Sunday, May 19, 2024
ทำไมระเบียงบ้าน ถวัลย์ ดัชนี ถึงมีแรมโบ้

ทำไมระเบียงบ้าน ถวัลย์ ดัชนี ถึงมีแรมโบ้

May 15, 2024
เรื่อง/ภาพ: ตัวแน่น ในบรรดาฉากเหตุการณ์สำคัญต่างๆในพุทธประวัติ คงไม่มีฉากไหนที่ดูดรามาติก ยิ่งใหญ่ ทรงพลัง เร้าอารมณ์ ไปกว่าฉาก มารผจญ ซึ่งเกิดขึ้นในห้วงเวลาหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับนั่งขัดสมาธิใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ แล้วอธิษฐานจิตว่าหากยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่ลุกไปไหน ถึงแม้ร่างกายจะแห้งเหี่ยวเหลือเพียงหนังหุ้มกระดูกก็ตาม การตั้งจิตซึ่งนำไปสู่การตรัสรู้ในครั้งนี้เป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับพญามารซึ่งดลใจให้ผู้คนประพฤติชั่ว และตกอยู่ใต้อำนาจ ส่งผลให้บัลลังก์แห่งพระยาวัสสวดีมารเกิดการสั่นไหวอย่างรุนแรง พระยาวัสสวดีมารจึงไม่รอช้าขี่ช้างคีรีเมขล์ พร้อมพรั่งด้วยกองทัพมารจำนวนมหาศาล ยกพลมาเพื่อขับไล่พระองค์ให้เสด็จหนีไป      เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะยังทรงนิ่งเฉยไม่เกรงกลัว กองทัพมารจึงกระหน่ำซัดศัสตราวุธนานาชนิดเข้าใส่ แต่พอเข้าใกล้พระองค์อาวุธต่างๆกลับกลายสภาพเป็นกลีบดอกไม้ไปเสียทั้งหมด พระยาวัสสวดีมารเห็นดังนั้นจึงเปลี่ยนยุทธวิธีโดยการอ้างสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของที่ประทับใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์แห่งนี้ และสั่งให้พระองค์ลุกออกไป […]
ทะเลมรกต คู่ฟัดที่สูสีของซิมโฟนี่จักรวาล

ทะเลมรกต คู่ฟัดที่สูสีของซิมโฟนี่จักรวาล

May 10, 2024
เรื่อง/ภาพ: ตัวแน่น อาจจะฟังดูเหมือนอภินิหาร แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย เมื่อได้ทราบข่าวว่าเมื่อในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ภาพ ‘The Symphony of the Universe’ ฝีมือศิลปินไทยนามว่า ประเทือง เอมเจริญ จะถูกประมูลไปในราคาสูงถึง 6,048,000 ดอลลาร์ฮ่องกง หรือราวๆ 27,400,000 บาท […]
ปลา ถวัลย์ ดัชนี ในเงื้อมมือดาลี

ปลา ถวัลย์ ดัชนี ในเงื้อมมือดาลี

Apr 10, 2024
      เคยเห็นกันไหม มุกในหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ที่คนกินข้าวคลุกน้ำปลา ในขณะที่ดูภาพวาดปลา จินตนาการไปว่ากำลังได้กินปลาตัวนั้นอยู่จริงๆ หากดูเผินๆ ก็แค่มุกขำๆ แต่ถ้ามาพินิจพิเคราะห์กันอย่างจริงจังผู้ที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นคงรู้สึกอัดอั้นจนไม่มีทางจะขำออกเลย           พอยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมา ก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึง สุเชาว์ ศิษย์คเณศ ศิลปินไทยท่านหนึ่ง ซึ่งมีชีวิตยากลำบาก กำพร้าพ่อแม่แต่ยังเล็ก เติบใหญ่มาแบบไม่มีสตางค์ต้องอยู่อย่างอดมื้อกินมื้อจากความอนุเคราะห์จากพี่สาว และเพื่อนๆ เมื่อเลือกอาชีพเป็นจิตรกรก็ถูกดูถูกดูแคลน บ้างหาว่าฝีมือเหมือนเด็กวาด บ้างก็ว่าผลงานที่สร้างสรรค์ออกมามีเนื้อหาเคร่งเครียดไม่เหมาะจะซื้อหาไปประดับประดา ก็แน่ล่ะสิเพราะสุเชาว์เลือกที่จะวาดภาพที่ถ่ายทอด ชีวิต และระบายความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองออกมาแบบไม่เสแสร้ง […]
ส่วนผสมของปรมาจารย์ในงานของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต

ส่วนผสมของปรมาจารย์ในงานของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต

Feb 16, 2024
          เมื่อปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช* รัชกาลที่ 9 กำลังทรงสนพระทัยในศิลปะสมัยใหม่ และมีพระราชประสงค์จะให้จัดหาศิลปินชั้นนำมาวาดพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล** รัชกาลที่ 8 พระองค์เอง และ  พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ*** เพื่อนำไปประดิษฐานร่วมกับพระบรมสาทิสลักษณ์บูรพกษัตริย์รัชกาลที่ 1-7 ที่มีอยู่ก่อนแล้วในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ระเด่น บาซูกิ อับดุลลาห์ ยอดฝีมือชาวอินโดนีเซีย ซึ่งพร้อมสรรพคุณสมบัติเพียบพร้อม และชื่อเสียงโด่งดังระดับนานาชาติจึงถูกเชื้อเชิญให้มาเป็นจิตรกรในราชสำนักไทยเมื่อปี พ.ศ. […]
‘สถูป’ จิ๊กซอว์ที่ไม่เคยเผยของ มณเฑียร บุญมา

‘สถูป’ จิ๊กซอว์ที่ไม่เคยเผยของ มณเฑียร บุญมา

Jan 15, 2024
           เมื่อ มณเฑียร บุญมา เกิดมีมุมมองว่าผ้าใบและสีที่ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะนั้นเปรียบเสมือนกรอบที่จำกัดจินตนาการ งานของมณเฑียรจึงสร้างสรรค์อย่างนอกกรอบไปเลยจนยากที่จะคาดเดารูปแบบและเทคนิคได้ เริ่มจากผลงานชุด ‘Changing World’ หรือ ‘โลกที่เปลี่ยนแปลง’ ในปี พ.ศ. 2526 ที่จัดแสดงร่วมกันกับเพื่อนๆศิลปิน ‘กลุ่มไวท์’ ที่มณเฑียรเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นสมาชิก ในนิทรรศการครั้งนั้นโจทย์ที่ศิลปินทุกคนในกลุ่มได้รับคือการสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำ แทนที่จะเอาพู่กันจุ่มสีแล้วป้ายลงบนกระดาษให้เป็นภาพเหมือนที่ปกติเขาทำกัน มณเฑียรไม่ได้คิดถึงพู่กันหรือแม้แต่สีเลยด้วยซ้ำ แต่กลับคิดว่าสีน้ำคือสสารอะไรก็ได้ที่สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย มณเฑียรจึงนำสนิมและครามมาละลายน้ำแทนสี ราดลงบนจานกระดาษที่มีเม็ดข้าวสารเรียงเป็นรูปสี่เหลียมสามเหลี่ยมเหมือนข้าวที่ถูกอัดมาในถ้วยก่อนเสิร์ฟในร้านอาหาร บางจานก็เรียงเป็นรูปร่างปลาหัวหักๆเหมือนปลาทูในเข่ง เมื่อเสร็จแล้วจึงนำจานมาติดเรียงกันด้วยกาวที่ทำเองจากกระเจี๊ยบแบบช่างไทยสมัยโบราณ […]
ไทรทัน และ เนียรีอิด เทพเจ้าผู้ดลใจให้ศิลปะไทยล้ำสมัย

ไทรทัน และ เนียรีอิด เทพเจ้าผู้ดลใจให้ศิลปะไทยล้ำสมัย

Dec 11, 2023
         เมื่อราว 100 ปีที่แล้ว ‘ดุสิตสโมสร’ คฤหาสน์สไตล์อิตาลีที่ออกแบบโดย มาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) นั้นเพิ่งจะแล้วเสร็จใหม่ๆ ในยุคนั้น ตามานโญ นับว่าเป็นสถาปนิกมือหนึ่งในสยาม ขนาดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยังทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นผู้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งขนาดใหญ่โตโอ่อ่า อลังการที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยรสนิยม และความช่ำชองผู้ออกแบบ ดุสิตสโมสรจึงพร้อมสรรพไปด้วยรายละเอียดพิเศษอันหรูหรา กลายเป็นบ้านพักส่วนตัวหลังงามที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ใดก็ตามที่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยียน ซึ่งรวมถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว […]
วิทรูเวียนแมน เวอร์ชั่น ถวัลย์ ดัชนี

วิทรูเวียนแมน เวอร์ชั่น ถวัลย์ ดัชนี

Oct 12, 2023
สำหรับคนรักศิลปะด้วยกันคงเข้าใจ หากชอบอะไรมากๆ เพียงแค่ได้เห็นรูปถ่ายเบี้ยวๆมัวๆที่ถ่ายติดเพียงเศษเสี้ยวของภาพวาด ก็สามารถส่งผลให้อดรีนาลีนหลั่งจนตื่นเต้นเกินคาด เสียจริตจะก้านเก็บอาการไว้ไม่ไหว หนึ่งในเหตุการณ์ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำชัดเจนเหมือนเพิ่งพบประสบเมื่อวาน เกิดขึ้นในค่ำวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2566 วันนั้นขณะที่เรากำลังมีความสุขกับอาหารจีนร้านโปรดอยู่ที่ย่าน Bayswater ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ จู่ๆก็เห็นมีอีเมลล์จากผู้ส่งชื่อ Chris ส่งมาในกล่องจดหมายของบริษัทประมูลศิลปะที่เราบริหารอยู่ให้ช่วยประเมินมูลค่าภาพวาดลายเส้น และภาพพิมพ์ ฝีมือ ถวัลย์ ดัชนี เพราะเจ้าของอยากจะทำประกัน ภาพวาดลายเส้นนั้นเขียนขึ้นมาด้วยปากกาลูกลื่นบนกระดาษ ถวัลย์ค่อยๆบรรจงฝนหมึกทีละเส้นด้วยน้ำหนักอ่อนแก่จนเกิดเป็นภาพกลุ่มคนห้อมล้อมอยู่ด้วยกันในอิริยาบถต่างๆ […]
ใหญ่และเล็กที่สุดในชีวิตของ เขียน ยิ้มศิริ

ใหญ่และเล็กที่สุดในชีวิตของ เขียน ยิ้มศิริ

Sep 14, 2023
ในสมุดบันทึกปกสีเขียวเข้มเล่มเขื่องของ เขียน ยิ้มศิริ เขียนได้เก็บรวบรวมรูปถ่ายของผลงานประติมากรรมที่สร้างสรรค์ด้วยฝีมือท่านเองเอาไว้มากมาย แต่ละหน้าของสมุดมีรูปถ่ายถูกบรรจงติดกาวเรียงรายไว้จนครบทุกแผ่นแบบเต็มคาราเบลไม่เว้นแม้กระทั่งด้านหลังของปกหน้าและหลัง รูปไหนถ้าไม่มีพื้นที่ติดจริงๆ ก็จะถูกแทรกไว้ระหว่างแผ่นกระดาษอย่างตั้งใจเหมือนที่คั่นหนังสือ บางหน้ามีรูปเสก็ตช์ชิ้นจริงที่วาดด้วยดินสอ และปากกาติดอยู่แสดงให้เห็นถึงไอเดียตั้งต้น ซึ่งเป็นเชื้อไฟจุดประกายให้เขียนพัฒนาผลงานต่อในรูปแบบสามมิติจนกลายเป็นประติมากรรมชิ้นดังอันเป็นที่เชิดหน้าชูตา ในขณะที่บางหน้ามีคลิปปิ้งบทความข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ที่ยกย่องฝีมือของเขียนให้คนทั้งประเทศได้รู้จักตัดแปะเอาไว้ สมุดเล่มนี้จึงดูคล้ายกับ ‘พอร์ตฟอลิโอ’ (Portfolio) หรือแฟ้มสะสมผลงานที่แสดงตัวตน ทักษะความสามารถ และรางวัล แบบที่คนอื่นๆ เขาใช้ประกอบเอกสารในการสมัครคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษา หรือสมัครเข้าทำงาน ต่างกันตรงที่พอร์ตโฟลิโอของหนึ่งในประติมากรอันดับต้นๆ ของประเทศในยุคนั้นอย่าง เขียน ยิ้มศิริ คงไม่ต้องเอาไปใช้ยื่นสมัครอะไรที่ไหน […]
 ไวน์ปาร์ตี้ ไปกับ คาร์โล ริโกลี และ ออร์โซลินี 

 ไวน์ปาร์ตี้ ไปกับ คาร์โล ริโกลี และ ออร์โซลินี 

Aug 14, 2023
(ซ้าย) คาร์โล ริโกลี (ขวา) กาลิเลโอ คินี ถ่ายที่กรุงเทพฯ – ภาพจาก facebook ตามรอยกาลิเลโอ คินี ในปี พ.ศ. 2453 ศิลปินหนุ่มชาวอิตาเลียน นามว่า คาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) ใช้เวลาหลายเดือนล่องเรือเดินสมุทรที่ออกเดินทางจากยุโรป ลัดเลาะไปตามชายฝั่งทวีปแอฟริกา ต่อไปยังอินเดียมุ่งหน้าไปสู่จุดหมายคือราชอาณาจักรสยามที่อยู่ห่างไกลไปทางตะวันออก ถึงจะไม่รู้ว่าสถานการณ์ในภายภาคหน้าในดินแดนที่ไม่คุ้นเคยจะเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยการเดินทางที่ไกลที่สุดในชีวิตของริโกลีก็น่าจะเป็นไปด้วยดี เพราะชายชาวสยามผู้เชื้อเชิญศิลปินฝรั่งให้มาปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้เป็นถึงพระเจ้าแผ่นดิน            ย้อนเวลาไป 27 ปีก่อนหน้า ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2426 ณ เมือง เซสโต ฟิออเรนติโนเมืองเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยโบสถ์ ปราสาทราชวังอายุหลายร้อยปี และเป็นแหล่งผลิตเครื่องกระเบื้องชั้นดีส่งไปขายทั่วยุโรป คาร์โล ริโกลี ได้ลืมตาดูโลก เด็กชายริโกลีเติบโตขึ้นมาพร้อมๆกับพี่น้องอีก4 คนในครอบครัวที่มีอันจะกิน ริโกลีได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีโดยพ่อกับแม่ตั้งใจว่าเมื่อลูกชายนายนี้เติบใหญ่จะให้ไปบวชเป็นบาทหลวง แต่ริโกลีกลับอยากจะเอาดีทางด้านศิลปะมากกว่า ไม่อยากเบนไปทางสายบุญอย่างที่ครอบครัวคาดหวัง           ริโกลีจึงเลือกเดินตามความฝันของตัวเองด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นจิตรกรให้ได้ จนโชคชะตานำพาให้ไปพบพานกับ กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) ศิลปินรุ่นอาวุโสกว่าที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการแสดงผลงานทั่วยุโรป ซึ่งก็รวมถึงงานใหญ่ระดับโลกอย่างเทศกาลศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่จัดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2450 ในช่วงเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอยู่ระหว่างการเสด็จฯประพาสยุโรปครั้งที่ 2 พอดิบพอดี จึงทรงเสด็จฯไปร่วมเทศกาลศิลปะ เวนิส เบียนนาเล่ ในครั้งนั้นด้วย ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดผลงานของคินี จึงทรงมีพระราชดำริให้ทาบทามตัวมาช่วยวาดภาพประดับพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งกำลังมีแผนจะก่อสร้างกันอยู่ในขณะนั้น ราชสำนักสยามเจรจากับคินีได้สำเร็จ แต่ด้วยปริมาณงานอันมากมายทำคนเดียวให้เสร็จสิ้นในเวลาที่กำหนดคงเป็นไปไม่ได้ คินีจึงตัดสินใจชักชวนริโกลีให้มาร่วมงานด้วย ที่กรุงเทพฯ ริโกลีกลายเป็นศิลปินเต็มตัวสมใจ งานหลักของริโกลีคือวาดภาพพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีขนาดใหญ่ยักษ์บนเพดานโดมพระที่นั่งอนันตสมาคมร่วมกับคินี ริโกลีกลายเป็นศิลปินที่มีงานชุก ทั้งวาดภาพตกแต่งตำหนัก พระที่นั่ง วัด และสถานที่อื่นๆอีกเพียบ ยิ่งตอนหลังคินีต้องกลับประเทศอิตาลีไปก่อนเพื่อดูแลภรรยาที่ป่วย ริโกลีเลยยิ่งมีงานราษฎร์งานหลวงให้วาดเยอะขึ้นไปอีก […]
ด้วยรักและหวังดี จาก ศิลป์ พีระศรี 

ด้วยรักและหวังดี จาก ศิลป์ พีระศรี 

Jul 17, 2023
ประติมากรรมรูปเหมือนอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ปั้น โดย เขียน ยิ้มศิริ ในวันที่นายคอร์ราโด เฟโรชี หรือ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี กำลังจะเดินทางออกจากกรุงเทพฯ เพื่อกลับบ้านเกิดไปยังเมืองฟลอเรนซ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ นั้น มีเหล่าบรรดาลูกศิษย์ลูกหามาส่งเป็นจำนวนมาก หลายๆ ท่านคิดว่าการกลับไปยังประเทศอิตาลีของอาจารย์ศิลป์ครั้งนี้ก็คงเหมือนครั้งก่อนๆ คือไปเพียงแป๊บเดียวประเดี๋ยวก็กลับมา โดยหารู้ไม่ว่าการร่ำลาในวันนั้นอาจจะเป็นการโบกมือลาเป็นครั้งสุดท้ายระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ผู้เป็นที่รักดั่งบุพการีด้วยซ้ำ  สาเหตุที่อาจารย์ศิลป์ต้องตัดสินใจเดินทางกลับไปในครั้งนั้น หลักๆ เป็นเพราะสถานการณ์บีบบังคับ ย้อนเวลากลับไปตั้งแต่ท่านตัดสินใจหอบภรรยาและลูกเดินทางเข้ามารับราชการในประเทศสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ อาจารย์ศิลป์ได้รับอัตราเงินเดือนในฐานะผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เป็นจำนวน ๘๐๐ บาท บวกกับค่าเช่าบ้านอีก ๘๐ บาท ซึ่งเพียงพอให้ท่านและครอบครัวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่อัตคัดในประเทศที่ทุกสิ่งอย่างยังอิงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก รอบๆ ตัวมีต้นไม้เขียวชอุ่ม แม่น้ำลำคลองใสสะอาด มีเรือกสวนไร่นาใหญ่โตสุดลูกหูลูกตา อาหารการกินอุดมสมบูรณ์หาง่ายในราคาไม่แพง ไม่ได้เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องรถราจอแจเหมือนในยุโรปที่ท่านจากมา แถมชาวสยามยังมีมนุษยสัมพันธ์ดียิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจคอยช่วยเหลือ ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ฝรั่งอย่างท่าน  วันเวลาผ่านไปกว่า ๒๐ ปี อาจารย์ศิลป์ทำงานหนักสร้างคุณูปการให้กับประเทศมากมายเกินจะประเมินเป็นมูลค่าได้ แต่อัตราค่าจ้างกลับขยับปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจโดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ข้าวยากหมากแพง อาจารย์ศิลป์เป็นคนสมถะ เช้าจรดเย็นชีวิตมีแต่งาน ไม่ค่อยใช้จ่ายส่วนตัวอะไร เงินทองที่ได้มาก็มักแจกจ่ายช่วยเหลือลูกศิษย์ที่ขาดแคลน เพื่อไปซื้อวัสดุอุปกรณ์มาสร้างสรรค์งานศิลปะ เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นเงินเดือนเริ่มไม่พอใช้ อาจารย์ศิลป์จึงต้องตัดสินใจขายรถ ขายบ้าน และเดินทางมาทำงานที่มหาวิทยาลัยศิลปากรโดยการถีบจักรยาน ลูกศิษย์ต่างก็สงสารเพราะรู้ว่าสายตาของท่านสั้นมากจนแทบจะมองไม่เห็นทาง อาจารย์ศิลป์และครอบครัวอดทนจนถึงที่สุด แต่ก็ยังมองไม่เห็นวิธีที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ในดินแดนที่ท่านหลงใหล ท่ามกลางหมู่ลูกศิษย์ที่ท่านรักเยี่ยงลูกในไส้ จึงจำใจต้องอำลากลับบ้านเกิดด้วยความอาลัย โดยลูกศิษย์ส่วนใหญ่ที่ไม่รู้ปัญหา ยังคิดว่าไม่นานอาจารย์ศิลป์ก็จะกลับมาใหม่ ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นมีความเป็นไปได้อย่างสูงว่าท่านจะต้องจำใจลาแล้วลาลับไปเลย […]
กระจก กาลิเลโอ คินี สะท้อนแสงสีแห่งสยาม

กระจก กาลิเลโอ คินี สะท้อนแสงสีแห่งสยาม

Jun 27, 2023
ภาพวาดบนกระจกสีโดย กาลิเลโอ คินี เพื่อใช้ตกแต่ง วิลล่าสกาลินี เมื่อคราวที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระองค์ได้เสด็จฯ ไปในงานเวนิส เบียนนาเล่ (Venice Biennale) ซึ่งเป็นงานแสดงผลงานศิลปะยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติที่จัดขึ้นทุก ๒ ปีในนครเวนิส ประเทศอิตาลี และนับว่าเป็นงานแสดงศิลปะที่เก่าแก่ที่สุด เพราะผ่านมาแล้วกว่าร้อยปี […]
“ประหยัด พงษ์ดำ” ในยามย่ำค่ำที่โกแกงแปลงร่างเป็นแมว

“ประหยัด พงษ์ดำ” ในยามย่ำค่ำที่โกแกงแปลงร่างเป็นแมว

May 25, 2023
เมื่อปลายศตวรรษที่แล้ว ยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่มี ทีวีขาวดำบ้านเรายังมีช่องเดียว สำหรับหนุ่มบ้านนอกที่มีความสามารถ ได้โอกาสมาเรียนโรงเรียนเพาะช่างและมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ เมืองกรุง การจะท่องไปในโลกกว้าง เห็นสิ่งมหัศจรรย์ร้อยแปด โดยเฉพาะรูปผลงานของศิลปินเลื่องชื่อระดับคับฟ้านั้นเป็นไปได้เพียงแค่ในห้องสมุด สถานที่สุดหรรษาสำหรับคนบ้าอาร์ตที่รวบรวมหนังสือศิลปะจากทั่วหล้าฟ้าเขียวเท่าที่สถานศึกษาพอมีปัญญาจะหาได้เอาไว้ในที่เดียว เลโอนาร์โด แวนโก๊ะห์ โมเนต์ และบรรดาชื่อฝรั่งจากหนังสือที่อาจไม่คุ้นปากหากแรกรู้จัก แต่เมื่อได้ยลผลงานแม้เพียงรูปถ่ายต่างต้องตราตรึงจดจำได้ไปตลอดชีวิต ปรากฏการณ์นี้ได้เกิดขึ้นกับนักศึกษาวัย ๒๐ ต้นๆ จากต่างจังหวัดที่ชื่อ ประหยัด พงษ์ดำ เช่นกัน รูปผลงานของ พอล โกแกง (Paul Gauguin) ศิลปินแนวโพสต์-อิมเพรสชันนิสม์ชาวฝรั่งเศส จากหนังสือห้องสมุด ถึงบางเล่มสีจะซีดๆ เซียวๆ หรือเพี้ยนๆ บ้าง แต่กระนั้นก็ยังถูกจริตประหยัดเสียนี่กระไร  ประหยัดมีพื้นเพมาจากชนบทห่างไกล เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ที่บ้านบางน้ำเชี่ยว หมู่บ้านอันแสนจะทุรกันดารในอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ในครอบครัวที่ไม่มีใครเป็นศิลปินเลยสักกะคนและเหตุการณ์ที่ทำให้รู้ว่าตนเองมีความสามารถด้านการวาดภาพ คือสมัยเด็กที่บ้านมอบหมายให้ประหยัดไปเฝ้าไร่ไม่ให้อีกามากินข้าวโพด ไร่ที่ว่าอยู่อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งก็ไม่ใกล้กับบ้านเท่าไหร่ ทุกวันตั้งแต่ก่อนรุ่งสางประหยัดต้องขี่ม้าไป และมีหมาหางกุดชื่อไอ้ด้วนวิ่งตามไปด้วยเป็นประจำ วันหนึ่งเมื่อไปถึงไร่ ประหยัดเห็นไอ้ด้วนหอบลิ้นห้อยเพราะวิ่งตามมาไกล ดูน่าสนใจ เลยคว้าเอาก้อนถ่านมาวาดรูปไอ้ด้วนบนไม้กระดาน เผอิญวันนั้นมีชาวนาผ่านมาเห็นเข้าพอดีและคอมเมนต์ว่าภาพหมาสวยสมจริงอย่างกับมีชีวิต คำชมอันแสนง่าย สไตล์ซิมเปิ้ลนี้ทำเอาเด็กชายประหยัดถึงกับใจพองฟูฟ่อง ไหนๆ ก็ตัดสินใจจะเอาดีทางศิลปะ พอโตขึ้นประหยัดเลยมาสอบเข้าโรงเรียนเพาะช่างที่กรุงเทพฯ ตามคำแนะนำของ ประยูร พงษ์ดำ พี่สาว และครูจรูญ วินิจ ครูสอนศิลปะที่โรงเรียนมัธยม ประหยัดสอบผ่านฉลุยได้เป็นนักศึกษาสมใจ แถมที่โรงเรียนเพาะช่างประหยัดยังได้พบกับอาจารย์ระดับตำนานมากมาย เช่น ทวี นันทขว้าง บรรจบ พลาวงศ์ พูน เกศจำรัส ซึ่งท่านทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีอาจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ของไทย เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้ บิลด์กันไปบิลด์กันมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ในขณะที่เรียนอยู่ปี ๒ ประหยัดเลยสอบเทียบเข้าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรตามรอยอาจารย์ไปด้วยซะเลยให้รู้แล้วรู้รอด  เมื่อประหยัดจบปี ๓ ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ตามเกณฑ์ถือว่าสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา แต่ถ้าใครอยากจะเรียนต่อปี […]
ประสงค์ ลือเมือง กับดาบกายสิทธิ์

ประสงค์ ลือเมือง กับดาบกายสิทธิ์

Apr 19, 2023
‘นักดาบ’ พ.ศ. 2529-2530 เทคนิคสีฝุ่นและดินสอบนกระดาษเยื่อไผ่รีดบนผ้าใบขนาด 160 x 102.5 เซนติเมตร ศิลปิน ประสงค์ ลือเมือง ลองนึกตามกันดู ในช่วงเวลาที่ใกล้จะเรียนจบ ถ้ามีอาจารย์ชมเราว่าฝีมือดีมาก เก่งกาจขนาดนี้ไม่ต้องมาเรียนก็ยังได้ เราในฐานะศิษย์จะทำยังไง? เชื่อเถอะเกือบร้อยทั้งร้อยต่อให้เป็นใครก็แล้วแต่ คงสุขสันต์เก็บคำหวานเหล่านี้ไว้ใช้เป็นกำลังใจต่อไป ถ้าทนไม่ไหวเก็บงำไว้เฉยๆ คนเดียวไม่ได้ อย่างมากเอาไปเล่าให้พ่อให้แม่ฟังให้ท่านภูมิใจ หรือไม่ก็นัดกินเลี้ยงสาธยายให้ญาติสนิทมิตรสหายรู้กันทั่วว่าฉันนั้นไม่ธรรมดานะจะบอกให้ ว่ากันว่าสำหรับนักศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากรนาม ประสงค์ ลือเมือง คำชมที่พรั่งพรูออกมาจากปากของปรมาจารย์ทางศิลปะที่เขานับถืออย่าง ชลูด นิ่มเสมอ นั้นกลับทำให้เขาตัดสินใจลาออก เลิกกันทีกับการเป็นนักศึกษา และหันมาเป็นศิลปินอิสระอาชีพที่เอาแน่เอานอนไม่ได้อย่างเต็มตัว  ประสงค์นั้นมีพื้นเพเป็นคนลำพูน เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ในครอบครัวช่างที่ถนัดไปทางสร้างบ้าน สร้างเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือน ที่มาชอบศิลปะเพราะสมัยอยู่ ม.ศ.๑ หรือสมัยนี้เทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ประสงค์เห็นเพื่อนวาดตัวการ์ตูนสไตล์กังฟูเก่ง แล้วอยากจะมีฝีมือเจ๋งแบบนั้นบ้าง เลยเริ่มฝึกฝน รวมทั้งอาสาเป็นคนวาดป้ายอะไรต่างๆ ให้โรงเรียน ในยุคนั้นประสงค์ยังเป็นแฟนคลับคอลัมน์ อาร์ตสแควร์ โดย เปี๊ยก โปสเตอร์ ในนิตยสารสตาร์พิค ซึ่งคอลัมน์นี้จะมีศิลปินสมัครเล่นจากทางบ้านส่งภาพวาดฝีมือตัวเองไปให้เปี๊ยกวิเคราะห์แนะนำ คนที่คอยตามอ่านเลยได้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและทฤษฎีทางศิลปะไปด้วย ยิ่งโตประสงค์ยิ่งอินกับศิลปะยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ขนาดที่ว่าวิชาอื่นๆ นี้แทบจะไม่สนเลย มีช่วงหนึ่งที่ไปสอบเข้าเรียนที่เทคโนภาคพายัพ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ เรียนได้ปีเดียวก็โดนรีไทร์เพราะใจไม่ได้ชอบ แต่อย่างน้อยที่เทคโนฯ เขาก็ได้พบ ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งมาเป็นวิทยากรพิเศษ ประสงค์ไม่รู้ว่าถวัลย์เป็นใคร แต่ประทับใจกับคาแรคเตอร์ท่าทางการแต่งตัวของครูผู้นี้มาก เพราะบางมุมก็คลับคล้ายคลับคลากับตัวละครในหนังจีนกำลังภายใน บางมุมก็เหมือนผู้ทรงภูมิในหนังสือแนวปรัชญาเต๋าและเชน ที่ประสงค์กำลังสนใจคลั่งไคล้ โอกาสนี้ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ประสงค์อยากเป็นศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะผู้ไม่ยี่หระหากจะมีบุคลิกพิเศษเฉพาะตัว ‘นักดาบ’ […]
ที่ระลึกเมื่อยามนึกถึง “เขียน ยิ้มศิริ”

ที่ระลึกเมื่อยามนึกถึง “เขียน ยิ้มศิริ”

Mar 11, 2023
              ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ นับว่าน่าจะเป็นปีที่ดีที่สุดปีหนึ่งในชีวิตของ เขียน ยิ้มศิริ ประติมากรอันดับหนึ่งของบ้านเราในยุคบุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ เพราะตั้งแต่ต้นปีเขียนได้รับรางวัลเหรียญเงินจากผลงานที่มีชื่อว่า “เริงระบำ” ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๔ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ถึง ๑๔ กุมภาพันธ์ การที่เขียนได้รับรางวัลครั้งนี้ผนวกกับเหรียญรางวัลอื่นๆ ที่ได้รับก่อนหน้า อันประกอบไปด้วยผลงาน “เสียงขลุ่ยทิพย์” ที่ชนะเลิศเหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑ […]