Thursday, May 9, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

การเสด็จฯ เยือนประเทศมหาอํานาจครั้งแรกในรัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๐๓ ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 23
เรื่อง/ ภาพ: ไกรฤกษ์ นานา

การเสด็จฯ เยือนประเทศมหาอํานาจครั้งแรกในรัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๐๓

ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม

เมื่อต้นรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงประกอบพระราชกรณียกิจพิเศษเรื่องหนึ่งที่มิได้ถูกบันทึกไว้ในเอกสารของทางราชการ

โดยที่นาย ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศในยุคนั้นกล่าว ว่า การที่รัฐบาลไทยในสมัย พ.ศ. ๒๕๐๓ ละเลย หน้าที่จะรายงานไว้ ทําให้ฐานข้อมูลขาดหายไป จากพงศาวดารไทยอย่างน่าเสียดาย ทั้งนี้โดยมี สาเหตุจากกระทรวงการต่างประเทศมิได้บันทึก เหตุการณ์ในทางลึกไว้ก็ด้วยเข้าใจว่าเป็นเรื่องของทางราชสํานักโดยเฉพาะ

แต่กลับปรากฏในภายหลังว่าทางราชสํานักก็มิได้เขียนรายงานไว้เช่นกัน เรื่องทั้งหมดจึงมิได้เปิดเผยให้สาธารณะรับรู้แต่อย่างใด

และแม้นว่าคําอธิบายในภาพรวมจะมีสมมุติฐานและเชื่อกันว่าเป็นการเสด็จฯ ไปเจริญสัมพันธไมตรีตามธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งดําเนินมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ตาม แต่สถานการณ์ความไม่แน่นอนภายในภูมิภาคเกิดจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะนั้น เป็นตัวกดดันให้ไทยต้องแสดงจุดยืนต่อโลกภายนอกอย่างชัดเจน

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงได้รับการต้อนรับจากราชวงศ์อังกฤษ

ดังนั้นการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศใน พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงมีนัยยะที่แตกต่างออกไปโดย สิ้นเชิงจากครั้งรัชกาลที่ ๕ เพราะเกิดขึ้นใน ภาวะที่ไม่ปกติท่ามกลางความไม่สงบและการบ่อนทําลายเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศเพื่อนบ้านเป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดการเสด็จฯ โดยไม่มีทางเลือก

ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมาภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์เป็นปัญหาระดับ ชาติที่บั่นทอนความมั่นคงของประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากคอมมิวนิสต์มีอุดมการณ์คัดค้านการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยและการดํารงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของราชอาณาจักรไทยโดยปริยาย

ทรงลงพระนามในสมุดเยี่ยม

บรรยากาศโดยทั่วไปก่อนหน้า พ.ศ. ๒๕๐๓ นั้น ทวีปเอเชียยังอ่อนแอจากสภาวะ ยากลําบากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สังคมตกอยู่ในสภาพโดดเดี่ยวและสับสน ประชาชนยังอดอยากและขาดที่พึ่ง

ความหวังของประเทศเล็กๆ ที่ต้องการ พึ่งกฎหมายระหว่างประเทศ หรือหวังพึ่ง ศาลโลก จึงเป็นความหวังที่เลื่อนลอย ชาติที่ จะอยู่รอดได้จําเป็นต้องดิ้นรนและแหวก วงล้อมออกไปให้ได้เพื่อขอความช่วยเหลือจากโลกภายนอก

และที่สร้างความกดดันเพิ่มขึ้นก็คือสถานการณ์ความขัดแย้งของคนเอเชียเองสังคมที่เคยแข็งแกร่งเริ่มจะถดถอยด้านค่านิยม ความที่เคยเป็นอนุรักษ์นิยม เริ่มสั่นคลอนจนเป็นต้นเหตุของความล่มสลายของชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ในราชอาณาจักรอันเก่าแก่แต่เปราะบาง เช่นเวียดนาม ลาว และเขมร

ทว่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุด ลง สหรัฐอเมริกาก็ผงาดขึ้นมาเป็นชาติ มหาอํานาจผู้แข็งแกร่งและมีอิทธิพลมากที่สุด ในโลกเสรี กิตติศัพท์ของผู้ชนะสงครามได้ให้ อํานาจแก่คนอเมริกันในการปกป้องยุโรป และ พิทักษ์ชาวโลกผู้รักอิสรภาพโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ

สหรัฐอเมริกาจึงเปิดตัวว่าเป็นชาติมหาอํานาจผู้ชอบธรรมในการกําหนดกฎระเบียบของโลกใหม่ ถึงจะถูกมองว่าเป็นชาติจักรวรรดินิยมใหม่ก็มิได้เป็นอุปสรรคที่ชาวโลกเสรีจะสยบให้ และยินดีจะคบหากับสหรัฐอเมริกามากกว่าที่สหรัฐอเมริกาจะหัน ไปหาประเทศเล็กที่ขาดความมั่นใจ

ดังนั้น รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อต้นทศวรรษ ๒๕๐๐ จึงได้ฉวยโอกาสดึงชาติมหาอํานาจกลับเข้ามาเห็นความสําคัญของเอเชียในฐานะภาพลักษณ์ใหม่ของผู้แสวงหาอิสรภาพที่สามารถเป็นตัวแทนการปกป้องอุดมการณ์ของทฤษฎีใหม่ที่สหรัฐอเมริกาต้องการให้เกิดขึ้นได้

หนึ่งในยุทธศาสตร์สมัยจอมพลสฤษดิ์คือการสร้างประเทศไทยให้เป็นพื้นที่กันชนกับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่โลกเสรีปฏิเสธโดยใช้แผนพัฒนาชนบทเป็นใบเบิกทางรัฐบาลไทยเชื่อว่าจะสามารถใช้ความกังวลของสหรัฐอเมริกาเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยได้

ความสําเร็จทางยุทธศาสตร์เชิงนโยบายของรัฐบาลไทยเห็นได้ทันทีจากการจัดตั้งประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการรักษาฐานที่มั่นของโลกเสรีตามแผนแม่บทของสหรัฐอเมริกา เห็นผลชัดเจนที่สุดเมื่อรัฐบาลอเมริกันทุ่มงบประมาณจํานวนมหาศาลตั้งฐานทัพอากาศของตนบนแผ่นดินไทยไว้ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ที่รายล้อมประเทศไทยอยู่ในเวลานั้น

เมื่อต้นรัชกาลที่ ๙ สถานะของ ประเทศไทยทวีความสําคัญขึ้นอย่างมาก ในช่วงสงครามเย็น เมื่อกลุ่มประเทศฝักใฝ่โลกเสรีที่นิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยการหนุนหลังของสหรัฐอเมริกาเห็นว่าประชาชาติเอเชียต้องผนึกกําลังปกป้องการคุกคามของประเทศที่นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างจริงจัง

ในการนี้ สหรัฐอเมริกา และ ๗ ประเทศโลกเสรี ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย รวมตัวกันจัดตั้ง “องค์การสนธิ สัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่มีชื่อย่อว่า SEATO หรือ ส.ป.อ. ขึ้น โดยมีประเทศไทยเป็น

ศูนย์กลาง และมีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงเทพฯ โดยสหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลังเต็ม รูปแบบ

ทั้งนี้เพราะในช่วงทศวรรษแรกของ รัชกาลที่ ๙ หรือประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้น มา คอมมิวนิสต์ได้คืบคลานลงมา (จากจีน แดง) และบ่อนทําลายจนทําให้ เวียดนามเหนือ (ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์) และเวียดนามใต้ (ภายใต้ระบอบเสรีประชาธิปไตย) เกิดความระส่ําระสายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในระยะนั้นแม้นว่าประเทศไทยมิได้อยู่ในภาวะสงครามก็ตามที แต่คนไทยก็ยังปฏิเสธไม่ได้ว่าภัยคุกคามและการบ่อนทําลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ทําให้สถานการณ์ภายในประเทศสับสนวุ่นวายมิใช่น้อย ส่งผลให้การพัฒนาประเทศดําเนินไปไม่ได้อย่างปกติสุขตามนโยบายของจอมพลสฤษดิ์

ทว่าการที่ประเทศไทยถูกจัดตั้งให้เป็นเสาหลักขององค์การนานาชาติอย่าง SEATO และเป็นหัวหอกปกป้องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากการเกื้อหนุนของสหรัฐอเมริกาและชาติมหาอํานาจยุโรปช่วยให้เสถียรภาพของเมือง ไทยมั่นคงขึ้นและเชื่อมั่นตัวเองมากยิ่งขึ้น

ประเทศแรกใน โครงการเสด็จฯ เยือน ต่างประเทศอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงมิได้ผิดความคาดหมายที่จะต้องเป็น “สหรัฐอเมริกา” โดยเสด็จฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลา ๑ เดือนเต็ม ระหว่างวันที่ ๑๕ มิถุนายน – ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๓ พร้อมด้วยคณะผู้ตามเสด็จฯ ชุดใหญ่ ที่สุดจากประเทศไทยรวมทั้งสิ้น ๕๑ ท่านในภารกิจนี้

แต่สิ่งที่พวกเราชาวไทย มิได้ทราบมาก่อนก็คือ ได้เกิด “แถลงการณ์ร่วม” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แห่งราชอาณาจักรไทย กับประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นไฮไลท์ของการเสด็จฯ ในครั้งนั้นที่ชาวไทยไม่ค่อยทราบ

ประเทศแรกใน โครงการเสด็จฯ เยือน ต่างประเทศอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงมิได้ผิดความคาดหมายที่จะต้องเป็น “สหรัฐอเมริกา” โดยเสด็จฯ ประทับอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลา ๑ เดือนเต็ม ระหว่างวันที่ ๑๕ มิถุนายน – ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๓ พร้อมด้วยคณะผู้ตามเสด็จฯ ชุดใหญ่ ที่สุดจากประเทศไทยรวมทั้งสิ้น ๕๑ ท่านในภารกิจนี้

แต่สิ่งที่พวกเราชาวไทย มิได้ทราบมาก่อนก็คือ ได้เกิด “แถลงการณ์ร่วม” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แห่งราชอาณาจักรไทย กับประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นไฮไลท์ของการเสด็จฯ ในครั้งนั้นที่ชาวไทยไม่ค่อยทราบ

สิ่งที่พวกเราชาวไทยมิได้ ทราบมาก่อนก็คือ ได้เกิด “แถลงการณ์ร่วม” ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯ แห่งราชอาณาจักรไทย กับประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นไฮไลท์ของการเสด็จฯ ใน ครั้งนั้นที่ชาวไทยไม่ค่อยทราบกันนัก

สํานักข่าวยูซิสของอเมริกันกันนักรายงานว่า เมื่อเสด็จฯ ถึงกรุง วอชิงตัน ดี.ซี. ก็ได้เกิดประกาศ เจตนารมณ์ของการเสด็จฯ เยือนว่า…

“ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ เยือนสหรัฐ ครั้งนี้เพื่อทรง ปฏิบัติพระราชภารกิจ เพื่อเสรีภาพเอกราช และสันติภาพถาวรของโลก ความสําเร็จที่ กล่าวนี้ได้ระบุไว้ในแถลงการณ์ร่วมของ ล้นเกล้าฯ และประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ ซึ่ง ออกที่ทําเนียบไวท์เฮาส์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ๒๕๐๓ อันเป็นวันสุดท้ายของการเยือนกรุงวอชิงตันอย่างเป็นทางการ

แถลงการณ์ฉบับนี้เน้นถึงการยึดมั่นอย่างเข้มแข็งของประเทศไทย และสหรัฐอเมริกาที่ มีต่อองค์การ ส.ป.อ. แสดงถึงความเชื่อมั่นอย่างเดียวกันว่า จําเป็นต้องมีความมั่นคงร่วม กัน เพื่อพิทักษ์รักษาพรมแดนของโลกเสรีให้ พันอันตรายจากการรุกรานของคอมมิวนิสต์และเพื่อเสริมสร้างจุดหมายในทางสันติของทั้งสองประเทศที่มีอยู่ร่วมกัน”

พระราชกรณียกิจพิเศษของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชใน ระหว่างเยือนสหรัฐอเมริกาตามด้วยชาติ มหาอํานาจในทวีปยุโรปตลอดปี พ.ศ. ๒๕๐๓ แม้นว่าจะเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ถูกลืมในหน้าประวัติศาสตร์ไทย แต่ก็ได้ส่งผลต่อเสถียรภาพและความสถาพรของประเทศไทยตั้งแต่นั้นมาตราบถึงทุกวันนี้


เอกสารประกอบการค้นคว้า

  • ไกรฤกษ์ นานา, เบื้องหลังการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศในรัชกาลที่ ๙ (ตอนแรก), ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๐
  • เฉลิม วุฒิโฆสิต, นสพ. ชาวไทย เรื่องเสด็จฯ เยือน สหรัฐอเมริกา, แพร่พิทยา ๒๕๐๓
  • สํานักข่าวอเมริกัน กรุงเทพฯ, หนังสือประมวลภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา ๒๕๐๓

About the Author

Share:
Tags: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ / รัชกาลที่ ๙ / ฉบับที่ 23 / รัชกาลที่ 9 /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ