นคุณสามารถปลูกกาแฟได้โดยที่ไม่ต้องไปทําลายและบุกรุกป่า ยิ่งถ้าปลูกกาแฟ

ใต้ร่มเงาป่าเยอะเท่าไร ผลผลิตกาแฟยิ่งจะมีคุณภาพดี ต้นกาแฟจะแข็งแรง ระบบนิเวศในป่าก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเมื่อป่าสมบูรณ์ห่วงโซ่อาหารในป่าก็จะดีขึ้น ซึ่งในความเป็นธรรมชาตินั้น ถ้าผู้คนไม่ไปบุกรุกทําลายเพิ่มเติม ความสมดุลและสมบูรณ์ของป่าก็จะฟื้นตัวด้วยตัวมันเอง ผลผลิตที่ได้ก็จะมีความสมบูรณ์ ซึ่งกาแฟที่สมบูรณ์จะมีทั้งกลิ่นและรสชาติที่กลมกล่อม ทั้งหมดนั้นได้มาจากธรรมชาติโดยไม่มีสารเคมีเจือปน”

และด้วยวิธีการปลูกแบบธรรมชาติ ไม่ ใช้สารเคมี กาแฟจากป่าของมีวนาจึงเป็นกาแฟที่จะสุกช้ากว่ากาแฟที่ปลูกทั่วไปประมาณ ๒ สัปดาห์ ความหมายคือ ผลกาแฟ ก็จะสามารถสะสมสารอาหารให้กับเมล็ดกาแฟ ได้นานขึ้นอีก ๒ สัปดาห์ ทําให้ทั้งกลิ่นและรสชาติของกาแฟยิ่งมีคุณภาพมาก และด้วย ความเอาใจใส่ในเรื่องของคุณภาพของการผลิตกาแฟมีวนานี้ ก็ทําให้ได้รับรางวัลเกษตรอินทรีย์จากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM: International Fedration of Organic Agriculture Movements) ที่รับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ของโครงการ ส่งเสริมกาแฟอินทรีย์รักษาป่า “มีวนา”

About the Author

Share:
Tags: ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม / สัตว์ป่า / ต้นไม้ / ป่า / กาแฟ / ฉบับที่ 18 / มีวนา /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ