Sunday, May 19, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต

สังกัต โมจัน

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 16
เรื่อง: ส. พลายน้อย

สังกัต โมจัน

ที่เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย มีวัดสำคัญอยู่วัดหนึ่ง ชื่อวัดสังกัต โมจัน หนุมาน (Sankat Mochan Hanuman Temple) ผู้สร้างชื่อ โคสวามี ตุลสีทาส ผู้แต่งเรื่อง รามจริตมนัส อันมีชื่อเสียง ตุลสีทาสเป็นคนที่ศรัทธาพระรามและนับถือหนุมานมาก เขากล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า

“มีใครในโลกที่ไม่รู้จักวานร ซึ่งมีนามกรว่าสังกัต โมจัน?”
Who in the world doesn’t know, Monkey that your name is Sankat Mochan?

            เนื่องจากปีนี้เป็นปีวอก คนสําคัญของ ไทยที่เกิดปีวอกชอบใช้หนุมานเป็นเครื่องหมายประจําตัวถ้าจะเขียนถึงหนุมานตามทัศนะของอินเดียและไทยโบราณ ให้อ่านกันเล่นคงจะมีประโยชน์อยู่บ้าง เพราะ เรารู้แต่หนุมานในรามเกียรติ์ไทยเท่านั้น และ โดยเหตุที่ตุลสีทาสเป็นคนเดียวที่เคยพบ หนุมาน จึงขอเล่าถึงตุลสีทาสสักเล็กน้อย

            ตุลสีทาสเป็นพราหมณ์เมืองกันยากุพช์ (Kanya-kubja) ว่ากันว่าเป็นคนอยู่ในโอวาท ภรรยา คือภรรยาจะคอยเตือนให้ระลึกถึงพระรามให้มากกว่าที่ระลึกอยู่แล้ว ตุลสีทาส จึงไปบวชเป็นโยคี จาริกไปพักที่เมืองพาราณสีก่อนเป็นเหตุให้ได้พบหนุมานที่นั่น ตามเรื่อง กล่าวว่า ตุลสีทาสตักน้ํารดมะม่วงต้นหนึ่งซึ่งมีปีศาจสิงอยู่ (ตามคติความเชื่อของชาวอินเดียโบราณว่าวิญญาณของบรรพบุรุษสิงอยู่ตามต้นมะม่วง) ปีศาจตนนั้นมีความพอใจจึงอนุญาตให้ขอพร ตุลสีทาสก็ขอให้ได้พบพระรามสักครั้ง ปีศาจแนะนําให้ตุลสีทาสไปพบกับหนุมานก่อน คือให้ไปฟังรามายณะที่จิตรกูฏตุลสีทาสทําตามคําแนะนําก็ได้พบกับหนุมาน ที่นั่นหนุมานจึงเล่าเรื่องรามายณะให้ฟังและ สอนวิชาต่างๆ ให้ หลังจากนั้นตุลสีทาสกลับ มากรุงเดลีก็เล่าเรื่องนี้ให้ใครต่อใครฟังจึงเกิดเล่าลือไปทั่ว

            ในเวลานั้นพระเจ้าชาห์ยะฮานเป็นกษัตริย์ ครองกรุงเดลีอยู่ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๗๐ สวรรคตวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๐๙ เข้าใจ ว่าจะต่อจากพระเจ้าชาหังคีร์ ซึ่งสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๐ ยังหาพระราชประวัติที่ชัดเจนไม่ ได้) ทรงทราบเรื่องจึงตรัสให้หาตุลสีทาสไปเฝ้า แล้วตรัสว่า “ถ้าพระรามาวตารดีจริงก็ให้ตุล สีทาสเชิญมาให้ทอดพระเนตร” ตุลสีทาสไม่ ยอมเชิญจึงถูกขังคุก ในเวลานั้นมีลิงป่าเข้ามาทําลายรื้อถอนบ้านเรือนเสียหายยับเยินชาวบ้าน เข้าใจว่าหนมานไม่พอใจจึงให้ลิงมาก่อกวน

            พระเจ้าชาห์ยะฮานตกพระทัยเกรงว่าจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ จึงมีรับสั่งให้ปล่อยตัวตุล สีทาสทันที หลังจากนั้นเหตุการณ์ก็สงบ ลิง ทั้งหลายก็กลับเข้าป่าไป เรื่องนี้ผู้เขียนเก็บ ความจากพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 เรื่อง บ่อเกิดรามเกียรติ์ และเก็บความจากหนังสือเรื่องความเชื่อของคนอินเดียมาเรียบเรียงให้ ความชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้ทราบว่าคนอินเดียเขาเชื่อว่ารามายณะเป็นเรื่องจริง มีสถานที่ปรากฏในเรื่องอยู่หลายแห่ง เช่น ภูเขาจิตรกูฏ (Chitra-Kuta) ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของพระราม และนางสีดาในวาระต่างๆ ในปัจจุบันเรียกว่า “จิตรโกเต” อยู่ที่ฝั่งแม่น้ําปิคุนิ (Pisuni) ใกล้ กับภูเขาจิตรกูฏ ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มี ศาสนสถานจํานวนมาก ชาวฮินดูจะมาแสวง บุญที่นี่

            กล่าวกันว่า ตุลสีทาสเคยมานั่งฝนท่อน จันทน์กับแท่งหินบนเขาจิตรกูฏเพื่อเตรียมไว้ ถวายพระราม งานเทศกาลที่เขาจิตรกูฏเป็น งานของพระราม อยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม- เมษายน หรือเดือนห้าของไทย เพราะพระรามประสูติวันขึ้น ๙ ค่ํา เดือนใจตร เทศกาลนี้เป็น งานประจําปี แต่บางถิ่นบางที่อาจเรียกชื่อต่าง กันไปและไม่ทําตรงกัน เช่น ทางภาคเหนือของอินเดียแสดงเรื่องทศกัณฐ์ลักนางสีดา ไป จนทศกัณฐ์ล้ม เรียกว่า รามลีลา ตกในเดือน ตุลาคมซึ่งกําหนดว่าเป็นอภิลักขิตสมัยที่ทศ กัณฐ์ล้ม พิธีนี้มีการสร้างรูปทศกัณฐ์ กุมภ กรรณ และเมฆนาทเผาในงานนี้ด้วย ตามเรื่อง รามายณะว่า เมฆนาทเป็นโอรสทศกัณฐ์ต่าง กับรามเกียรติ์ไทยที่เมฆนาทเป็นเสนายักษ์แห่งบาดาล

            ในอินเดียภาคใต้ก็มีการแสดงเรื่อง พระรามเหมือนกัน แต่เรียกว่า กถักกะหฺ ส่วนวันพระรามประสูติเดือนเมษายนที่กล่าวมา ข้างต้นเรียกว่า รามนวมี แปลว่า ดิถีที่เก้าแห่ง พระราม คือวันขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า

            มีที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ ฤษีวาลมีกิ ผู้แต่งรามายณะ อ้างว่าพระพรหมมีประกาศิตไว้ว่า

            “ตราบใดโลกนี้มีพื้นดิน งภูเขายังตั้งเป็น ทิวและยังมีกระแสน้ํา (ในแม่น้ํา) ไหลเลื้อย ตราบนั้นรามายณะจะคงดําเนินทั่วไป (ตามปากนิกรชน)”

            ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าเรื่องรามายณะ เกิดเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ส่วนตุลสีทาส เพิ่งเกิดเมื่อ ๔๐๐ ปีมานี้เอง แล้วมาพบกันได้ อย่างไร เรื่องนี้มีคําเฉลยอยู่ในรามายณะนั้น เองว่า เมื่อเสร็จศึกทศกัณฐ์แล้ว พระรามจะ ปูนบําเหน็จความชอบ ตรัสถามหนุมานว่า ต้องการอะไรจะให้ทุกอย่าง เพราะหนุมาน เหนื่อยยากแบบเอาชีวิตเข้าแลกหลายครั้ง แต่ หนุมานทํางานด้วยความจงรักภักดีมากกว่า หวังอามิสสินจ้างรางวัล จึงทูลว่า

            “ไม่ปรารถนาสิ่งใดทั้งสิ้น ขอประทานพรให้มีอายุยืนอย่างเดียว คือตราบใดที่ยังมี คนอ่านคนฟังรามายณะ ก็ขอให้มีอายุอยู่ตราบนั้น

            เรื่องรามายณะยั่งยืนตามประกาศิตของพระพรหม ด้วยเหตุนี้ ตุลสีทาสจึงได้พบกับ หนุมานดังกล่าวมาแล้ว และเคารพนับถือ สร้าง วัดประดิษฐานรูปหนุมานไว้เป็นอนุสรณ์ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

            ผู้เขียนสงสัยฉายานาม “สังกัด โมจัน” ที่ตุลสีทาสยกย่องหนุมานอยู่เป็นเวลานานว่าตุลสีทาสเป็นคนตั้งหรือมีที่มาอย่างไร ในที่สุด ก็พบว่าเป็นชื่อที่พระศน์ หรือพระเสาร์เป็นผู้ ตั้งให้เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อครั้งท้าวราพณาสูร (ทศ กัณฐ์) มีความคึกคะนอง ประพฤติพาลรังแก เทวดานางฟ้า กล่าวกันว่าแม้แต่พระคเณศก์ยังต้องมาเลี้ยงวัวให้ทศกัณฐ์

            ตามเรื่องว่า คราวหนึ่งหนุมานไต่ภูเขา ทางด้านใต้ของกรุงลงกาขึ้นไปสํารวจทาง ได้ พบร่างมหึมาสีดําถูกล่ามโซ่ไว้กับก้อนหินอย่าง

ตามคติดั้งเดิมถือว่าหนุมาน เป็นวานรเทพ เป็นมนุษย์ที่มี หางลิง (Hanuman who was not a monkey, but a monkey-tail person.) และ เป็น “รุทราวตาร” คืออวตารมาจากพระศิวะ ตามตํานานฝ่ายฮินดูกล่าวว่าหนุมานเป็น ปางที่ ๑๑ ของพระศิวะ

            แน่นหนา ปรากฏว่าร่างนั้นเป็นเจ้าแห่งความ ตายคือพระกาลซึ่งถูกทศกัณฐ์ล่ามโซ่ไว้ หนุมานปลดปล่อยให้พระกาลเป็นอิสระ หลัง จากนั้นก็ได้ยินเสียงร้องให้ช่วยดังมาจากในถ้ํา ที่อยู่ใกล้ๆ หนุมานเข้าไปดู จึงได้พบพระศ (พระเสาร์) ถูกจับมัดเท้าด้วยโซ่แขวนกับ เพดานถ้ํา ศีรษะห้อยลงมาเหมือนค้างคาว หัน หน้าเข้าหากําแพง หนุมานก็เข้าไปถอดโซ่ให้ พระศน์เป็นอิสระ ในครั้งนั้นพระศน์ให้ฉายา หนุมานว่า สังกัด โมจีน หมายความว่าผู้ ปลดเปลื้องอันตรายจากสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ผู้ ที่ระลึกถึงหนุมานอยู่เสมอย่อมได้รับอานิสงส์
นั้นด้วย

            ในทางโหราศาสตร์ ผู้คนกลัวเกรงพระ เสาร์กันมาก ถ้าดาวเสาร์โคจรมาเล็งหรือทับ ลัคนามักจะเดือดร้อน ฉะนั้นการที่คนอินเดียบูชาหนุมานจึงเป็นการอาศัยบารมีหนุมานให้ช่วยคุ้มครองด้วยก็ได้ และอีกประการหนึ่งพระศน์แนะนําให้พกพลอยสีน้ําเงินติดตัวไว้ จะไม่ได้รับความเดือดร้อนใดๆ จากพระองค์

            ตามคติดั้งเดิมถือว่าหนุมานเป็นวานรเทพ เป็นมนุษย์ที่มีหางลิง (Hanuman who was not a monkey, but a monkey-tail person.) และเป็น “รุทราวตาร”คืออวตารมาจากพระ ศิวะ ตามตํานานฝ่ายฮินดูกล่าวว่าหนุมานเป็น ปางที่ ๑๑ ของพระศิวะเหตุที่อวตารนั้นมีเรื่องเล่าว่า

            วันหนึ่งพระศิวะและพระนางสตีประทับ อยู่บนเขาไกรลาส พระศิวะชอบภาวนาออก พระนาม “ราม” อยู่เป็นประจํา ทําให้พระนาง สตีสงสัย ตรัสถามว่าทําไมออกพระนามเฉพาะ “ราม” เพียงองค์เดียว เทพองค์อื่นๆ ไม่เอ่ยถึงเลย

            พระศิวะตอบว่า “พระรามเป็นเทพสําคัญที่อวตารจากพระวิษณุลงไปดับร้อนแก่มนุษย์และศิวะเองก็จะต้องลงไปช่วยโดยแบ่งภาคลงไปเป็นวานร”

            “อะไรกันเสด็จพี่” พระนางสตีอุทานอย่าง ตกพระทัย “ทําไมจะต้องเป็นลิง เป็นอย่างอื่น ไม่ได้หรือ”

            พระศิวะตรัสด้วยความมั่นพระทัยว่าเป็น วานรเหมาะที่สุด อย่าเข้าใจว่าเป็นลิงธรรมดา ที่เห็น เป็นวานรมีสง่าราศรีดีกว่านั้น การเป็น วานรสะดวกดีกว่าเป็นมนุษย์ การกินอยู่ก็ง่ายๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร พระนางสตีเมื่อเข้าใจ เจตนาก็ขอตามไปด้วย คือจะขอเป็นส่วนหางอ้างเหตุผลว่าภรรยาเป็นเครื่องเชิดชูของสามีฉันใด หางของวานรก็เป็นเครื่องเชิดชูของวานรฉันนั้น “the wife is the ornament of her husband, as the tail is the ornament of a monkey.” และด้วยเหตุนี้เอง หางของหนุมาน จึงสวยงามกว่าหางของวานรอื่นๆ และได้ช่วย เหลือต่อสู้กับศัตรูหลายครั้ง จะกล่าวถึงทั้งหมดก็จะยาวความมากไป กล่าวไว้ให้พอทราบเหตุ ที่พระศิวะอวตารมาเป็นหนุมานเท่านั้น

            กล่าวโดยสรุป ชาวฮินดูนอกจากนับถือ หนุมานว่าเป็นปางที่ ๑๑ ของพระศิวะแล้ว ยัง นิยมชมชอบในความเก่งกล้าของหนุมาน พวก นักมวยปล้ำของเนปาลก็ยังบูชาหนุมานที่สนาม มวยเป็นประจํา นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่อง ให้เป็นมหาเทพแห่งสรรพวิทยา มีความรู้มาก มายหลายอย่าง เป็นทั้งนักศิลปะ (กลธร) นัก ดนตรี นักภาษา (ในรามายณะว่าพูดภาษา สันสกฤตได้ดี) จนได้รับการยกย่องว่าเป็น ผู้แต่งตําราไวยากรณ์ เป็นอาจารย์โหร มีตํารา เรียกว่าหนุมานจริต ทางอินเดียใต้ทํารูป หนุมานถือหนังสือและเครื่องดนตรี แสดงว่า
เก่งทั้งสองอย่าง

            ความเชื่อเรื่องหนุมานไม่ใช่จะเชื่อกัน เฉพาะชาวบ้าน แม้แต่ปัญญาชนที่มีการศึกษา สมัยใหม่ก็ยังนับถือ ดังจะเห็นได้จากเมื่อไม่ นานมานี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารจัดการ ซาตาร์ ภากัตซิงห์แห่งอินเดีย ซึ่งเปิดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เชิญหนุมานให้เป็นประธานกรรมการ บริหาร ทางวิทยาลัยจัดห้องทํางานให้หนุมานเหมือนกับมานั่งทํางานจริงๆ คือมีโต๊ะทํางาน มีคอมพิวเตอร์ และมีเก้าอี้ 4 ตัว หันหน้าเข้าหา ที่นั่งของประธานที่ว่างเปล่า ภายในห้องหอม กรุ่นด้วยกลิ่นกํายาน ผู้ที่เข้าไปในห้องนี้ต้องถอดรองเท้า เดินเท้าเปล่าเข้าไป เช่นเดียวกับ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

            นายวิเวก ทั้งที รองประธานกรรมการบริหารวิทยาลัย ชี้แจงเหตุที่ทําเช่นนี้ว่า เพราะ มีความเชื่อมั่นว่างานใดก็ตามที่เทพหนุมานอํานวยพร งานนั้นย่อมประสบความสําเร็จ เพราะหนุมานทํางานที่ยากแสนยากรับใช้พระรามมาแล้ว

            เรื่องของหนุมานมีมาก จะเล่าทั้งหมดก็ จะเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าพอให้ทราบว่าเหตุ ใดชาวฮินดูจึงนับถือหนุมาน ตามประเพณีไทย แบบเดิมถือว่าสิ้นปีเก่า เดือน ๔ แรม ๑๕ คํา ขึ้นปีใหม่เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ํา เปลี่ยนปีนักษัตร ฉะนั้น ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงขึ้นปีวอก เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ํา ตรงกับวันที่ ๗ เมษายน ส่วนวัน สงกรานต์เริ่มวันที่ ๑๓ เมษายน

            ขอให้ปีวอกเป็นปีที่นําความสุขมาสู่ทุกๆ ท่าน ขอเทพผู้มีนามกรว่า สังกัด โมจัน ปลดเปลื้อง อันตรายแด่ท่านทั้งหลายด้วยเทอญ

About the Author

Share:
Tags: อินเดีย / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / ฉบับที่ 16 / วานร / หนุมาน / สังกัต โมจัน / โคสวามี ตุลสีทาส /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ