Monday, May 20, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

เช้าจดค่ำที่ลำปาง

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 27
เรื่อง/ภาพ: ธนิสร หลักซัย

เช้าจดค่ำที่ลำปาง

ต้นไม้วูบไหวใบหล่นร่วง สายลมหอบเอาความเย็นมาทักทาย ลำปางเช้านี้ไม่หนาวมาก อากาศสบายกำลังเหมาะ ลานหน้าอุโบสถวัดพระธาตุดอยพระฌานคลาคล่ำด้วยผู้คนที่มารอชมแส่งแรกของเมืองรถม้ากันตั้งแต่เช้ามืด

วัดพระธาตุดอยพระฌานเป็นวัดเก่าแก่ซึ่งถูกทิ้งร้างมานาน ต่อมาได้รับการบูรณะพัฒนาเป็นอารามที่มีพระสงฆ์ จำพรรษาประกอบศาสนกิจ แถมมาด้วยจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก บรรยากาศยามเช้าจึงอบอุ่นไปด้วยนักท่องเที่ยวที่ต่างไปจับจองชมแสงแรกของวันกันอย่างใจจดจ่อหลังกิจกรรมชมพระอาทิตย์เสร็จสิ้นก็ไหว้พระสะสมบุญต่อได้เลยระยะทางที่ไม่ไกลใช้เวลาเดินทางกลับเข้าเมืองไม่เกิน ๔o นาที เป็นเวลาพอเหมาะกับมื้อเช้า ร้านที่คนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวนิยมมาฝากท้องคงหนีไม่พ้น “ข้อก๋วยจั๊บ” หน้าสถานีรถไฟลำปาง ซึ่งขายมานานกว่า๕o ปี อิ่มพุงแล้วไปเดินย่อยชมความคลาสสิกของสถานีรถไฟฝั่งตรงข้าม ก่อนจะออกไปตามหาที่มาของชามไก่และอีกมากมายหลายกิจกรรมชุมชนให้ชื่นชมกันแบบเต็มอิ่ม

มิวเซียมธนบดี ตำนานชามไก่

“คุณพ่อเคยเป็นช่างปั้นสมัยอยู่เมืองจีนร่วมกับเพื่อนๆ เป็นคนริเริ่มทำชามไก่ขายโดยนำต้นแบบจากมาจากมณฑลฮกเกี้ยนบังเอิญว่าไก่ไปคล้องจองกับตำนานกุกกุฏนครที่เคยเป็นชื่อหนึ่งของลำปาง ไก่ขาว ก็ปรากฏบนสัญลักษณ์ของจังหวัด จนทำให้คนคิดว่ารูปวาดไก่บนชามมีความเชื่อมโยงกับลำปาง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่เกี่ยวข้องกันเลย” ยุพิน ธนบดีสกุล ทายาทผู้สืบทอดวิชามาจากซึมหยู แซ่ฉิน หรืออาปาอี้ (อาปา หมายถึงพ่อ) เล่าให้ฟังระหว่างใช้พู่กันแต้มสีลงบนชามเคลือบสีขาวอย่างชำนาญชามตราไก่ของธนบดียังคงกรรมวิธีโบราณตั้งแต่การตำดินขาว หมัก นวด ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ตากให้แห้ง ชุบเคลือบน้ำขี้เถ้ำสมัยก่อนเผาด้วยเตาฟืนโบราณหรือเตามังกรแต่ปัจจุบันใช้เตาที่มีความทันสมัยสะดวกสบายขึ้น เมื่อชามสุกจึงนำมาเขียนลวดลายเป็นเทคนิคแบบโบราณที่เรียกว่า “การวาดสีไมโครเวฟได้บนเคลือบ” แล้วนำไปอบเคลือบสีอีกครั้งจึงมีคุณสมบัติทนความร้อน นำเข้าเตา

ซิมหยูกับคยงานอีกคนช่วยกันสร้างเตา มังกรขึ้นมาเอง โครงสร้างเป็นดินล้วนไม่มีเหล็กหรือไม้ ใช้ดินละแวกโรงงานซึ่งเมื่อก่อนเป็นท้องไร่ท้องนามาอัดเป็นบล็อกก่อเป็นเตาเวลาหนึ่งปีจึงแล้วเสร็จ เขาจ้างขนดินอัดเป็นบล็อกเอามาก่อเตา ๒0 ก้อนต่อสลึง สมัยก่อนกว่าจะเรียงของเข้าเตาจนเต็มใช้เวลา ๓-๔ วัน เผาอีก ๑ วัน ๑ คืน ลวดลายไก่มีหลายแบบ ทั้งไก่เตี้ย ไก่อ้วน ไก่เดินเยื้องย่าง ไก่สีแดงสด และไก่วิ่งซึ่งเป็นแบบที่ธนบดีนำมาใช้ ไก่คือตัวแทนของความขยัน เป็นไก่ตัวผู้เพราะคนจีนยกให้ผู้ชายเป็นผู้นำ สีที่ใช้มีเพี้ยงดำ เขียว ส้ม ชมพูอมม่วง บางชนิดไม่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดอย่างสีส้มได้มาจากแอนติโมนี หรือแร่พลวงสีชมพูอมม่วงได้จากออกไซด์ของสนิมทองคำสนนราคากิโลละ ๑0,๐๐๐ กว่าบาทรูปแบบและองค์ประกอบต่างๆ ยังคงอนุรักษ์ของเดิม ตั้งแต่ลำตัวไก่และหงอนลงด้วยสีส้ม หางและขาสีดำ เดินอยู่บนหญ้าสีเขียว ดอกเบญจมาศซึ่งหมายถึงผู้หญิงสาวใช้สีชมพูอมม่วง มีใบสีเขียวตัดส้นด้วยสีดำ ไก่ทุกตัวต้องมีเท้าคมเหมือนมีดดาบ หงอนงามเหมือนหมวกนักรบยังใช้

โรงงานเก่าแก่ตั้งแต่สมัยคุณพ่อ ทำเป็น “มิวเซียมธนบดี” พิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่รวบรวมประวัติความเป็นมาของโรงงาน เรื่องราวของชามไก่แบบต่างๆ รวมถึงชามไก่ใบจิ๋ว

ขนาดเล็กกว่าเมล็ดข้าว วาดด้วยพู่กันซึ่งทำจากขนหูด้านในของม้า ผ่านจากโซนแรกจะเข้าสู่พื้นที่การผลิตชามไก่และงานเซรามิกสมัยใหม่ ให้เราสัมผัสใกล้ชิดทุกขั้นตอน เตามังกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร หรืออยากทดลองวาดลวดลายลงสีบนชามเคลือบตามจินตนาการของตัวเอง ทางมิวเซียมจะนำไปเผาเคลือบและส่งกลับไปให้ชื่นชมถึงบ้าน

About the Author

Share:
Tags: ลำปาง / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ