Sunday, May 19, 2024
เที่ยวไปรักษ์ไป บทความแนะนำ

Mani Rimdu เทศกาลสุดหรู บนหิมาลัย

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 22
เรื่อง / ภาพ: ฬียากร เจตนานุศาสน์

Mani Rimdu

เทศกาลสุดหรู

บนหิมาลัย

ใครจะคาดคิดว่าบนความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเกือบจะถึง ๔,๐๐๐ เมตร ณ เทือกเขาหิมาลัย ในเส้นทางเดียวกับทางที่จะขึ้นไปยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น จะมีวัดพุทธ-ทิเบตเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่เมื่อกว่าร้อยปีก่อนตั้งอยู่อย่างโดดเด่นและสวยงาม ท่ามกลางยอดเขาสูงหลายพันเมตรอีกหลายยอดที่ล้อมรอบวัดแห่งนี้เอาไว้อย่างอบอุ่นในความเหน็บหนาว และยังสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์นั้น ว่าไม่เคยมีขอบเขตและปิดกั้นไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่แห่งใดในโลกนี้ก็ตาม

สำหรับทางเดินขึ้นเขาสู่อ้อมกอดหิมาลัยนั้น แม้จะเป็นเส้นทางเดียวกัน แต่หลายคนอาจมีจุดมุ่งหมายไม่เหมือนกัน บางคนฝันถึงการพิชิตความสูงและตั้งเป้าไว้ที่จุดความสูงต่างๆ กันไป ตั้งแต่ระดับสูงเล็กน้อยไปจนถึงสูงมากๆ ที่นอกจากขึ้นอยู่กับการประเมินกำลังขาตัวเองแล้ว ยังอยู่ที่กำลังความฝันว่าจะแรงกล้ามากน้อยแค่ไหน เพราะบ่อยครั้งหลายคนก็พ่ายแพ้ต่อจุดหมายแม้ตั้งเป้าว่าจะป่ายปีนไปให้ถึงจุดนั้น เพราะคนที่อยู่บนที่ราบมาทั้งชีวิตนั้นใช่ว่าจะสามารถพิชิตความสูงในจุดที่เกินกว่าปกติจะใช้ชีวิตอยู่ได้…กันทุกคน แต่ความสวยงามของทางเดินสู่หิมาลัยก็ไม่เคยหยุดความท้าทายของนักต่อรองกับความสูงที่ต้องการจะเดินทางไปยังจุดหมายที่มีความสวยงามสุดท้าทายบนภูเขาแห่งนี้ให้ได้

นอกจากความสวยงาม ความท้าทาย และสิ่งที่นักเทรกกิ้ง หรือผู้ ที่รักการเดินขึ้นเขานั้นหลงใหลในอะไรๆ อีกหลายอย่างของการรอนแรมบนหิมาลัย เป็นประสบการณ์เฉพาะตัวที่เมื่อใครได้มาเยือน แล้ว หลังจากนั้นจะไม่อาจลบเลือนภาพภูเขาแห่งนี้ออกไปจากใจได้นี่คือความประทับใจในส่วนของการเดินทาง และสําหรับจุดหมายนั้น บางครั้งเราก็พบว่าบนภูเขาแห่งนี้ยังมีเรื่องราวดีๆ ในแต่ละจุดหมาย รออยู่มากกว่าที่คิดอีกมากนัก และวัด Tengboche Monastery แห่งนี้ก็เช่นกัน

สูงสุดฟ้า ศรัทธาพาไปถึง

ไม่ใช่แค่ก้าวเดิน ไม่ใช่แค่เพลินๆ เที่ยวไป สําหรับจุดหมายบน ภูเขาคราวนี้ เราสร้างแรงจูงใจให้หนักกว่าเดิม หลังจากที่พ่ายแพ้ต่อ การเดินไปชมพระอาทิตย์ขึ้นที่พูนฮิลล์ในครั้งแรกของการทําความรู้จัก กับหิมาลัย ครั้งนี้บนความสูงที่มากกว่าเดิม เพิ่มเติมคือจุดหมายใหม่ที่เราจะต้องไปร่วมชมงานเทศกาลหน้ากากที่ชื่อว่า Mani Rimdu (มาณี ริม) ที่หนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียว เทศกาลนี้จัดขึ้นที่ Tengboche Mon- astery หรือวัดเก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในแถบ Khumbu region บน เทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้สําหรับจุดเริ่มต้นของการเดินทาง เริ่มด้วยการบินไปลงที่เมือง หลวงของเนปาลคือ กรุงกาฐมาณฑุ แล้วนั่งเครื่องบินภายในประเทศ ต่อมายังเมือง Lukla แล้วเริ่มต้นเทรกกิ้งจากที่นั่น ราว ๓-๔ วันจึง จะขึ้นมาถึงจุดที่ตั้งของ Tengboche Monastery หรือวัดพุทธ-ทิเบตแห่งนี้

ว่ากันว่ามนุษย์บางคนก็นิยมหล่อเลี้ยงชีวิตด้วยความฝันมากกว่า สิ่งอื่นใด หากไม่สามารถใช้ความฝันดํารงชีพได้ก็ดูราวกับจะไร้ชีวิต นักพิชิตความสูงที่กําลังมุ่งหน้าเดินทางไปบนเส้นทางของภูเขาแห่งนี้ ก็เช่นกัน หลายคนที่มาเยือนเส้นทางนี้คงมีจุดหมายแตกต่างกันไป บาง คนอาจมุ่งหน้าไปที่ Everest Base Camp แคมป์สุดท้ายปลายทางสู่ ยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งลําพังแค่ไปถึงแคมป์นั้นได้ก็ต้องใช้พลังกายพลัง ใจไม่น้อยแล้ว แต่สําหรับการพิชิตเอเวอเรสต์ที่ยังอยู่สูงไปกว่านั้นอีก มาก จุดนั้นเราก็ปล่อยให้คนมีแรงฝันมากๆ เขาไปกัน

หรือบางคนอาจมุ่งไปที่ทะเลสาบ Gokyori อันเป็นทะเลสาบใหญ่ ที่สวยงามบนภูเขาแห่งนี้ ซึ่งนักเทรกกิ้งนิยมไปปักหมุดด้วยเช่นกัน และก็มีบางคนที่อาจไปแค่ Namche Bazarr หมู่บ้านที่เหมือนเป็นศูนย์ รวมของชาวเชอร์ปาที่อาศัยอยู่บนภูเขา จากระยะไกลๆ เราจะเห็นบ้าน เรือนเรียงรายลดหลั่นตามไหล่เขาดูสวยงาม และแน่นอน จุดหมายของ เราก็ต้องผ่านมาแวะพักที่หมู่บ้านแห่งนี้ด้วยหนึ่งคืน แล้วจากที่นี่ เราก็ จะเดินเท้าขึ้นไปอีกราว ๕-๖ ชั่วโมงสู่จุดหมายที่ความสูง ๓,๘๖๐ เมตร คือสถานที่ตั้งของ Tengboche Monastery ที่เราจะมาร่วมงานเทศกาล สุดหรูบนภูเขาแห่งนี้

Mani Rimdu อัญมณีสุดหรูแห่งหิมาลัย

โอม….มาณี ปัทเมนุม เสียงบทสวดแห่งพระอวโลกิเตศวรนี้หลาย คนคงคุ้นเคยดี และหนึ่งในคําของบทสวดนี้ก็คือคําเดียวกับชื่อของเทศกาลนี้ มาณี ริมๆ มาณี ก็คือ มณี เป็นคําเดียวกับอัญมณีที่เป็น เครื่องประดับทรงคุณค่า ในคําที่เราคุ้นเคยคําเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คําคําหนึ่งในสถานที่หนึ่ง บางทีเราก็พบเจอคําคล้ายๆ กันในสถานที่ ซึ่งห่างออกไป บางทีระยะทางหรือความห่างก็ไม่ใช่สิ่งที่ใช้วัดความต่าง หลายๆ อย่างในโลกนี้ยังมีอะไรที่น่าทึ่งเกินคาดคิดอยู่อีกมาก อย่าง เช่นเทศกาลมาณี ริมๆนี้ ตามกําหนดวันของเทศกาลคือ วันพระจันทร์ เต็มดวง ช่วงปลายตุลาคม หรือก็คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงของไทยเรา นอกจากระยะทางของความห่างไกลบนภูเขาแห่งนี้กับระยะของความสูงที่ต่างกันหลายพันเมตร ก็ไม่มีอะไร บอกได้เลยว่าทั้งสองเทศกาลบังเอิญถูกกําหนดขึ้นในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงคืนเดียวกันได้อย่างไร ในขณะที่เราลอยกระทงเพื่อขอขมาพระแม่คงคา ชาวพุทธบนหิมาลัยก็มีพิธีขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าช่วย ปกป้องคุ้มครองพวกเขาบนภูเขาแห่งนี้ด้วยการสวดมนต์ บูชา ทําพิธี บนทรายมันดาลา และร่ายรําระบําหน้ากาก ซึ่งถือเป็นเทศกาลใหญ่ ประจําปีที่จะมีติดต่อกันประมาณ ๖-๑๐ วัน

ในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ละวันจะมีโปรแกรมต่างๆ กันไป และมี เฉพาะช่วง ๒ วันแรกเท่านั้นที่คนภายนอกจะสามารถเข้าร่วมงานได้และเราก็จัดโปรแกรมการเดินไว้แล้วว่าจะมาให้ทันร่วมงานเทศกาลใน ๒ วันแรกซึ่งถือเป็นไฮไลต์น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะสําหรับนัก เดินทางที่รอนแรมมาบนหิมาลัย ภาพความศรัทธาของมหาชนบนภูเขาที่นั่งรายล้อมในพิธีของวันแรกในการเปิดเทศกาลมาณี ริมนั้นเป็นความน่าประทับใจ และแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนาที่ดํารงอยู่ทุกหนทุกแห่งโดยไม่แบ่งแยก แม้ใน ท่ามกลางวงล้อมของชาวเชอร์ปาที่แต่งกายมาในชุดพื้นเมืองจะมี คนแปลกหน้าต่างชาติต่างถิ่นที่อยู่ในชุดเดินทางอย่างเรา และอีก หลายๆ ชาติที่ยื่นมือรับถ้วยน้ําชา ข้าวทิพย์ และขนม ผลไม้ที่พระลามะ เดินนํามาแจกจ่ายชาวบ้านที่มาร่วมงานพิธี คนแปลกหน้าต่างเชื้อชาติอย่างเราๆ ก็พลอยได้ลิ้มรสอันเป็นเสมือนของทานในงานบุญเหล่านั้น ไปด้วย นับเป็นรสชาติของความอิ่มเอมและอบอุ่นท่ามกลางอากาศ หนาวๆ ของช่วงต้นฤดูหนาวที่ตัวเลขขององศาลดลงไปจนติดลบแม้จะเป็นช่วงบ่ายแล้วก็ตาม

พิธีในวันแรกเป็นการรับพรจากท่านริมโปเช ชาวบ้านจะเข้าแถว เดินเรียงเข้าไปวางเงินทําบุญทีละคน จากนั้นพระลามะและท่าน ริมโปเชจะยื่นขนมหวานปั้นเป็นลูกกลมๆ ให้เราเองก็เข้าไปร่วมทําบุญ รับพรด้วยเช่นกัน รู้สึกอิ่มบุญไปในอีกรูปแบบ ตลอดพิธีมีเสียงโอม ก้องหุบเขา รวมทั้งรุ่งเช้าอีกวันที่เป็นการแสดงระบําหน้ากากโดยเหล่า พระลามะที่แต่งกายด้วยชุดหลากสีสันและสวมหน้ากากที่หน้าตาดูน่ายําเกรงออกมาร่ายรําเป็นการแสดงที่เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่ง เวทมนตร์ เปี่ยมพลัง และสะกดทุกคนให้ตรึงอยู่บนเก้าอี้ หรือม้านั่งทั้ง ๓ ด้านรอบลานการแสดงภายในวัด

การแสดงระบําหน้ากาก หรือ Famous Mask Dances perfor- mance by Monks มีขึ้นในวันที่ ๒ ของเทศกาล จะเริ่มขึ้นหลังจากลามะ มาทําพิธีเซ่นไหว้ที่มีเครื่องเซ่นวางอยู่บนแท่นตรงกลางลาน จากนั้น ลามะที่รับหน้าที่ในการเป่าแตรจะออกมาเป่าเป็นเสียงโอมยาวก้องหุบเขา เพิ่มความขลังให้บรรยากาศ การแสดงมีหลายชุด แต่ละชุดก็ มีผู้แสดงออกมาในชุดต่างๆ กันไป ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกมาตั้งแต่ ช่วงเช้าจนจรดเย็น ก่อนจะปิดท้ายด้วยชุดการแสดงที่เน้นความตลกเรียกเสียงหัวเราะให้ชาวบ้านที่ยังคงนั่งชมกันจนจบ….และในช่วงเย็นก็จะเหมือนเป็นการปลดปล่อยสิ่งที่เป็นพิธีการ เป็นข้อคิด หรือสัญลักษณ์ ที่ดูเคร่งเครียดทั้งหมดออกไป เหลือไว้แต่ความขบขันราวไร้สาระ

แต่ในความไม่มีสาระเราว่าก็คงมีความหมายอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ เช่นเดียวกับสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้ชุดนักรบและหน้ากากเหล่านั้น

ที่นั่งด้านหนึ่งเป็นฝั่งของท่านริมโปเชและลามะ ฝั่งตรงข้ามอีกด้าน ส่วนมากเป็นชาวต่างชาติที่ต้องซื้อบัตรเข้าชม รวมทั้งเราด้วย มีม้านั่ง อยู่ชั้นบน ด้านล่างส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน คนท้องถิ่น หรือชาวเชอร์ปา ที่รอคอยการแสดงที่ดูน่ายําเกรงของระบําหน้ากากแบบนี้ทุกปีภายใต้ท่าทางของการร่ายรํา พวกเขาเชื่อกันว่ามีสัญลักษณ์ที่สามารถ ตีความได้หลายแบบ ทั้งเรื่องของความดีชนะความชั่ว เรื่องของปีศาจ และเหล่าอธรรมที่กําลังสู้รบกับธรรมะ รวมทั้งเรื่องของความโลภ ความ โง่เขลาที่กําลังต่อกรเอาชนะความมีสติ สมาธิ และปัญญา ทุกท่วงท่า ที่ดูเรียบง่าย แต่เข้มแข็งและมีพลัง เหล่าลามะภายใต้ชุดและหน้ากาก เหล่านั้นต้องฝึกซ้อมมาอย่างดี เพราะการแสดงนี้ก็เปรียบได้กับคําสอน เชิงสัญลักษณ์ที่ลึกซึ้งในเชิงของศาสนา ซึ่งสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลานาน และยังคงจะสืบทอดต่อไปอีกนานภายใต้เงื้อมเงาของเทือกเขาสูง บนหิมาลัยแห่งนี้

TENGBOCHE MONASTERY

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใน Sagamartha National Park (Unesco World Heritage Site) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๑๖ โดย Lama Gulu วัดนี้จะยึดเอาวัด Rongbuk ในทิเบตเป็นต้นแบบ พระในวัดแห่งนี้เป็น พระนิกายหมวกเหลือง หรือนิกายเกลุกปะ (นิกาย เดียวกับทะไลลามะองค์ที่ ๑๔) เป็นวัดที่เปรียบเป็น ศูนย์กลางของชนเผ่าเชอร์ปาที่อาศัยอยู่บนเทือกเขา หิมาลัยนี้ ซึ่งมีทั้งชาวทิเบตและเนปาล และเมื่อถึง เทศกาลสําคัญประจําปีอย่าง Mani Rimdu นี้ ชาว เซอร์ปาจากหมู่บ้านต่างๆ ที่แม้จะต้องเดินทางโดยเท้า (เหมือนเรา) มาเป็นเวลาหลายวันก็จะให้ความสําคัญ ในการมาเยือน เพื่อร่วมพิธีที่พวกเขาถือว่าศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต Tengboche Monastery หลังจากสร้างขึ้นก็มีช่วงเวลาที่ต้องปิดซ่อมแซมบูรณะใหม่อยู่หลายครั้ง ทั้งเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและไฟไหม้เมื่อหลายปีก่อน ภาพของวัดในวันที่เราเห็นนั้นจึงดูมีสีสันสดใส ใหม่ และสวยงามท่ามกลางยอดเขาสูงสีขาวหลายยอด และแม้จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปชมภายในอารามที่ว่ากันว่ามีภาพวาดและศิลปวัตถุโบราณที่สวยงามอยู่ แต่แค่ได้ไปเยือนและนั่งชมการแสดงอยู่ภายนอก เพียงเท่านี้ เราก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศที่เปี่ยมไปด้วยพลังของความศรัทธา และเป็นพลังที่ทําให้นักเดินทางหลายคนต้องการมาแวะพักเพื่อเติมพลัง ก่อนจะขยับเท้าก้าวต่อไปบนจุดที่สูงขึ้นไปในอ้อมกอดของหิมาลัยที่พวกเขาใฝ่ฝันจะไปเยือน

ข้อมูลการเดินทาง

  • มุ่งสู่กาฐมาณฑุ ไปลงที่สนามบิน ตรีภูวัน ประเทศเนปาล ถ้าบินตรง จากกรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมงครึ่ง
  • การเดินเทรกกิ้ง ควรเตรียมตัวออกกําลังกายและเตรียมอุปกรณ์ การเดิน อุปกรณ์กันหนาวและ กันแดดให้พร้อม
  • หาไกด์ท้องถิ่นที่มั่นใจว่าสื่อสารภาษาอังกฤษได้ และมีประสบการณ์ ในเส้นทางที่คุณต้องการไป
  • หากต้องการไปเทรกกิ้งเพื่อร่วมงานเทศกาลครั้งต่อไป ควรสอบถามข้อมูล ติดต่อไกด์ถึงวันที่แน่นอนของเทศกาลนี้ และให้ช่วยวางแผนในการจองตั๋วเครื่องบินในประเทศ รวมถึงอําานวยความสะดวกเรื่องที่พักต่างๆ
  • การเดินเทรกกิ้งเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยว อนุรักษ์ รูปแบบหนึ่งได้สัมผัสชีวิตและความเป็นอยู่แบบชาวพื้นเมือง และได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้สัมผัสความสวยที่แท้จริง นั่นก็คือธรรมชาติที่แสนสวยหรูเปรียบดั่งอัญมณีที่ไม่ต้องใช้เงิน ชื้อหา แต่ต้องพาตัวและหัวใจ ไปหา…เขา ในธรรมชาติที่แสน ยิ่งใหญ่และสงบงาม นามหิมาลัย

About the Author

Share:
Tags: Himalayas / วัด / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / Mani Rimdu / หิมาลัย / เขาเอเวอเรสต์ / ทิเบต / ภูเขา / Tengboche Monastery /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ