Sunday, May 19, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

นางสาวไทย ตกสวรรค์ในปี ๒๔๘๔

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 17
เรื่อง / ภาพ : วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์

นางสาวไทย

ตกสวรรค์ในปี ๒๔๘๔

น.ส. เฉลิมศรี เสวกอนันต์ อำเภอบางรัก ส่งเข้าประกวดนางสาวไทยปี พ.ศ. ๒๔๘๔

นับตั้งแต่ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตําแหน่ง นายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ นโยบายการสร้างชาติและสร้างวัฒนธรรมการเมืองแบบใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสูง โดยเฉพาะการเปลี่ยนชื่อประเทศ จากประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย ส่งผลให้กิจกรรม ประกวดนางสาวสยามที่ก่อตั้งมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ต้องปรับ เปลี่ยนชื่อการประกวดใหม่จากการประกวดนางสาวสยามมาเป็นการประกวดนางสาวไทย

ประเทศสยามมีนางสาวสยามคนแรกคือกันยา เทียนสว่าง รับตำแหน่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ส่วนตําาแหน่งนางสาวสยามคนสุดท้ายคือ พิศมัย โชติวุฒิ รับตําแหน่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ประเทศเปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทย ได้จัดงานประกวดนางสาว ซึ่งเปลี่ยนชื่องานแล้วเป็นการประกวดนางสาวไทยอันเป็นกิจกรรมสําคัญในการ จัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ ณ เวทีสวนอัมพร ในคืนวันที่ ๒ ธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดย ในคืนนั้น เรียม เพศยนาวิน รับตําแหน่งนางสาว ไทยคนแรก ในปีต่อมา หรือ พ.ศ. ๒๔๘๓ นางสาวไทยคนที่ ๒ คือ สว่างจิตต์ หฤหานนท์

เรียม เพศยนาวิน นางสาวไทยคนแรก เข้ารับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒

หลังจากประกาศใช้รัฐนิยม ฉบับที่ ๑๐ เรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ บรรยากาศ การส่งเสริมการจัดประกวด นอกจากจะมีการ จัดประกวดนางสาวไทยเป็นหลักแล้ว ยังมีกิจกรรมการประกวดนางสาวประเภทต่างๆมากมาย เช่น การประกวดเครื่องแต่งกายสตรีไทยในงานพระอุทยานสราญรมย์ ซึ่งในงาน ยังมีการแจกรางวัลพิเศษสําหรับการแต่งกายยอดเยี่ยมของหญิงชราที่ไปเข้าวัดฟังเทศน์ทําบุญด้วย ในการประกวดครั้งนี้ พระนางเธองานประกวดหมวกและเครื่องแต่งกายสตรีในลักษมีลาวัณทรงเป็นประธานแจกรางวัล และงานตลาดนัดสวนอัมพร ในงานวันเกิดท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้น

สว่างจิตต์ คฤหานนท์ นางสาวไทย ปี พ.ศ. ๒๔๘๓
ในชุดเครื่องแบบตามสมัยนิยม
โฉมหน้าบางส่วนของบรรดาผู้เข้าประกวดนางสาวไทยปี พ.ศ. ๒๔๘๔
สตรีผู้ชนะการประกวดและเครื่องแต่งกายสตรีในงานตลาดนัดสวนอัมพรในปี พ.ศ. ๒๔๘๔
น.ส.ชูชื่น ขวัญยืน หอสินค้ากรมราชฑัณฑ์ส่งเข้าประกวดนางสาวไทยปี พ.ศ. ๒๔๘๔

แต่ในขณะที่รัฐบาลกําลังเตรียมจัดงาน ฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๘๔ ซึ่งกําหนดเริ่ม ในวันที่ 4 ธันวาคม เช้าตรู่วันที่ 4 ธันวาคม นั้นเอง กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่ง หลายแห่ง มีการสู้รบกันที่บางปู สมุทรปราการ อ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ฯลฯ ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสงคราม ทันทีงานฉลองรัฐธรรมนูญในปีนั้นจึงถูกยกเลิกอย่างเร่งด่วน การจัดประกวดนางสาวไทยจึงต้องยุติตามไปด้วยโดยปริยาย

ผู้เข้าประกวดหมวกและเครื่องแต่งกายสตรีที่สวนอัมพร ปี พ.ศ. ๒๔๘๔
ผู้เข้าประกวดนางสาวไทยปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ร่วมงานเปิดอาคารบนถนนราชดำเนิน

ประเทศสยามมีนางสาวสยามคนแรกคือ กันยา เทียนสว่างรับตําแหน่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ส่วนตําแหน่งนางสาวสยามคนสุดท้ายคือ พิศมัย โชติวุฒิ รับตําแหน่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๑

ภาพเก่าเล่าเรื่องขอนําเสนอภาพปกและ ประมวลข่าวภาพของนิตยสารรายสัปดาห์ ประมวลสาร หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี เจ้าของและบรรณาธิการ หม่อมเจ้าจันทร์จิรา ยุวัฒน์ รัชนี เป็นบรรณาธิการ ภาพปกและ ภาพประมวลข่าวจัดพิมพ์ในช่วงการประกวด นางสาวไทยปี พ.ศ. ๒๔๘๔ หนังสือตีพิมพ์ใน ช่วงมกราคม – ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ บรรดา สาวงามที่ทยอยลงปกประชันความงามบนปกประมวลสารต่างเป็นตัวแทนจากองค์กรต่างๆในการประกวดชิงชัย แต่สาวงามทั้งหมดทีปรากฏบนปกหนังสือต่างไม่มีใครได้รับการตัดสินเป็นนางสาวไทยเลยเพราะสงครามอุบัติเสียก่อน

ส่วนจะตัดสินว่าใครสวย ใครงาม ใคร เหมาะสมจะรับตําาแหน่งเป็นนางสาวไทยประจําปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ขอเชิญผู้อ่าน อนุรักษ์ ช่วยกันตัดสินกันเองนะครับ

About the Author

Share:
Tags: นางสาวไทย / ฉบับที่ 17 /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ