Sunday, May 19, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

เกาะกลาง ยอดรักของนักเดินทาง

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 4
เรื่อง: สริตา อุรุพงศา
ภาพ: ดลนภา รามอินทรา, จักรพงศ์ สุขเกษม

เกาะกลาง

ยอดรักของนักเดินทาง

เกาะกลาง จังหวัดกระบี่ คืออีกทางเลือกที่นักเดินทางหัวใจอนุรักษ์หลายๆ คนเลือกจะมาเยือน เมื่ออยากสลัดทิ้งความวุ่นวายของสังคมเมืองแล้วก้าวเข้าสู่อ้อมกอดอันสงบเงียบของธรรมชาติ

การเดินทางมาที่เกาะกลางนั้นสะดวกสบายกว่าที่คิด เริ่มต้นจากท่าเรือธารา ตัวเมืองกระบี่ ข้ามไปยังเกาะกลางด้วยเรือหัวโทง ใช้เวลาไม่ถึง ๕ นาที แล้วเปลี่ยนพาหนะเป็นรถสามล้อพ่วงข้าง มอเตอร์ไซค์ และจักรยาน ที่เกาะนี้ไม่มีรถยนต์ ทำให้ไม่มีพาหนะคันใหญ่มาบดบังความงามตามธรรมชาติของบ้านเรือนและทิวทัศน์ ตลอดสองข้างทางที่เป็นพื้นราบ ทุ่งนาเขียวขจี ตัดสลับเนินเขาและแม่นํ้า ด้วยเป็นเกาะที่มีทะเลโอบล้อม ทำให้มีชายหาดหลายแห่งที่เดินลัดเลาะลงไปชมความสงบงดงามของปลายฟ้าที่ตัดกับผืนทะเลได้ และอีกหลายหาดยังเป็นปากนํ้าที่ชาวประมงสามารถแล่นเรือออกไปหากินได้เลย

๑๑ กิโลเมตร คือระยะทางรวมทั้งหมดของเกาะกลาง เกาะที่ห้อมล้อมด้วยป่าชายเลน ณ บริเวณปากแม่นํ้า ตั้งอยู่กลางแม่นํ้ากระบี่ผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม นับถือศาสนาอิสลามกว่า ๘๐%ผู้คนใช้วิถีชีวิตสงบ เรียบง่าย อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ผูกพันกับทะเลและมีเอกลักษณ์ที่เรียกได้ว่าเป็นเสน่ห์แท้ๆ ของชาวเกาะกลาง คือความโอบอ้อมอารี และมีมิตรไมตรีซึ่งพร้อมจะเผื่อแผ่ให้กับทุกคนที่มาเยือนทั้งยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมและศิลปะดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ปล่อยให้จางหายไปพร้อมกับกาลเวลา ชาวเกาะกลางส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษมาจากประเทศมาเลเชีย ตั้งรกรากอยู่บนเกาะกลางแห่งนี้มากว่า ๑๕๐ ปีมีอาชีพหลักคือการประมง เกษตรกรรม หัตถกรรม และต้องรวมการท่องเที่ยวเข้าไปด้วย การจัดการท่องเที่ยวที่เกาะกลางนั้น จัดอย่างเป็นระบบโดยคนในชุมชน มีโฮมสเตย์คอยให้บริการอยู่ ๑๗ ที่ และมีกิจกรรมหลากหลาย ทั้งบริการพายเรือคายัค ชมนาข้าว ลัดเลาะเข้าชมป่าชายเลนรวมทั้งเก็บหอยหวาน ซึ่งจัดการโดยอิงหลักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ “อยู่ที่นี่ต้องตื่นเช้าๆ” คือประโยคที่คุณป้าคนหนึ่งเปรยขึ้นมาพร้อมรอยยิ้ม จริงอย่างที่แกว่า บนเกาะนี้มีกิจกรรมให้ทำทั้งวัน เริ่มจาก

หากได้มาเยือนเกาะกลางในวันอาทิตย์อย่าลืมไปเดินเล่น ตลาดนัดผู้สูงอายุ ตลาดสดที่คนเฒ่าคนแก่ออกมาขายขนม ของกิน งานฝีมือรวมทั้งของโบราณที่ส่วนมากหาดูค่อนข้างยากเปิดทุกวันอาทิตย์

ตั้งแต่เช้า ก็ได้เวลาของกาแฟ ข้าวมันไก่ และข้าวยำรสอร่อย แล้วออกไปดูป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศหลากหลาย ทั้งปลาที่วางไข่ตามล่อง ปูและนกที่เข้ามาทำรัง เป็นแนวปราการป้องกันคลื่นลมให้ชาวประมงได้เป็นอย่างดี ทั้งยังได้เจอกับไก่ แพะ และตัวเอกสำคัญของเกาะคือนกนานาพันธุ์ ที่บ้างก็บินโฉบ บ้างก็เดินเล่นนํ้าทะเล บ้างก็เกาะนิ่งบนกิ่งไม้ให้นักเดินทางจับภาพเล่น หรืออยากใช้เวลาทั้งวันเพื่อดูนกอย่างจริงจัง ก็มีแหลมดูนก และเรือนดูนก ไว้ให้นักส่องนกมาคลุกตัวกันเป็นวันๆ โดยเฉพาะในช่วงต้นปี ที่นี่นับเป็นแหล่งดูนกอพยพชั้นดี

ข้าวพันธุ์สังข์หยด ข้าวที่มีคุณสมบัตินิ่มและเหนียวให้คุณค่าทางอาหารและวิตามินสูง มีสีขาวปนสีแดงจางไปถึงเข้มในเมล็ดเดียวกัน เพราะที่นี่ไม่มีระบบชลประทานใดๆจึงเป็นการทำนาข้าวที่รอนํ้าฝนเทลงมาเพียงอย่างเดียว

๕ ความสุข ที่หาได้เฉพาะบนเกาะกลาง ทุ่งนาข้าว กลางเกาะ

ณ ผืนนาข้าวสีเหลืองอร่ามไกลสุดลูกหูลูกตากลางเกาะกลางมีนาข้าวที่ชาวบ้านเพาะปลูกกันไว้ข้ามปี พื้นที่นาโดยมากนั้น จะปลูกพันธุ์ข้าวยอดฮิตที่ทุกครอบครัวบนเกาะต้องมีติดบ้าน คือข้าวพันธุ์สังข์หยด ข้าวที่มีคุณสมบัตินิ่มและเหนียว ให้คุณค่าทางอาหารและวิตามินสูง มีสีขาวปนสีแดงจางไปถึงเข้มในเมล็ดเดียวกัน เพราะที่นี่ไม่มีระบบชลประทานใดๆ จึงเป็นการทำนาข้าวที่รอนํ้าฝนเทลงมาเพียงอย่างเดียว โดยจะเกี่ยวข้าวเพียงปีละครั้งในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ อีกหนึ่งพันธุ์ข้าวประจำเกาะกลางที่แม้ไม่โด่งดังเท่าสังข์หยด แต่ความอร่อยและคุณประโยชน์กลับไม่แพ้กัน อย่างข้าวหอมนิล ข้าวที่มีสีดำและหอมอร่อย ที่ใครได้ทานเป็นต้องติดใจในรสชาติ

หาซื้อข้าวสังข์หยดกลับไปทานบ้านได้ที่ กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์


อีกทั้งที่ทุ่งนาข้าว อำเภอคลองประสงค์แห่งนี้ จะมี ๒ โครงการประจำปีที่จัดควบคู่กันไป โดยจะมีพิธีเกี่ยวข้าวและปลูกข้าวตั้งแต่ช่วงเช้าถึงเย็น คือโครงการเก็บเกี่ยวข้าววันพ่อ และโครงการปลูกข้าววันแม่ โดยจัดร่วมกันระหว่างเกษตรการค้า กศน. และ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อสนับสนุนโครงการ ๑ ไร่ ๑ แสน โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ประยุกต์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นการบริหารจัดการที่ดินในพื้นที่ ๑ ไร่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทุกตารางนิ้ว

ฟาร์มหอย กลางผืนนํ้าธรรมชาติ

เอาเท้าสัมผัสกับธรรมชาติแล้วเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนอย่างแท้จริงด้วยการเก็บหอย ณ ตลาดหอยชุมชน ซึ่งมีหอยกว่า ๓๐ ชนิดให้เลือกเก็บ อย่างหอยราก หรือหอยปากเป็ด หอยคราง นับเป็นภาพคุ้นชินที่ในทุกเช้า จะมีชาวบ้านเดินลงทะเลกันเป็นครอบครัว ถือไม้ปลายแหลมพร้อมภาชนะใส่หอยมาเก็บหอยและสัตว์ทะเลนานาชนิดกลับไป โดยส่วนมากจะจับมาทานกันในครอบครัว และส่งขายบ้างปะปนกันไป วิธีการเก็บหอยนั้นง่ายดาย เพียงมีไม้ปลายแหลมเดินเลียบไปในทะเล ทิ่มลงบนทรายให้เกิดรู หากเห็นเป็นฟองอากาศขึ้นมาเล็กๆนั่นคือสัญญาณบ่งบอกจุดที่หอยอยู่นั่นเอง

เรือหัวโทงมีต้นกำเนิดแท้ๆที่จังหวัดกระบี่ ส่วนที่ระนองเรือเอกลักษณ์ประจำจังหวัดคือเรือหัวตัด ชุมพรและสุราษฎร์ธานีจะเป็นเรือหัวแบน ส่วนแถบนราธิวาสและปัตตานี มีเรือกอและเป็นเรือประมงประจำถิ่น

เรือหัวโทง จำลองภูมิปัญญาท้องถิ่นของศิลปินตัวจริง

เรือหัวโทง คือเรือประมงพื้นบ้าน อันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ ลักษณะเป็นเรือขนาดเล็กมีหัวเรือแอ่นงอนเชิดสูง เพื่อให้แหวกโค้งโต้คลื่นทะเลอันดามันได้ดี และให้นํ้าทะเลไม่ทะลักเข้าเรือ แถมยังเป็นอุปกรณ์บอกทิศทางคนขับเรือได้ดี กาลเวลาผ่านไป การต่อเรือหัวโทงถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น จนเมื่อปี ๒๕๔๒ คุณสมบูรณ์ หมั่นค้า ประธานกลุ่มผลิตเรือหัวโทงจำลองบ้านเกาะกลาง ผู้ได้รับมรดกตกทอดเทคนิคการต่อเรือหัวโทง รวมทั้งประวัติศาสตร์การทำประมงในสมัยก่อนทั้งหมดจากคุณพ่อ (นายหมวดตาบ หมั่นค้า ช่างต่อเรือชื่อดังแห่งตำบลคลองประสงค์) และกลุ่มชาวบ้านชุมชนเกาะกลาง ได้ริเริ่มให้มีการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรือหัวโทง ในรูปแบบของการประดิษฐ์งานฝีมือเรือหัวโทงจำลอง ที่ทำจากไม้ยอ และไม้ตีนเป็ด เพราะเป็นไม้ที่ง่ายต่อการนำมาแปรรูป โดยทำเป็นสินค้าขายที่เกาะกลาง และยังรับทำตามความต้องการอีกด้วย การรวมกลุ่มของชาวบ้านก็เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน สร้างอาชีพแก่ชาวบ้าน และหัวใจสำคัญที่สุดคือ ปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นความสำคัญและมีจิตสำนึกร่วมในการอนุรักษ์เรือโบราณอย่างเรือหัวโทง กลุ่มเรือหัวโทง ณ เกาะกลางแห่งนี้ ยังช่วยกันผลักดันและส่งเสริมให้กลายเป็นของที่ระลึกเลอค่าประจำจังหวัดกระบี่ จนได้รับรางวัล ๔ ดาว หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) โครงการกระตุ้นธุรกิจประกอบการท้องถิ่นเมื่อปี ๒๕๔๗ อีกด้วย

กลุ่มผลิตผ้าปาเต๊ะ ณ หมู่บ้านคลองประสงค์ คือชุมชนเล็กๆ ที่ผลิตผ้าปาเต๊ะมาสิบกว่าปี โดยปรับนำาแนวคิดและกระบวนการผลิตมาจากจังหวัดปัตตานี แล้วผสมผสานการทำาผ้าปาเต๊ะจากประเทศมาเลเชียเข้ากับการทำาผ้าบาติกจนกลายเป็นงานฝีมือสุดวิจิตร

ปาเต๊ะ ศิลปะบนผ้านุ่ง

ผ้าปาเต๊ะ หรือผ้าบาติกนั้น เป็นคำภาษาชวา ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด จัดเป็นศิลปะสร้างลายที่ซับซ้อนสวยงามวิจิตร โดยใน ๑ ผืนจะมี ๒ ลาย และสีหลัก ๒ สี ผลที่ได้ทำให้แต่ละผืนมีความเป็นเอกลักษณ์ และมีความสวยงามแตกต่างกัน กลุ่มผลิตผ้าปาเต๊ะ ณ หมู่บ้านคลองประสงค์ คือชุมชนเล็กๆ ที่ผลิตผ้าปาเต๊ะมาสิบกว่าปีโดยปรับนำแนวคิดและกระบวนการผลิตมาจากจังหวัดปัตตานีแล้วผสมผสานการทำผ้าปาเต๊ะจากประเทศมาเลเชียเข้ากับการทำผ้าบาติก จนกลายเป็นงานฝีมือสุดวิจิตร ที่มีผู้ริเริ่มอย่างคุณป้าประจิมเล็กคำ และครอบครัวที่ดูแลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ออกแบบลายเพ้นท์ลาย วาดเทียนไข ลงสี พิมพ์เทียน ย้อมสีผ้า แช่น้ำยากันสีตก ผึ่งให้แห้ง ซึ่งล้วนผลิตเสร็จสิ้นลงในห้องเล็กๆ ห้องเดียว และมีหน้าร้านวางขายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าปาเต๊ะ ทั้งผ้านุ่ง เสื้อ และผ้าคลุมไหล่ในห้องถัดไปด้วย

ฟังนกเสียงใส แข่งกันร้อง

หากไถ่ถามถึงกีฬายอดฮิตของชาวเกาะกลาง นอกจากเตะบอลเล่นยามเย็นกันแล้วยังมีกีฬาอีกประเภทที่แข่งกันจริงจังและรวบรวมให้ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยมารวมตัวกัน ณ สนามกลาง เพื่อส่งเสียงเชียร์และมีความสุขไปพร้อมๆ กัน นั่นคือการแข่งขันนกกรงหัวจุก นกที่ปราดเปรียว เสียงไพเราะ แววตาสดใส มีนิสัยรักสนุก และหากได้โดนแดดเยอะ จะยิ่งร้องเสียงดัง การประกวดเสียงนกร้องจะเริ่มต้นด้วยการที่เจ้าของนกนำกรงนกตัวเองขึ้นราวเหล็กในสนามแข่ง การแข่งขันจะเป็นแบบ ๔ ยก ๓ ดอก ยกละประมาณ ๒๐ กว่าวินาที (ที่นี่จับเวลาหนึ่งขันจมน้ำ คือนับตั้งแต่วางขันจนกระทั่งขันจมมิดลงในน้ำ) หนึ่งตัวแข่งขันได้ ๔ รอบ โดยนกกรงหัวจุกต้องร้องตั้งแต่ ๓ พยางค์ขึ้นไปจึงนับเป็น ๑ คำ ต้องร้องให้ได้ ๘ คำถึงจะผ่านเข้ารอบ และมีกรรมการ ๓ คน (ไม่รวมกรรมการจับเวลา) เดินวนเพื่อจ้องดูนกทีละตัวเมื่อกรรมการเดินมาถึงนกของใคร เจ้าของก็จะส่งเสียงเชียร์ กระตุ้นให้นกตัวเองร้องกันอย่างสนุกสนาน การแข่งขันมักจัดขึ้นสัปดาห์ละ๒-๓ ครั้ง โดยผู้ชนะจะเข้ารอบแข่งครั้งใหญ่ประจำเดือนและประจำปีต่อไป แต่ระวัง! อย่าไปเปิดผ้าคลุมกรง เพื่อดูนกกรงหัวจุกที่เข้าแข่งขันเด็ดขาด เพราะนกกรงหัวจุกจะมีนิสัยขี้ตกใจคนแปลกหน้า หากอยากเข้าดูนกใกล้ๆ ทำได้เฉพาะเมื่อเจ้าของอนุญาตเท่านั้น

นกกรงหัวจุกมีอายุยืนถึงกว่า ๓๐ ปี ชอบทานผลไม้ โดยเฉพาะกล้วยและมะละกอเป็นอาหารหลัก โดยเจ้าของจะฝึกนกเหมือนการฝึกสัตว์เลี้ยงทั่วไป คือหากทำดีจะให้รางวัล และรางวัลของนกกรงหัวจุกคือหนอนนั่นเอง

“อยู่ที่นี่ต้องตื่นเช้าๆ” คือประโยคที่คุณป้าคนหนึ่งเปรยขึ้นมาพร้อมรอยยิ้ม จริงอย่างที่แกว่า บนเกาะนี้มีกิจกรรมให้ทำทั้งวัน เริ่มจากตั้งแต่เช้า ก็ได้เวลาของกาแฟ ข้าวมันไก่และข้าวยำรสอร่อย แล้วออกไปดูป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์มีระบบนิเวศหลากหลาย

WHERE TO STAY

รื่นรมย์กับจังหวะชีวิตเนิบช้า ที่ อัยลันดา อีโค วิลเลจ รีสอร์ทผสมผสานแรงบันดาลใจจากหมู่บ้านชาวประมงทางภาคใต้ เข้ากับความทันสมัย สู่ห้องพักแบบบังกะโล ๓๐ หลัง ที่ออกแบบโดยแบ่งเป็น ๒ส่วนได้อย่างลงตัว ทั้งส่วนห้องนอนที่กว้างขวาง และห้องอเนกประสงค์ให้คุณได้จิบกาแฟยามเช้า พร้อมห้องนํ้าแบบเปิดโล่งรับลมธรรมชาติเสริมพลังชีวิตท่ามกลางธรรมชาติอย่างเต็มที่ ที่นี่ยังมีจักรยานให้ยืมปั่นฟรี และกิจกรรมทัวร์รักษ์โลก ที่พาคุณลัดเลาะชมรอบๆ ตัวเกาะ รวมถึงพายเรือชมป่าโกงกาง ยามสิ้นแสงอาทิตย์ของวัน อย่าพลาดอาหารทะเลสดๆ ที่ส่งตรงจากเรือประมง ทั้งบาร์บีคิวซีฟู้ด อาหารไทยและอาหารนานาชาติ ที่ซีบรีซเรสเตอรองค์ หรือหากไม่ได้พักที่นี่
ก็แวะไปจิบเครื่องดื่มรสละมุน และดื่มดํ่ากับสีสันแห่งพระอาทิตย์อัสดงที่มีเกาะแก่งของท้องทะเลกระบี่เป็นฉากหลังกันได้ ณ วิลเลจบาร์


Islanda Eco Village resort
โทร. ๐๘ ๙๖๑๔ ๒๓๓๓, ๐๗๕ ๖๓๑ ๗๗๐;
http://islandakrabi.com

Alternative stay พักที่คลองลุ โฮมสเตย์
บ้านพักราคา
๓๐๐ ต่อคน (รวมอาหารเช้า)
โทร. ๐๘ ๙๔๗๕ ๐๔๙๕

About the Author

Share:
Tags: กระบี่ / ชาวไทยมุสลิม / Environment / ทะเล / เที่ยว / green / ภาคใต้ / เที่ยวไทย / เกาะ / เกาะกลาง /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ