Saturday, May 18, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

อุทัยธานีเมืองแห่งสายน้ําและเสน่ห์ผ้าทอ

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 36
เรื่อง/ ภาพ: ฬียากร เจตนานุศาสน์

บรรยากาศสายน้ําสะแกกรัง บริเวณสะพาน ข้ามหน้าวัดโบสถ์

อุทัยธานี

เมืองแห่งสายน้ําและเสน่ห์ผ้าทอ

ภาพจังหวัดอุทัยที่เรานึกถึง คือเมืองเก่าที่เงียบสงบ บ้านเรือนแพในแม่น้ําสะแกกรัง อีกทั้งอุทยานห้วยขาแข้ง ผืนป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของไทย และอีกหลายเรื่อง ที่ได้ยินมา แต่ที่ยังไม่เคยเห็นกับตาก็คือ ผ้าทอโบราณและงานทอไหม ทอฝ้าย ที่ใครๆ ร่ําลือว่าสวยงามไม่แพ้ที่ไหน ยังมีปลาแม่น้ําสะแกกรังที่อร่อยมากมาย วัดวาอาราม ที่สวยงาม และเรื่องเล่าตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ที่น่าสนใจ จึงถือเป็นโอกาสดี ที่ ททท. จัดทริปพาเที่ยวอุทัยธานี โดยเชิญอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ มานําทริปพารู้จัก แหล่งทอผ้า เลี้ยงไหม และลวดลายผ้าทอขึ้นชื่อของอุทัย รวมทั้งได้สัมผัสแม่มุมอันงดงาม ของเมืองลุ่มน้ําสะแกกรังนี้อย่างใกล้ชิด

อุทัยในประวัติศาสตร์

มีหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ในพื้นที่ของ จังหวัดอุทัยธานีเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานยืนยันในหลาย พื้นที่ เช่น โครงกระดูก เครื่องมือหินกระเทาะจากหินกรวด และภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า อาจารย์เผ่าทองยังเล่าว่า ที่นี่เป็นเมืองหน้าด่านสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพืชพรรณป่า อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเลี้ยงช้างหลวง ๓,๐๐๐ เชือกที่ส่งมาจาก กรุงศรีอยุธยา และเป็นเมืองบ้านเกิดของบิดาของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑ ดังนั้นเมื่อไปถึงอุทัยธานี สถานที่แรกที่ควรไปก็คือ พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก บนยอดเขา สะแกกรัง

บานหน้าต่างวัดสังกัสรัตนคีรี มีภาพแกะสลักเทวดางดงาม
บันไดพญานาคทอดยาวจากยอดเขาสะแกกรังสู่บริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรี

จากนั้นเดินทางไปวัดสังกัสรัตนคีรี ไปกราบพระพุทธรูปมงคล ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสําริดปางมารวิชัย ศิลปะแบบสุโขทัย ที่งดงามและมีเอกลักษณ์ วัดนี้จะจัดพิธีตักบาตรเทโวในช่วง เข้าพรรษาของทุกปี ถือเป็นงานประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์สําคัญ ของจังหวัด และจัดได้สอดคล้องกับตํานานที่พระพุทธเจ้าเสด็จ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมา โดยสมมติให้มณฑปที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจําลอง ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสะแกกรัง เป็น “สิริมหามายากุฏาคาร” มีบันไดทอดยาวจากมณฑปลงสู่บริเวณ ลานวัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง เปรียบเสมือน บันไดทิพย์ทอดยาวจากสวรรค์ดาวดึงส์สู่เมืองสังกัสนคร จากนั้น ยังมีวัดริมน้ําสะแกกรังคือ วัดโบสถ์หรือวัดอุโบสถาราม เป็นวัด ที่มีจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวพุทธประวัติ เป็นภาพเขียน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่งดงามและแปลกตาไม่เหมือน จิตรกรรมฝาผนังที่ไหน หากตั้งใจชมดีๆ จะพบเรื่องราวใน พระพุทธประวัติที่มีคุณค่าและหาชมยาก

บริเวณภายนอกอุโบสถวัดโบสถ์
ภาพฝาผนังแสดงเรื่องราวพุทธประวัติในวัดอุโบสถาราม
มุมจากบนเขาสะแกกรังมองลงมาจะเห็นทิวทัศน์เมืองอุทัย
ร้านขายของฝากขึ้นชื่อต้องล่องแพมาซื้อ
ปลาแม่น้ําขึ้นชื่อเรื่องความสดอร่อย

วิถีเรือนแพบนแม่น้ําสะแกกรัง

แม่น้ําแห่งนี้เปรียบดั่งหัวใจหลักของชาวอุทัยธานี เราได้ล่อง แม่น้ําพร้อมรับประทานอาหารกลางวันบนเรือ ซึ่งเมนูก็มีปลาแรด ทอด และปลาส้มทอดกรอบ เป็นเมนูขึ้นชื่อของอุทัยที่อร่อยสมคํา ร่ําลือ เรือนแพริมแม่น้ําสะแกกรัง ถือเป็นสวรรค์บนผืนน้ําอันอุดม สมบูรณ์ ชาวแพจะเลี้ยงปลาในกระชัง โดยเฉพาะปลาแรด ซึ่งเป็น อาชีพที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับจังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากเนื้อปลาไม่มีกลิ่นดินโคลน ปลาแรดในกระชังของที่นี่จึงขึ้นชื่อมาก เพราะเนื้อแน่นนุ่มและหวาน

เรือล่องไปเรื่อยๆ ใช้เวลาไม่นานก็มาสิ้นสุดที่ร้านขายของกิน ขึ้นชื่อ เป็นร้านเรือนแพที่มีของกินท้องถิ่นมากมายทั้งปลาแห้ง ต่างๆ สามารถนําไปทําอาหารได้หลายเมนู เพราะปลาที่นี่ขึ้นชื่อ เรื่องความอร่อย นอกจากนี้ก็มีพวกเครื่องจิ้ม น้ําพริกมะม่วงแผ่น มะตูมแห้ง เป็นอาหารพื้นบ้านปลอดสารเคมี จากนั้นเรือล่องกลับ ในสายน้ําตามทางเดิม ชมวิวทิวทัศน์ของแม่น้ําสะแกกรัง วิถีชีวิต บ้านเรือนแพ สังเกตเรือนแพบางหลังห้อยพวงมาลัยไว้รายรอบผู้รู้บอกว่าเพื่อป้องกันงู เพราะงูไม่ชอบกลิ่นหอมของดอกไม้ บางแพขายของ บางแพมีกระชังเลี้ยงปลา และบางแพปลูกผัก มีแพที่พักสําหรับนักท่องเที่ยวด้วย นี่คือวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่ เต็มไปด้วยเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์

ผ้าทอลาวครั่ง กลุ่มหม่อนไหม พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ

ผ้าทอพื้นเมืองลายโบราณถือเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่สะท้อนขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของ ชาวอุทัยได้เป็นอย่างดี กลุ่มทอผ้ากลุ่มแรกที่เราเดินทางไปเยือน คือ กลุ่มทอผ้าลาวครั่งโคกหม้อ เป็นกลุ่มอนุรักษ์การทอผ้าทอลาว ครั้งโบราณ โดยสืบสานเทคนิคการทอผ้าแบบโบราณ และประยุกต์ ใช้เส้นไหมในการทอ เน้นการสืบสานลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ ของท้องถิ่น ภายในศูนย์มีห้องนิทรรศการให้ได้รู้จักผ้าทอลาย แบบต่างๆ มีผ้าทอโบราณตัวอย่างให้ชม และยังมีผลงานของ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม คุณชญทรรศ วิเศษศรี ผู้ที่สร้างสรรค์ ต่อยอดผ้าทอในรูปแบบและสีสันลวดลายใหม่ๆ โดยยังคงการผลิต ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ ทําให้เกิดลายผ้าที่สวยงามมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และสร้างเป็นแบรนด์ชื่อ “แต้มตะกอ” เป็นผ้าทอที่มี ชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของนักสะสมผ้าทอ ใครอยากได้ ต้องสั่งทําและจองล่วงหน้ากันเป็นแรมปี

อีกมุมหนึ่งของโรงเลี้ยงไหม ณ ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาด้าน หม่อนไหม หนอนสีขาวยั้วเยี้ยบนแปลงใบหม่อน นี่คืออาหาร จากธรรมชาติที่ช่วยสร้างเส้นใยให้ตัวไหม ก่อนที่เจ้าหนอนเหล่านี้จะเริ่มสร้างรังดักแด้รอบตัวแล้วจากนั้นก็จะถูกจับไปต้มและ ผ่านกรรมวิธีสาวไหมด้วยเครื่องสาวไหมแบบโบราณออกมาจาก รังไหมของพวกมัน ขณะที่ตัวไหมก็กลายเป็นอาหารชั้นดีของ ชาวบ้าน นี่คือวัฏจักรของวิถีการเลี้ยงไหม ที่มีคุณค่าทุกขั้นตอน ก่อนจะนําใยไหมมาย้อมสีเป็นเส้นด้ายและทอเป็นผ้าไหม

หมู่บ้านและชุมชนทอผ้าในจังหวัดอุทัยยังมีอีกหลายกลุ่ม เราไปกันต่อที่กลุ่มทอผ้าลาวครั่งบ้านนาตาโพ ที่มีพิพิธภัณฑ์ ผ้าทอโบราณอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี ที่นี่ได้พบกับครูอําไพ อํา ปี อํา ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ของศูนย์ศิลปาชีพระหว่าง ประเทศ ที่นี่ถือเป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าลาวครั่งที่สําคัญอีกแห่ง ใครต้องการรู้เรื่องราวการทอผ้า เครื่องมือทอผ้า รวมทั้ง กระบวนการปั่นฝ้ายแบบโบราณก็สามารถมาชมได้

อีกหนึ่งแห่งที่คนรักผ้าไม่ควรพลาดคือ บ้านคุณป้าจําปี ธรรมศิริ คุณป้าเป็นศิลปินทอผ้าที่มีชื่อเสียงระดับอาเซียน เคยได้รับ รางวัล ASEAN กรุณาเลือก | Selection 2016 ด้วยความที่มีทั้งฝีมือ รู้วิธีการทอผ้าแบบโบราณ และสามารถสร้างสรรค์ลวดลายผ้าได้ แบบมีเอกลักษณ์ งดงาม และยากจะมีใครลอกเลียนแบบ เพราะคุณป้าจะคิดลายไป ทอไป โดยไม่ต้องร่างแบบ มีทั้งลวดลายที่ได้ แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ บทกวี และวิถีชีวิตของชาวอุทัย ในพิพิธภัณฑ์ของคุณป้าคือขุมทรัพย์ชั้นดีที่คนอยากได้ความรู้ เรื่องผ้าทอและชมผ้าทอฝีมือคุณป้าพร้อมเรื่องเล่าที่หาฟังจากที่ไหนไม่ได้ควรไปเยือน

และก่อนจะจบทริปผ้างามเล่าเรื่องเมืองเหนือที่อุทัยธานี เราแวะไปชมแหล่งผ้าทอโบราณที่บ้านผาทั่งกันอีกแห่ง นอกจาก เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องผ้าทอและมีผ้าโบราณให้ชมจํานวนมาก ยังมีสินค้าผ้าทอประเภทต่างๆ ให้เลือกซื้อหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าซิ่น หมอน ผ้าห่ม ย่าม เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง ฯลฯ นับเป็นสวรรค์ ของคนรักผ้าที่ถ้าหากได้มาคงไม่อาจกลับไปมือเปล่าอย่างแน่นอน

หนอนไหมตัวแล้วตัวเล่าที่ผ่านการสาวเส้นไหมขึ้นมาจาก หม้อต้ม ทุกกระบวนการคืออาชีพที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านซึ่งสืบทอดการทอผ้า การทําเส้นใยไหม การย้อม การทอ การถัก การปักการแต้มสี นี่คือเรื่องราวของชาวเมืองที่เคยเป็นหน้าด่านตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา เมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น แต่มาในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ ๗ ก็มีเหตุ ให้ซบเซาลงไป เนื่องจากถนนพหลโยธินที่เป็นเส้นทางจาก กรุงเทพฯ สู่ภาคเหนือไม่ตัดผ่านมาทางจังหวัดอุทัย การเดินทาง ที่ยังใช้แม่น้ําสะแกกรังเป็นตัวเชื่อม ทว่าไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด หรือผ่านกาลเวลามานานแค่ไหน เรื่องราวลุ่มแม่น้ําสะแกกรังที่ถูก บันทึกผ่านเส้นใยไหมเส้นแล้วเส้นเล่า ก็ยังคงงดงามไม่เสื่อมคลาย รวมทั้งผ้าทอพื้นต่อๆ ไป ของทายาทผู้สืบทอดการทอลวดลาย ไหมอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอลาวครั่งในอุทัย ก็ยังรอคอย ผู้มาเป็นเจ้าของให้มาจับจองอยู่เสมอ

About the Author

Share:
Tags: ผ้าทอ / ฉบับที่ 36 / สะแกกรัง / อุทัยธานี /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ