Monday, May 6, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

สองศิลป์ แห่งสิมอีสาน

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 2
เรื่องและภาพ: ธาดา ราชกิจ

สองศิลป์

แห่งสิมอีสาน

มรดกทางศิลปวัฒนธรรมแห่งดินแดนที่ราบสูงนั้นมีเสน่ห์ตลอดจนเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันทรงคุณค่าไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะเสน่ห์แห่งความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน สื่อสารกันซื่อๆ ตรงๆตามตัวตนแห่งวิถีถิ่นอีสานที่สืบทอดกันมายาวนานเลยทีเดียว และในความเรียบง่ายนั้นก็ยังสะท้อนถึงความวิจิตรประณีตได้เป็นอย่างดีในคราวเดียวกันซึ่งนั่นก็รวมถึงเอกลักษณ์ของพุทธสถานในแบบฉบับอีสานที่เราจะพาคุณไปรู้จักในคราวนี้ด้วยนั่นเอง

สิม หรือ โบสถ์ในภาษาอีสานนั้นมาจากคำว่า ‘สีมา’ หรือ ‘สิมมา’ หรือ ‘พัทธสีมา’ อันหมายถึงเขตที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ทำกิจกรรมในพระพุทธศาสนา เดิมทีสิม เป็นภาษาถิ่นที่ใช้เรียกโบสถ์ในวัดมาตั้งแต่ยุคโบราณ แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปนั้น ระยะหลังคนอีสานก็นิยมใช้คำว่า ‘โบสถ์’ เรียกขานเขตพัทธสีมานี้เหมือนๆ กันกับภาษากลางที่เข้าใจเป็นมาตรฐานแบบเดียวกันทั่วประเทศคำว่า ‘สิม’ ในยุคปัจจุบันจึงอาจหมายถึงแค่โบสถ์แบบอีสานโบราณเพียงเท่านั้น

ปัจจุบันสิมกำลังได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องของอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมเฉพาะถิ่น ไปจนกระทั่งการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เอกลักษณ์ของสิมอีสานแบบโบราณนั้นก็คือ การเป็นสถาปัตยกรรมในขนาดย่อมที่ก่อสร้างอย่างง่ายๆ ตัวอาคารนั้นอาจดูไม่ยิ่งใหญ่วิจิตรอลังการเหมือนกับโบสถ์ในภาคอื่นๆ แต่รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมนี้ก็สามารถสะท้อนวิถีชีวิตอันเรียบง่ายและความสมถะ ซึ่งถือเป็นความโดดเด่นเฉพาะตัวของผู้คนอีสานได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ความสวยงามในงานสถาปัตยกรรมตลอดจนศิลปวัฒนธรรมที่แทรกตัวอยู่ในสิมอิสานนั้นเป็นกลิ่นอายที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาณาจักรล้านช้างแห่งดินแดนลาวโดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 23 อันเป็นยุคสมัยที่อาณาจักรล้านช้างมีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายครอบคลุมอาณาบริเวณสองฝั่งโขงออกไปในระยะกว้าง ซึ่งก็รวมถึงดินแดนในแถบภาคอีสานของไทยในยุคปัจจุบันด้วย

ศิลปวัฒนธรรมแห่งล้านช้างนั้นมีเสน่ห์ที่ความงดงามอย่างเรียบง่าย สถาปัตยกรรมจึงมีขนาดย่อม แต่ทว่าเปี่ยมไปด้วยความวิจิตรของงานหัตถศิลป์ที่ซ่อนไว้ ดินแดนในแถบอีสานนั้นก็รับอิทธิพลนี้มาผสานกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายออกมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สะท้อนความสมถะได้อย่างดีเยี่ยมทีเดียว ดั่งสองสิมแห่งอีสานที่โดดเด่นด้วยศิลปวัฒนธรรมเฉพาะตัวอันทรงคุณค่า ที่เราอยากให้คุณลองหาเวลาแวะไปเยี่ยมชม

สิมวัดไชยศรี

สิมโบราณอนั เก่าแก่หลงั นีต้ งั้ อยู่ที่ บ้านสาวะถี ต. สาวะถี อ. เมือง จ. ขอนแก่น สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2443 ตัวสิมนั้นมีสถาปัตยกรรมในแบบอีสานดั้งเดิมที่เรียบง่าย นั่นก็คือ การก่ออิฐฉาบด้วยปูนขาวธรรมดาที่ไม่ได้แต่งเติมความวิจิตรอื่นๆ ลงในตัวอาคาร ภายในเป็นห้องทึบที่มีประตูเข้าเพียงด้านเดียว และหน้าต่างด้านข้างเพียงไม่กี่บาน แต่เดิมสิมหลังนี้นั้นมีหลังคาไม้ที่แกะสลักงดงามตามศิลปะแบบถิ่นอีสานดั้งเดิมเป็นที่น่าเสียดายว่า ในราวปี พ.ศ. 2525 สิมแห่งนี้ได้ถูกบูรณะขึ้นใหม่โดยปราศจากผ้มู ีความรู้ความชำนาญทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมโบราณด้านศิลปกรรม ตลอดจนด้านโบราณคดีเข้ามาดูแล หลังคาสิมหลังเก่าจึงถูกรื้อทิ้ง และแทนที่ด้วยหลังคาโบสถ์ตามแบบสถาปัตยกรรมยุคปัจจุบันที่ขาดเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น อีกทั้งยังมีการเสริมผนังปูนด้านบนให้สูงขึ้นโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างสถาปัตยกรรมเดิม ตลอดจนความงดงามของพุทธศิลป์เก่าแก่ นอกจากนี้การก่อสร้างที่ขาดความระมัดระวัง ยังทำให้น้ำปูนไหลมาทับทำลายภาพเขียนฮูปแต้มบางส่วนเสียหายอีกด้วย

เอกลักษณ์อันโดดเด่นและมีชื่อเสียงอีกอย่างของสิมวัดไชยศรีก็คือ ฮูปแต้มที่วาดลวดลายลงไปบนผนังจนเต็มทุกพื้นที่ทั้งด้านในและด้านนอกสิม เส้นสายลายเส้นที่วาดเรื่องราวนั้นเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้านที่ถ่ายทอดงานศิลป์ออกมาอย่างง่ายๆ ซึ่งอาจจะดูแตกต่างจากจิตรกรรมฝาผนังทั่วไป ที่เน้นความวิจิตรงดงาม แต่นั่นก็ถือเป็นเสน่ห์ของลายเส้นเรียบง่ายแบบชาวบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสื่อสารกันซื่อๆ ตรงๆ ไม่จำเป็นต้องวิจิตรซับซ้อน

เอกลักษณ์อันโดดเด่นทางด้านศิลปกรรมอีกอย่างก็คือ การใช้สี โดยสีที่ใช้นั้นเป็นสีฝุ่นจากธรรมชาติ นอกจากการตัดเส้นด้วยสีดำแล้ว สีที่ใช้ระบายก็มีแค่โทนฟ้า – สีน้ำเงิน โทนสีเหลือง – น้ำตาล โทนสีขาว (ซึ่งก็คือสีธรรมชาติของพื้นปูน) ซึ่งเป็นโทนสีที่น้อย แต่ในทางกลับกันกลับสามารถสะท้อนรสนยิ มการใช้สีในกลิ่นอายเอิร์ทโทนที่ผสานกับพาสเทลได้อย่างยอดเยี่ยม

นอกจากนี้ ลายเส้นที่เล่าเรื่องราวนั้นยังเป็นลายเส้นที่เรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยมุมมองการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกันก็สอดแทรกเรื่องราวสนุกสนานที่สื่อผ่านการแสดงอารมณ์ของตัวละครต่างๆ ในลายเส้นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งนั่นสามารถสะท้อนถึงเสน่ห์พื้นถิ่นแห่งอีสานอันเป็นเอกลักษณ์ของวิถีแห่งแดนดินถิ่นนี้ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งฮูปแต้มรอบบริเวณนั้นเป็นเรื่องราวของ พระเวสสันดรชาดกสินไซ ภาพเทพต่างๆ ไปจนกระทั่งภาพนรก -สวรรค์ ที่สามารถถ่ายทอดคำสอนและหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาได้อย่างยอดเยี่ยมในคราวเดียวกันเลยทีเดียว

  • ที่ตั้ง : หมู่ 8 บ้านสาวะถี ต. สาวะถี อ. เมือง จ. ขอนแก่น

ฮูปแต้ม

‘ฮูปแต้ม’ ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่หมายถึงจิตรกรรมฝาผนัง มักปรากฏอยู่ตามฝาผนังทั้งภายในและภายนอกตัวสิม สาเหตุอาจจะมาจากสิมนั้นมักมีขนาดเล็กแต่เรื่องราวที่เล่าผ่านฮูปแต้มนั้นมีมาก ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งนั้นอาจจะมาจากตามธรรมเนียมโบราณที่ห้ามผ้หู ญงิ เข้าไปภายในสิมจึงได้มีการวาดฮูปแต้มไว้ด้านนอกด้วย ซึ่งเรื่องราวที่ปรากฏบนฮูปแต้มนั้นสื่อถึงคำสอนในพุทธศาสนาที่ซ่อนไว้อยู่ในพุทธศิลป์ได้อย่างงดงาม เรื่องราวส่วนใหญ่มักจะเป็นชาดกอันเป็นพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าในชาติต่างๆ ตลอดจนเรื่องนรก – สวรรค์ อันเป็นความเชื่อในพระพุทธศาสนา

สิมวัดสระทอง

สิมโบราณเก่าแก่นี้ตั้งอยู่ที่ บ้านบัว ต. กุดเค้า อ. มัญจาคีรี จ. ขอนแก่น สร้างขึ้นพร้อมๆ การตั้งถิ่นฐานชุมชนในบริเวณนี้ ราวๆ ปี พ.ศ.2375 ตัวสิมนั้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมที่มีการสร้างอาคารขึ้นมาอย่างง่ายๆ แบบก่ออิฐฉาบด้วยปูนขาว ตัวอาคารเป็นแบบห้องทึบที่มีประตูทางเข้าเพียงด้านเดียว และมีซุ้มหน้าต่างอยู่ด้านละ 2 ช่องเท่านั้น ภายในเป็นโถงขนาดเล็กเรียบง่าย ประดิษฐานองค์พระประธานอันเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่แต่ดั้งเดิมที่อัญเชิญมาในคราวอพยพมาตั้งหมู่บ้านในบริเวณนี้ด้วย พระประธานเก่าแก่ทรงคุณค่านี้เป็นพระพุทธรูปศิลาทรายแดงอันเป็นรูปแบบศิลปะอีสานบริสุทธิ์ที่มีเอกลักษณ์ในความเรียบง่ายอีกด้วย

ภายนอกอาคารนั้นประดับแว่นแก้วฐานชุกชี ผนังด้านนอกของสิมวัดสระทองนี้ไม่ได้มีการวาดลวดลายฮูปแต้มลงไป หากแต่โดดเด่นด้วยประติมากรรมนูนต่ำที่เป็นการปั้นรูปทรงอย่างง่ายๆ ไม่ละเอียดซับซ้อน มีการลงสีเพียงไม่กี่สี สื่อสารเรื่องราวง่ายๆ ซึ่งนี่เป็นศิลปะพื้นๆที่เกิดจากความเรียบง่ายตามแบบท้องถิ่นอีสานที่มีเสน่ห์อย่างแตกต่างทีเดียว ซึ่งก็รวมถึงการแกะสลักลวดลายไม้ที่ไม่สลับซับซ้อน เป็นศิลปะพื้นถิ่นที่คำนึงถึงประโยชน์การใช้งานเป็นหลักมากกว่าคำนึงถึงความงดงามอลังการ

สถาปัตยกรรมสิมโบราณของวัดสระทองยังถือเป็นงานเอกลักษณ์ช่างอีสานที่โดดเด่นและสิมแห่งนี้ยังเคยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2544 รวมไปถึงรางวัลอาคารทรงคุณค่าด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Award of Merit) จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ในปีพ.ศ. 2545 อีกด้วย

  • ที่ตั้ง : บ้านบัว ต. กุดเค้า อ. มัญจาคีรี จ. ขอนแก่น

Travel Information
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
สำนักงานขอนแก่น
ติดต่อ : 0 4322 7714-6
เว็บไซต์ : i-san.tourismthailand.org

About the Author

Share:
Tags: วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / ฉบับที่ 2 / ท่องเที่ยวอีสาน / ขอนแก่น / สิมอีสาน / วัดสระทอง /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ