Monday, May 20, 2024
ศิลปะ ชื่นชมอดีต

พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มรดกลํ้าค่า ณ ตำหนักปลายเนิน

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 1
เรื่อง: อมรรัตน์ หมุดทอง
ภาพ: อิทธิพล ผลงาม

หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ บริเวณหน้าตำาหนักปลายเนิน เรือนไทยหลังใหญ่ที่ใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางของทายาทจิตรพงศ์ที่จะเปิดใช้เฉพาะวันที่มีงานสำาคัญๆ เท่านั้น

บนถนนพระราม 4 ย่านธุรกิจที่มีบรรยากาศจอแจ หากใครได้ผ่านไปมาจะเห็นตัวอักษรสีดำเรียบง่ายที่ประดับอยู่บนรั้วปูนสีขาวว่า “บ้านปลายเนิน” ถัดมาอีกสักหน่อยมีป้ายบ่งบอกว่าสถานที่แห่งนี้คือ “โบราณสถานสำคัญในเขตคลองเตย” กลายเป็นสิ่งตอกย้ำเรื่องราวอันทรงคุณค่าของตำหนักไม้สักด้านใน ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยความร่มรื่นของแมกไม้สีเขียวครึ้ม

ตำบลคลองเตยในสมัยนั้นถือว่าอยู่ไกลจากพระนครมาก ต้องนั่งรถเทียมม้าหลายชั่วโมง เมื่อก่อนถนนพระราม 4 มีแล้วแต่เป็นถนนเล็กๆ มีทางรถไฟสายท่าเรือผ่านสมัยนั้นมีการถมทางรถไฟไว้สูง เมื่อถนนพระราม 4 ผ่านมาถึงบริเวณนี้ จึงมีการถมถนนเป็นเนินสูงเพื่อข้ามทางรถไฟ สุดปลายอีกด้านหนึ่งคือวัง เมื่อมีคนถามว่าวังนริศฯอยู่ที่ไหน โดยวิธีพูดแบบนี้เลยถูกด้นว่า

ตำหนักปลายเนินได้รับการปลูกสร้างขึ้นในลักษณะของเรือนไทยประเพณี แต่ด้วยความที่ทรงมีความคิดก้าวหน้าของสมเด็จฯ เรือนหลังนี้จึงมีลักษณะแตกต่างจากเรือนไทยทั่วไป

ที่นี่แต่เดิมคือ ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นศิลปินผู้ออกแบบ นายช่างซึ่งมีผลงานเป็น ที่ยอมรับ ทั่วไปในราชอาณาจักรศิลปินรุ่นหลังๆ ถือเอาผลงานศิลปะของพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างสำหรับพัฒนาผลงานศิลปะในเวลาต่อมา อีกทั้งผลงานศิลปะที่พระองค์ท่านทรงสร้างไว้ยังก้าวหน้าล้ำยุคทั้งศิลปะไทยแบบประเพณีผสมผสานกับศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากสากล

ภาพวาดสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระองค์เจ้าพรรณรายผู้เป็นพระมารดา

อาณาบริเวณ 13 ไร่ของบ้านปลายเนินหรือตำหนักปลายเนิน ยังเป็นที่ประทับและที่อยู่อาศัยของทายาทในราชสกุลจิตรพงศ์ ช่วงสายๆ ของวันหนึ่ง หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ทายาทรุ่นที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ชวนคุยถึงเรื่องราวของตำหนักหลังนี้

บรรยากาศในห้องทรงงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา-นุวัดติวงศ์

“เดิมทีตำหนักแห่งนี้เป็นบ้านพักตากอากาศในช่วงฤดูร้อนของสมเด็จฯส่วนที่ประทับถาวรคือวังท่าพระ หน้าพระลาน ซึ่งได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 ต่อมาทรงพระประชวร เจ้าพระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์จึงทูลเชิญให้เสด็จมาประทับที่บ้านของท่านซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลคลองเตย เมื่อสมเด็จฯลองมาประทับในปี พ.ศ.2455 ปรากฏว่าทรงมีพระพลานามัยดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยสมัยนั้นบริเวณนี้ยังเป็นที่นาและสวนผัก อากาศยังบริสุทธิ์สมเด็จฯ จึงทรงหาที่ดินเพื่อปลูกเรือนบ้าง”

เตียงโบราณของพระองค์เจ้าพรรณรายที่ยังคงเป็นสมบัติล้ำค่า
บริเวณที่จัดงานวันนริศฯ ที่มีภาพวาดอันแสดงถึงพระปรีชาสามารถด้านงานศิลปะของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

อีกสองปีต่อมาตำหนักปลายเนินได้รับการปลูกสร้างขึ้นในลักษณะของเรือนไทยประเพณี แต่ด้วยความเป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้าของสมเด็จฯ เรือนหลังนี้จึงมีลักษณะแตกต่างจากเรือนไทยทั่วไป เรือนไทยที่เราคุ้นเคยมักจะมีการปลูกสร้างเป็นวงกลม แต่เรือนหลังนี้ปลูกเป็นแนวยาวต่อเนื่องกันไป กระทั่งคุณชายจักรรถยังพูดติดตลกว่า “สมัยผมเด็กๆสามารถเล่นสเกตได้เลย

“สมเด็จฯ ท่านเป็นคนสมัยใหม่ ท่านไม่ยอมตามประเพณีถ้ามีทางที่ดีกว่า การปลูกเป็นทางยาวทุกหลังจะรับลมได้ ไม่บังลมซึ่งกันและกัน หลังแรกที่เป็นหอนั่ง ท่านใช้เป็นที่รับแขก เราเรียกกันว่า ท้องพระโรง สมัยนั้นฝาไม่มี ท่านใช้ฝาสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ไม้ค้ำยันเป็นฝาขัดแตะ ปิดได้เมื่อไม่มีใครอยู่ เมื่อเปิดกลายเป็นชายคาให้ร่มเงาโดยรอบตำหนัก

“หม่อมเจ้าดวงจิตร (จิตรพงศ์) ซึ่งเป็นพระธิดาเล่าไว้ในหนังสือว่าในช่วงนั้นท่านยังเป็นเด็ก สนุกเหลือเกินเมื่อย้ายมาอยู่วังปลายเนิน ต้องขนข้าวของยกใหญ่ เพราะเมื่อมาประทับจะอยู่นาน ช่วงนั้นสมเด็จฯ ยังประทับอยู่วังท่าพระ ทรงใช้เป็นที่ทำงานเมื่อมีงานสำคัญ แต่เมื่อมีเวลาว่างจะมาอยู่ที่นี่ เพราะที่นี่เป็นบ้านส่วนตัว”

ตำบลคลองเตยในสมัยนั้นถือว่าอยู่ไกลจากพระนครมาก ต้องนั่งรถเทียบม้าหลายชั่วโมง เมื่อก่อนถนนพระราม 4 มีแล้ว แต่เป็นถนนเล็กๆ มีทางรถไฟสายท่าเรือผ่าน สมัยนั้นมีการถมทางรถไฟไว้สูง เมื่อถนนพระราม 4 ผ่านมาถึงบริเวณนี้ จึงมีการถมถนนเป็นเนินสูงเพื่อข้ามทางรถไฟ สุดปลายอีกด้านหนึ่งคือวัง เมื่อมีคนถามว่าวังนริศฯ อยู่ที่ไหนโดยวิธีพูดแบบนี้ เลยถูกด้นว่า “วังปลายเนิน” กลายเป็นชื่อที่รู้จักกัน

ม.ร.ว.จักรรถเล่าถึงความเป็นมาของเรือนไทยหลังนี้ให้ฟังว่า ในยุคนั้นชาวเมืองกรุงกำลังรื้อเรือนไทยขายเพราะหมดสมัยนิยม เริ่มนิยมปลูกบ้านตึกแบบฝรั่งทรงปั้นหยา สมเด็จฯ ไปซื้อมาหนึ่งหลัง เรือนหลังนี้มีประวัติว่าเคยเป็นที่พักของพระยาราชมนตรี (ภู่) ต้นสกุล ภมรมนตรี

“ต้องบอกว่าเป็นการเลือกที่เก่งมาก เพราะเป็นเรือนไม้สักทั้งหลังลักษณะเป็นศาลาโถง ยกพื้นสองชั้น มีหลังคามุงแฝก แต่วันดีคืนดีมีพายุพัดเข้ามา แผงขัดแตะถูกพายุพัดปลิวข้ามมาอีกด้านหนึ่ง สมเด็จฯ เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้คน ท่านจึงเลือกไปหาซื้อฝาไม้สักจากบ้านทรงไทยแท้ๆ ที่เขารื้อขายมาต่อเติมอีกที ที่น่าสนใจคือท่านซื้อจากหลายหลังจึงมีฝาหลายลักษณะมาประกอบกันเป็นวังนี้ วังนี้จึงเป็นที่โจษจันกันว่าเป็นสถานที่เรียนรู้รูปแบบของเรือนไทยดีมาก เพราะได้เห็นฝาบ้านหลายรูปแบบในที่เดียวกัน

“ยังมีเรื่องเล่าว่าหลังคามุงแฝกจะต้องเปลี่ยนเป็นระยะๆ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นหลังคาไม้สักอย่างที่เห็น เด็กๆ ที่อยู่ในเรือนหลังนี้สมัยนั้นจะสนุกกันมากช่วงที่มีการเปลี่ยนหลังคา คืนนั้นจะนอนดูดาวกันเลยเนื่องจากต้องใช้เวลาสองวันกว่าจะใส่หลังคาใหม่”

ป้ายบอกประวัติพระตำหนักฯ บริเวณสถานีรถ MRT สถานีคลองเตย
การเล่นดนตรีไทยของเด็กๆ ภายในบ้าน

“ต้องบอกว่าเป็นการเลือกที่เก่งมากเพราะเป็นเรือนไม้สักทั้งหลัง ลักษณะเป็นศาลาโถงยกพื้นสองชั้น มีหลังคามุงแฝก แต่วันดีคืนดีมีพายุพัดเข้ามา แผงขัดแตะถูกพายุพัดปลิวข้ามมาอีกด้านหนึ่ง สมเด็จฯ เกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้คน ท่านจึงเลือกไปหาซื้อฝาไม้สักจากบ้านทรงไทยแท้ๆ ที่เขารื้อขายมาต่อเติมอีกทีที่น่าสนใจคือท่านซื้อจากหลายหลังจึงมีฝาหลายลักษณะมาประกอบกันเป็นวังนี้

บรรยากาศร่มรื่นที่เห็นในบริเวณนี้ ม.ร.ว.จักรรถเล่าให้ฟังว่าต้องยกความดีให้กับท่านย่า (หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ พระชายาของสมเด็จฯ)ท่านเป็นกุลสตรีที่งดงาม มีส่วนช่วยดูแลวังนี้ เมื่อก่อนแถวนี้เป็นท้องร่องสวน ท่านมีความฉลาดใช้ขี้เถ้าแกลบที่ได้มาจากโรงไฟฟ้าถมลงไปในร่องสวน มีผลดีอย่างประหลาดเลย ขี้เถ้าแกลบเป็นวัสดุกรองน้ำที่ดี ทุกวันนี้น้ำในคูบริเวณตำหนักไม่มีวันเสีย น้ำยังสะอาด ซึ่งเป็นผลมาจากครั้งนั้นทั้งที่ผ่านมาแล้วร้อยปี อีกทั้งท่านยังปลูกต้นไม้ไว้เยอะมาก

“ตอนผมเด็กๆ เราชอบลุยป่าเล่นกัน ป่าที่นี่เป็นป่าปลูกไม่ใช่ป่าจริงๆเคยยิงเสือได้ตัวหนึ่งในป่าหลังวัง มีเรื่องเล่าว่าสมัยที่ญี่ปุ่นเข้ามาในเมืองไทย เขาจับสัตว์ป่าไปขายนอกประเทศ จับใส่กรงขึ้นรถไฟ วันหนึ่งมันหนีออกจากกรงแล้วแอบซ่อนตัวอยู่ในป่าหลังวังแล้วมาขโมยไก่วังกิน
พี่ชายของผมคนหนึ่งเข้าป่าหลังวัง ยิงเสือตาย ผมเห็นหนังเสือที่ถลกยืนยันว่านี่เป็นเรื่องจริง”

ชีวิตในวัยเด็ก ณ วังปลายเนินที่เล่าผ่านความทรงจำของม.ร.ว.จักรรถ ช่วยเพิ่มจินตนาการถึงบรรยากาศที่แสนอบอุ่นของตำหนักแห่งนี้เมื่อครั้งอดีต

“วังนี้ยังขึ้นชื่อเรื่องขนมเบื้องไทยโบราณ เมื่อก่อนใต้ถุนของเรือนหลังนี้ ท่านย่าใช้เป็นที่ทำงานครัวต่างๆ สมัยที่ผมยังเด็กมีการโม่แป้งด้วยโม่หินโบราณ มีเกร็ดเล่าว่า ข้าวเหนียวเม็ดที่สมบูรณ์จะนำไปนึ่งทำข้าวเหนียวมูล ส่วนเม็ดที่ไม่สมบูรณ์จะนำมาโม่แป้งทำขนมเบื้องโบราณ”

ลวดลายอันงดงามของตัวบ้าน

ปัจจุบันบริเวณเรือนไม้สักหลังนี้มีบทบาทเป็นเรือนศูนย์รวมของราชสกุลจิตรพงศ์ วันสงกรานต์ทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานน้ำสงกรานต์ให้แก่เจ้านายวังนี้ เรือนหลังนี้จะเปิดเพื่อรับผู้แทนพระองค์ฯ และในงานวันนริศฯ ซึ่งจัดเป็นประจำในวันที่ 28 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จฯ กรมพระยานริศฯ รวมทั้งสำหรับประกอบพิธีงานบุญในวงศ์สกุลเมื่อลูกหลานแต่งงาน หรืองานสำคัญในชีวิตจะใช้เรือนหลังนี้

“งานวันนริศฯ เป็นงานที่สำคัญที่สุด เราจะมีการอัญเชิญงานฝีพระหัตถ์ และงานที่เป็นครูที่ท่านสะสมไว้มาจัดตกแต่งในวันนั้น เพราะท่านเรียนรู้งานศิลปะจากสิ่งของ เราเรียกของแต่ละชิ้นเป็นครู เวลาไหว้ครูท่านจะมีพวงมาลัยและผ้ามามอบให้ของทุกชิ้นที่สะสมไว้เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุณครู”

บริเวณห้องแรกเรียกว่า ท้องพระโรง ในอดีตบริเวณนี้คือที่รับแขกและประกอบพิธีต่างๆ มีการตั้งพระประธานในท้องพระโรง ประกอบด้วยรูปเขียนซึ่งเป็นพระพุทธรูปประจำวัง สองข้างแขวนภาพพระสาวกจากฝีพระหัตถ์ของสมเด็จฯ เพื่อเป็นต้นแบบให้ช่างนำไปเขียนผนังพระอุโบสถวัดราชาธิวาส ถัดมามีตู้หนังสือตำราที่ใช้ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะมุมหนึ่งของห้องจัดวางรูปปั้นส่วนพระเศียรของสมเด็จฯ ฝีมือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อีกด้านหนึ่งตั้งธรรมาสน์บรรจุอัฐิของท่าน

“อาจารย์ศิลป์ท่านปั้นพระรูปของสมเด็จฯ ไว้ถึง 6 รูปในช่วงที่สมเด็จฯ ยังมีชีวิตอยู่ แสดงให้เห็นความใกล้ชิดของคนสองคนที่มีต่อกันซึ่งราชสกุลจิตรพงศ์ เคารพนับถืออาจารย์ศิลป์ พีระศรีมาก ส่วนพระรูปที่ตั้งอยู่บริเวณท้องพระโรงคือรูปปั้นที่สาม อาจารย์ศิลป์สร้างตอนกลับไปเยี่ยมบ้านที่อิตาลีเพื่อนำมาถวายสมเด็จฯ เป็นรูปปั้นหินอ่อนสีแดงที่งามมาก”

ห้องด้านหลังตู้เคยตั้งโต๊ะเสวย ปัจจุบันตั้งบุษบก ห้องนี้ใช้เป็นที่ไหว้ครูประจำปีในงานวันนริศฯ ห้องต่อไปเดิมทีเดียวเรียกว่าห้องเวรเป็นที่พักของข้าราชบริพารที่รับใช้ท่าน ปัจจุบันเป็นห้องสะสมหัวโขนที่วิจิตรงดงาม มีความเก่าย้อนไปจนถึงรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นฝีมือช่างชั้นเลิศ การสะสมหัวโขนถือว่าเป็นงานอดิเรกของท่าน

“ความเก่งของสมเด็จฯ สะท้อนผ่านเรือนสองหลังซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ มีชายคาชนกันด้านนอก ท่านเลยกั้นเป็นห้องเล็กๆ ใต้ชายคาหน้าต่างที่หันมาทางทิศเหนือท่านใช้หน้าต่างกระจก ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของไทย แสงที่เข้าทิศเหนือเป็นแสงที่เหมาะกับการทรงงาน ห้องนี้อากาศปลอดโปร่ง ลมถ่ายเทได้ดี ท่านใช้เป็นห้องทรงงาน ซึ่งห้องนี้เราใช้ตั้งแสดงงานฝีพระหัตถ์แท้ๆ ของท่านที่หมุนเวียนมาจัดแสดงในงานวันนริศฯ” ห้องสุดท้ายคือ ห้องบรรทม เป็นห้องเล็กตั้งเตียงโครงเหล็ก แต่เวลา

ห้องดนตรีไทยที่ใช้จัดกิจกรรมสำหรับเด็กในบางโอกาส

หลังจากที่สมเด็จฯ สิ้นพระชนม์มีการแบ่งที่ดินกันในหมู่ทายาท ตำหนักและเรือนบริวารทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พร้อมทั้งมีการขยายถนนพระราม 4 ตำหนักหลังนี้จึงถูกย้ายเข้ามาด้านในประมาณ 50 เมตร ปัจจุบันเสาและพื้นชั้นล่างเปลี่ยนใหม่เพื่อยกตัวตำหนักให้สูงขึ้นเพื่อให้พื้นที่ด้านล่างได้ใช้จัดกิจกรรมได้ ส่วนชั้นบนพยายามคงสภาพส่วนที่สำคัญไว้ให้ได้มากที่สุด

นี้ใช้เป็นห้องพระ ในห้องพระจะมีพระพุทธรูปที่สมเด็จฯ โปรดที่สุด มีความงดงามมาก เป็นพระพุทธรูปสุโขทัย เป็นพระปิดทองที่ไม่มันวาบถัดมาคือห้องแต่งพระองค์ สิ่งที่เก็บไว้ในห้องแต่งพระองค์คือ เตียงไม้โบราณหรือแท่นบรรทมแบบจีน เป็นสมบัติโบราณของพระองค์เจ้าพรรณรายซึ่งเป็นพระมารดาสมเด็จฯ เตียงนี้มีความโดดเด่นที่ภาพเขียนโบราณของจีน เป็นศิลปะที่มหัศจรรย์ เนื่องจากคนจีนจะเขียนภาพจากข้างหน้า

ไปข้างหลังหลังจากที่สมเด็จฯ สิ้นพระชนม์ มีการแบ่งที่ดินกันในหมู่ทายาทตำหนักและเรือนบริวารทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พร้อมทั้งมีการขยายถนนพระราม 4 ตำหนักหลังนี้จึงถูกย้ายเข้ามาด้านในประมาณ 50 เมตรปัจจุบันเสาและพื้นชั้นล่างเปลี่ยนใหม่เพื่อยกตัวตำหนักให้สูงขึ้นเพื่อให้พื้นที่ด้านล่างใช้จัดกิจกรรมได้ ส่วนชั้นบนพยายามคงสภาพส่วนที่สำคัญไว้ให้ได้มากที่สุด

สายลมแผ่วเบา พัดใบไม้โบกไหว กับบรรยากาศของความร่มรื่นที่สัมผัสได้กว่าสองชั่วโมงภายในตำหนักปลายเนิน พัดพาผู้มาเยือนสู่โลกที่แสนสงบซึ่งถูกโอบล้อมไว้ด้วยความคึกคักของรถราด้านนอกแม้เรือนหลังนี้มิได้ใหญ่โตอลังการ แต่ผลงานศิลปะล้ำค่าจากการสะสมและได้รับการรักษาเหล่านี้ได้กลายเป็นมรดกทางศิลปกรรมอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป

About the Author

Share:
Tags: ฉบับที่ 1 / architecture / interior / เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ / ตำหนักปลายเนิน / บ้านปลายเนิน /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ