Saturday, May 18, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

พระราชนิยมใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 10
เรื่อง: เพชร ท่าพระจันทร์

ภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นิทรรศการ ๖๗ ปี กมล ทัศนาญชลี หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
๔ กุมภาพันธ์ – ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗

พระราชนิยมใน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ความคิดคำนึง (ปี ๒๕๒๒) บทพระราชนิพนธ์และภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘ นี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระผู้เป็นองค์อุปถัมภ์ ของศิลปะทุกแขนงในปัจจุบัน จะทรงเจริญพระชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา

หน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชนได้เตรียมการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อแสดงความจงรักภักดีและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดปีมหามงคลนี้

(เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘)

สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงเล่าพระราชทานว่า ทรงประดิษฐ์ของถวายมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ทุกๆ ปี เพราะสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถทรงสอนพระราชโอรส พระราชธิดาว่า ปีหนึ่งๆ ต้องทรงประดิษฐ์ทำของถวายเองไม่ควรซื้อของมาถวาย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พิธีเปิดนิทรรศการ ๖๗ ปี กมล ทัศนาญชลี หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

กิจกรรมอย่างหนึ่งที่เข้าร่วมและแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เสมอ กิจกรรมนั้นคือกิจกรรมทางศิลปะ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นพระราชนิยมของสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งแต่ทรงเข้าเรียนในโรงเรียน จิตรลดา จวบจนปัจจุบัน พระองค์ก็ยังทรงเข้าร่วมในกิจกรรมทาง ศิลปะอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของพระองค์ท่าน หน้าคอลัมน์ในนิตยสารอนุรักษ์โดยผู้เขียน ขออัญเชิญภาพฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงวาดไว้ในอดีตและปัจจุบัน มาลงให้ได้ร่วมชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระองค์ โดยตอนท้ายเรื่อง ผู้เขียนได้ขอความอนุเคราะห์ยืมภาพฝีพระหัตถ์ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเชษฐา และพระขนิษฐธิราชของพระองค์ ที่อยู่ในการดูแลของผู้ได้รับพระราชทานภาพฝีพระหัตถ์เนื่องในโอกาสต่างๆ มาร่วมแสดงด้วย

เพื่อเทิดพระเกียรติและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ภาพฝีพระหัตถ์นั้น มีดังต่อไปนี้

ภาพฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(พิธีเปิดนิทรรศการ ๗๑ ปี กมล ทัศนาญชลี และเพื่อนศิลปิน)
หอศิลปร่วมสมัย ถนนราชดำเนิน ๖ มกราคม – ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ภาพฝึพระหัตถ์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ดอกพลับพลึง ปึ ๒๕๑๓ ขนาด ๓๐ x ๔๐ เซนติเมตร
เทคนิค สีนํ้า (gouache) บนกระดาษ
ดอกกล้วยไม้ ภาพฝึพระหัตถ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เทคนิค สีนํ้าบนกระดาษ ปี ๒๕๑๓

ตอนชั้นประถมศึกษาตอนต้น ครูโยมูระให้เด็กๆ ใช้สีเทียน ส่วนมากจะวาดตามที่ครูเขียนบนกระดาน นานๆ ทีจึงจะให้ดูของ จริงแล้ววาด ถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลายจึงจะสอนสีน้ํา สีน้ําที่ ครูใช้ไม่ใช่สีน้ําธรรมดา แต่เป็นสีกวอชหรือกูอาช (gouache) สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงอธิบายว่า “เป็นสีน้ําที่ผสมอะไรบาง อย่างที่ทําให้ขุ่นและเติมสีขาว มีเทคนิคระบายเป็นพิเศษไม่เหมือน สีน้ํา คือระบายสีเป็นกระบิๆ ได้เหมือนสีน้ํามัน”(๑)

ที่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อนักเรียนประดิษฐ์งานศิลปะตาม ที่เรียนมาเสร็จแล้ว ทางโรงเรียนไม่ได้คืนเด็กนักเรียนทั้งหมด แต่เก็บบางส่วนไว้แสดงในงานโรงเรียนและขายให้แก่ผู้สนใจดังนั้นภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เมื่อทรงพระเยาว์ที่ทรงวาด ที่โรงเรียน บางภาพจึงยังมีผู้เก็บรักษาไว้ เป็นสมบัติของอาจารย์ และท่านผู้ใหญ่ที่ซื้อเก็บไว้เป็นที่ระลึก เช่น ภาพดอกกล้วยไม้ ภาพทะเล และภาพหน้ากากงู


๑. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานสัมภาษณ์ วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๗ แก่คณะผู้จัดทําหนังสือทอสีเทียบฝัน (สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงเรียนวาดรูปที่ โรงเรียนจิตรลดากับครูเทรุโอะ โยมูระ และครูประพาส ปานพิพัฒน์)

(หน้า) ส.ค.ส. ภาพวิรุณจำบัง
หนังสือทอสีเทียบฝัน
จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) พิมพ์เฉลิมพระเกียรติ
ในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุ ๔๐ พรรษา
๒ เมษายน ๒๕๓๘

(หลัง) พรพระราชทานพระราชนิพนธ์และภาพฝีพระหัตถ์
ส.ค.ส. พระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

สมัยทรงพระเยาว์มีครูพิเศษอีกสองท่าน คือ อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต และอาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ อาจารย์จักรพันธุ์เมื่อ มาสอนสมเด็จพระเทพรัตนฯ นั้นยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร

ทรงจําได้ว่าอาจารย์จักรพันธุ์ฝึกให้ทรงวาดภาพหุ่นนิ่ง หาแบบต่างๆ มาให้ทรงวาด เช่น ปลาที่เริ่มเน่า เพราะว่าจะมี สีสดกว่าปลาที่ตายใหม่ๆ ในบรรดาภาพที่ทรงวาดนั้น อาจารย์ จักรพันธุ์ชอบอยู่ภาพเดียว คือ ภาพหุ่นนิ่งรูปหัวกะโหลกวัว มีผ้า สีแดงๆ เป็นฉากหลัง น่าเสียดายที่ภาพฝีพระหัตถ์รูปนี้ไม่ทรง ทราบว่าบัดนี้อยู่ที่ไหน

ส่วนอาจารย์พิริยะนั้น ทรงจําได้ว่าอาจารย์มาแนะนําวิธีการ วาดภาพบ้างขณะที่ตามเสด็จฯ ไปเชียงใหม่ เวลานั้นพระชนมายุ ๗ – ๘ พรรษา ทรงเล่าว่า “อาจารย์พิริยะชอบสีแสดมาก เวลาวาดต้นก้ามปูให้ลงสีแสดเยอะๆ” (๑)

สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงเล่าพระราชทานว่า ทรงประดิษฐ์ของ ถวายมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ทุกๆ ปี เพราะสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสอนพระราชโอรส พระราชธิดาว่า ปีหนึ่งๆ ต้องทรงประดิษฐ์ทําของถวายเอง ไม่ควรซื้อของมาถวาย บางปี สมเด็จพระเทพรัตนฯ ก็ทรงแต่งคําประพันธ์ถวาย บางปีทรงปักผ้า บางปีก็ทรงเขียนรูปภาพ ภาพฝีพระหัตถ์พระราชธิดา ที่ทูลเกล้าฯ ถวาย โปรดเกล้าฯ ให้ติดไว้ในห้องที่ประทับส่วน พระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงอยากดูเมื่อไร ก็เสด็จไป ทอดพระเนตรได้บ่อยๆ (๒)


๑. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานสัมภาษณ์ วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๗ แก่คณะผู้จัดทําหนังสือทอสีเทียบฝัน
๒. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานสัมภาษณ์ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๗ แก่คณะผู้จัดทําหนังสือทอสีเทียบฝัน


ขอขอบพระคุณ ท่านผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ผู้ดูแล ส.ค.ส. พระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ขอขอบคุณ ศูนย์ศิลปะ – พิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคล พลอย – แพรวา นนทบุรี ผู้ดูแลภาพ ฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ขอขอบคุณ ข้อมูล บทความ บทพระราชทานสัมภาษณ์ จากหนังสือทอสีเทียบฝัน
ขอบคุณการเอื้อเฟื้อภาพของ Bloggang.com
และขอบคุณฝ่ายออกแบบจัดหน้า ณรงค์ฤทธิ์ วิริยะ – จารุวรรณ ฑีฆาวงศ์ มา ณ ที่นี้ด้วย

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 10 / สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ / สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี / สีนํ้า /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ