Sunday, May 19, 2024
ชื่นชมอดีต

เราพบ เราพัก เราออกเดินทาง และเราจากพรากกัน ที่ สถานี…รถไฟ

องค์ประกอบของการเดินขบวนรถไฟ

รถจักรไอนํ้า Mikado สร้างโดย สมาคมอุตสาหกรรม
รถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทยนํามาใช้การ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒-๒๔๙๔

เครื่องอาณัติสัญญาณ

เป็นเครื่องมือควบคุมการจราจรเพื่อความปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการเดินรถ เช่น เสาสัญญาณชนิดหางปลา (semaphore), สัญญาณธงผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และตะเกียงสัญญาณ

รถจักร

ทําหน้าที่ลากจูงรถไฟคันอื่นๆ ให้เคลื่อนที่ไปได้ รถจักรมีหลายชนิด ได้แก่ รถจักรไอนํ้า รถจักรดีเซล รถจักรไฟฟ้า และรถจักรกังหันก๊าซ

ทางรถไฟ

ทางที่มีรางเหล็ก ๒ เส้น วางขนานกันบนไม้หมอนที่มีหินโรยทางรองรับ ไม้หมอนและรางจะยึดติดกันไว้ด้วยเครื่องยึดเหนี่ยวราง

รถพ่วง

ได้แก่รถสําหรับบรรทุกคนโดยสาร ซึ่งเรียกว่า รถโดยสาร และรถสําหรับ บรรทุกสินค้า ซึ่งเรียกว่า รถสินค้า

สถานีรถไฟ

จุดจอดพักรับ-ส่งผู้โดยสาร

รถไฟสายแรกในสยาม

ประเทศไทยนั้นได้ชื่อว่าเวนิสตะวันออก เพราะมีแม่นํ้าลําคลองมากมายหลายสาย สําหรับแฟนพันธุ์แท้อนุรักษ์ น่าจะพอทราบว่าฉบับที่แล้วเรามีเรื่องราวของเรือมากมายหลายประเภท และบางประเภทคนรุ่นใหม่ยังแทบไม่รู้จัก เพราะปัจจุบันวิถีชีวิตคนไทยก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลง จากเคยเดินข้ามหมู่บ้าน ข้ามวันข้ามคืน ต่อมาก็พายเรือ ใช้เรือด่วน มีเกวียน มีรถลาก รถถีบ กระทั่งวันหนึ่งก็เริ่มมีรถไฟ… และสําหรับผู้เขียน จําได้ว่าการได้นั่งรถไฟทางไกลๆ เป็นครั้งแรกในสมัยเด็กๆ นั้นสนุกสนานมาก บรรยากาศของการนั่งรถไฟนั้นเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ไม่เหมือนการเดินทางด้วยวิธีอื่น เมื่อผ่านแต่ละสถานีที่รถไฟหยุด จะมีคนหอบหิ้วอาหาร ขนม เครื่องดื่มมาขาย เราต้องรีบตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ไม่อย่างนั้นคนขายก็จะผ่านไปโบกี้อื่น หรือไม่ก็รีบกระโดดลงก่อนรถไฟจะเคลื่อน อยากกินอีกก็ต้องรอไปอีกสักพัก เสียงปู๊นๆ ฉึกฉัก และเสียงล้อกระทบรางดังกึงกังเกรียวกราวนั้นก็อีก เป็นเสียงที่บ่งบอกว่าเรากําลังเดินทางไปด้วยความเร็ว และเหนืออื่นใดหากใครเคยนั่งรถไฟมาบ้าง คงจะรู้ว่าวิวสองขางทางรถไฟนั้นมีความเป็นธรรมชาติที่สวยงดงดงามกว่าวิวที่เห็นได้จากที่ไหน นี่ละคือเสน่ห์ของการเดินทางโดยรถไฟที่เราคงไม่อยากให้เลือนหายไม่วาจะด้วยเหตุผลใดก็ตามและถ้าเราจะย้อนไปดูเรื่องราวของรถไฟในสยามนั้น ต้องบอกว่าถือกําเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งจุดเริ่มต้นนั้นมาจากสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ ขณะนั้นคณะราชทูตจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งประเทศอังกฤษ ได้นําเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาส์นมาถวายพร้อมทั้งนําสนธิสัญญาฉบับที่แก้ไขใหม่มาแลกเปลี่ยนกับรัฐบาลไทย ส่วนหนึ่งของเครื่องราชบรรณาการที่นํามาถวายในครั้งนั้น

เป็นรถไฟจําลองซึ่งย่อส่วนจากของจริง ประกอบด้วยรถจักรไอนํ้าและรถพวงครบขบวน สามารถแล่นบนรางด้วยแรงไอนํ้าทํานองเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษ ปรากฏว่าเป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และทรงมีพระราชดําริที่จะสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในประเทศไทย แต่ยังไม่ทันได้ทําก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น รัฐบาลไทยได้อนุมัติสัมปทานแก่บริษัทชาวเดนมาร์กเพื่อสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นในประเทศไทย ระหว่างกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ แต่บริษัทยังขาดทุนทรัพย์จึงมิได้ดําเนินการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยืมทุนทรัพย์ไปสมทบด้วยส่วนหนึ่ง และยังได้รวมทําการสํารวจเส้นทางรถไฟในบางเส้นทางด้วย รวมทั้งได้เสด็จพระราชดําเนินแซะดินเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ กับเป็ดทางรถไฟ ณ สถานีสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเรียกได้ว่ารถไฟสายแรกในสยามนั้นเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งหลังจากครบสัญญาสัมปทาน ๕๐ ปี ในพ.ศ. ๒๔๙๗ ทางรถไฟสายนี้ก็ตกเป็นของกรมรถไฟ และดําเนินกิจการต่อมาจนถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงมีการยุติการเดินรถไฟสายนี้ เนื่องจากประชาชนหันไปนิยมโดยสารรถยนต์มากกว่า กระนั้นรถไฟสายอื่นๆ ในเส้นทางอื่นๆ ทั่วประเทศก็เริ่มทยอยสร้างขึ้นนับแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา

หัวรถจักรสูงเนิน ที่ใช้ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๕๐๘
ปัจจุบันจัดแสดงเป็นอนุสรณ์ไว้ที่สถานีรถไฟหาดใหญ่

About the Author

Share:
Tags: นิตยสารอนุรักษ์ / อนุรักษ์ / ชื่นชมอดีต / anurakmagazine / สถานีรถไฟ / รถไฟ / หัวลำโพง / รัชกาลที่ ๕ /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ