Sunday, May 19, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

เสน่ห์ชวนเพลิน ริมคลองบ้านไทร

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 5
เรื่อง: อุราณี ทับทอง
ภาพ: นพพร ยรรยง

เสน่ห์ชวนเพลิน

ริมคลองบ้านไทร

“มุมสงบ…” คําตอบของผู้โหยหา การปล่อยวางบางเรื่องของชีวิต แม้จะเป็นห้วงเวลาเพียงชั่วครู่ แต่การหยุดความคิดในมุมเล็กๆ สักแห่งที่ไร้ความวุ่นวาย ก็อาจช่วย ปลดเปลื้องความเหนื่อยหน่าย ที่ไม่อาจประเมินหน่วยชั่งตวงได้

“ที่ไหน…” คําถามมากคําตอบ แต่ไม่มีใครบอกได้ดีเท่าตัวเอง ช่วงบ่ายคล้อย ของวันที่รู้สึกแบบนั้น ฉันเลือกไปตาม เส้นทางที่คุ้นเคย บนถนนพุทธมณฑลสาย ๑ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนที่ยังดูใหม่ สะอาด สะอ้าน แผนที่ดาวเทียมนําทางระบุชื่อซอย โชคสมบัติ มีแยกเลี้ยวไปมาถึงซอยจําปากาญจนาภิเษก

หน้าจอบอกทางยุคไฮเทค ไม่อาจทําให้ มั่นใจไปกว่าป้ายสีแดงที่บอกชัดว่า ปลายถนน นี้คือ “วัดจําปา” วัดราษฎร์เก่าแก่ ที่สร้างขึ้น ตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ในแขวง บางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

เมื่อหลายปีก่อน วัดจําปามีชื่อเสียงเรื่อง “ตลาดน้ํา” เนื่องจากมีคลองโอบไว้ทั้งสามฝั่ง คือทิศตะวันออก และทิศใต้ ติด “คลอง บางระมาด” ซึ่งเชื่อมต่อเส้นทางล่องเรือ ระหว่างคลองลัดมะยม จนถึงคลองมหาสวัสดิ์ ทางวัดและชุมชน จึงร่วมกันสร้างตลาดริมน้ํา ขึ้นเพื่อเรียกแรงศรัทธาจากผู้คนให้แวะมา ทําความรู้จัก แต่วันนี้แปรเปลี่ยนเป็นพื้นที่ ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ตามความตั้งใจเดิม

บางสิ่งที่หายไป อาจเพื่ออีกสิ่งที่มีคุณค่ากว่า พระครูสุนทรจริยาภิรม (สยาม ปญฺญาปชฺโชโต) เจ้าอาวาสวัดจําปา เห็นพ้องกับชาวบ้าน ให้ย้าย ตลาดมาตั้งยังฝั่งทิศเหนือของวัด ที่ขนาบชิด “คลองบ้านไทร” สายน้ําที่แยกทางมาจาก คลองชักพระ กลายเป็นตลาดริมน้ําขนาดย่อม ที่ไม่หวือหวา กาลเวลาค่อยๆ คัดกรองพ่อค้า แม่ขายต่างถิ่นออกไป เหลือเพียงชาวบ้าน ละแวกนี้ มาขายผลผลิตจากครัวเรือน พอเป็น สีสันในวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ โดยช่วย ทําบุญกับวัดเป็นค่าพื้นที่เพียงวันละ ๒๐ บาทหรือแล้วแต่จะบริจาคตามศรัทธา

ในวันที่หมุดหมายคือความสงบ ฉันเดิน ทอดน่องผ่านแผงค้า รับรอยยิ้มจากเจ้าถิ่นแล้วหยุดนั่งบนแคร่ไม้ไผ่ริมคลองบ้านไทร มองดูบรรยากาศ หวังจินตนาการเรื่องหนักใจ ไปต่างๆ นานา แต่แล้วก็ทําให้ต้องพักความ กังวลไว้เมื่อหันมองชีวิตของผู้ที่อยู่รอบตัว ทั้งชายวัยเกษียณที่กําลังพายเรือข้ามฝากเพื่อมารับภรรยาอีกฝั่ง ขณะที่ในคลองย่อย แคบๆ มีคุณแม่กําลังพายเรือพาลูกสาวมา เที่ยวที่วัด ส่งเสียงทายทักกับบ้านอีกหลังซึ่งกําลังยกของจากเรือขึ้นบ้าน

‘ชีวิตจริง’ ริมคลอง

ยามบ่ายคล้อย ชาวบ้านริมคลองไร้ขอบรั้ว เริ่มปรากฏตัวอยู่ริมฝั่ง กระทั่งเรือขายเป็ดพะโล้ เจ้าถิ่นมาถึงเกือบทุกบ้านต้องเรียกให้เทียบท่าเพื่ออุดหนุน

“ป้าขายตั้งแต่อายุ ๑๗ ตอนนี้ ๕๗ แล้วล่องขายตามบ้านริมน้ําอย่างนี้มาตลอด เมื่อก่อนขายแต่เป็ดพะโล้ ตอนนี้พัฒนาขึ้นมา อีกนิด มีบะหมี่หยกขาย พร้อมให้ลูกค้ากิน แบบเอ็มเค (หัวเราะ)” แม่ค้าเป็ดพะโล้บน ลําเรือ ตอบคําถามฉันอย่างยิ้มแย้ม พลางสับ เป็ดหน้าตู้ไม้เก่าบนลําเรือ ระหว่างชวนคุย “น้าคําฟอง” เจ้าถิ่นอีกคน ก็มาร่วมวงสนทนา “เมื่อก่อนคลองเส้นนี้ไม่เป็นอย่างนี้หรอก ตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก คนน้อยลง เรือสัญจรก็น้อยลง สมัยก่อนสภาพน้ํายังดี กว่านี้ ชาวบ้านตักน้ําใส่โอ่ง ซักผ้า อาบน้ํา ได้เลย กระโดดเล่นน้ําในคลองได้สบาย จะไป ไหนก็นั่งเรือไปแป๊ปเดียว ไม่ต้องเจอรถติด”

เธอเล่าว่า ภาพวันนี้กับเมื่อหลายสิบปีก่อน เปลี่ยนไป ทั้งคุณภาพน้ํา สภาพแวดล้อม และ ทางสัญจร พื้นที่สวนที่เคยมีมากมายก็หดหาย ไปทุกที จากที่เคยเป็นแหล่งปลูกเครื่องต้มยํา ที่ใหญ่ที่สุด ปลูกมะกรูด ข่า ตะไคร้ กันหลาย พันไร่ แปรเปลี่ยนเป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัย

“บ้านไหนไม่มีรุ่นลูกหลานทําเกษตรกร ต่อก็ปล่อยขาย คนรุ่นปู่ย่าต่อสู้หาที่ทํากินมา ก็ต้องหดหายไป เหลือกันอยู่แค่แถวนี้ ร้อยกว่า หลังคาเรือนที่ยังไม่ไปไหน เป็นคนเก่าแก่รู้จักกันหมด แต่ถ้าออกไปรอบนอก ก็จะมีแต่บ้านจัดสรรใหญ่โตล้อมเราไว้ทั้งนั้น สําหรับคน ที่นี่ สังคมบ้านจัดสรรไม่มีความปรานี มีแต่ อ้างกฎหมาย กับกําแพงเลี้ยงยีราฟ (กําแพงรั้ว บ้านสูงๆ) แล้วก็บ่นว่าร้อน แต่แถวนี้ไม่มี หรอก รับลมเย็นสบาย” เป็นคําบอกเล่าที่ซ่อน ความเศร้า พร้อมประโยคตลกร้ายบนความ เป็นจริง

หลังสนทนาหลากอารมณ์ เจ้าถิ่นขอตัวแยกย้าย แล้วชวนให้ลิ้มรสขนมไทยฝีมือชาว บ้านริมคลองตัวจริง เป็นขนมพื้นบ้านแบบ โบราณหาทานยาก อย่าง “หนุมานคลุกฝุ่น” หรือ “ข้าวตอกตั้ง” พร้อมด้วยขนมด้วง ขนมปลากริม ขนมฟักข้าว ฯลฯ ฉันซื้อแทบ ทุกอย่าง เพราะราคาเพียงถุงละ ๑๐ บาท สุดคุ้มกับอรรถรสในการนั่งริมคลองกินขนมไทย

รอยเรื่องวัดเก่าครั้งกรุงศรีฯ

ก่อนเสียงระฆังดังบอกเวลาทําวัตรเย็นฉันกลับเข้ามาในวัด เพื่อใช้เวลาที่เหลือกับ รอยอดีตที่อบอวลอยู่รอบตัว ทั้งสวนป่าที่มี ต้นไม้ใหญ่อายุร้อยปี ตั้งตระหง่าน และ พระอุโบสถเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา กระทั่งได้รับการบูรณะครั้ง ใหญ่ ราวปี พ.ศ.๒๓๖๘ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๓

รอบพระอุโบสถดูทรุดโทรมอย่างมาก แต่ก็เต็มเปี่ยมด้วยแรงศรัทธาของผู้คน เมื่อ สังเกตตรงซุ้มประตูแก้ว เห็นเครื่องไหว้บูชา วางอยู่ “ลุงรงค์” ชาวบ้านที่เดินผ่านมาบอกว่า คนที่นี่มักจัดเครื่องแก้บนวางถวายไว้ หลังจาก ได้รับพรจาก “หลวงพ่อโชคดี” พระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมือง ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถซึ่งชาวบ้านนับถือกันมาก

ลุงรงค์ชวนให้เข้าไปไหว้พระขอพรในโบสถ์ โดยแนะให้ตั้งอธิษฐานจิต พร้อมพนมมือเดินผ่านซุ้มประตูแก้วเข้าไป หากปรารถนาจะให้ หายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ให้จุดธูปบูชาและอธิษฐานกับ “เซียนหลีก๊วย” ซึ่งปรากฏ เป็นปูนปั้นบนหน้าบันซุ้มประตูแก้ว แต่กําชับว่าระหว่างเดินไปนั้น หากได้ยินเสียงใดๆ อย่า หันกลับมามองเด็ดขาด

บนความเชื่อต้องปราศจากการลบหลู่ ฉันฟังลุงรงค์เล่าอย่างตั้งใจ พลางหันไปมอง “ต้นสะตือ” ไม้โบราณเก่าแก่ ขนาดราวสาม คนโอบ ลุงรงค์บอกว่า ในต้นนี้มีงูเหลือมใหญ่ อยู่ภายใน และศาลจุกแกละที่ตั้งอยู่ไม่ไกล ก็ มีสิ่งอัศจรรย์ที่ชาวบ้านต่างคุ้นชิน

“แถวนี้เขารู้กัน จุกแกละเขาชอบเล่น ชิงช้าทุกเช้า เห็นชิงช้าเหล็กนั้นไหม ชิงช้าเหล็ก ๓ ๓ ที่ ตั้งอยู่ข้างศาล) ทุกคน เห็นหมด ไม่มีลมพัด แต่ชิงช้าเหล็กแกว่งเอง (ชี้ไปที่แต่แกว่งแค่ ๒ ที่นะ แกว่งเสมอกันด้วย นานเป็นครึ่งชั่วโมง เห็นกันบ่อย แต่ไม่มีใคร ถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอติดเลย”

ลุงรงค์เล่าสู่กันฟังราวกับเป็นเรื่องธรรมดา ขณะที่คนฟังเริ่มขนหัวลุก จึงรีบเบี่ยงความ สนใจมาที่หลังคาวิหารคด ซึ่งมีรูปปูนปั้น จระเข้ทั้งสองมุม ตัวหนึ่งกําลังกินปลา แต่อีก ตัวกําลังกินคน เป็นปริศนาธรรมประการหนึ่ง ที่หลวงพ่อช่วง (พระครูอรรถกิจจาทร ช่วง สุวณฺณโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดจําปา ได้ฝาก ฝั่งไว้เมื่อหลายสิบปีก่อน เพื่อเป็นเครื่องหมาย เตือนใจพระภิกษุถึงนิสัยของจระเข้ คือเห็นแก่ ปากแก่ท้อง จระเข้กินทุกอย่างที่ขวางหน้าพระก็เช่นเดียวกัน หากเห็นแก่ปากแก่ท้อง ก็ไม่มีความอดทน จนต้องลาสิกขาไป ไม่สามารถทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาได้

ไม่นานเสียงสวดมนต์ของสงฆ์ก็ก้องระงมไปทั่ววัด รู้สึกเหมือนทุกสิ่งรอบตัวหยุด เคลื่อนไหว ฉันมองไปรอบบริเวณ ก็พบแต่ ความงามของสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่อาจมี ความหมายลึกซึ้งเกินกว่าคนรุ่นหลังจะเข้าใจ ความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย แต่คงไว้ซึ่งความ เข้มขลังอยู่ภายใน…

เย็นย่า ชาวบ้านริมคลองต่างพากับกลับ เข้าบ้าน เตรียมล้อมวงกินข้าวกับครอบครัวอย่างมีความสุข โดยปราศจากเสียงวุ่นวายของการจราจร

ส่วนฉัน ก็ถึงเวลาเดินทางกลับสู่พํานัก ที่มีขอบรั้วสูงชันเช่นทุกวัน แต่ความกลัดกลุ้ม ที่หอบหิ้วมาหายพลัน โดยไม่ทันรู้ตัว

About the Author

Share:
Tags: คลอง / ฉบับที่ 5 / น้ํา / คลองบ้านไทร / ตลาดน้ํา /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ