Monday, May 6, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

ความสุขที่แท้ สะแกกรัง

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 10
เรื่อง: นิภาพร ทับหุ่น
ภาพ: กิตตินันท์ รอดสุพรรณ

ความสุขที่แท้

สะแกกรัง

ท่ามกลางสังคมที่แสนอึกทึก มีมนุษย์จำนวนไม่น้อยออกเดินทางเพื่อตามหาความเงียบ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้พบกับสิ่งนั้น ในเมืองเล็กๆที่มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีความง่ายงามและมีความสงบเงียบแบบที่หลายคนตามหา

จะเรียกว่าเป็น “ชุมชนเรือนแพ” แห่งสุดท้ายในประเทศไทยก็คงไม่ผิดนัก สำหรับชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนผิวน้ำผืนกว้างของแม่น้ำสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่าย กอปรกับความเคลื่อนไหวของสายน้ำที่เนิบช้า ทำให้ อุทัยธานี กลายเป็นเมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา และเป็นปลายทางที่หลายคนตามหาจริงๆ

สายเลือดเส้นใหญ่ของชาวอุทัยธานีที่มีชื่อเรียกว่า “สะแกกรัง” นั้น เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาโมโกจูในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร แม่น้ำสายนี้ไหลเอื่อยๆ ผ่านอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนจะเข้าสู่จังหวัด อุทัยธานีที่อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอทัพทันและอำเภอเมือง กระทั่งบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยมีความยาวทั้งสิ้นราว ๒๒๕ กิโลเมตร

สะแกกรัง หรือที่ชาวจีนเรียกว่าซักเกี๋ยกั้ง เป็นตลาดทางน้ำที่คึกคักมาแต่โบราณ โดยมีข้าวและซุงเป็นสินค้าสำคัญ พ่อค้าชาวจีนจึงพากันมาตั้งยุ้งฉางและเรือนพักอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรังจนอุทัยธานีกลายเป็นศูนย์กลางการซื้อขายทางน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคกลาง

เกือบปลายสุดของสายน้ำเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวแพที่อยู่อาศัยกันมาเนิ่นนานหลายชั่วอายุคน แม้ปัจจุบันจำนวนเรือนแพบนแม่น้ำสะแกกรังจะลดลง หากทว่าวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำก็ยังเป็นภาพเจนตาที่ทุกคนสามารถสัมผัส

สะแกกรัง หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ซักเกี๋ยกั้ง เป็นตลาดทางน้ำที่คึกคักมาแต่โบราณโดยมีข้าวและซุงเป็นสินค้าสำคัญ พ่อค้าชาวจีนจึงพากันมาตั้งยุ้งฉางและเรือนพักอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง จนอุทัยธานีกลายเป็นศูนย์กลางการซื้อขายทางน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคกลาง วันนี้อาจไม่มีภาพนั้นให้เห็นแต่ตลาดบกที่เป็นตลาดเช้าของชาวอุทัยธานีก็เพียบแน่นไปด้วยสินค้าและผู้คนที่เดินทางมาจับจ่ายซื้อของ

คนละฝั่งแม่น้ำตรงข้ามตลาดคือที่ตั้งของวัดอุโปสถาราม หรือวัดโบสถ์มโนรมย์ แต่ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่า “วัดโบสถ์” สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในวัดมีโบราณสถานที่ทรงคุณค่ามากมาย อาทิ เจดีย์เก่าแก่ ๓ องค์ที่เป็นสถาปัตยกรรมของ ๓ ยุค คือสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ หลายคนอาจสะดุดตากับมณฑปแปดเหลี่ยมที่ตั้งตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง โดยรูปทรงของมณฑปเป็นอาคารแบบตะวันตก ๒ ชั้น มีบันไดวนอยู่ด้านนอก ซุ้มหน้าต่างเป็นลวดลายปูนปั้นสวยงาม และริมน้ำใกล้กันมี “แพที่ประทับ” ที่สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาอยู่

ด้วยเพราะมีชาวจีนอาศัยอยู่มาก บ้านเรือนละแวกตลาดจึงมีสถาปัตยกรรมของความเป็นจีนผสมผสานอย่างที่ ตรอกโรงยา ซึ่งเปิดเป็นถนนคนเดินในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็มีร้านค้าเก่าแก่ของชาวจีนอยู่ แต่ถ้าเลียบลำน้ำไปตามถนนศรีอุทัยจะพบ พิพิธภัณฑ์ฮกแซตึ้ง ที่เคยเป็นสำนักกินเจชื่อ “ฮกฮันตั๋ว” มาก่อน กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซินแสเล็ก แซ่ลี้ได้เปิดเป็นร้านขายยาจีน จึงเปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ฮกแซตึ้ง”

ปัจจุบันร้านขายยาปิดตัวลง แต่เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยโครงสร้างของอาคารเป็นบ้านไม้สักแบบจีนอายุกว่าร้อยปี ก่อสร้างเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้หลังคาทรงปั้นหยา ชั้นล่างเป็นร้านขายยาสมุนไพรจีน ส่วนชั้นบนเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ใช้เป็นศูนย์กลางพบปะสังสรรค์และจัดงานรื่นเริงต่างๆ

อุทัยธานีเป็นเมืองเล็กๆ ที่เงียบงามหากจะมีเสียงดังบ้างก็คงเป็นเสียงตีมีดของช่างตีมีดโบราณแห่ง ร้านสองเจริญที่สืบทอดภูมิปัญญาการตีมีดมาเนิ่นนานแม้วันนี้ช่างทั้งสองจะอายุมาก สมควรหยุดพักร่างกาย แต่พวกเขาก็ยังมีความสุขทุกๆ วันกับกิจกรรมที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ

อุทัยธานีเป็นเมืองเล็กๆ ที่เงียบงาม หากจะมีเสียงดังบ้างก็คงเป็นเสียงตีมีดของช่างตีมีดโบราณแห่ง ร้านสองเจริญ ที่สืบทอด ภูมิปัญญาการตีมีดมาเนิ่นนาน แม้วันนี้ช่างทั้งสองจะอายุมาก สมควรหยุดพักร่างกาย แต่พวกเขาก็ยังมีความสุขทุกๆ วันกับกิจกรรมที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ

ว่ากันถึงเรื่องภูมิปัญญาแล้ว จะไม่เอ่ยถึงการทําธูปที่ บ้านตะนาว อาจเรียกว่ามองข้ามความสําคัญของชุมชนชาวจีนในเมืองนี้ไปเพราะชาวบ้านที่นี่สืบถ่ายการทําธูปมาจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากประเทศจีน แน่นอนว่าธูปคือเครื่องไหว้ที่สําคัญ ต่อเมื่อมีการวิจัยว่าควันของธูปก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทางร่างกาย ชาวบ้านจึงคิดทําธูปไร้ควัน และย้ายสถานที่ทําธูปไปอยู่ที่เกาะเทโพ อันเป็นเกาะปลายทางของแม่น้ําสะแกกรัง

เสียงหัวใจที่ดังระรัวไม่ได้มาจากความโกลาหลของสังคมภายนอก หากแต่เป็นความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทแยงมุมขึ้นไปตามบันได ๔๔๙ ขั้นที่นําไปสู่ยอดเขาสะแกกรัง จากบนนั้นสามารถมองเห็นวิวแม่น้ําสะแกกรังได้อย่างชัดเจน

เสียงหัวใจที่ดังระรัวไม่ได้มาจากความโกลาหลของสังคมภายนอกหากแต่เป็นความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทแยงมุมขึ้นไปตามบันได ๔๔๙ ขั้นที่นําไปสู่ยอดเขาสะแก กรัง จากบนนั้นสามารถมองเห็น วิวแม่น้ําสะแกกรังได้อย่างชัดเจน

ความสําคัญของเขาสะแกกรังคือเป็นที่ตั้ง ของ วัดสังกัสรัตนคีรี วัดเก่าแก่คู่เมือง อุทัยธานี ภายในวิหารของวัดมีพระพุทธมงคล ศักดิ์ประดิษฐานอยู่ ส่วนบริเวณมณฑปก็เป็น ที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทจําลอง และที่นี่เองที่เป็นสถานที่ประกอบพิธีตักบาตรเทโว ประเพณีสําคัญของพุทธศาสนิกชน โดย จะมีพระสงฆ์กว่าร้อยรูปเดินบิณฑบาตลงมาจากยอดเขาสะแกกรัง นับเป็นภาพศาสนกิจ ที่สวยงามที่สุดภาพหนึ่ง

แน่นอนว่าความเงียบมีอิทธิพลต่อสิ่งมี ชีวิตทุกชนิดบนโลก โดยเฉพาะมนุษย์ เพราะ ความเงียบทําให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างได้อย่างมากมาย

บางคนเกลียดกลัวความเงียบที่เป็นดั่งอสูรร้ายตามหลอกหลอน แต่ก็เพราะความ เงียบเช่นกันที่ทําให้หลายคนผ่อนคลาย จึงไม่ แปลกหากจะมีมนุษย์บางคนถามหาความ เงียบ และออกเดินทางเพื่อหวังว่าสักวันจะได้พบเจอ

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 10 / Sakae Krang / สะแกกรัง / อุทัยธานี /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ