Sunday, May 19, 2024
ภูมิปัญญาไทย

ชามตราไก่

ชามตราไก่แบบโบราณด้านใต้ชามจะมีตราอักษรจีนกำกับอยู่

ชามตราไก่สมัยก่อนมี 4 ขนาด 1. ขนาดกว้าง 5 นิ้ว (เสี่ยวเต้า) 2. ขนาดกว้าง 6 นิ้ว (ตวั่ เต้า) สองขนาดนี้เหมาะกับผู้ดี บ้านคนมีฐานะ ชามมีขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่มากนัก ใช้ใส่ข้าวต้ม นำ้แกงให้ทานพออิ่ม ขนาดที่ 3 กว้าง 7 นิ้ว (ยี่ไห้) ขนาดที่ 4 กว้าง 8 นิ้ว (เต๋งไห้) สองขนาดนี้เหมาะกับจับกังคนใช้แรงงาน เป็นชามใบโตสำหรับคนทานจุ ไม่จำเป็นต้องวางมาดเวลาทาน ยิ่งพูนๆ ยิ่งดีจะได้พุ้ยข้าวให้สะใจไปเลย

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่มี ผู้ผลิต ชามตราไก่ในประเทศไทย ชาวจีนซึ่งอยู่แถวถนนทรงวาด ตลาดเก่าในกรุงเทพฯ จึงสั่งนำเข้าชามตราไก่จากประเทศจีนมาขาย ต่อมาปี พ.ศ. 2480ใครที่ศึกษาหรือพอมีความรู้เรื่อง

ประวัติศาสตร์จีนบ้างคงพอจะรู้ว่า เกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น คนจีนบางส่วนหนีสงครามและความอดอยาก จึงขึ้นเรืออพยพถิ่นฐานมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ประเทศไทย กลุ่มคนที่มานี้มีช่างปั้นดินเผารวมอยู่ด้วย มาถึงกรุงเทพฯ สักพัก ด้วยนิสัยคนจีนที่ขยันทำมาหากิน ก็เริ่มตั้งโรงงานและเตาเผาแถววงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี (ในสมัยนั้น) และที่ถนนเพชรบุรี ในกรุงเทพฯ

ชามตราไก่แบบสมัยใหม่มีสีสันจัดจ้าน

หลังจากนั้นมีข่าวว่ามีแร่ดินขาวที่เหมาะแก่การปั้นเซรามิกที่ดีที่สุดในการจะใช้ทำชามตราไก่ ที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง จึงมีกลุ่มคนจีนบางกลุ่มออกค้นหา ผู้เขียนพยายามจินตนาการว่าจะเหมือนการค้นหาแร่มีค่าหรือนำ้มันตามภาพยนตร์ดังๆ สมัยนี้หรือเปล่า การค้นหาเริ่มในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2498 – 2499 จึงพบแหล่งดินขาวที่บ้านปางคำ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ในปีถัดมาคือปี พ.ศ. 2500 มีการตั้งโรงงานที่บ้านป่าขาม จังหวัดลำปาง โดยคนจีนชาวไท้ปูที่มาค้นหาแร่ดินขาวในตอนแรก ซึ่งก็มี มีนายซิมหยู, นายเซี่ยะหยุย, นายซิมกิม และนายซือเมน แซ่เท่น ใช้ชื่อโรงงานร่วมสามัคคี หลังจากทำด้วยกันอยู่ประมาณสามปี ก็แยกย้ายกันไปตั้งโรงงานใหม่ของตัวเอง คงคล้ายๆ นักร้องดังแล้วแยกกันออกอัลบั้ม จะได้ขายได้หลายๆ ชุดหรือมีทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้นก็เป็นได้

ปี พ.ศ. 2502 – 2505 ชาวจีนเริ่มตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่ลำปางมากขึ้นตามลำดับ การผลิตทำโดยการขว้างดินขาวหมักเปียกลงบนพิมพ์ซึ่งหมุนบนล้อจักรยาน แล้วใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือ ภาษาโรงงานเรียกจิ๊กเกอร์มือ แต่งดินให้ได้รูปทรงถ้วย ต่อขาเคลือบขี้เถ้าแกลบ การเผาใช้เตามังกรโบราณแบบกอปี ฟืนไม้ การวาดก็หาช่างชาวบ้าน หรือคนในพื้นที่มาฝึกใช้พู่กันจีนวาดไก่และดอกไม้ต้นไม้ติดจาน ต่อมาการผลิตออกมาไม่ทันความต้องการของผู้ใช้ ทางโรงงานก็เริม่ ใช้เครื่องขึ้นหรือเครื่องจิ๊กเกอร์ ชามจึงมีรูปกลมไม่เป็นแปดเหลี่ยมแบบเดิมและมีขาในตัวไม่ต้องมาติดตั้งอีกรอบ เอาง่ายและไวเข้าว่า ตอนนั้นชามตราไก่ขายได้ดีแบบสุดๆ เมื่อเดินทางมาถึงจุดที่อุปสงค์และอุปทานไม่เท่ากัน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อโรงงานชื่อเสถียรภาพ ที่อ้อมน้อยสมุทรสาคร สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยนำ้มันเตา

About the Author

Share:
Tags: นิตยสารอนุรักษ์ / อนุรักษ์ / anurakmagazine / ภูมิปัญญาไทย / ชามตราไก่ / ชาม / เซรามิก /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ