Friday, May 17, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ความงดงามแห่งวิถี ซามูไร

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 5
เรื่อง: สริตา อุรุพงศาภาพ
ภาพ: ถกลเกียรติ โกศลกุล, ปิยนันท์ เกียรตินฤยุทธ

ความงดงามแห่งวิถี

ซามูไร

พอล (Pavel Sherashov) ใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ในครอบครัวฐานะปานกลางในยุคที่รัสเซียปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์นั้น ส่งผลให้ชาวรัสเซียใช้ชีวิตในกรอบถูกปิดกั้นอิสระ และมีข้อห้ามมากมาย รวมทั้งห้ามนับถือศาสนาใดๆ “จากเด็กอายุประมาณ ๑๓-๑๔ ปี ไม่ได้มีที่ยึดเหนี่ยวอะไร ใช้ชีวิตตามเส้นที่ขีดไว้”

วันหนึ่งผมเข้าร้านหนังสือ แล้วพบหนังสือเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์และพุทธ ก็เกิดสนใจในแก่นสารของศาสนาประกอบกับได้พบนักบวชพราหมณ์-ฮินดู ที่มาแพร่เผยศาสนาในรัสเซีย ผมเลยขอเงินทางบ้านซื้อหนังสือมาค้นคว้าเพิ่มเติม” เมื่อใจเริ่มเปิดกว‡าง ความเชื่อและแรงศรัทธาในศาสนาก็ตามมา ระหว่างนั้นพอลได้ยินกิตติศัพท์ รวมทั้งประวัติเกี่ยวกับ ซามูไร ที่อุทิศจิตวิญญาณตัวเองให้กับเจ้านาย เขาก็เริ่มสนใจที่จะเรียนรู้วิถีของซามูไรให้มากขึ้น

พอลศึกษาเกี่ยวซามูไรเพิ่มเติมจากหนังสือ Hagakure : The Book of the Samurai ไบเบิลของซามูไรอันเก่าแก่ในศตวรรษที่ ๑๘ หนังสือกล่าวถึงวิถีของซามูไร ตามหลักลัทธิบูชิโด (ลัทธิที่ผสานระหว่างแนวคิดแบบชินโต และขงจื้อ) กล่าวคือ วิถีแห่งนักรบที่เหล่าซามูไรยึดมั่น “Bushido is a way of dying” หรือ บูชิโดคือวิถีแห่งความตาย คือประโยคที่เป็นดั่งบทสรุปใจความของหนังสือ ฮากาคูเระ ซึ่งประพันธ์โดย ยามาโมโตะ สุเนะโตโมะ (Yamamoto Tsunetomo) ผู้ที่หลังจากเป็นซามูไร รับใช้อย่างซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และจงรักภักดีต่อกลุ่มนาเบชิมะอยู่หลายปี เมื่อเจ้านายเสียชีวิตลง เขาได้วางอาวุธ แล้วตัดสินใจบวชเข้าสู่ร่มเงาพุทธศาสนา และเปลี่ยนชื่อเป็น Yamamoto Jocho

ความหลงใหลของพอลต่อซามูไรเริ่มมีมากขึ้นหลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบ “ปรัชญาของซามูไร มันดึงดูดผมให้เข้าหา ค้นคว้าจนหลงใหลในวิถีแห่งซามูไร การละทิ้งอีโก้ทิ้งตัวตน และอุทิศทุกสิ่งอย่างให้กับผู้อื่นซามูไรถือว่าการมีชีวิตอยู่และตายเพื่อเจ้านายคือเกียรติยศอันสูงสุด เหมือนที่หลักปรัชญาแห่งบูชิโดกล่าวไว้ว่า ความตายเป็นสิ่งเบาบางยิ่งกว่าขนนก เพราะสัตว์โลกนั้น เกิดและตายอยู่ตลอดเวลา”

พอลศึกษาแนวทางของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประกอบไปกับวิถีซามูไร จนกระทั่งขออนุญาตครอบครัวออกบวชในวัยเพียง ๑๕ ปี “ผมบวชเรียนอยู่ที่อินเดีย ๗ ปี เรียนหนังสือไปด้วย เรียนหลักศาสนาไปด้วยจากนั้น กลับไปรัสเชียตอนอายุ ๒๒ ปี ด้วยความที่สนใจศิลปะอยู่แล้ว จึงอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับศิลปะ ผมเริ่มจากนำภาพศิลปะ-ภาพเขียนของศิลปินชาวอินเดีย มาเสนอแกลเลอรี่ที่เมืองไทย” เริ่มต้นจากการมาไทยเพื่อทำธุรกิจ ปัจจุบันพอลอยู่เมืองไทยมา ๑๘ ปีเขายังคงนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นมังสวิรัติมาแล้วกว่า ๒๕ ปี และใช้เวลาว่างเป็นผู้สอนด้านจิตวิญญาณให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ ณ สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งที่เชียงใหม่

ด้วยความที่ดำรงชีพเป็นอาร์ตดีลเลอร์ทำให้พอลมีโอกาสไปทำการค้าศิลปะที่ญี่ปุ่นจนได้ใกล้ชิดกับอาวุธโบราณ และข้าวของจากในยุคซามูไรมากขึ้น เวลา ๑๗ ปีกับการสะสมปัจจุบันพอลเป็นเจ้าของคอลเล็กชั่นศิลปะ ซามูไร ทั้งชุดเกราะ ชุดอาวุธ และรูปปั้น อยู่กว่า ๗๐๐ คอลเล็กชั่น ที่จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์และแกลเลอรี่ศิลปะทั่วโลก และ มีนิทรรศการประจําปี จัดแสดงในชื่อชุด Samurai! ในพิพิธภัณฑ์ Museum of Fine Arts ที่บอสตัน สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ในปี ๒๐๐๘ จวบจนปัจจุบัน

“เวลา ๑๗ ปีกับการสะสม ปัจจุบันพอลเป็นเจ้าของคอลเล็กชั่นศิลปะซามูไร ทั้งชุดเกราะ ชุดอาวุธและรูปปั้น อยู่กว่า ๗๐๐ คอลเล็กชั่นที่จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์และแกลเลอรี่ศิลปะทั่วโลก”

ซะมุไร มีต้นกําเนิดจากคําว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคํานาม ในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่หมายถึงคนรับใช้ ต่อมา คนไทยนิยมเรียกว่า “ซามูไร”

พอลเล่าย้อนให้ฟังถึงครั้งแรกที่ได้จับดาบ ซามูไรของจริง เป็นดาบที่ผ่านสงครามมาจาก ศตวรรษที่ ๑๔ และมีอายุ ๖๐๐ กว่าปี “แค่ เพียงสัมผัส ก็มีแสงแฟลชวาบขึ้นมาในหัว ผมวางลงเลย ตอนนั้นรู้เลยว่า เราไม่มีพลังพอที่จะไปจับของทรงพลังแบบนั้น” หลังจากเหตุการณ์นั้น อีกไม่กี่ปีถัดมา พอลก็กลับไปหลงใหลในดาบซามูไรอีกครั้ง เมื่อเขาพบดาบ ที่ประดิษฐ์ขึ้น ในช่วงระหว่างปี ๑๖๐๘-๑๔๖๗ “ในช่วงสงคราม จํานวนการผลิตสําคัญกว่า คุณภาพของอาวุธ แต่ยามไร้สงครามกลับตรง กันข้าม ช่วงเกือบสามร้อยปีที่ญี่ปุ่นสงบสุขและไม่มีสงคราม ทําให้ไม่จําเป็นต้องเร่งผลิต อาวุธออกมา การออกแบบที่ไม่ได้เน้นไปที่การ ใช้งาน ทําให้ช่างฝีมือมีเวลาพิถีพิถันในการ ประดิษฐ์เสื้อเกราะและอาวุธ ให้กลายเป็นศิลปะ ชั้นยอดขึ้นมา”

การสะสมของโบราณทรงคุณค่า เต็มไป ด้วยศิลปะอันสูงส่ง ทั้งยังผ่านประวัติศาสตร์และกาลเวลามาหลายร้อยปี ทําให้พอลต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกเฟ้นเจ้าของ “หากเป็นคอลเล็กชั่นที่ขาย ผมต้องมั่นใจอย่างหนึ่งว่าของต้องไปอยู่ในมือคนที่ใช่ อย่างแรกเลย ต้องวิเคราะห์ผู้ซื้อก่อนว่าเป็นใคร สะสมอะไรบ้างคอลเล็กชั่นเขาเป็นอย่างไร ผมต้องมั่นใจว่าเขาจะดูแลของที่เรารักและทะนุถนอม ของที่มีอายุเป็นร้อยๆ ปีได้ เพราะมันมีปัจจัยมากมายในการดูแลรักษา การดูแลก็คือศาสตร์อย่างหนึ่ง ส่วนคอลเล็กชั่นที่มีคุณค่าทางจิตใจ ผมก็จะ เก็บไว้” พอลพูดถึงชิ้นที่เขารักมากที่สุด นั่น คือ คอลเล็กชั่นชุดเกราะของผู้ทรงอิทธิพล นักรบ และผู้นําในตํานาน ที่รวบรวมญี่ปุ่นให้ เป็นปึกแผ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงะกุ อย่าง โอะดะ โนะบุนะงะ (Oda Nobunaga)

ในหนังสือ Hagakure : The Book of the Samurai กล่าวถึงกฎของ ซามูไร ประกอบไปด้วยคุณธรรมเจ็ดข้อได้แก่ เที่ยงธรรม
กล้าหาญ
เป็นประโยชน์
เคารพ
ซื่อสัตย์
มีเกียรติ
ภักดี

ว่ากันในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างซามูไรกับประเทศสยาม แท้จริงแล้ว ดาบของนักรบ ตําแหน่งชั้นสูงของไทยสมัยโบราณ ก็เป็นใบดาบคาตานะที่ทําขึ้นที่ญี่ปุ่น รวมทั้งในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ก็มีคนไทยเพียงหนึ่งเดียวที่สะสมศิลปะซามูไร และมีคอลเล็กชั่นมากที่สุดในประเทศ “จริงๆ ผมว่าเขาอาจจะมีคอลเล็กชั่นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยก็ว่าได้” พอลกล่าวคนไทยคนนั้นก็คือ ดอยธิเบศร์ ดัชนี (บุตรชายคนเดียวของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี) ผู้ที่วางแผน จะเปิดพิพิธภัณฑ์ Samurai Art ที่เชียงราย

สองโครงการปัจจุบันของพอลที่อยู่ระหว่างดําเนินการ คือการจัดแสดงนิทรรศการซามูไร เปิดตัวครั้งแรกที่ฮ่องกง ส่วนอีกโครงการ วางแผนจะจัด ณ ห้างสรรพสินค้า ดังใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยเป็นนิทรรศการ ซามูไรขนาดเล็กแบบอินเตอร์แอ็กทีฟ ให้ผู้ชม เข้ามาเรียนรู้ศาสตร์แห่งวิถีซามูไรแบบสนุกๆ อย่างเช่น ได้ลองใส่ชุดเกราะซามูไร ได้ลองใส่ กิโมโน หรือแต่งหน้าแบบเกอิชา


ชมของโบราณศิลปะซามูไร ได้ในโชว์รูมที่สวนจตุจักร โครงการ ๑ หรือติดต่อผ่านร้าน Loft Life ที่จตุจักรพลาซ่าโซน B ซอย ๔

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 5 / ซามูไร / Pavel Sherashov / Yamamoto Tsunetomo /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ