Sunday, May 19, 2024
พระเครื่อง ชื่นชมอดีต บทความแนะนำ

พระรอด พิมพ์กลาง

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 14
เรื่อง : คนชอบ(พระ)สวย, ปรีชา เอี่ยมธรรม

พระรอด พิมพ์กลาง

พระรอดยอดนิรันตราย จากกรุวัดมหาวัน สมัยบรรจุไว้ ในกรุในรัชสมัยเจ้าแม่จามเทวีศรีลําพูน ประมาณ พุทธตวรรษที่ ๑๔ ซึ่งเป็นราชบุตรีในเจ้ากรุงละโว้ ได้ รับอัญเชิญให้ไปครองเมืองลําพูนหรือเมืองหริภุญไชย ไปครองเมืองครั้งนี้เท่ากับต้องไปก่อสร้างปลูกบ้านแปลงเมืองขึ้นในการเสด็จมาใหม่ทั้งหมด พระนางสั่งระดมไพร่พลพร้อมอํามาตย์ ทหาร ข้าทาสบริวาร ตลอดจนสมณชี พ่อพราหมณ์ และชนผู้ชํานาญทาง พุทธศิลป์ไปเป็นจํานวนมากประมาณกว่า ๕๐๐ รูป ได้สร้างวัดวาอารามไว้เป็นจํานวนมาก รวมทั้งจตุรพุทธปราการหรือ วัดใหญ่ ๔ มุมเมืองไว้เป็นที่พระสงฆ์องค์เจ้าผู้จาริกผ่านไปมาได้ พักอาศัย นอกจากนั้นแล้วยังได้สร้างพระพิมพ์สกุลลําพูนอีก มากมายหลายสิบพิมพ์ ที่เราท่านรู้จักกันดีก็คือ พระเปิม พระลบ พระเลี่ยง พระลือ ฯ และที่สําคัญที่สุดก็คือ พระรอดยอดนิรันตราย จากกรุวัดมหาวัน ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่มีขนาดเล็กสุด มีอายุการสร้าง นับด้วยพันปี และส่วนมากยังคงสภาพไว้ได้สมบูรณ์มากที่สุด เหตุที่เป็นดังนี้ก็เพราะเนื้อดินที่นําเอามาสร้างพระรอดนั้นเป็นดินดาลที่มีส่วนผสมของแร่เหล็ก บางท่านผู้รู้ได้อธิบายเสริมไว้ว่า แร่เหล็ก ในพระรอดนั้นท่านเรียกว่า โพรงเหล็กไหล เป็นแร่เหล็กชนิดสีดํา นอกจากนั้นยังมีแร่เหล็กอีกชนิดหนึ่งที่มีสีน้ําตาล มีคุณสมบัติทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี และเมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านยังนําเอาไป บรรจุอยู่ในบาตรเหล็กและฝังลงไปในกรุ ซึ่งทําเป็นอุโมงค์ขนาด ใหญ่ที่ด้านบนสร้างเป็นศาสนวัตถุทางพุทธศาสนา และทรัพย์สิน เงินทอง เสบียงอาหาร ไว้เป็นที่หลบภัยเมื่อมีข้าศึกเข้ามารุกราน โดยเฉพาะพระรอดวัดมหาวันนั้น เมื่อขุดพบใหม่ๆ จะถูกคราบสนิมเหล็กเกาะฝังตัวทึบหนา จนเราท่านมองภาพนั้นแล้วหมดความอยากได้ แต่ด้วยศรัทธาอย่างแรกกลัวที่จะเอามาเป็นสมบัติ ท่านคิดดูซิว่ากว่าจะแกะสนิมเหล็กออกจะต้องใช้ความพยายามสักแค่ไหน

พระรอดเมื่อได้มาจากกรุส่วนมากสนิมเหล็กจะเกาะ ฝังตัวแน่นมาก ซึ่งยากแก่การที่จะค่อยๆ แกะเอาสนิม เหล็กออก ถ้าเป็นเราคงหมดปัญญา

อนึ่งเมื่อพระรอดทุกพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นพระรอดพิมพ์เล็ก พิมพ์ กลาง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ตื้น และพิมพ์ต้อนั้น เนื้อหามวลสารจะเป็น พระที่มีเนื้อแข็งที่สุดจึงไม่ค่อยจะบุบสลายได้ง่ายแม้แต่ขอบบนๆ รอบตัวพระรอดนั้น นักนิยมสะสมพระเครื่องรุ่นคุณปู่มักจะพูดกัน ว่า พระรอดแท้เนื้อจะต้องตัดกระจกได้ เรื่องนี้ผมเองยังไม่เคยลอง เคยลองแค่เอาเนื้อกรอบพระรอดขูดแรงๆ ไปบนกล่องสเตนเลส ใส่พระจะเป็นรอยขีดข่วนอย่างกับขีดของอ่อนๆ เหมือนกับเอา ดินสอเขียนลงไปในกระดาษฉะนั้น นอกจากนั้นแล้วผู้เขียนยังได้เอาพระรอดโดยเฉพาะเนื้อเขียวซึ่งเป็นพระรอดที่รู้สึกจะแข็งมากที่สุดกว่าพระรอดสีอื่นใด เพราะเป็นเนื้อพระรอดที่มีแร่เหล็กผสมอยู่มากด้วยเครื่องตรวจเพชรที่ว่า DIAMOND SELECTOR II ผล ปรากฏว่าเนื้อพระรอดมีความแข็งมากกว่า ๓ ใน ๑๐ ส่วนของเพชร ซึ่งถือกันว่าเป็นแร่ธาตุที่มีความแข็งมากสูงสุดในโลกครับ

ตัวผมเองเป็นอีกคนหนึ่งที่วิทยุ BBC. เคยมาสัมภาษณ์ ทั้งนี้สืบเนื่องจากอาจารย์นิติท่านเป็นอาจารย์อยู่ที่สถาบันไทยคดีศึกษา ม. ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นานๆ ท่านก็จะนัดครูบา อาจารย์มาพูดคุยกับผมในลักษณะโต๊ะกลมประมาณสัก ๗-๘ ท่าน ถึงเรื่องพระเครื่องรางของขลังเท่าที่ท่านอยากทราบ ส่วนมากจะ เป็นปัญหาถาม-ตอบทั่วๆ ไปอยู่บ่อยครั้ง

สุดท้ายนักข่าววิทยุ BBC มีบางเรื่องที่อยากจะทราบได้ไป ติดต่อกับอาจารย์นิติที่คณะไทยคดี ท่านก็โบ้ยมาให้ผม แล้วนัด ผมไปสัมภาษณ์ที่ห้องส่งบนตึกที่ราชประสงค์ สาระใจความที่เขาอยากทราบและนําเอาไปเผยแพร่ข้อใหญ่ใจความสําคัญเพียงประเด็นเดียวเท่านั้นคือ เขาอยากจะทราบว่า ใน ประเทศไทยได้มีการเช่าหาพระรอดกรุวัดมหาวัน เมืองลําพูน ด้วยสนนราคาองค์ละหลายๆ ล้านเป็นความจริงหรือไม่ และ เช่าเพื่อเอาไปทําอะไร และพระรอดที่ว่านี้มีอานุภาพสามารถ ป้องกันอันตรายต่างๆ ได้จริงหรือ? และคนไทยฉลาดน้อยไป หน่อยหรือไม่ที่เช่าพระรอดเนื้อดินองค์เล็กนิดเดียวด้วยเงิน เกือบแสน เกือบล้านเช่นนี้ ผมจําได้ว่า ผมตอบไปในทํานองว่า พระรอดวัดมหาวันกรุนี้ที่คนไทยเช่าหากันด้วยราคาแพงเป็น เงินหลักล้านนั้น เขาเช่าหาในลักษณะที่พระรอดมีอายุเป็น พันๆ ปี เป็นวัตถุมงคลโบราณ ส่วนเรื่องพุทธคุณนั้นเป็นเรื่อง ศรัทธาเลื่อมใสเฉพาะบุคคลครับ

แผนผังจตุรพุทธปราการ
หลวงปู่ฤษี ประทานสร้างพระรอด กรุวัดมหาวัน

บทความนี้ตอนออกอากาศผมไม่มีโอกาสได้ฟัง แต่ อาจารย์อู นครปฐม พบหน้ากันยังพูดว่า ได้ยินเสียงพูดอยู่ที่ วิทยุ BBC ภาคภาษาไทย นี่มาได้อย่างไร?


ขอบคุณภาพประกอบจากหนังสือ พระรอด จัดทําโดย อรรคเดช กฤษณะดิลก อาจารย์ ๓ ระดับ 4 วิชาพุทธศิลป์


เรื่องเล่าประทับใจ

ในอนุรักษ์ฉบับก่อนๆ ได้มีการ เขียนถึงเรื่องของพระรอดพิมพ์ตื้นและพระรอดพิมพ์ต้อมาแล้ว ในฉบับนี้ก็จะขอเขียนถึงเรื่องของพระรอดพิมพ์กลาง ซึ่งตามประวัติของการค้นพบพระรอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็พบความจริงว่า พระรอดพิมพ์กลางถือเป็นพิมพ์ที่มีพบเห็นน้อยที่สุดกว่าพิมพ์อื่นๆ ทุกพิมพ์ นอกจากนี้ยังพบว่าพระรอดพิมพ์กลางเป็นพิมพ์ที่มีสภาพสวยสมบูรณ์อยู่ไม่เกิน ๓-๔ องค์เท่านั้น และในวงการพระเครื่องก็แทบจะรู้หมดว่าองค์ไหนเดิมเป็นพระ ของใคร และปัจจุบันอยู่กับใครบ้าง

พระรอดพิมพ์กลางเป็นพระที่มีพุทธลักษณะโดดเด่นกว่าพิมพ์อื่นๆ ตรงที่องค์พระนั่งตรงกลาง ลึก และทรวดทรงสมส่วนที่สุด เมื่อมองรวมตั้งแต่เศียร พระอุระ พระบาท และฐานและเมื่อ พิศรวมทั้งองค์จะแลดูเหมือนองค์พระคือพระบูชาเล็กที่นั่งประทับพิงผนังโพธิ์ด้านหลัง องค์พระจะลอยเด่นออกมาจากผนังโพธิ์ด้านหลังมากกว่าพิมพ์อื่นๆ และในอดีตตั้งแต่เข้ามาอยู่ในวงการพระเครื่อง ๔๐ ปี ผมจะได้ยินผู้อาวุโสในอดีต เช่น เสี่ยหน่ําท่านลพ พี่ลิใหญ่ เฮียลิ้มกรุงไทย เฮียเค้า และอีกหลายๆ ท่าน ให้ความเห็นตรง กันว่า พระรอดพิมพ์กลางถึงแม้หน้าตาของท่านจะไม่ชัดเท่าพิมพ์อื่นๆ แต่พุทธ ศิลปะสวยสมส่วนและลงตัวที่สุดใน บรรดาพระรอดทิ้ง & พิมพ์

พระรอดพิมพ์กลางที่ลงในอนุรักษ์ฉบับนี้ น่าจะเป็นหนึ่งในสามองค์ที่ วงการสะสมพระเครื่องกล่าวถึงมาโดยตลอด พระองค์นี้เดิมเป็นพระของท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัดคือท่านสุชาติ พัววิไล ผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าสะสมพระเครื่องสวยๆ อยู่หลายองค์ เช่น พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่องค์ที่สวยสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ซึ่ง ค้นพบตั้งแต่เปิดกรุครั้งแรกในจังหวัด กําแพงเพชร นอกจากนี้ในกรุของท่าน สุชาติก็จะมีพระรอดพิมพ์ตื้นและ พระผงสุพรรณหน้าแก่ และอีกหลายๆองค์ น่าเสียดายที่วันเวลาที่ผมได้มีโอกาสพบและรู้จักกับท่านสุชาติ ก็ปรากฏว่าพระสวยๆ องค์อื่นๆ เช่น พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่และพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ ก็ได้ตกทอดไปอยู่กับคุณพี่เสถียร เสถียรสุตแล้วส่วนพระที่ท่านสุชาติยังคงเก็บรักษาอยู่ก็จะมีแต่ชุดพระรอดเท่านั้น และเหตุผลที่ท่านสุชาติยังคงเก็บรักษาไว้เฉพาะชุดพระรอดก็เพราะท่านเล่าให้ผมฟังว่าตลอดชีวิตรับราชการของท่าน ได้พบและมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเกี่ยวกับพุทธคุณของพระรอด จึงทําให้อยากเก็บรักษาชุดพระรอดไว้กับทายาทต่อไป จากนั้นผมได้มีโอกาสพบท่านสุชาติอีกหลายครั้ง แต่ก็ได้แค่ส่องดูพระและชมเชยพระเท่านั้น สิ่งที่ได้รับมากที่สุดก็คือคําสัญญารับปากจากท่านสุชาติว่า ในวันข้างหน้าหากท่าน และลูกๆ เปลี่ยนใจก็จะคิดถึงผมเป็นคนแรก

ผมก็ตั้งใจรอคอยพระรอดองค์นี้ อยู่เกือบ ๑๐ ปี กว่าจะได้ยินเสียง โทรศัพท์จากท่านสุชาติที่โทรมาและเอ่ย ตรงๆ ว่ายังสนใจพระรอดผมอยู่หรือ เปล่า ซึ่งในโอกาสนี้ผมเองก็ต้องขอ กราบขอบพระคุณท่านสุชาติ ที่ได้ กรุณาคิดถึงผมเป็นคนแรกจริงๆ ตาม ที่ได้รับปากไว้ ซึ่งจริงๆ แล้วตลอดเวลา ที่รอคอย ผมก็ได้ข่าวมาตลอดว่ามี รังพระใหญ่หลายรังพยายามจะบุก พระรอดองค์นี้ไปครอบครอง แต่ใน ที่สุดผมก็เป็นคนโชคดี และขอขอบคุณ นิตยสารอนุรักษ์ อีกครั้งที่ให้โอกาสผม เล่าความหลังเก่าๆ เกี่ยวกับพระ และในฉบับต่อๆ ไปก็คิดว่าจะเขียนถึงพระรอด พิมพ์ใหญ่ และพระรอดพิมพ์เล็ก ต่อไป

About the Author

Share:
Tags: พระสวย / พระ / พระเครื่อง / ฉบับที่ 14 / พระรอด พิมพ์กลาง / พระรอด /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ