Sunday, May 19, 2024
จดหมายเหตุ ๖,๐๐๐ ปี วนอุทยานภูหัน-ภูระงำ

จดหมายเหตุ ๖,๐๐๐ ปี วนอุทยานภูหัน-ภูระงำ

Apr 17, 2024
You’ve got mail! เสียงเตือนว่ามีจดหมายอิเลคโทรนิคส์มาถึง ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังไม่มีตัวอักษรใช้ มนุษย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ อย่างไรนะ ป่าฤดูแล้งจะพาเราไปพบคำตอบนั้น… เส้นทางหมายเลข ๒๑๙๙ พาพวกเรามุ่งไปยังบ้านหูลิง ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยมีหมุดหมายอยู่ที่วนอุทยานภูหัน-ภูระงำ รถกระบะสีดำกลางเก่ากลางใหม่พาเราไต่ระดับขึ้นไปบนภูเขาลูกเล็กๆ ยิ่งเข้าใกล้เขตวนอุทยานเท่าใดลักษณะของป่าเต็งรังยิ่งชัดเจน ทางเข้าวนอุทยานใช้ทางเดียวกับวัดภูหันบรรพต เพียงแต่แยกไปทางขวา ไม่ได้เข้าไปในบริเวณวัด ไม่ไกลนักที่ทำการสำนักงานของวนอุทยานภูหัน-ภูระงำก็อยู่ที่เบื้องหน้านี่เอง พักผ่อนกันไม่นานเกินรอ ผู้ที่เรานัดหมายไว้ก็ก้าวเข้ามาในชุดทะมัดทะแมงพร้อมถังน้ำสะพายหลัง แก้มแดงเม็ดเหงื่อผุดพราว […]
อีสานรงคบำบัด: Esan Tone Therapy

อีสานรงคบำบัด: Esan Tone Therapy

Feb 21, 2024
โลกนี้คงไร้สีสันหากชีวิตไม่วิวัฒนาการ “เซลล์รูปแท่ง” และ “เซลล์รูปกรวย” ขึ้นมา การมองเห็นของดวงตา          ปกติแล้วเวลาที่เราเห็นแสงสีขาวในธรรมชาติเราอาจจะรู้สึกเฉยๆ แต่เมื่อใดที่แสงขาวนั้นได้ส่องผ่านแท่งแก้วปริซึมแล้วสีสันทั้ง ๗ สี ปรากฏออกมา เมื่อนั้นล่ะความว้าว! จึงบังเกิด          ปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยอย่างไร ใจเย็นๆ กำลังจะเล่าเดี๋ยวนี้เแล้ว          ดวงตาของมนุษย์มีอุปกรณ์ในการรับภาพที่เรียกว่า “จอตา” แต่มีแค่จอตาเฉยๆ ก็ใช่ว่าจะเห็นภาพต่างๆ ได้เลยแบบจอหนังตะลุง ต้องประกอบด้วย […]
ผจญภัยนัยรสชาติส่านซี “เจ่าซ่างห่าว”

ผจญภัยนัยรสชาติส่านซี “เจ่าซ่างห่าว”

Jan 22, 2024
เสียงมอร์นิ่งคอลจากทางโรงแรม ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า ทำไมนาฬิกาในประเทศจีนถึงเดินเร็วนักนะ ข้างนอกหน้าต่างฝนตกอากาศเหน็บหนาวจนกระจกเป็นฝ้า แต่จะมัวโอ้เอ้ไม่ได้ ฉันกระชากตัวออกมาจากผ้านวมหนานุ่มรีบอาบน้ำแต่งตัว ก็รถไฟความเร็วสูงที่จะไปลั่วหยางต้องไปเตรียมตัวอย่างน้อย ๔๕ นาที น่ะสิ เช้าวันรีบด่วนที่พักแรมคืนได้จัดเตรียม “มันฝรั่งเส้นผัดน้ำมันงาใส่พริกหวาน” และ “ขนมสือหนี่เก๊า” เอาไว้ให้             เป็นอาหารที่ดูหน้าตาธรรมดาแต่ให้รสสัมผัสที่ไม่เลวเลย แต่ที่ฉันชอบมากคือขนมสือหนี่เก๊า             “สือหนี่” หมายถึง ข้าวสีม่วง             “เก๊า” หมายถึง […]
ตะลุยอู่อารยธรรมล้านนา และประวัติศาสตร์นอกไมค์ (๑)

ตะลุยอู่อารยธรรมล้านนา และประวัติศาสตร์นอกไมค์ (๑)

Nov 7, 2023
            วันหยุดยาวมาแล้ว ลมหนาวก็มาแล้ว เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างพร้อมอย่าให้เรื่องงานมาทำให้เรื่องเที่ยวต้องเสีย เก็บกระเป๋าแล้วไปตะลุยภาคเหนือกัน!             ความโดดเด่นอย่างหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ นับตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักรล้านนามา จนกระทั้งไปอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าบ้าง หรือสลับมาอยู่ภายใต้การครอบครองของสยามบ้าง ตามพิสัยของแคว้นกันชน แต่เอกลักษณ์ของความเป็นล้านนาก็ไม่เคยจืดจาง แสดงถึงความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมที่พวกเขามี             ก่อนอื่นขอให้สังเกตลำดับการสืบสันตติวงศ์เพื่ออรรถรสในการอ่านตำนาน พญามังราย พญาไชยสงคราม พญาแสนภู พญาคำภู พญาผายู พญากือนา พญาแสนเมืองมา พญาสามฝั่งแกน และ พญาติโลกราช […]
งานศิลปะสุดยูนีคระดับโอลด์มาสเตอร์ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด

งานศิลปะสุดยูนีคระดับโอลด์มาสเตอร์ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด

Sep 18, 2023
“หากโลกนี้ไร้ซึ่งศิลปะ หัวใจของเราคงเป็นเพียงก้อนดินแตกระแหงก้อนหนึ่ง” การวัดความศิวิไลซ์ของเมืองไม่ใช่เพียงแค่มีตึกสูง การคมนาคมสะดวก หรือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังต้องมีสิ่งจรรโลงใจที่เติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาเมือง หนึ่งในนั้นคือ “งานศิลปะ” ๒๗ ปี ที่แล้ว             ที่จุดศูนย์กลางเศรษฐกิจของเมืองขอนแก่น อาคารหลังหนึ่งค่อยๆ ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างที่เปิ๊ดสะก๊าดกว่าตึกทรงสี่เหลี่ยมหลังไหนๆ ในจังหวัดขอนแก่น ในยุคสมัยที่โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปได้ยังไม่กำเนิดขึ้น จากคำร่ำลือปากต่อปากถึงรูปทรงที่แปลกตา ใครต่อใครในเมืองจึงต่างแวะเวียนไปชมดูด้วยความตื่นใจ “โรงแรมแคนคู่” คือชื่อเล่นที่ชาวเมืองกล่าวถึง “โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด” โรงแรมโซฟิเทล […]
กลับบ้านไปสร้างสิม

กลับบ้านไปสร้างสิม

Aug 8, 2023
เรื่อง: นัทธ์หทัย วนาเฉลิมภาพ : นัทธ์หทัย วนาเฉลิม หากพูดถึง “การกลับบ้านเกิด” หลายคนคงนึกเห็นภาพการกลับไปทำงานในเรือกสวนไร่นา หรือ การกลับไปเปิด โฮมสเตย์มีร้านกาแฟเก๋ๆ แต่สำหรับ “วีรยุทธ ไมตรี” เขาเลือกกลับเกิดเพื่อไปสร้าง “สิม!”  สิมในภาษาอีสานหมายถึงโบสถ์ แต่มีความแตกต่างจากของภาคกลางคือมีขนาดเล็กและเตี้ยแจ้ วีรยุทธหรือพี่บอลของน้องๆ “ชาวสินกำ” เป็นศิษย์เก่าภาควิชาศิลปไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคนหนุ่มที่ใฝ่ใจในงานพุทธศิลป์พื้นบ้าน  […]
จากอิสตันบูลสู่แดนสยาม…ศิลปะเชื่อมเรา

จากอิสตันบูลสู่แดนสยาม…ศิลปะเชื่อมเรา

Jun 5, 2023
๐๕.๑๐ น. เจ้านกเหล็กค่อยๆ ร่อนลงลงแตะพื้นรันเวย์อย่างนุ่มนวล เสียงแอร์โฮสเตสประกาศเตือนให้ระวังความหนาวเย็นจากภายนอก ๘ องศาเซลเซียส ผู้โดยสารหลายคนขยับเสื้อกันหนาวให้กระชับเข้ากับลำตัวเตรียมพร้อม             จากท่าอากาศยานอิสตันบูลใช้เวลาเดินทางราว ๓ ชั่วโมง เขตพื้นที่ประวัติศาสตร์ก็อยู่ที่เบื้องหน้านี่เอง ทางเดินปูบล็กซีเมนต์นำนักท่องเที่ยวหลากเชื้อชาติไปยังกลุ่มโบราณสถาน อันเป็นรากฐานของงานศิลปะอิสลาม (Islamic art) แห่งดินแดนที่ได้ชื่อว่ามี ๒ ทวีป ใน ๑ เดียว…ตุรเคีย             ศิลปะอิสลามได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการเริ่มต้นปีฮิจญ์เราะฮ์ที่ […]
ปักดิ้ง…ประณีตศิลป์แห่งราชสำนักหลวงพระบาง

ปักดิ้ง…ประณีตศิลป์แห่งราชสำนักหลวงพระบาง

Nov 17, 2022
         หากถามว่า “ศิลปะคืออะไร ?” สำหรับฉันแล้ว ศิลปะเป็นดั่งเวทมนตร์ ค่าที่มันสร้างความสนุกสนานก็ได้ สร้างความสงบก็ได้ หรือแม้กระทั่งบำบัดจิตใจ          ในบรรดางานศิลปะที่มีหลากหลายแขนงนั้น วันนี้ฉันจะพาล่องแม่น้ำโขงข้ามภูเขาสูงไปชมความวิจิตรของงานฝีมือที่เรียกว่า “ผ้าปักดิ้ง” แห่งเมืองหลวงพระบาง          งานปักดิ้งเป็นเป็นการใช้ไหมคำฝั้นหรือไหมทอง วางทาบลงไปบนลายเส้นที่เราวาดไว้ แล้วจึงเอาเส้นด้ายหรือเส้นไหมสีแดงสะกิดแทงจากด้านล่างแม่สะดึง พันรอบไหมคำฝั้นแล้วก็แทงลง เพื่อที่จะตรึงให้ไหมคำฝั้นนั้นอยู่บนเส้นลายที่เราออกแบบไว้          ลวดลายที่ใช้ในการปักดิ้งนั้น ได้มีแรงบันดาลใจจากพืชพรรณ สัตว์ ตำนาน และยึดรากความเชื่อทางพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน โดยมักจะปักตรงคอเสื้อ สาบเสื้อ ปลายแขนเสื้อ […]
Timeless : ณ ที่ซึ่งกาลเวลาตามหาไม่เจอ…เวฬาวาริน

Timeless : ณ ที่ซึ่งกาลเวลาตามหาไม่เจอ…เวฬาวาริน

Sep 15, 2022
เวฬาวาริน       ที่หัวมุมถนนทหารบรรจบกับถนนสากล มีอาคารไม้เดียวดายอยู่หลังหนึ่ง มันเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของอำเภอวารินชำราบอย่างเงียบๆ ตั้งแต่ยุคที่ความเจริญจากกรุงเทพฯ มาสร้างความคึกคักให้กับจังหวัดอุบลราชธานี จนถึงยุคโรคระบาดโควิด-๑๙ ที่มาซ้ำเติมสภาพเศรษฐกิจจนเงียบเหงาไปทั้งเมือง       ผ่านเวลาไปกว่า ๘๐ ปี จากโรงแรมไม้แสนโก้ กลายเป็นอาคารสุดโทรม ภายในอาคารเละเทะจากคมเขี้ยวปลวกและโจรขโมยไม้ อย่างที่ภาษาอีสานเรียก “หมุ่นอุ้ยปุ้ย” จนชาวบ้านข้างเคียงร้องเรียนให้รื้อถอนนับครั้งไม่ถ้วน อะไรกันนะที่เป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าของตึกเกิดแรงฮึดซ่อมแซมปรับปรุงในเวลานี้ เวลาที่ใครต่อใครไม่กล้าลงทุน และอะไรที่มาดลใจให้สถาปนิกบังเกิดแนวความคิดในการออกแบบปรับโฉมอาคารไม้ ๖ เหลี่ยมหลังนี้ และซ่อมแซมให้กลับมาเปล่งประกายดั่งสาวทรงเสน่ห์อีกครั้ง […]
“ฮูปแต้ม” จากงานศิลปะไร้มารยาสู่ความเป็นงานศิลปะร่วมสมัย (หมอผึ้ง นัทธ์หทัย)

“ฮูปแต้ม” จากงานศิลปะไร้มารยาสู่ความเป็นงานศิลปะร่วมสมัย (หมอผึ้ง นัทธ์หทัย)

Jul 4, 2022
ศิลปะวัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงถึงความมีอารยะของชาติ ภาคอีสานมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหนึ่ง ที่แสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นงานเขียนภาพจิตรกรรมบนฝาผนังโบสถ์ เรียกว่า “ฮูปแต้ม”ในคำท้องถิ่น ฮูป ก็คือ รูปแต้ม เป็นคำกิริยา หมายถึง การวาด
“ผ้าแส่ว” มรดกลายแทงจากรุ่นสู่รุ่น

“ผ้าแส่ว” มรดกลายแทงจากรุ่นสู่รุ่น

May 30, 2022
เป็นผญา (สุภาษิตคำสอน) ที่แม่หญิงผู้ไทบ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์ ยังยึดมั่น มีความหมายว่า ถ้าปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไม่ได้ ทอผ้ายังไม่เป็น ก็อย่าเพิ่งมีผัว แสดงให้เห็นว่าสตรีผู้ไทให้ความสำคัญกับงานทอ ไม่แพ้อาชีพหลักอย่างการกสิกรรมเลย ถึงจะทราบว่าผ้าไหมแพรวาเป็นผ้าทอเอกลักษ์ของชาวผู้ไท แต่เอาเข้าจริงฉันกลับไม่คุ้นชินกับวิถีชีวิตของชนเผ่าโบราณนี้มากไปกว่าการเห็นภาพความรื่นเริงในวงมโหรีแบบอีสานๆ
“ประชาธิปไตย” บนสิมญวน

“ประชาธิปไตย” บนสิมญวน

Feb 3, 2022
หากถามว่า “ช่างญวน” คือใคร คงต้องเล่าย้อนไปในสมัยที่ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาล่าอาณานิคมในแถบอินโดจีน ซึ่งตรงกับช่วงรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ (พุทธศักราช ๒๓๙๔-๒๔๕๓) ในครั้งนั้นเริ่มมีชาวเวียดนามอพยพข้ามแม่น้ำโขง เข้ามาอาศัยอยู่ในแถบจังหวัดนครพนม สกลนคร อุบลราชธานี หนองคาย และศรีสะเกษ แต่ช่วงที่ชาวเวียดนามลี้ภัยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารมากที่สุด เห็นจะเป็นช่วงพุทธศักราช ๒๔๘๘-๒๔๘๙ ซึ่งในขณะนั้นประเทศเวียดนามมีความขัดแย้งกันในเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง ทั้งจากภายในและนอกประเทศ