Sunday, May 19, 2024
ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

คอนเซ็ปชัญ วัดคริสตัง ที่เก่ากว่ากรุงเทพฯ

เมื่อครั้งอหิวาต์ หรือโรคห่าระบาดครั้ง ใหญ่ในปลายรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๙๒) ผู้คน ล้มตายเป็นอันมาก ทางวัดจึงเชิญแม่พระองค์ นี้ออกแห่เพื่อให้ชุมชนคริสตังขอพร มีผู้ป่วยขอพรแล้วรอดตายหายป่วยเป็นจํานวนมาก แล้วอหิวาต์ก็หยุดระบาด ตั้งแต่นั้นจึงเกิด ประเพณีแห่แม่พระองค์นี้ทุกปี วันที่ ๒๔ กันยายน มาจนถึงปัจจุบัน และมีการเลี้ยง ขนมจีนกันในวันแห่ “แม่พระไถ่บาป” จึงได้ชื่อ ทีชาวบ้านเรียกกันว่า “แม่พระขนมจีน” อีกชื่อหนึ่งด้วย

บาทหลวงปัลเลอกัวซ์เป็นผู้สร้างอาคารวัดหลังปัจจุบันท่าพิธีเสก ใน พ.ศ. ๒๓๘๐ และอัญเชิญรูปแม่พระไถ่บาปมาประดิษฐานไว้ด้วยวัตถุสําคัญชิ้นหนึ่งของวัดนี้ ได้แก่ บุษบกทรงปราสาท ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่วัดนี้ บุษบกองค์นี้ปัจจุบันใช้แห่ “แม่พระไถ่บาป” เป็นบุษบกไทยที่ออกแบบพิเศษ มีการผูกลายแบบฝรั่งที่ลายหน้ากระดานและเฟืองประดับงดงามมาก

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สังฆราชปัลเลอกัวซ์

เนื่องจากเมื่อครั้งที่เจ้าฟ้ามงกุฎยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และทรงจําพรรษาอยู่ที่ วัดราชาธิวาสซึ่งอยู่ติดกับวัดคอนเซ็ปชัญมีบาทหลวงฌอง บัปติสต์ ปัลเลอกัวซ์ พระสหายต่างชาติเป็นเจ้าอาวาสอยู่ นักบวชต่าง ศาสนาทั้งสองรูปได้แลกเปลี่ยนวิชาการกันอย่างจริงจัง ทรงใช้ให้นายเกิด มหาดเล็ก ไป เชิญบาทหลวงปัลเลอกัวซ์มาเฝ้า และถวาย การสอนวิชาทางตะวันตกต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ และ ละติน โดยทรงสอนภาษาไทย บาลี พระพุทธ ศาสนา และพงศาวดารสยามเป็นการแลก เปลี่ยน

บาทหลวงปัลเลอกัวซ์เป็นเจ้าอาวาสวัด คอนเซ็ปชัญอยู่ 4 ปี ก่อนจะย้ายไปประจําที่ วัดอัสสัมชัญและได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆราชแห่งสังฆมณฑลสยาม บาทหลวงปัลเลอกัวซ์เชี่ยวชาญภาษาไทยจนสามารถแต่งหนังสือ “สัพะ พะจะนะ พาสาไท” เป็นพจนานุกรม ๔ ภาษา ไทย – ละติน – ฝรั่งเศส และอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง มีส่วนช่วยด้วยไม่น้อย และ “Grammatica Linguae Thai” เป็นหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทย เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส และพจนานุกรม ละติน-ไทย (Dictionatium Latinum Thai, Adusum Missionis Siamensis) นับเป็นพจนานุกรมฉบับที่แรกของไทยที่ได้รับการ ตีพิมพ์แทนการเขียนลายมือนอกจากนั้นยังเขียนหนังสือค่าสอน พระคริสต์ธรรมบทสวดมนต์ ประวัติศาสนา ชีวประวัตินักบุญ เพลงสวดมากมาย บางเล่มก็เขียนเป็นภาษาไทยด้วย

ม้านั่งแบบเก่า เมื่อแรกสร้างอาคารวัดหลังใหญ่นี้คงได้แบบมาจากม้านั่งที่เคยใช้ใน “วัดน้อย” (หลังเก่า) แต่ทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น
บุษบกพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้สำหรับในพิธีแม่พระไถ่บาป แต่ปกติจะใช้ประดิษฐานแม่พระอีกองค์หนึ่งดังในภาพ

ความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้ เรียนรู้จากพระสหายปัลเลอกัวซ์นั้นพัฒนาสูงสุด ทรงคํานวณการเกิดสุริยุปราคา ที่หว้ากอได้อย่างแม่นยํากว่าฝรั่งดังทีเรารู้ๆ กันอยู่ แต่เสียดายที่พระสหาย ปัลเลอกัวซ์ไม่ทันได้อยู่ชื่นชมความ สําเร็จด้วย เพราะท่านสิ้นชีวิตลงเสียก่อนที่วัดอัสสัมชัญบางรัก แต่ท่าน แสดงความปรารถนาที่จะให้ฝังร่างของท่านทีวัดคอนเซ็ปชัญ แสดงว่าท่านผูกพันกับวัดนี้มาก

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน หีบศพสลักเสลาสวยงาม เครื่องปี่กลอง เรือ ๓ ล่าสาหรับร่วมขบวนแห่ และมีพระบรมราชานุญาตให้ขบวนเรือแห่ศพผ่านพระ ตําหนักแพวังหลวงได้เป็นกรณีพิเศษ (ซึ่ง ปกติจะห้ามเด็ดขาด)

ทรงประทับทอดพระเนตรอยู่ในเรือกลไฟ หน้าวังหลวง ลดธงมหาราชลงครึ่งเสา โปรด เกล้าฯ ให้ขบวนเรือแวะ ทรงเปิดพระมาลายืนค่านับไว้อาลัย ให้เรือทุกล่าและทุกป้อมที่ ขบวนผ่านลดธงครึ่งเสา มีผู้แทนพระองค์เชิญเครื่องขมาศพและเงินพระราชทานไปร่วมพิธีฝังด้วย จะเห็นได้ว่าทรงมีพระเมตตาพระสหายต่างศาสนาองค์นี้อย่างยิ่ง คณะมิสซังจึงทูลเกล้าฯ ถวายแหวนยศตําแหน่งของพระ สังฆราชปัลเลอกัว ซึ่งใช้ประกอบพิธีเป็นประจํา ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบรับแหวนถึงคณะมิสชิงด้วย

วัดคอนเซ็ปชัญได้รับการบูรณะให้ สวยงามขึ้นในชั้นหลัง เช่น ติดกระจกสีขยาย หน้าต่าง ประดับภาพรูปปั้นนักบุญและเรื่องราวทางศาสนา สร้างหอระฆัง เป็นต้น ในการบูรณะพื้นวัดเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ศพของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์และสังฆราชดูปองต์อีกองค์หนึ่งถูกน้ําท่วม จึงอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานใต้พระแท่นพระแม่ประธาน (องค์อุปถัมภ์) ในวัด ส่วนเศษไม้ผุของหีบศพ และวัตถุต่างๆ ที่พบในหลุมศพเก็บขึ้นแสดง ไว้ที่ “วัดน้อย” ซึ่งบัดนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์

ลายเฟื่องประดับบุษบก เป็นโลหะปิดทองประดับกระจกร้อยเรียงเป็นลวดลายสวยงาม
ฐานบุษบก เป็นลายหน้ากระดานผูกลายก้านขดใบผักกาดอย่างฝรั่งปิดทองติดกระจก คั่นสลับด้วยลายประจำยามก้ามปูแบบไทย
แท่นบูชาในวัดน้อยเป็นเครื่องไม้อย่างเก่า
เก้าอี้พิธีของวัดน้อย ทาสีเขียนลายทองเก่าแก่งดงาม
เครื่องใช้ประกอบพิธีของเก่าในพิพิธภัณฑ์

ควรหาโอกาสได้เช้าชมภายในพิพิธภัณฑ์วัดน้อย จะเห็นแท่นบูชาไม้แบบเก่า รูปเขียนของพระแม่สีเอกรงค์มีดทีม ดูเข้มขลัง แม้จะ ไม่ใหญ่โตโอฬาร แต่สวยและมีคุณค่าในความเก่าขลัง ภาพเขียนเรื่องราวพระเยซูถูกตรึงกางเขนที่ติดประดับอยู่ สวยแบบศิลปะไว้เตียงสา (Innocent Art) งามจริงใจและเปี่ยมด้วยศรัทธาจริงๆ นอกนั้นยังมีเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ในพิธีเก็บไว้จํานวนพอสมควร แม้ว่าการจัดแสดงยังไม่ทําเป็นระบบดีนัก แต่ก็พอให้เราเห็นร่องรอยความเก่าแก่และคุณค่า

About the Author

Share:
Tags: วัด / คริสตัง / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / ศาสนา / วัดคริสตัง / คอนเซ็ปชัญ / ศาสนาคริสต์ / ฉบับที่ 17 /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ