Sunday, May 5, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

“พระราชวังพญาไท” พระราชวังงาม กลางมหานคร

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 4
เรื่อง : สริตา อุรุพงศา
ภาพ : นพพร ยรรยง


บริเวณด้านหน้าของพระราชวังพญาไทโบราณสถานที่สำคัญของชาติที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระราชวังพญาไทตั้งแต่วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๒

“พระราชวังพญาไท”

พระราชวังงาม กลางมหานคร

เมื่อราวร้อยปีก่อน ปลายถนนซางฮี้ (ถนนราชวิถีในปัจจุบัน) ตอนตัดใหม่ๆ นั้นเป็นสวนผักและไร่นา มีคลองสามเสนไหลผ่าน พื้นที่ยังโล่งโปร่งสบาย เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินประมาณ ๑๐๐ ไร่ เพื่อใช้ทดลองปลูกธัญพืช และเป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ จึงเกิดเป็นโรงเรือนหลังแรก “โรงนาหลวงคลองพญาไท” พร้อมกับโปรดเกล้าให้ย้ายพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่เคยประกอบที่ทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง) มาจัดที่ทุ่งพญาไท นั่นคือจุดเริ่มต้นของพระราชวังพญาไท

ทว่ารัชกาลที่ ๕ ใช้พระราชวังพญาไทเป็นที่ประทับแค่เพียงในระยะเวลาอันสั้น เพราะหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็เสด็จสวรรคต การสูญเสียสมเด็จพระบรมราชสวามีเป็นเหตุให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีทรงพระอนามัยทรุดโทรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทูลเชิญให้พระราชมารดามาประทับที่พระตำหนักพญาไท พร้อมด้วยพระประยูรญาติที่ใกล้ชิด จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ๒๔๖๒ รัชกาลที่ ๖ จึงทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียงพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง (ปัจจุบันพระตำหนักพญาไทอยู่ที่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร) และสร้างหมู่พระราชมณเฑียร ประกอบด้วยพระที่นั่ง

๔ องค์ มีพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นองค์ประธาน และพระที่นั่งรองอีก ๓ องค์ พร้อมกับสถาปนาพระตำหนักพญาไทให้เป็น “พระราชวังพญาไท” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนีจากนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่พระราชวังนี้เป็นประจำ ทรงนิพนธ์วรรณกรรมชิ้นเอกหลายเรื่อง ทั้งยังเป็นที่ทรงงานด้านการปกครองที่โดดเด่น คือ ดุสิตธานี เมืองจำลองในพื้นที่ ๒ ไร่เศษ ทรงพระดำริขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่เรียกว่า ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตยย่อส่วนซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงโมเดลเดียวที่พระราชวังแห่งนี้ กระทั่งทรงมีพระอาการประชวรในปี ๒๔๖๘ จนเดือนสุดท้ายแห่งรัชกาล จึงเสด็จ

พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งทั้งหมด

หากจะว่ากันถึงภาพจำที่โดดเด่นในด้านรูปลักษณ์ของพระราชวังพญาไท ผู้คนมักจะนึกถึงหลังคายอดแหลมบนหอคอยสูง และสถาปัตยกรรมภายในสไตล์นีโอคลาสสิก เป็นสไตล์เรียบง่ายทว่างดงามหมดจด ไม้ทุกบานในตัวอาคารทำจากไม้สักทอง

กลับไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวังสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชายา ก็ทรงย้ายออกจากพระที่นั่งวิมานเมฆ นับจากนั้นมาพระที่นั่งวิมานเมฆก็ไม่ได้เป็นพระราชฐานที่ประทับของเจ้านายอีกต่อไป

ห้องบรรทม ณ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงพระราชวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง สำหรับให้ชาวต่างชาติพัก (ตามพระราชประสงค์เดิมของ ร. ๖) โรงแรม Phya Thai Palace hotel เปิดให้บริการเมื่อ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติอย่างท่วมท้น จนกระทั่งได้รับการขนานนามว่าเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งของเอเชีย ขณะเดียวกันก็ยกห้องหนึ่งในโรงแรมเป็นที่ตั้งของสถานีจนเลิกกิจการเมื่อปี ๒๔๗๕ เนื่องจากคณะราษฎรต้องการเปลี่ยนให้เป็นสถานพยาบาลของกองทัพบก ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

ปัจจุบันพระราชวังพญาไท โอบล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ สนามหญ้าเขียวขจี และลำธาร ซึ่งคือคลองไหลขนาบทางด้านหลัง ช่วยเติมเต็มความร่มรื่นให้พื้นที่ทุกอณูภายในอาณาเขตพระราชวัง ในยามที่ก้าว

ภายในท้องพระโรงงดงามวิจิตรด้วยสถาปัตยกรรมแบบไบเซนไทน์ ของพระที่นั่งเทวราชสภารมย์
บริเวณอาคารเทียบรถพระที่นั่งทางเข้าร้านกาแฟนรสิงห์

เข้าสู่ปีที่ ๑๐๔ หากจะว่ากันถึงภาพจำที่โดดเด่นในด้านรูปลักษณ์ของพระราชวังพญาไท ผู้คนมักจะนึกถึงหลังคายอดแหลมบนหอคอยสูงและสถาปัตยกรรมภายในสไตล์นีโอคลาสสิก เป็นสไตล์เรียบง่ายทว่างดงามหมดจด ไม้ทุกบานในตัวอาคารทำจากไม้สักทอง พื้นด้านในตัวพระราชวังแทบทั้งหมดทำจากหินอ่อนที่คุณภาพดีที่สุดในโลกจากเหมืองคาร์รารา ในประเทศอิตาลี พระราชวังพญาไทอยู่ภายใต้ความดูแลของมูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท กว่าเจ็ดปีมาแล้วที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมความงดงามของสถานที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันเลอค่าแห่งนี้

บริเวณพระราชวังพญาไท ประกอบไปด้วยหมู่พระที่นั่งเชื่อมต่อกันทั้งหมด ๕ องค์ คือ พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์และพระตำหนักเมขลารูจี

พระที่นั่งพิมานจักรี

จุดเด่นของพระที่นั่งพิมานจักรีอยู่ที่ยอดโดมสีแดง ซึ่งในอดีตใช้สำหรับชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งครั้งเก่าก่อน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ ต่อมาได้ใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมเหสี จึงนับเป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งทั้งหมด มีสถาปัตยกรรมทรงโรมันเนสก์ ผสมกับทรงกอธิค ภายในมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูนเปียกและบานประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า “ร.ร.๖” ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดีรัชกาลที่ ๖ นั่นเอง

บันไดไม้สัก อีกเอกลักษณ์สำคัญของพระราชวังพญาไท

พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน
จากเคยเป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน ๒ ชั้น ได้ถูกต่อเติมเป็นพระที่นั่ง ๓ ชั้นในภายหลัง เพื่อใช้เป็นห้องบรรทมและห้องสรงส่วนพระองค์

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส
พระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน ๒ ชั้น มียอดโดมเช่นเดียวกับพระที่นั่งพิมานจักรี แต่ขนาดเล็กกว่าแบบอิงลิช กอธิคบริเวณเพดานด้านในนั้นประดับด้วยจิตรกรรมแบบอาร์ต นูโว เด่นด้วยลวดลายเถาองุ่นเนื่องเพราะห้องนี้เคยเป็นห้องเสวยเมื่อครั้งอดีต

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์
ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแบบไบแซนไทน์ มีโดมอยู่ตรงส่วนกลาง รับด้วยหลังคาโค้งประทุนทั้ง ๔ ด้าน ภายในท้องพระโรงทาสสี นั งดงามวจิ ติ ร และมพี ระปรมาภิไธยยอ่ “สผ” (เสาวภาผ่องศรีพระนามเดิมของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง) อยู่ตอนบนใกล้หลังคาภายในพระที่นั่ง ในอดีตใช้เป็นท้องพระโรงจัดงานต่างๆ

พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์
เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน ๒ ชั้นที่ออกแบบไว้อย่างเรียบง่ายประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว ราวบันไดเป็นเหล็กหล่อโครงสร้างดัดเป็นแบบอาร์ตนูโว ใช้เป็นที่ประทับของพระสุจริตสุดา และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระสนมเอกและพระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ จึงมีการสร้างทางเชื่อมกับพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถานในชั้นที่ ๒เพื่อให้เดินถึงกันกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรีได้

ภายในของพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส
ภายในท้องพระโรงกลำง ของพระที่นั่งพิมานจักรีมีเตาผิงซึ่งตอนบนประดิษฐาน พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพชายหญิงและแกะซึ่งเป็นภาพเขียนสีแบบตะวันตก
ห้องทรงพระอักษร เป็นห้องใต้โดมบนชั้นสองติดกับบันไดเวียนซึ่งสามารถขึ้นไปยังห้องใต้หลังคาโดมได้

ระเบียบการเข้าชม
ห้ามสวมเสื้อแขนกุด สายเดี่ยว และกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าเขตพระราชวัง

พระราชวังพญาไท ถนนราชวิถี เขตราชเทวี โทร. ๐ ๒๓๕๔๗๙๘๗ เปิดให้เข้าชมวันเสาร์และอาทิตย์ โดยมีวิทยากรจากชมรมคนรักวังนำชมภายในตัวอาคาร พร้อมมอบความรู้ดีๆเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระราชวังพญาไท ๒ รอบ เวลา ๙.๓๐ น. และ ๑๓.๓๐ น. (วันจันทร์ – ศุกร์ เข้าชมได้เป็นหมู่คณะโดยต้องติดต่อล่วงหน้า ๑ สัปดาห์)

พระตำหนักเมขลารูจี
เรือนไม้สักขนาดหย่อม ๒ ชั้นอยู่ทางด้านหลังพระราชวัง ตัวหลังคามุงกระเบื้องดินเผา โดดเด่นด้วยภาพเขียนสีลายนกหว้า ภายในมีสระสรง สำหรับสรงนํ้าหลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ หรือตัดผมสวนโรมัน ตกแต่งในรูปแบบเลขาคณิต มีศาลาและตุ๊กตาหินอ่อนแบบโรมันอยู่ภายใน ณ บริเวณกลางสระนํ้าด้านหน้าศาลา เป็นที่ตั้งของไฮไลต์ของสวนโรมัน ได้แก่ รูปปั้นพระพิรุณ หรือพระวรุณซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำทิศตะวันตก ทำจากโลหะบรอนซ์ ผลงานเอกของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี

ศาลท่านท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) ท้ายพระราชวังพญาไท สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ป่วยและญาตินิยมมากราบไหว้ขอให้หายจากอาการป่วย และคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆ โดยผลไม้ที่นิยมมาถวายมี ๔ ชนิดคือ ขนุน มะพร้าวนํ้าหอม กล้วยนํ้าว้า และสับปะรด

อาคารเทียบรถพระที่นั่ง ที่ตั้งของร้านกาแฟนรสิงห์ เคยเป็นห้องพักคอยสำหรับผู้มาเข้าเฝ้าสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันดัดแปลงให้คนไทยได้สัมผัสบรรยากาศจำลองร้านกาแฟแห่งแรกในไทย ที่เปิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ ๖ ณ สนามเสือป่า จนขึ้นชื่อว่าเป็นร้านกาแฟชื่อดังแห่งยุค กระทั่งปิดตัวลงเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ร้านกาแฟนรสิงห์แห่งนี้ เสิร์ฟเมนูกาแฟหลากหลาย ทั้งยังมีของหวานนานาชนิดอาหารสไตล์ไทยประยุกต์ และอาหารยุโรปไว้ให้เลือกทาน ในบรรยากาศนีโอคลาสสิกสไตล์ยุโรป สถาปัตยกรรมที่เป็นดั่งหัวใจหลักของพระราชวังพญาไท

เปิดบริการวันจันทร์- วันศุกร์ เวลา ๘.๓๐-๑๙.๐๐ น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา ๑๐.๓๐-๑๙.๐๐ น. โทร. ๐ ๒๓๕๔ ๗๙๘๗

About the Author

Share:
Tags: วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / architecture / ฉบับที่ 4 / interior / พระราชวังพญาไท / พระราชวัง /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ