Sunday, May 19, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ปักดิ้ง…ประณีตศิลป์แห่งราชสำนักหลวงพระบาง

ตราสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์

         ไม่เพียงเท่านี้เรื่องราวของเสื้ออาภรณ์ยังมีอีกมุมหนึ่งที่เราอาจคิดไม่ถึงกันคือ “คำพร” ในรูปของสัตว์มงคลที่ปักลงบนผืนผ้า เพื่อให้ผู้สวมใส่ประสบแต่สิ่งที่ดีงาม เป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากประเทศจีน เช่น

         “ตัวลวง” ไม่ได้หมายถึงหลอกลวงนะ แต่มาจากคำจีนว่า “หลง” ที่หมายถึงมังกร ไม่เพียงหมายถึงพลังอำนาจของเพศชาย แต่ยังหมายถึงสติปัญญาด้วย

         “ค้างคาว” หมายถึง ความโชคดี

         “ผีเสื้อ” หมายถึง อายุยืน หากเป็นผีเสื้อที่อยู่คู่ดอกไม้ หมายถึง ความรัก และชีวิตแต่งงานที่มีความสุข

         ตัวอักษรจีนคำว่า “ลก” หมายถึง บุญบารมี ฐานะที่มั่งคั่ง มีลูกหลานสืบทอดวงตระกูล

         คำพรบนอาภรณ์นี้สันนิษฐานว่ามาพร้อมกับการเจริญสัมพันธไมตรีทางการค้า โดยการนำเข้าผ้าแพร ในลักษณะที่ใช้เป็นวัตถุแลกเปลี่ยนเงินตรา คล้ายกับชาและฝิ่น

หากประเทศจีนดูยศศักดิ์จากจำนวนเล็บของมังกรที่ปักบนชุดแล้ว สำหรับล้านช้างร่มขาวจะต้องดูที่จำนวนนาค โดยจำนวนนาคที่ปัก ๕ ตัว สำหรับคนธรรมดา ปักนาค ๗ ตัว สำหรับเชื้อพระวงศ์ ปักนาค ๙ ตัว สำหรับเจ้ามหาชีวิต และ ปักนาค ๑๒ ตัว สำหรับพระสังฆราช
การปักดิ้งบนเครื่องแต่งกายโขนที่นำมาแสดง คือ  ห้อยหน้าหรือชายไหว (ผืนกลาง) และ เจียระบาดหรือชายแครง (ผืนริมซ้าย-ขวา)

         แสงตกกระทบเส้นไหมทองคำทอประกายวาววามราวกับจะส่งมอบพลังชีวิตให้กับผู้สวมใส่ เจ้านิดใช้ปลายนิ้วไล้ไปบนลวดลายปักดิ้งบนชุดสมเด็จแม่ของท่านอย่างเบามือ ก่อนจะเล่าถึงเมื่อครั้งที่โครงการ The Quiet in the Land จัดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มีการเชิญศิลปินผู้ลี้ภัยชาติต่างๆ มาทำงานศิลปะร่วมกับท้องถิ่นเป็นเวลา ๔ ปี เมื่อจบโครงการแล้วท่านจึงได้ตัดสินใจที่จะอยู่หลวงพระบางต่อ

         บัดนี้ในวัยใกล้ ๗๐ ปี ท่านยังมีความปรารถนาที่จะตั้งมูลนิธิ และจัดให้มีการประชุมสัมนาเชิงปฏิบัติการและแฟชั่น รวมถึงเรื่องการเย้บปักถักร้อยในหลวงพระบางสำหรับชาวบ้านด้วย

About the Author

Share:
Tags: ปักดิ้ง / หลวงพระบาง / ลาว / ปัก / ปักผ้า /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ