Sunday, May 19, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

ปักดิ้ง…ประณีตศิลป์แห่งราชสำนักหลวงพระบาง

ภาพพระบฏซึ่งไม่ได้ปักหน้าตาตามความเชื่อ

เครื่องศักดิ์สิทธิ์

         เครื่องศักดิ์สิทธิ์เป็นของใช้ทางพุทธศาสนา ได้แก่ ตาลปัตร สายคล้องซ้าน้ำเกี้ยง หรือ สายคล้องบาตร สำหรับพระสงฆ์ระดับสังฆราชขึ้นไป  ผ้าทุง (ธงหรือตุงในภาษาถิ่นภาคเหนือ และทุง ในภาษาลาว-อีสาน ทำขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว หากตกนรกชายตุงจะแกว่งฉุดให้ขึ้นจากนรกให้ขึ้นไปสู่สวรรค์)  และผ้าพระบฏสำหรับงานบุญผะเหวด (ผะเหวด คือ พระเวสสันดร ในภาษาลาว-อีสาน งานบุญผะเหวด เป็นบุญใหญ่ในเดือน ๔ เพราะเชื่อว่า เป็นการสั่งสมบุญบารมีในชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า)

สายคล้องซ้าน้ำเกี้ยง ปักดิ้งเป็นลายเครือเถา ตรงปลายเป็นสัญลักษณ์ล้านช้างร่มขาว (ช้างเอราวัณภายใต้เศวตฉัตร) พร้อมด้วยเครื่องไหว้ครู
งานปักดิ้งสายคล้องบาตร เป็นของใช้สำหรับพระสังฆราชเท่านั้น

         “งานปักพระบฏ สิปักแบบบ่มีหน้าตา เพราะเชื่อว่าท่านสิจ้องจดจำ” ที่เจ้านิดอธิบายนั้นหมายถึง ในขณะที่กำลังปักผ้านั้น อาจจะเผลอทำกิริยาที่ไม่เหมาะสม เหตุผลนั้นคล้ายกับการทำพระพุทธรูปไม้อีสาน ซึ่งในขณะที่แกะสลักอาจทำท่าทางที่ไม่ควรโดยไม่ตั้งใจ หลังแกะสลักไม้เสร็จจึงค่อยทำพิธีบ๋อตา หรือพิธีเบิกเนตร เพราะถือว่าถ้าพระท่านไม่เห็นก็ไม่ผิดบาป

About the Author

Share:
Tags: ปักดิ้ง / หลวงพระบาง / ลาว / ปัก / ปักผ้า /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ