Saturday, May 4, 2024
สัมภาษณ์

ช่างภาพใต้น้ำแนวอนุรักษ์ คว้ารางวัลระดับโลก ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย

ผันตัวจากนักวิทยาศาสตร์มาเป็นช่างภาพมืออาชีพ เจ้าของรางวัลระดับโลก ที่ขอมุ่งมั่นทำงานเพื่อการอนุรักษ์ทะเล

คนมักกล่าวว่าการที่ได้ทำในสิ่งที่ตนรักถือเป็นรางวัลของชีวิต แต่รางวัลที่ ชิน-ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพฝีมือเยี่ยมคนนี้ได้รับไม่ใช่แค่รางวัลระดับโลกมากมาย แต่ภาพถ่ายสารคดีเชิงสิ่งแวดล้อมที่เขารักยัง ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมทางสังคม ที่เกิดขึ้นตามมาจากภาพถ่ายที่เขาทุ่มเทถ่ายทอด เรื่องราวมาตลอดระยะเวลา การทำงานอย่างจริงจังนานกว่า ๔ ปี รางวัลที่ได้รับจึงมีค่าอย่างยิ่ง และทำให้เขาผันตัวจากนักวิทยาศาสตร์มาเป็นช่างภาพมืออาชีพ ด้วยความตั้งใจแล้วว่าจะทำงานถ่ายทอดเรื่องราวประเด็นเชิงอนุรักษ์

“สำหรับผม คำว่า นักอนุรักษ์ เป็นอะไรที่ค่อนข้าง Abstract และตีความได้แตกต่างกันไปในแต่ละคน ถ้าหากนิยามของการอนุรักษ์คือ การทำให้เกิดจุด Balance หรือ Harmony ในการใช้ทรัพยากรของคนและ ธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ผมอยากเห็นการขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมท้ังของคน และแง่มุมทางกฎหมายที่นำไปสู่ความสามารถ ในการใช้ทรัพยากรให้อยู่ได้ระยะยาว สวนทางกับการเติบโตของประชากรมนษุย์ อยากให้สิ่งนี้ไปถึงจุดที่สมดุลก่อนที่จะสูญเสียทุกอย่างไป ท้ังหมดนี้คือ สิ่งที่ผมทำผ่านภาพถ่ายเพื่อให้ไปยังเป้าหมายที่ต้ังใจ”

ช่างภาพหนุ่มกล่าว ในขณะเดียวกัน หากมีข้อถกเถียง หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนเส้นทางอนุรักษ์ จุดยืนที่ชัดเจนของเขาคือ การนำเสนอข้อเท็จจริง ผลงานวิจัย ทุกสิ่งสามารถพิสูจน์กันด้วย วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่วาทกรรมหรือความรู้สึก

ชินเป็นเจ้าของรางวัลชนะเลิศช่างภาพใต้น้ำจากองค์กร Save Our Seas Foundation ประจำปี ๒๐๑๖ ด้วยแนวความคิดการทำงาน ของคนรุ่นใหม่ ทำให้เขาได้รับคัดเลือก ให้เป็น Speaker ในงาน TEDxBangkok 2017 ชุดภาพถ่ายที่เริ่มสร้างชื่อเสียงให้เขาคือ ภาพชะตากรรมของฉลามในท้องทะเลไทย ความเสื่อมโทรมของท้องทะเลอันดามัน รวมถึงผลกระทบของท่าเรือน้ำลึกปากบารา ฯลฯ

จุดเริ่มต้นของเส้นทางแห่งโลกใต้น้ำ

“ผมชอบทะเลมาตั้งแต่เด็ก ชอบปลา ชอบไดโนเสาร์ งู จระเข้ และชอบฉลามเป็นพิเศษ คุณพ่อคุณแม่พอรู้ว่าเราชอบก็ยิ่ง ซื้อหนังสือมาให้อ่าน พอไปเรียนดำน้ำยิ่งชอบทะเลมากขึ้น ตอนปริญญาตรี จากที่เคยจะเรียนหมอจึงเปลี่ยนมําเรียนด้านสิ่งแวดล้อมแทน”

ชินจบปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Science (Ecology)) จาก มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคอินเตอร์ จากนั้นไป เรียนต่อปริญญาโทด้าน Ecology คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “ผมทำงานวิจัยท้ังตอนเรียนปริญญาตรี และปริญญาโท ตอนปริญญาตรีผมทำเรื่องปะการัง ส่วนปริญญาโทเรื่องฉลาม”

เส้นทางสายนักวิจัยของชินถูกวางไว้ เพื่อเตรียมไปเรียนต่อปริญญาเอก เมื่อเขาเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพในช่วงเรียนปริญญาตรี โดยฝึกฝนด้วยตนเอง และหาประสบการณ์ หาความรู้จากช่างภาพรุ่นพี่ จนลองส่งภาพเข้าประกวด

“ช่วงนั้นผมทำงานอนุรักษ์ที่เกาะเต่ากับพวกชุมชนมาประมาณ ๓ ปี ผมเลือกเล่าเรื่องผ่านเรื่องราวผ่านภาพถ่าย เช่น ลูกอ่อนฉลามในแนวปะกํารังน้ำตื้น งานปลูกปะการัง การคุ้มครองหอยมือเสือ แล้วก็งานวิจัยปะการังออกไข่ ตามโครงการที่วิจัย “ซึ่งแตกต่างจากช่างภาพใต้น้ำท่านอื่นๆ เพราะเจาะไปที่ประเด็นการอนุรักษ์”

“จุดพีคที่ทำให้เริ่มตัดสินว่าเราจะประกอบอาชีพเป็นช่างภาพ คือตอนที่ภาพของผมเผยแพร่ออกไปแล้วมีคนเห็นคุณค่า เช่น ภาพเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ เต่าออกไข่ โดยเฉพาะภาพแนวปะการัง เสื่อมโทรมที่เกาะตาชัย ซึ่งเป็นหนึ่งในภาพที่ถูกนํามาผลักดันจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบริหารจัดการ ลงมติให้ปิดเกาะตาชัยเพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง”

มุมมองลึกซึ้งใต้ทะเล ที่เสนอผ่านสุนทรียะของภาพถ่าย

“ผมเริ่มถ่ายรูปช่วงปี ๒๐๑๑ ขึ้นปี ๒๐๑๒ ผมก็ส่งงานไปประกวดที่เมืองนอกเลยเป็นความสนุก แต่คอนเซ็ปของ Conservation Photography (การถ่ายภาพเชิงอนุรักษ์) ผมรู้จักทำนี้จาก โทมัส เพสแชค (Thomas P. Peschak) ช่างภาพของ National Geographic ที่ตอนนี้เป็นเหมือนอาจารย์ที่ปรึกษาให้ผม ผมเคยอ่านเรื่องราวชีวิตการทำงานของท่านจึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจ”

“เราเล่าความจริงและพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเชิง Scientific Base ซึ่งเป็นข้อสำคัญเพราะว่า ผมเป็นช่างภาพ ผมมองว่า ผมไม่ใช่นักรณรงค์ หรือนักเคลื่อนไหวทางสังคม แต่ผมเป็นคนเก็บข้อมูล เชิงประจักษ์ หรือ Visual Evidence เพื่อนำไปอ้างอิง”

การที่ได้ศึกษา และทำงานด้านวิทยาศาสตร์มาก่อน มุมมองของภาพถ่ายเล่าเรื่องอย่างซื่อตรง ไม่ปั่นดราม่า ถึงแม้ว่า บางครั้งการเป็นช่างภาพอิสระอาจจะได้รับการว่าจ้างในสิ่งที่ยังข้อถกเถียง ขัดแย้ง และมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

“สิ่งที่ผมยึดมั่น คือ ความถูกต้อง และซื่อตรงกับวิชาชีพ ไม่ใช่จ้างแล้วจะไปถ่ายในสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย”

ผลงานที่ภาคภูมิใจ

ภาพถ่ายอ่าวมาหยา เกาะพีพี ที่ ดร.ธรณ์ ธำรงนสวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่าย กิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำภาพ ไปใช้ผลักดันต่อเรื่องการปิดอ่ามาหยา เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และ ทุ่งประการังโผล่พ่นผิวน้ำภายใต้แสงดาว ที่ทำให้กรมอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะเภตรา ปิดพื้นที่ฟื้นฟู

ส่วนผลกระทบที่ ปากบารา จ.สตูล กลุ่มคนที่รณรงค์ ยับยั้งโครงการท่าเรือน้ำลึก ภูมิใจที่ ได้เป็นส่วนร่วมถ่ายภาพกับช่างภาพพี่ๆหลายท่านใน โครงการรักษ์หินขาว เพื่อผลักดัน สื่อสารให้เห็นความสมบูรณ์ของท้องทะเลสตูล จนโครงการกาอสร้างระงับไป

ปัจจุบันชินยังคงรับงานเป็นช่างภาพอิสระ เดินทางถ่ายทอดอุดมการณ์ ผ่านการถ่ายภาพที่เขารัก ผู้สนใจสามารถ ติดตามผลงานเชิงอนุรักษ์ของเขาได้ใน www.shinsphoto.com

About the Author

Share:
Tags: Environment / นิตยสารอนุรักษ์ / นักอนุรักษ์ / ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย / อ่าวมาหยา / ปากบารา / ช่างภาพใต้น้ำ / Ecology / Photographer / ThailandOcean /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ