Sunday, May 19, 2024
ศิลปะ สัมภาษณ์

“ฮูปแต้ม” จากงานศิลปะไร้มารยาสู่ความเป็นงานศิลปะร่วมสมัย (หมอผึ้ง นัทธ์หทัย)

ข้ามผ่านพันธนาการจากคำว่าฮูปแต้ม

ในวัยที่ปรารถนาจะสร้างงานในระดับมาสเตอร์พีช คำว่าฮูปแต้มหาใช่พันธนาการที่ผูกมัดให้จิตรกรหนุ่มยึดติดกับความสำเร็จที่ผ่านมาแต่อย่างใด แต่มันได้แปรสภาพเป็นกลิ่นอาย เป็นแรงบันดาลใจ ให้เขาพัฒนาชิ้นงานเพื่อไปยังจุดที่ใฝ่ฝัน

“ในฐานะที่ผมเป็นนักสร้างสรรค์ แม้ผมใช้ส่วนประกอบ เส้นสาย รูปทรง จากฮูปแต้มมาทำงาน สุดท้ายมันอาจจะไม่เกี่ยวกับฮูปแต้มเลยก็ได้ แต่ถ้าถาม มันก็มีดีเอ็นเอ มีต้นสายปลายทาง ที่มาผมก็ไม่ปฏิเสธ เพียงแต่ในปัจจุบัน เราไม่ได้พูดถึงในเชิงวรรณกรรมแล้ว ไม่ได้พูดถึงวิถีชีวิตด้วย แต่มันคือชีวิต ชีวิตผมนี่แหละ เป็นบุคคลิกความซุกซน ความไม่นิ่งที่มีอยู่ในตัว ผมชอบอะไรที่มันดูมีสีสัน ชอบลักษณะเส้นสายมี่มันดูเคลื่อนไหว ชอบความหลากหลายของพื้นผิว”

ผลงานชุดฮูปแต้ม-ธรณีสัณฐาน

ผลงานชุดฮูปแต้ม-ธรณีสัณฐาน ทั้ง ๙ ภาพ ความดิ้นได้ของงานนั้นจึงยังไม่ใช่งานในลักษณะนามธรรม (Abstact art) เพราะไม่ได้มีแค่การลดทอน บางครั้งยังมีภาพสัตว์หรือต้นไม้ที่ยังพอมองออกอยู่จึงยังจัดเป็นงานในลักษณะร่วมสมัย (Contemporary art)

เมื่อมองภาพฮูปแต้มต้นฉบับที่สลับกับงานศิลปะร่วมสมัยชิ้นล่าสุด ชุดฮูปแต้ม-ธรณีสัณฐาน ของอาจารย์ตนุพล ก็คล้ายกับมองเห็นเด็กซนๆ คนหนึ่ง ร่องรอยของฮูปแต้มที่ปรากฏนั้น ดิ้นไป ดิ้นมา กระโดดไป กระโดดมา เดี๋ยวไปโผล่ตรงนั้นที ตรงนี้ที เหมือนไม่ได้ร้อยเรียง แต่ขณะเดียวกันก็กลับดูมีแบบแผนอยู่ในตัว

ผลงานศิลปะที่แฝงดีเอ็นเอของฮูปแต้ม จึงเสมือนเด็กน้อยที่มีอิสระ ไม่เพียงคนชมดูแล้วสนุก คนวาดก็สนุกและสุขไปกับงาน ด้วยความไม่รู้ว่าตอนจบงานจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร จึงเป็นความพิเศษของงานชุดฮูปแต้มนี้

About the Author

Share:
Tags: นิตยสารอนุรักษ์ / ชื่นชมอดีต / anurakmagazine / ศิลปะ / art / อีสาน / ฮูปแต้ม / ตนุพล เอนอ่อน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ