Sunday, May 19, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

เบ็งเมเลีย ปริศนาศิลานคร

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 10
เรื่อง: จิระนันท์ พิตรปรีชา
ภาพ: พนม อาชาฤทธิ์

เบ็งเมเลีย

ปริศนาศิลานคร

หากใครคิดจะไปเที่ยวชมปราสาทหินเมืองเสียมเรียบแดนกัมพูชา และต้องการซึมซับภาพความล่มสลายของอาณาจักรขอมให้ลึกซึ้งถึงแก่น ขอแนะนำให้หลบลี้ขบวนนักท่องเที่ยวไปที่ บึงมาลา (เบ็งเมเลีย) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “นครวัดตะวันออก” จุดหมายใหม่สำหรับการท่องเที่ยวและเก่าแก่อย่างที่เป็นจริง เพราะยังไม่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เหมือนปราสาทนครวัดนครธม โบราณสถานแห่งนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบราว ๖๐กิโลเมตร และเพิ่งเปิดให้ตีตั๋วเข้าชมเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง

กาลครั้งหนึ่ง ที่นี่คือมหาปราสาทขนาดน้องๆ นครวัด อาณาบริเวณมีความยาวประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร กว้าง ๘๕๐ เมตร มีคูน้ำกว้าง ๑๐๐ เมตร กับกำแพงระเบียงคด ๓ ชั้นล้อมรอบองค์ปราสาททั้ง ๔ ด้าน (คูน้ำแห้งขอดกลายเป็นพื้นหญ้าหมดแล้ว) เฉพาะทางเข้าด้านทิศใต้เท่านั้นที่มีถนนให้รถเข้าถึง ทางเดินเข้าขนาบด้วยศิลานาคราชซึ่งหักพังไปหลายส่วน เมื่อถึงลานหน้าปราสาทก็จะเห็นบันไดและโคปุระ (ซุ้มประตู) ชั้นที่ ๑ และ ๒ ท่ามกลางแท่งศิลาซากปรักหักพังกองมหึมาจากประตู นักท่องเที่ยวจะต้องเดินไต่ขึ้นลงไปตามหลังคาปราสาท มุดเข้าตามกรอบประตูหน้าต่าง และไต่ไปตามแท่งหินชิ้นส่วนมณฑปวิหารตางๆ จนกวาจะถึงทางออกอีกด้าน จึงจำเป็นต้องมีไกด์นำทาง

ระหว่างมุดไต่ป่ายปีนเราอาจเกิดจินตนาการย้อนไปไกลถึง ๘๐๐ ปีก่อน เมื่อครั้งศาสนสถานแห่งนี้เป็นที่ชุมนุมของเหล่าชนชั้นสูงผู้เรืองอำนาจ โหราจารย์พราหมณ์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต ผู้สร้างปริศนาอารยธรรมขอมให้ปรากฏบนพื้นพิภพ

สภาพปรักหักพังรกทึบมีเถาวัลย์พรรณไม้ขึ้นปกคลุม สลับกับสีสันของตะไคร่น้ำและไลเคน พื้นดินทับถมก้อนศิลาโผล่ขึ้นมาเพียงบางส่วน ชวนให้นึกถึงฉากเมืองต้องห้ามในภาพยนตร์อินเดียน่า โจนส์ และ “นิทรานคร” ในนิยายเพชรพระอุมา ภาพสลักรูปเทวะและลวดลายบนแท่งหินถูกปกคลุมด้วยมอสและตะไคร่ ดูเขียวขรึมเหมือนมีมนตร์ขลัง ระหว่างมุดไต่ป่ายปีน เราอาจเกิดจินตนาการย้อนไปไกลถึง ๘๐๐ ปีก่อน เมื่อครั้งศาสนสถานแห่งนี้เป็นที่ชุมนุมของเหล่าชนชั้นสูงผู้เรืองอำนาจโหราจารย์ พราหมณ์ นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้สร้างปริศนาอารยธรรมขอมให้ปรากฏบนพื้นพิภพ

หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนกลียุค พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (ค.ศ. ๑๑๑๓-๑๑๕๐) ได้สถาปนาอำนาจและรับเอาคติความเชื่อในลัทธิ “ไวษณพนิกาย” ของฮินดูเข้ามาช่วยเสริมสร้างอาณาจักรเจนละกัมพุช แทนความเชื่อเดิมใน “ไศวนิกาย” “ตรีมูรติ” และ “มหายาน” ตำนาน “อวตาร” แห่งพระวิษณุหรือพระนารายณ์ผู้ปราบทุกข์เข็ญ ได้กลายมาเป็นแบบฉบับของการปกครองด้วยลัทธิ “เทวราชา” การก่อสร้าง “บรมวิษณุโลก” นครวัด และภาพสลักในมหาปราสาทเบ็งมาเลีย ที่ช่างบรรจงสกัดเป็นเรื่องราวอวตารปางต่างๆ อย่างได้อรรถรส

โครงสร้างอำนาจแบบเทวราชาที่กลืนกินสังคมระดมแรงงานผู้คนมาสร้างปราสาทวิหารจนไม่เป็นอันทำไร่ไถนาหาเสบียงเลี้ยงชุมชนการศึกสงครามชิงอำนาจและการเปิดเส้นทางค้าขายติดต่อทางทะเล ก็ทำให้เกิดศูนย์อำนาจใหม่ตามแนวชายฝั่งขึ้นแทนที่

เป็นที่รู้กันว่า อาณาจักรขอม (เช่นเดียวกับแหล่งอารยธรรมพันปีที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินอีกหลายแห่งในโลก) เคยเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด แล้วจู่ๆ ก็ล่มสลายหายไปอย่างลึกลับ ข้อนี้นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า สาเหตุเกิดจากโครงสร้างอำนาจแบบเทวราชาที่กลืนกินสังคม ระดมแรงงานผู้คน มาสร้างปราสาทวิหาร จนไม่เป็นอันทําไร่ ไถนาหาเสบียงเลี้ยงชุมชน การศึกสงครามชิงอํานาจ และการเปิดเส้นทางค้าขายติดต่อทางทะเล ก็ทําให้เกิดศูนย์อํานาจใหม่ตามแนว ชายฝั่งขึ้นแทนที่

ทว่าเมื่อเร็วๆ นี้ นักวิชาการกลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้ทําการวิจัยภาคสนามและเสนอแง่คิดว่า อีกสาเหตุใหญ่ที่ทําให้อาณาจักรขอมซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานเกษตรกรรมต้องล่มสลายไปอย่างไม่มีทางกอบกู้ก็คือความวิปริตผันผวนของภูมิอากาศ จากการศึกษาวงปีของต้นไม้ในเวียดนามใต้พบว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ทั่วทั้งภูมิภาคเกิดภัยแล้งยาวนาน แล้วตามด้วยฤดูมรสุมน้ําท่วมหนักจนทุกสิ่งต้องเสื่อมสลาย กลายเป็นซากศิลารอคอยการ “ค้นพบ” ของคนรุ่นหลังในอีกหลายร้อยปีต่อมา

ไม่มีอาณาจักรใดจีรังยั่งยืนชั่วนิรันดร์ แม้ สร้างด้วยหิน ศาสตร์ศิลป์ลึกล้ํา อํานาจแก่กล้า ราวเทวาอวตาร ก็ยังพ่ายฤทธานุภาพแห่ง ธรรมชาติ

งานวิจัยชิ้นนี้ยังตั้งคําถามกับสังคมเมือง ยุคใหม่ของเราว่า ถ้าอาณาจักรล่มได้เพราะ ภัยธรรมชาติ บวกกับการตัดต้นไม้เคลียร์พื้นที่ขนานใหญ่เพื่อสร้างมหานคร (ซึ่งมีส่วน ทําให้ดินน้ําอากาศในบริเวณนั้นเปลี่ยนไป ด้วย) ทั้งยังมีการเกณฑ์แรงงาน การกระจุก ตัวของประชากรในเมือง (ชนบทกลายเป็น พื้นที่ว่างร้างผู้คนทําการเกษตร) เมืองใหญ่ ของโลกในปัจจุบันก็น่าจะตกอยู่ในสภาพเดียวกับ “อังกอร์พระนคร” ตอนใกล้ล่ม แล้วเราจะเตรียมรับมือกับชะตากรรมทํานองเดียวกันหรือไม่และอย่างไร?

ไม่มีอาณาจักรใดจีรัง ยั่งยืนชั่วนิรันดร์ แม้สร้าง ด้วยหิน ศาสตร์ศิลป์ ลึกล้ํา อํานาจแก่กล้า ราวเทวาอวตาร ก็ยัง พ่ายฤทธานุภาพแห่งธรรมชาติ

About the Author

Share:
Tags: กัมพูชา / ฉบับที่ 10 / เบ็งเมเลีย / นครวัดตะวันออก / นครวัด /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ